xs
xsm
sm
md
lg

กินหมูดิบ เสี่ยงโรคหูดับ อันตรายถึงตายได้!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีมีอาจารย์สาววัย 49 ปี ป่วยเป็นโรคไข้หูดับเสียชีวิต หลังจากซื้อเนื้อหมูมาทำหมูกระทะกิน และพบว่า ผู้เสียชีวิตลงมือหั่นหมู โดยที่มือมีแผล จนกระทั่งเชื้อเข้าไปในกระแสเลือดและเสียชีวิต ซึ่งแพทย์สงสัยสาเหตุการเสียชีวิตว่าเป็นโรคหูดับ 

โรคหูดับ คืออะไร?


โรคหูดับเป็นการติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้อนี้จะทำให้หมูป่วย และตายได้บ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน

โดยเชื้อแบคทีเรียจะฝังอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่เมื่อร่างกายอ่อนแอ เครียด หรือ ป่วย โรคจะไปกดภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียตัวนี้จะเพิ่มจำนวน และทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดและทำให้หมูป่วย และตายได้

โดยเชื้อดังกล่าวสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้ 2 ทาง คือ


1. การบริโภคเนื้อหมู เครื่องในหมู หรือ เลือดหมู ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ปิ้งย่างที่ไม่สุก
2. ผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสโรค หรือ หมูที่เป็นโรค

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ


ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะมีอาการ ดังนี้

- มีไข้สูงมีไข้สูง
- ปวดเมื่อยตามตัว
- ปวดศีรษะ
- เวียนศีรษะ
- ปวดตามข้อ
- มีจ้ำเลือดตามตัว ตามผิวหนัง
- ซึม
- คอแข็ง
- ชัก
- มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึก



การรักษา

1. แพทย์จะให้ยามารับประทานก่อน เช่น ยาลดการอักเสบ ยาขยายหลอดเลือด วิตามิน หรือยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ เป็นต้น

2. บางรายหากอาการไม่แย่มากอาจจะให้ผู้ป่วยนอนพักที่บ้านก่อน หรือหากมีอาการที่รุนแรงหลังจากนั้นอาจต้องพักรักษาที่โรงพยาบาล

3. แพทย์จะนัดตรวจวัดระดับการได้ยิน เพื่อนำไปประเมินผลในครั้งต่อไป

อาหารที่ห้ามรับประทานแบบสุก ๆ ดิบๆ เพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคไข้หูดับได้


- เนื้อหมู
- เครื่องในหมู
- เลือดหมู
- เนื้อวัว
- เนื้อควาย

ทุกอย่างล้วนต้องผ่านความร้อนหรือทำให้สุกก่อน ถึงจะรับประทานได้

วิธีป้องกันโรคหูดับ


1. ไม่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่สุก

2. ไม่กินหมูป่วย หรือ หมูที่ตายจากโรค และ ควรเลือกบริโภคหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน

3.  สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากหมูที่ป่วย

4. ล้างมือ ล้างเท้า หรือ อาบน้ำให้สะอาดหลังสัมผัสหมู

5. เมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสหมู 

6. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้หมูป่วย

อ้างอิงจาก : โรงพยาบาลสินแพทย์ , โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ข่าวโดย : ฟ้า เต็มเปียง 


กำลังโหลดความคิดเห็น