By : Pharmchompoo
สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จากรายงานผลเบื้องต้นของสำนักงานสถิติแห่งชาติว่าด้วยการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (ปี 2537-2557) ร้อยละของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.8 เป็น 14.9 ของประชากรทั้งหมด โรคที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจึงเป็นโรคที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
โรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุนั้นจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมถอยของร่างกาย หรือโรคเรื้อรังที่เป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ ความเสื่อมถอยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเมื่อย การขึ้น-ลงบันไดทำได้ลำบาก นั่งยองๆ ขัดสมาธิ ก้มๆ เงยๆ ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน ผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกินก็จะมีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมตามมาอีก นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังเป็นวัยที่หกล้มง่าย เนื่องจากการมองเห็น การทรงตัวที่ไม่ดีดังเดิม
อาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและมักเป็นสาเหตุนำไปสู่การใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็นได้แก่ “อาการปวดเมื่อย”
ยาพาราเซตามอล หรือยาผสมสูตรคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่นิยมใช้และมีการสั่งจ่ายกันมาก แทบทุกบ้านที่มีผู้สูงอายุจะต้องมียานี้อยู่ในบ้านอย่างแน่นอน หรือพาราเซตามอลที่บรรจุเป็นกระปุก ด้วยความที่พาราเซตามอลเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงทำให้คนทั่วไปคิดว่า พาราเซตามอลเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง
คนสมัยก่อนอาจเคยได้ยินเรื่อง “การติดยาแก้ปวด” ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในผู้ใช้แรงงาน โดยที่เป็นเสมือนหนึ่งยาชูกำลัง กินแล้วทำงานได้ พาราเซตามอลก็เช่นกัน บางคนไม่กินแล้วมีอาการปวดเมื่อย หรือบางคนมีอาการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อย แทนที่จะใช้วิธีการอื่นในการบรรเทาอาการ ก็กินยาแก้ปวดทันที ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินขนาด
ในท้องตลาดปัจจุบัน มียาสูตรแก้ปวดและยาแก้ปวดผสมยาคลายกล้ามเนื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีปริมาณพาราเซตามอลต่อเม็ดไม่ต่ำกว่า 350 มก. (มิลลิกรัม) ซึ่งในความเป็นจริง ผู้สูงอายุบางรายไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกก็มักจะได้รับมาทั้งยาแก้ปวดและยาแก้ปวดผสมยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อกินรวมๆ กันโดยไม่ได้ดูปริมาณพาราเซตามอลที่ได้รับ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินขนาดได้ และอันตรายจากการได้รับพาราเซตามอลก็มีสูงเสียด้วย คือทำให้เกิดพิษต่อตับ ตับวายได้
ความคุ้นเคยอีกประการหนึ่งคือ คนทั่วไปมักนิยมกินพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละ 2 เม็ด (1 กรัม) ด้วยเชื่อว่าอาการจะได้หายเร็ว ซึ่งวิธีการกินยาแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับพาราเซตามอลต่อวันเกินขนาดสูงมาก ลองคิดเล่นๆ ว่ากินพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง วันหนึ่งจะได้รับยาถึง 4 กรัม และหากผู้นั้นมีภาวะขาดสารอาหาร มีโรคตับอยู่เดิม เป็นคนดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือกินยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อเพิ่มเข้าไปอีก ความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อตับก็จะสูงมากขึ้น
ในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ หรือ USFDA จึงแนะนำให้มีการปรับลดขนาดพาราเซตามอลที่สามารถกินได้ต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 2,600 มก. และแนะนำว่า ขนาดยาต่อครั้งไม่ควรจะเกิน 650 มก. (เทียบเท่าพาราเซตามอลเม็ดสำหรับเด็ก 325 มก. 2 เม็ด) และต้องพิจารณาปริมาณพาราเซตามอลจากสูตรยาอื่นร่วมด้วย ถ้ามีการกินร่วมกัน เช่น ถ้าต้องกินยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อ ที่มีพาราเซตามอล 450 มก./เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก็เท่ากับว่าได้รับพาราเซตามอลเข้าไปแล้ว 1,350 มก.
