การนอนหลับช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เพราะสามารถช่วยซ่อมแซมเซลล์ และอวัยวะที่สึกหรอ รวมไปถึงช่วยปรับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล การนอนในท่าที่เหมาะสมมีส่วนช่วยให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ท่านอนบางท่าก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ท่านอนสำคัญอย่างไร?
ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น เมื่อได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า จิตใจสดชื่นเบิกบาน แต่หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจและก่อให้โรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของท่านอนแบบต่างๆ
1.นอนหงาย
เป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน การนอนหงายโดยวางแขนราบขนานข้างลำตัว หรือนอนหงายกางแขนและขาเป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ เพราะนอกจากท่านี้จะช่วยรักษาสรีระให้ศีรษะ ลำคอ และหลังอยู่ในแนวตรง ช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยคอและหลัง ยังถือเป็นท่านอนที่ช่วยป้องกันภาวะกรดไหลย้อนได้ดี และเหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจปัญหาผิวพรรณและความงาม เพราะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า และช่วยรักษารูปร่างทรวงอกให้อยู่ทรงได้ดีกว่าท่าอื่นๆ
ข้อเสีย คือ
-ผู้ที่นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งทำให้นอนหลับไม่สนิทและทำให้คุณภาพของการนอนไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงท่านอนหงายเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
-ท่านอนหงายอาจทำให้หลอดเลือดแดงแคโรติดอาเทอรีที่ไปเลี้ยงสมอง คอ และใบหน้าอุดตันได้ด้วย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจจึงควรเลือกท่านอนตะแคงแทน
-ในท่านอนหงาย กะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น
-ผู้ที่ความดันสูง อาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจจะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น สำหรับผู้ที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน การนอนหงายในท่าราบทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้
หมายเหตุ หากถนัดนอนในท่านี้ ควรใช้หมอนหรือม้วนผ้ารองใต้เข่าเพื่อลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้

2. นอนตะแคง
ท่านอนตะแคง วางแขนแนบขนานไปกับลำตัว ถือเป็นท่านอนตะแคงที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าท่าอื่นๆ เพราะช่วยรักษากระดูกสันหลังให้เหยียดตรง ป้องกันอาการปวดเมื่อยคอและหลังได้ และยังช่วยลดอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะกรดไหลย้อนได้ และท่านอนนี้ยังเหมาะสำหรับหญิงมีครรภ์อีกด้วย
- ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขาได้
ข้อเสีย คือทำให้หัวใจซึ่งอยู่ข้างซ้ายเต้นลำบาก ในรายที่มีโรคปอดข้างขวาทำให้หายใจไม่สะดวก เนื่องจากปอดข้างซ้ายที่ปกติจะขยายตัวไม่ได้เต็มที่ อาหารในกระเพาะถ้ายังย่อยไม่หมดก่อนเข้านอนจะคั่งอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดลมจุกเสียดที่กระดูกลิ้นปี่ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะข้างซ้ายที่ติดขัดอาจเจ็บปวดจากการนอนทับเป็นเวลานาน และถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไปในท่านี้จะทำให้ปวดต้นคอได้ เนื่องจากคอตกมาทางซ้าย
หมายเหตุ อาจแก้ไขได้โดยใช้หมอนสี่เหลี่ยมที่มีความสูงเท่าความกว้างของบ่าซ้าย ขาข้างซ้ายอาจรู้สึกชา ถ้าถูกทับเป็นเวลานาน
- ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่าที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่นๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้
