หลายคนคงเคยประสบปัญหานอนไม่พอ ทำงานยันดึกดื่น ปั่นจนโต้รุ่ง จนกระทบสุขภาพกันมาแล้ว แต่หารู้ไม่ว่าหากคุณกำลังมีอาการต้องการนอนมาก ๆ งีบหลับระหว่างวันบ่อย ๆ หรืออาการตื่นแล้วยังอยากนอนต่อ ตื่นยาก อาการเหล่านี้อาจหมายถึงโรคนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ก็เป็นได้!
แล้วต้องใช้ชีวิตยังไง เมื่อนอนน้อยไปก็เป็นเรื่อง นอนมากไปก็เป็นโรคอีก แต่เราอยากจะบอกว่า จุดเริ่มต้นของโรคนอนมากเกินไป ก็มาจากการนอนน้อยนั่นแหละค่ะ

สาเหตุ
1. อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อย ๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
2. นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก ๆ
3. ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกายนอนมากผิดปกติ
4. นอนกรน มีภาวะการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
5. สมองได้รับบาดเจ็บหรือโรคเกี่ยวกับทางสมองต่าง ๆ
6. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ฯลฯ
ซึ่งโรคนอนมากเกินไปเนี่ย ส่งผลกระทบร้าย ๆ กับร่างกายเราไม่ใช่น้อยเลยนะคะ เพราะสามารถทำให้สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา การทำงานของกระดูกกล้ามเนื้อและข้อลดประสิทธิภาพลงเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ น้ำหนักเกินมากกว่าเดิม เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันลดลง มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น และยังเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า การนอนมาก ๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ “เคมีอารมณ์ สารความสุข” จำพวก “เซโรโทนิน (Serotonin)” และ “เอนดอร์ฟิน (Endorphin)” ลดต่ำลง
ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำที่สุดคือนอนให้พอดี อย่าอดนอนจนเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนมากเกินไปกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/นอนมากเกินไป-hypersomnia/
แล้วต้องใช้ชีวิตยังไง เมื่อนอนน้อยไปก็เป็นเรื่อง นอนมากไปก็เป็นโรคอีก แต่เราอยากจะบอกว่า จุดเริ่มต้นของโรคนอนมากเกินไป ก็มาจากการนอนน้อยนั่นแหละค่ะ
สาเหตุ
1. อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อย ๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
2. นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก ๆ
3. ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกายนอนมากผิดปกติ
4. นอนกรน มีภาวะการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
5. สมองได้รับบาดเจ็บหรือโรคเกี่ยวกับทางสมองต่าง ๆ
6. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ฯลฯ
ซึ่งโรคนอนมากเกินไปเนี่ย ส่งผลกระทบร้าย ๆ กับร่างกายเราไม่ใช่น้อยเลยนะคะ เพราะสามารถทำให้สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา การทำงานของกระดูกกล้ามเนื้อและข้อลดประสิทธิภาพลงเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ น้ำหนักเกินมากกว่าเดิม เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันลดลง มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น และยังเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า การนอนมาก ๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ “เคมีอารมณ์ สารความสุข” จำพวก “เซโรโทนิน (Serotonin)” และ “เอนดอร์ฟิน (Endorphin)” ลดต่ำลง
ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำที่สุดคือนอนให้พอดี อย่าอดนอนจนเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนมากเกินไปกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/นอนมากเกินไป-hypersomnia/