เพราะฉะนั้น จะเหลือช่องว่างให้กับการกินพาราเซตามอลเดี่ยวๆ ได้อีก 1,250 มก. (2 เม็ดครึ่งของพาราเซตามอลขนาด 500 มก.) ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะเป็นการยืดอายุตับไปได้อีกนาน
_____________________________
ที่มา: Drug Safety and Risk Management Advisory Committee. Acetaminophen Overdose and Liver Injury — Background and Options for Reducing Injury [Online]. Available at: http://www.fda.gov/downloads/AdvisoryCommittees/CommitteesMeetingMaterials/Drugs/DrugSafetyandRiskManagementAdvisoryCommittee/UCM164897.pdf. Accessed Dec 24, 2016
สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จากรายงานผลเบื้องต้นของสำนักงานสถิติแห่งชาติว่าด้วยการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (ปี 2537-2557) ร้อยละของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.8 เป็น 14.9 ของประชากรทั้งหมด โรคที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจึงเป็นโรคที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
โรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุนั้นจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมถอยของร่างกาย หรือโรคเรื้อรังที่เป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ ความเสื่อมถอยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเมื่อย การขึ้น-ลงบันไดทำได้ลำบาก นั่งยองๆ ขัดสมาธิ ก้มๆ เงยๆ ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน ผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำหนักเกินก็จะมีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมตามมาอีก นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังเป็นวัยที่หกล้มง่าย เนื่องจากการมองเห็น การทรงตัวที่ไม่ดีดังเดิม
อาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและมักเป็นสาเหตุนำไปสู่การใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็นได้แก่ “อาการปวดเมื่อย”
ยาพาราเซตามอล หรือยาผสมสูตรคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่นิยมใช้และมีการสั่งจ่ายกันมาก แทบทุกบ้านที่มีผู้สูงอายุจะต้องมียานี้อยู่ในบ้านอย่างแน่นอน หรือพาราเซตามอลที่บรรจุเป็นกระปุก ด้วยความที่พาราเซตามอลเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงทำให้คนทั่วไปคิดว่า พาราเซตามอลเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง
คนสมัยก่อนอาจเคยได้ยินเรื่อง “การติดยาแก้ปวด” ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในผู้ใช้แรงงาน โดยที่เป็นเสมือนหนึ่งยาชูกำลัง กินแล้วทำงานได้ พาราเซตามอลก็เช่นกัน บางคนไม่กินแล้วมีอาการปวดเมื่อย หรือบางคนมีอาการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อย แทนที่จะใช้วิธีการอื่นในการบรรเทาอาการ ก็กินยาแก้ปวดทันที ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินขนาด
ในท้องตลาดปัจจุบัน มียาสูตรแก้ปวดและยาแก้ปวดผสมยาคลายกล้ามเนื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีปริมาณพาราเซตามอลต่อเม็ดไม่ต่ำกว่า 350 มก. (มิลลิกรัม) ซึ่งในความเป็นจริง ผู้สูงอายุบางรายไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกก็มักจะได้รับมาทั้งยาแก้ปวดและยาแก้ปวดผสมยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อกินรวมๆ กันโดยไม่ได้ดูปริมาณพาราเซตามอลที่ได้รับ ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินขนาดได้ และอันตรายจากการได้รับพาราเซตามอลก็มีสูงเสียด้วย คือทำให้เกิดพิษต่อตับ ตับวายได้
ความคุ้นเคยอีกประการหนึ่งคือ คนทั่วไปมักนิยมกินพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละ 2 เม็ด (1 กรัม) ด้วยเชื่อว่าอาการจะได้หายเร็ว ซึ่งวิธีการกินยาแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับพาราเซตามอลต่อวันเกินขนาดสูงมาก ลองคิดเล่นๆ ว่ากินพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง วันหนึ่งจะได้รับยาถึง 4 กรัม และหากผู้นั้นมีภาวะขาดสารอาหาร มีโรคตับอยู่เดิม เป็นคนดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือกินยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อเพิ่มเข้าไปอีก ความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อตับก็จะสูงมากขึ้น
ในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ หรือ USFDA จึงแนะนำให้มีการปรับลดขนาดพาราเซตามอลที่สามารถกินได้ต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 2,600 มก. และแนะนำว่า ขนาดยาต่อครั้งไม่ควรจะเกิน 650 มก. (เทียบเท่าพาราเซตามอลเม็ดสำหรับเด็ก 325 มก. 2 เม็ด) และต้องพิจารณาปริมาณพาราเซตามอลจากสูตรยาอื่นร่วมด้วย ถ้ามีการกินร่วมกัน เช่น ถ้าต้องกินยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อ ที่มีพาราเซตามอล 450 มก./เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก็เท่ากับว่าได้รับพาราเซตามอลเข้าไปแล้ว 1,350 มก.
เพราะฉะนั้น จะเหลือช่องว่างให้กับการกินพาราเซตามอลเดี่ยวๆ ได้อีก 1,250 มก. (2 เม็ดครึ่งของพาราเซตามอลขนาด 500 มก.) ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะเป็นการยืดอายุตับไปได้อีกนาน
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
_____________________________
ที่มา: Drug Safety and Risk Management Advisory Committee. Acetaminophen Overdose and Liver Injury — Background and Options for Reducing Injury [Online]. Available at: http://www.fda.gov/downloads/AdvisoryCommittees/CommitteesMeetingMaterials/Drugs/DrugSafetyandRiskManagementAdvisoryCommittee/UCM164897.pdf. Accessed Dec 24, 2016