แม้ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองถึงพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยที่เพิ่มก้าวขึ้นไปอีกขั้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เริ่มทำความรู้จักอวัยวะของร่างกายตนเอง แต่หากพฤติกรรม “การดูดนิ้ว” นั้นติดต่อเนื่องไปจนโตกลับส่งผลร้ายต่อการใช้ชีวิตทั้งภายนอกและภายใน

1.ทำให้โครงสร้างของฟันผิดปกติ ฟันบนและฟันล่างเหลื่อมกัน (Overbite) ฟันที่ขึ้นอาจมีลักษณะเหยิน ยื่น
2.อาจะเกิดภาวะนิ้วติดเชื้อ เพราะอาจจะได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปทางปาก
3.ทำให้เกิดความผิดปกติของนิ้ว ข้อนิ้วหรือทำให้เล็บขบ จนต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการติดพฤติกรรมและน้ำหนักที่ใช้ในการดูดนิ้วด้วย
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ เพราะจะถูกมองว่าเป็นเด็กไม่รู้จักโต ถูกเพื่อนล้อเลียน ถูกผู้ปกครองพ่อแม่ว่ากล่าว ทำให้เสียความมั่นใจไปในที่สุด ดังนั้นทางป้องกันขั้นแรกจึงควรดูแลเรื่องสุขภาพเล็บมือเท้าให้สั้นอยู่เสมอๆ คอยสั่งเกตนิ้วมือว่ามีอาการอักเสบ มีผืนตุ้มคันหรือแผลจากการดูดนิ้ว และมั่นล้างทำความสะอาดมือทุกครั้งที่หยิบจับสิ่งสกปรก ขั้นที่สองพยายามอย่าว่ากล่าวเวลาที่มีพฤติกรรมการดูดนิ้ว ให้หาความสนใจเบี่ยงเบน เช่น กิจกรรมที่ฝึกทักษะมือ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่สันทนาการเพื่อให้ลืมพฤติกรรมการดูดนิ้ว ทั้งสองส่วนนี้ก็จะให้พฤติกรรมหายไปในระยะเวลาไม่นาน


สำหรับผู้ปกครองที่พบหรือสังเกตว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมการดูดนิ้วแน่ชัด นอกจากปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความผิดปกติที่บริเวณปากและใบหน้า เพื่อวางแผนการฝึกอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เลิกพฤติกรรมการดูดนิ้ว เราสามารถทำเองได้โดย
1.ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูจังหวะแนะนำบอกกล่าวผลกระทบแก่บุตรหลานในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรบอกในระหว่างที่เขามีเรื่องกังวลใจ
2.ให้บุตรหลานเป็นผู้ตัดสินใจเลิกด้วยตัวเอง
3.โดยคอยให้กำลังใจและสนับสนุนไม่ปล่อยให้มือและปาก โดยการให้เล่นเกมหรือรับประทนขนมที่เจ้าตัวชอบ
ทั้งนี้ระยะเวลาที่เด็กๆ จะหยุดพฤติกรรมการดูดนิ้วอย่างน้อยต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน จึงควรค่อยๆ และดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีของคนที่คุณรัก
1.ทำให้โครงสร้างของฟันผิดปกติ ฟันบนและฟันล่างเหลื่อมกัน (Overbite) ฟันที่ขึ้นอาจมีลักษณะเหยิน ยื่น
2.อาจะเกิดภาวะนิ้วติดเชื้อ เพราะอาจจะได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปทางปาก
3.ทำให้เกิดความผิดปกติของนิ้ว ข้อนิ้วหรือทำให้เล็บขบ จนต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการติดพฤติกรรมและน้ำหนักที่ใช้ในการดูดนิ้วด้วย
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ เพราะจะถูกมองว่าเป็นเด็กไม่รู้จักโต ถูกเพื่อนล้อเลียน ถูกผู้ปกครองพ่อแม่ว่ากล่าว ทำให้เสียความมั่นใจไปในที่สุด ดังนั้นทางป้องกันขั้นแรกจึงควรดูแลเรื่องสุขภาพเล็บมือเท้าให้สั้นอยู่เสมอๆ คอยสั่งเกตนิ้วมือว่ามีอาการอักเสบ มีผืนตุ้มคันหรือแผลจากการดูดนิ้ว และมั่นล้างทำความสะอาดมือทุกครั้งที่หยิบจับสิ่งสกปรก ขั้นที่สองพยายามอย่าว่ากล่าวเวลาที่มีพฤติกรรมการดูดนิ้ว ให้หาความสนใจเบี่ยงเบน เช่น กิจกรรมที่ฝึกทักษะมือ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่สันทนาการเพื่อให้ลืมพฤติกรรมการดูดนิ้ว ทั้งสองส่วนนี้ก็จะให้พฤติกรรมหายไปในระยะเวลาไม่นาน
สำหรับผู้ปกครองที่พบหรือสังเกตว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมการดูดนิ้วแน่ชัด นอกจากปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความผิดปกติที่บริเวณปากและใบหน้า เพื่อวางแผนการฝึกอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เลิกพฤติกรรมการดูดนิ้ว เราสามารถทำเองได้โดย
1.ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูจังหวะแนะนำบอกกล่าวผลกระทบแก่บุตรหลานในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรบอกในระหว่างที่เขามีเรื่องกังวลใจ
2.ให้บุตรหลานเป็นผู้ตัดสินใจเลิกด้วยตัวเอง
3.โดยคอยให้กำลังใจและสนับสนุนไม่ปล่อยให้มือและปาก โดยการให้เล่นเกมหรือรับประทนขนมที่เจ้าตัวชอบ
ทั้งนี้ระยะเวลาที่เด็กๆ จะหยุดพฤติกรรมการดูดนิ้วอย่างน้อยต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน จึงควรค่อยๆ และดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีของคนที่คุณรัก