ข้อเสีย อาจทำให้เจ็บ ปวดหัวไหล่ขวา ปวดคอถ้าใช้หมอนต่ำเกินไป หายใจไม่สะดวก ถ้าปอดข้างซ้ายมีปัญหา และขาข้างขวาถูกทับจนชาได้
3. ท่านอนคว่ำ
การนอนคว่ำในลักษณะหันหน้าไปทางด้านซ้ายหรือขวา โดยซุกแขนไว้ใต้หมอนหรือวางแขนข้างศีรษะอาจเหมาะสำหรับผู้ที่นอนกรน เพราะเป็นท่าที่ช่วยให้หายใจได้ค่อนข้างสะดวก
ข้อเสีย แต่ก็อาจเป็นท่าที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะต้องคอยขยับร่างกายบ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกสบายตัว ท่านอนดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดแรงกดบนข้อต่อและกล้ามเนื้อซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการเหน็บชาและปวดเมื่อย โดยเฉพาะช่วงคอและหลังส่วนล่าง นอกจากนี้ ท่านอนคว่ำอาจทำให้ใบหน้าเหี่ยวย่นและหน้าอกหย่อนคล้อยได้
หมายเหตุ ทั้งนี้ผู้ที่ชอบนอนในท่านี้ หรือถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ท้อง หรือใต้ทรวงอก

4.นอนในท่านั่ง
เป็นท่านอนที่ร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก การนอนท่านี้อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืดเป็นลมได้ เพราะเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอ
หมายเหตุ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา นอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ อีกทั้งควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา
5.ท่านอนขดตัว
เป็นท่านอนในลักษณะตะแคงซ้ายหรือขวา โดยงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอกและก้มหน้า ท่านี้ช่วยให้นอนกรนน้อยลงและเป็นท่าที่เหมาะสำหรับหญิงมีครรภ์ เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่ทารกได้ดี และช่วยลดแรงกดของมดลูกลงสู่บริเวณตับได้ ท่านอนนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยพาร์กินสันด้วย เพราะมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการนอนขดตัวช่วยให้ของเสียจากสมองที่ทำให้เกิดโรคในระบบประสาทถูกกำจัดออกไปได้ดีกว่าการนอนหงาย หรือนอนคว่ำ
ข้อเสีย ท่านอนขดตัว อาจเป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยคอและหลัง เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า รวมทั้งอาจทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยเช่นเดียวกับท่านอนตะแคงแบบอื่นๆ
หมายเหตุ ผู้ที่ชอบนอนในท่านี้ ควรยืดเหยียดร่างกายไม่ให้อยู่ในลักษณะโค้งจนเกินไปซึ่งจะช่วยให้หายใจสะดวกมากขึ้นด้วย
6.ท่านอนดิ้น
ที่จริงไม่ใช่ท่านอนใดท่านอนหนึ่ง แต่คือนอนหงาย นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำ สลับกันไป ท่านอนดิ้นน่าจะเป็นท่านอนที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากได้ปรับท่านอนไปเรื่อยๆ ตลอดเวลาของการนอนหลับ เพราะเมื่ออายุสูงขึ้นการนอนดิ้นมักจะน้อยลง มักจะนอนหลับในท่าไหนก็จะตื่นขึ้นมาจากท่านั้น จึงทำให้เกิดอาการชาของแขนขาได้ หรือหายใจไม่สะดวก
การนอนเปลี่ยนท่าบ่อยๆ จึงเป็นวิธีนอนหลับที่ดี โดยทั่วไปคนเราจะนอนหลับคืนละประมาณ 3-4 รอบ รอบละ 2 ชั่วโมง คือนอนหลับไม่ฝันและฝันสลับกันไป ขณะที่เราฝันกล้ามเนื้อจะอ่อนปวกเปียกทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดภาวะผีอำ คือวางแขนกดทับอยู่บนทรวงอกจนหายใจขัด แต่ไม่สามารถยกแขนออก
ดังนั้น ถ้าทุกครั้งที่เรารู้สึกตัว เมื่อผ่านภาวะฝันไปแล้วในแต่ละรอบ เราควรจะเปลี่ยนท่านอนจากท่าเดิมเป็นอีกท่าหนึ่งที่สบายขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แขนขาชาเนื่องจากถูกทับจนขาดเลือด หรือไม่ได้ขยับตลอดคืน
ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.doctor.or.th
www.pobpad.com
ท่านอนสำคัญอย่างไร?
ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น เมื่อได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า จิตใจสดชื่นเบิกบาน แต่หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจและก่อให้โรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของท่านอนแบบต่างๆ
1.นอนหงาย
เป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน การนอนหงายโดยวางแขนราบขนานข้างลำตัว หรือนอนหงายกางแขนและขาเป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ เพราะนอกจากท่านี้จะช่วยรักษาสรีระให้ศีรษะ ลำคอ และหลังอยู่ในแนวตรง ช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยคอและหลัง ยังถือเป็นท่านอนที่ช่วยป้องกันภาวะกรดไหลย้อนได้ดี และเหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจปัญหาผิวพรรณและความงาม เพราะช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า และช่วยรักษารูปร่างทรวงอกให้อยู่ทรงได้ดีกว่าท่าอื่นๆ
ข้อเสีย คือ
-ผู้ที่นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งทำให้นอนหลับไม่สนิทและทำให้คุณภาพของการนอนไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงท่านอนหงายเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
-ท่านอนหงายอาจทำให้หลอดเลือดแดงแคโรติดอาเทอรีที่ไปเลี้ยงสมอง คอ และใบหน้าอุดตันได้ด้วย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจจึงควรเลือกท่านอนตะแคงแทน
-ในท่านอนหงาย กะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น
-ผู้ที่ความดันสูง อาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจจะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น สำหรับผู้ที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน การนอนหงายในท่าราบทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้
หมายเหตุ หากถนัดนอนในท่านี้ ควรใช้หมอนหรือม้วนผ้ารองใต้เข่าเพื่อลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้
2. นอนตะแคง
ท่านอนตะแคง วางแขนแนบขนานไปกับลำตัว ถือเป็นท่านอนตะแคงที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าท่าอื่นๆ เพราะช่วยรักษากระดูกสันหลังให้เหยียดตรง ป้องกันอาการปวดเมื่อยคอและหลังได้ และยังช่วยลดอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะกรดไหลย้อนได้ และท่านอนนี้ยังเหมาะสำหรับหญิงมีครรภ์อีกด้วย
- ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขาได้
ข้อเสีย คือทำให้หัวใจซึ่งอยู่ข้างซ้ายเต้นลำบาก ในรายที่มีโรคปอดข้างขวาทำให้หายใจไม่สะดวก เนื่องจากปอดข้างซ้ายที่ปกติจะขยายตัวไม่ได้เต็มที่ อาหารในกระเพาะถ้ายังย่อยไม่หมดก่อนเข้านอนจะคั่งอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดลมจุกเสียดที่กระดูกลิ้นปี่ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะข้างซ้ายที่ติดขัดอาจเจ็บปวดจากการนอนทับเป็นเวลานาน และถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไปในท่านี้จะทำให้ปวดต้นคอได้ เนื่องจากคอตกมาทางซ้าย
หมายเหตุ อาจแก้ไขได้โดยใช้หมอนสี่เหลี่ยมที่มีความสูงเท่าความกว้างของบ่าซ้าย ขาข้างซ้ายอาจรู้สึกชา ถ้าถูกทับเป็นเวลานาน
- ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่าที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่นๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้
ข้อเสีย อาจทำให้เจ็บ ปวดหัวไหล่ขวา ปวดคอถ้าใช้หมอนต่ำเกินไป หายใจไม่สะดวก ถ้าปอดข้างซ้ายมีปัญหา และขาข้างขวาถูกทับจนชาได้
