xs
xsm
sm
md
lg

“นิ่วในไต” ถ้าเจอไว รีบรักษาก่อนไตพัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อาการนิ่วในไตนั้น สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ชายสามารถพบได้มากกว่าผู้หญิง และในช่วงวัยที่พบคือ 30-40 ปี ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานแล้วไม่รีบรักษา อาจจะมีการติดเชื้อ แล้วลุกลามไปให้ไตเสื่อมและเรื้อรังในอนาคตได้ ซึ่งเรามาดูข้อมูลคร่าว ๆ ของภาวะ ‘นิ่วในไต’ กัน

สาเหตุของนิ่วในไต

-มีการรับประทานอาหารแคลเซียม โปรตีน เกลือ และน้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไป
-ดื่มน้ำน้อย
- ใส่น้ำตาลในเครื่องดื่มมาก
-กินอาหารที่มีสารออกซาเลตยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม อาทิ ถั่ว หน่อไม้ ช็อกโกแลต ผักปวยเล้ง มันเทศ ฯลฯ
-กินวิตามินซีมากเกินกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม
-ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานหนักมากเกินไป
-เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเกาต์ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคอ้วนน้ำหนักเกิน และโรคเบาหวาน


สัญญาณเตือน อาการจาก ‘นิ่วในไต’

-ปวดบริเวณเอวที่มีก้อนนิ่ว มีการปวดหลังหรือช่องท้องส่วนล่างข้างใดข้างหนึ่ง โดยมีการปวดเสียด ปวดบิดเป็นพัก ๆ
-มีไข้หนาวสั่น
-คลื่นไส้ อาเจียน
-มีปัสสาวะขุนแดงเป็นเม็ดทราย หรือ ปัสสาวะบ่อย หรือในบางครั้งจะมีอาการเจ็บถ้าทำการปัสสาวะ
-หากก้อนนิ่วตดลงมาที่ท่อไต จะมีอาการที่รุนแรง
-แต่ในบางกรณีผู้ป่วยบางราย ก็ไม่มีอาการแสดง


การตรวจนิ่วในไต

-ตรวจปัสสาวะ ซึ่งถ้ามีการพบเม็ดเลือดแดงเป็นจำนวนมาก อาจสันนิษฐาณได้ว่าเป็นนิ่วในไต
-ตรวจเลือด ซึ่งผู้ป่วย มักมีปริมาณแคลเซียมหรือกรดยูริกในเลือดมาก
-เอกซเรย์ช่องท้อง จะช่วยให้เห็นก้อนนิ่วบริเวณทางเดินปัสสาวะ
-เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ช่วยให้แพทย์เห็นก้อนนิ่วขนาดเล็ก
-อัลตราซาวนด์ไต ช่วยตรวจหาก้อนนิ่วในไตได้ชัดเจน
-ตรวจเอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (IVP) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดนิ่วในไตและสามารถวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตซ้ำ

วิธีรักษานิ่วในไต

-รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด

หากนิ่วมีขนาดก้อนเล็กมากอาจหลุดออกมาได้เอง โดยการดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งแพทย์อาจจะทำการพิจารณายาที่ช่วยขับก้อนนิ่วตามความเหมาะสม

-การใช้เครื่องสลายนิ่ว

เป็นการสลายนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงไปทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวและขับออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย วิธีนี้ควรรักษากับแพทย์ที่มีความชำนาญอย่างใกล้ชิด

-การส่องกล้องสลายนิ่ว

การรักษาในลักษณะนี้ เป็นการสลายนิ่วที่มีขนาด 3 เซนติเมตร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีกล้อง Ureteroscopy เข้าไปทางท่อปัสสาวะเพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ ขับออกมาทางปัสสาวะ

-การรักษาแบบผ่าตัด

เป็นการใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่และรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยการเจาะรูเล็กๆ บริเวณหลังของผู้ป่วยแล้วใช้กล้องส่อง เพื่อนำเครื่องมือสอดเข้าไปทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นจึงคีบก้อนนิ่วออกมา

วิธีป้องกันภาวะนิ่วในไต

-ดื่มน้ำให้มากช่วยลดโอกาสการตกตะกอนของก้อนนิ่ว
-กินแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติให้เพียงพอ
-เลี่ยงเค็ม ลดเกลือในมื้ออาหาร
-ควบคุมการกินเนื้อสัตว์ นม เนย
-กินผักให้เยอะช่วยลดโอกาสเกิดนิ่ว

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ


กำลังโหลดความคิดเห็น