โดยปกติแล้ว คนเราสามารถรับโซเดียมได้เพียง 2400 มิลลกรัม หรือแค่ 1 ช้อนชาเท่านั้น แต่โดยพฤติกรรมของคนโดยเฉลี่ยพบว่า คนเรากลับกินเค็มมากเป็นถึง 3 เท่าตัว ซึ่งแน่นอนว่า หากไม่หยุดพฤติกรรมการกินรสดังกล่าวนี้ ก็ต้องเสี่ยงเผชิญโรคต่างๆ ทั้งโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ และ อัมพาต และอาการอื่นๆ อีกเพียบ ซึ่งพฤติกรรมดังต่อไปนี้คือการติดเค็ม นั่นเอง
1.ปรุงรสชาติโดยไม่ชิมก่อน
อาหารโดยส่วนใหญ่นั้น จะมีการเติมซอสหรือผงปรุงรสมาแล้วแทบทั้งนั้น แต่ก็ยังมีการถามหาเครื่องปรุงอีก ทั้งน้ำปลา น้ำตาล และน้ำส้มสายชู ซึ่งในบางรายยังไม่ทันชิมเลย ก็ตักเครื่องปรุงลงไปตามความเคยชินซะแล้ว
2.ชอบทานอาหารแปรรูปมาก
ปัจจัยนี้เกดิมาจากความเร่งรีบของวิถีชีวิต ทำให้ไม่มีการเลือกซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่เลือกซื้ออาหารที่เร็วและง่ายเพื่อประหยัดเวลาแทน โดยเฉพาะอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้ มีโซเดียมจากกระบวนการถนอมอาหาร แถมมีโซเดียมแฝงจากการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ เพื่อให้ได้ สี กลิ่นรส จึงทำให้ได้โซเดียมคูณสองไปอีก
3.กระหน่ำจิ้มน้ำจิ้ม
การราดน้ำจิ้มเยอะๆ แม้ว่าอาหารบางอย่างก็มีโซเดียมอยู่แล้ว แต่พอจิ้มน้ำจิ้มเข้าไปก็ได้รับสารดังกล่าวเพิ่มไปอีก ทำให้ได้รับโซเดียมเข้าไปอีก
4.ซดน้ำซุปแทบหมดชาม
พฤติกรรมนี้ จะอยู่ในกลุ่มน้ำซุปในเส้นต่างๆ หรือน้ำแกงทั้งที่มีและไม่มีกะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่ถูกปากและน้ำซุปที่อร่อยก็ยิ่งถูกใจ ซึ่งต้องยกซดเมื่อเส้นหมด แล้วน้ำซุปก็มีการซอสปรุงรส หรือผใปรุงรสต่างๆ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมที่สูงมาก
5.อร่อยในการซดน้ำยำและน้ำจากต้มยำ
อาหารจำพวกยำ หรือ ส้มตำ ถือว่าเป็นที่ชื่นชอบอยู่ไม่น้อย แล้วยิ่งเป็นพวกรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ก็มักจะจัดทั้งน้ำและเนื้อ จนสุดท้ายก็เข้าร่างกายไปทั้งหมด ซึ่งนำยำน้ำส้มตำเหล่านี้ มีการเติมผงปรุงรสที่มีโซเดียมสูง โดยสารปรุงรสเหล่านี้ มักจะไม่ค่อยเค็ม จึงมีการเติมลงไปจำนวนมาก เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ ซึ่งก็แลกกับการได้โซเดียมที่เยอะไปด้วย
6.ชอบเติมน้ำปรุงรสให้อาหารเค็มเพิ่ม หรือเค็มไว้ก่อน
เครื่องปรุงรสจำพวก น้ำปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ ซึ่งวิธีในการทำอาหารทั้ง 4 อย่างนั้น โดยธรรมชาติของอาหารเหล่านี้มีโซเดียมผสมอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามีการปรุงรสเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะยิ่งทำให้ได้โซเดียมจากสารปรุงรสเข้าไปอีก
วิธีการลดเค็ม
-ทำการชิมอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะปรุงรสเพิ่มลงไป เพื่อลดความเค็มจนเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ
-หันมารับประทานอาหารที่ทำเองซักวันละมื้อ จะช่วยในการควบคุมรสชาติอาหารได้ด้วย
-ลดการใช้น้ำจิ้ม หรือ จิ้มเพียงเล็กน้อย จะช่วยลดปริมาณการรับโซเดียมลงไปได้อย่างมาก
-ลดการซดน้ำซุปต่างๆ ลง เน้นรับประทานเฉพาะเส้นและเครื่องเคียง
-ให้มีการลดการเติมผงชูรส ลดเค็มหรือทำอาหารให้มีรสเค็มน้อยๆ
-ลดความถี่ในการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หรือหากต้องกินก็ให้ลดการปรุงรสส่วนอื่นลง ก็จะช่วยลดปริมาณโซเดียมลงไปได้