3. ท่านอนคว่ำ
การนอนคว่ำในลักษณะหันหน้าไปทางด้านซ้ายหรือขวา โดยซุกแขนไว้ใต้หมอนหรือวางแขนข้างศีรษะอาจเหมาะสำหรับผู้ที่นอนกรน เพราะเป็นท่าที่ช่วยให้หายใจได้ค่อนข้างสะดวก
ข้อเสีย แต่ก็อาจเป็นท่าที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะต้องคอยขยับร่างกายบ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกสบายตัว ท่านอนดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดแรงกดบนข้อต่อและกล้ามเนื้อซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการเหน็บชาและปวดเมื่อย โดยเฉพาะช่วงคอและหลังส่วนล่าง นอกจากนี้ ท่านอนคว่ำอาจทำให้ใบหน้าเหี่ยวย่นและหน้าอกหย่อนคล้อยได้
หมายเหตุ ทั้งนี้ผู้ที่ชอบนอนในท่านี้ หรือถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ท้อง หรือใต้ทรวงอก
4.นอนในท่านั่ง
เป็นท่านอนที่ร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก การนอนท่านี้อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืดเป็นลมได้ เพราะเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอ
หมายเหตุ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา นอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ อีกทั้งควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา
5.ท่านอนขดตัว
เป็นท่านอนในลักษณะตะแคงซ้ายหรือขวา โดยงอเข่าขึ้นมาชิดหน้าอกและก้มหน้า ท่านี้ช่วยให้นอนกรนน้อยลงและเป็นท่าที่เหมาะสำหรับหญิงมีครรภ์ เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่ทารกได้ดี และช่วยลดแรงกดของมดลูกลงสู่บริเวณตับได้ ท่านอนนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยพาร์กินสันด้วย เพราะมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการนอนขดตัวช่วยให้ของเสียจากสมองที่ทำให้เกิดโรคในระบบประสาทถูกกำจัดออกไปได้ดีกว่าการนอนหงาย หรือนอนคว่ำ
ข้อเสีย ท่านอนขดตัว อาจเป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยคอและหลัง เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า รวมทั้งอาจทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยเช่นเดียวกับท่านอนตะแคงแบบอื่นๆ
หมายเหตุ ผู้ที่ชอบนอนในท่านี้ ควรยืดเหยียดร่างกายไม่ให้อยู่ในลักษณะโค้งจนเกินไปซึ่งจะช่วยให้หายใจสะดวกมากขึ้นด้วย
6.ท่านอนดิ้น
ที่จริงไม่ใช่ท่านอนใดท่านอนหนึ่ง แต่คือนอนหงาย นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำ สลับกันไป ท่านอนดิ้นน่าจะเป็นท่านอนที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากได้ปรับท่านอนไปเรื่อยๆ ตลอดเวลาของการนอนหลับ เพราะเมื่ออายุสูงขึ้นการนอนดิ้นมักจะน้อยลง มักจะนอนหลับในท่าไหนก็จะตื่นขึ้นมาจากท่านั้น จึงทำให้เกิดอาการชาของแขนขาได้ หรือหายใจไม่สะดวก
การนอนเปลี่ยนท่าบ่อยๆ จึงเป็นวิธีนอนหลับที่ดี โดยทั่วไปคนเราจะนอนหลับคืนละประมาณ 3-4 รอบ รอบละ 2 ชั่วโมง คือนอนหลับไม่ฝันและฝันสลับกันไป ขณะที่เราฝันกล้ามเนื้อจะอ่อนปวกเปียกทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดภาวะผีอำ คือวางแขนกดทับอยู่บนทรวงอกจนหายใจขัด แต่ไม่สามารถยกแขนออก
ดังนั้น ถ้าทุกครั้งที่เรารู้สึกตัว เมื่อผ่านภาวะฝันไปแล้วในแต่ละรอบ เราควรจะเปลี่ยนท่านอนจากท่าเดิมเป็นอีกท่าหนึ่งที่สบายขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แขนขาชาเนื่องจากถูกทับจนขาดเลือด หรือไม่ได้ขยับตลอดคืน
ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.doctor.or.th
www.pobpad.com