‘นอนกรน’ คือ การที่มีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน พบได้มากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การนอนกรนนอกจากจะส่งผลกระทบต่อคนนอนข้างๆ แล้วยังส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย เพราะการนอนกรนทำให้การนอนหลับขาดตอน ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ง่วงในเวลากลางวัน ไม่มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน ความจำเสื่อม สมรรถภาพทางเพศลดลง อีกทั้งยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง โรคสมอง โรคซึมเศร้า อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือบางครั้งอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เป็นต้น
โดยความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ความรุนแรงระดับ 1 คือ การนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ
ความรุนแรงระดับ 2 คือ การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
ความรุนแรงระดับ 3 คือ การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) ถือเป็นความผิดปกติในการนอนหลับ มักมีความเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน เป็นการที่ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วน ทำให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ
ส่วนแนวทางการรักษานั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง คำถามคือจะควรไปพบแพทย์เมื่อใด?
คำตอบคือ หากคุณพบว่ามีการกรนเสียงดังรบกวนการนอนของตัวเองหรือผู้ที่นอนอยู่ข้างๆ หายใจขาดๆ หายๆ เหมือนคนหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก ลุกขึ้นมาหายใจเฮือกเหมือนคนขาดอากาศหายใจ เสียงการหายใจไม่สม่ำเสมอ หายใจเฮือกเหมือนสำลักน้ำลาย มีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ มีอาการนอนกระสับกระส่าย ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ปวดศีรษะในตอนเช้า คอแห้ง เจ็บคอ ไม่มีสมาธิในการทำงาน สมาธิและความจำลดลง ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป เพราะแพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน, การใช้ยา, การผ่าตัดต่างๆ เป็นต้น
แต่หากการนอนกรนของคุณอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง สามารถป้องกันและบรรเทาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่
- ลดและควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
- เปลี่ยนการนอน และท่านอน หันมานอนตะแคง แทนการนอนหงาย และควรนอนหมอนสูง
- ลดและหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากดื่มควรดื่มอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลง และยังกดการหายใจทำให้กรนมากขึ้น และทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้นด้วย
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัวและกระชับ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกลับมาแคบใหม่
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ เพราะยานอนหลับจะไปกดการหายใจทำให้นอนกรนมากขึ้น ฯลฯ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
https://www.pobpad.com
โดยความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ความรุนแรงระดับ 1 คือ การนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ
ความรุนแรงระดับ 2 คือ การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
ความรุนแรงระดับ 3 คือ การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) ถือเป็นความผิดปกติในการนอนหลับ มักมีความเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน เป็นการที่ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วน ทำให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ
ส่วนแนวทางการรักษานั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง คำถามคือจะควรไปพบแพทย์เมื่อใด?
คำตอบคือ หากคุณพบว่ามีการกรนเสียงดังรบกวนการนอนของตัวเองหรือผู้ที่นอนอยู่ข้างๆ หายใจขาดๆ หายๆ เหมือนคนหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก ลุกขึ้นมาหายใจเฮือกเหมือนคนขาดอากาศหายใจ เสียงการหายใจไม่สม่ำเสมอ หายใจเฮือกเหมือนสำลักน้ำลาย มีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ มีอาการนอนกระสับกระส่าย ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ปวดศีรษะในตอนเช้า คอแห้ง เจ็บคอ ไม่มีสมาธิในการทำงาน สมาธิและความจำลดลง ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป เพราะแพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน, การใช้ยา, การผ่าตัดต่างๆ เป็นต้น
แต่หากการนอนกรนของคุณอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง สามารถป้องกันและบรรเทาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่
- ลดและควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
- เปลี่ยนการนอน และท่านอน หันมานอนตะแคง แทนการนอนหงาย และควรนอนหมอนสูง
- ลดและหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากดื่มควรดื่มอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การนอนหลับแย่ลง และยังกดการหายใจทำให้กรนมากขึ้น และทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้นด้วย
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัวและกระชับ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกลับมาแคบใหม่
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ เพราะยานอนหลับจะไปกดการหายใจทำให้นอนกรนมากขึ้น ฯลฯ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
https://www.pobpad.com