ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
โดยไขมันในเลือดสูงเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- กรรมพันธุ์ ผู้มีคนในครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) เป็นโรคไขมันในเลือดสูง มักมีโอกาสมีไขมันในเลือดสูงกว่าคนที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว
- อายุก็มีผล ผู้สูงอายุมักมีไขมันในเลือดสูงกว่าคนวัยอื่น
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ขาดการออกกำลังกาย
- มีน้ำหนักตัวเกิน
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไตบางชนิด เป็นต้น
1 1 วิธีง่าย ๆ ลดไขมันในเลือด
1. หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารจำพวกที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล อาหารที่มีกะทิ
2. ถ้าหากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด และหันมารับแป้งไม่ขัดสีแทนแป้งขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
4. หลีกเลี่ยงหรือลดไขมันทรานส์ ซึ่งไขมันชนิดพบมากในเบเกอรี ขนมกรุบกรอบ อาหารฟาสต์ฟูด เนยเทียม ครีมเทียม ฯลฯ
5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงจากน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู
6. เปลี่ยนการบริโภคนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เป็นนมไขมันต่ำ (low fat) หรือนมไม่มีไขมัน (nonfat)
7. รับประทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เพราะถ้าร่างกายได้รับกากใยมากขึ้นจะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
8. รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ แทนโปรตีนจากสัตว์ หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น อกไก่ ปลา เป็นต้น
9. รับประทานอาหารโอเมก้า เช่น ปลาทูน่า น้ำมันปลา น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วลิสง นมถั่วเหลือง เป็นต้น
10. ออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพราะจะช่วยลดระดับไขมันชนิดต่าง ๆ และช่วยเพิ่มระดับไขมัน ดี (HDL) อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือดได้
11. งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ HDL ในเลือดต่ำลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ :
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
http://paolohospital.com