ย้อนกลับไปประมาณ 20 ปีก่อน มีโรคลึกลับที่สร้างความตื่นตระหนกแก่คนในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีคนหลายคนที่อยู่ๆ ก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยนอนหลับแล้วเสียชีวิตไปเฉยๆ โดยไม่มีอาการบ่งชี้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “โรคใหลตาย”
นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม ในลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลว่าโรคใหลตายเป็น กลุ่มโรคเดียวกับ Brugada Syndrome และ Early Repolarization Syndrome ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากจนทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน ส่วนกลไกที่เป็นสาเหตุของ Brugada หรือ Early Repolarization เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ยังเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ต้องทำการศึกษากันต่อไป
อาการของโรคนี้ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตฉับพลันในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรงและไม่เคยป่วยมาก่อน ในประเทศไทยมักพบเจอบ่อยในภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลาง ช่วงอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 30-50 ปี ที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่ รับรู้ของคนทั่วไป และผู้ป่วยมักเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและสังคม ดังนั้น หากอยู่ๆ เสียชีวิตไป จะทำให้มีปัญหากับคนที่อยู่ข้างหลังได้
จากปริศนาดังกล่าว นพ. กุลวี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ทำการศึกษาบุกเบิกสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคใหลตาย โดยในปี 2539 นพ. กุลวี และคณะวิจัยได้ค้นพบว่าอาการของโรคนี้มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกตินี้จะมีรูปแบบเฉพาะ ที่ภายหลังเรียกว่าเป็น Brugada Syndrome ล่าสุดเมื่อ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ก็มีการค้นพบใหม่อีกว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีพังผืดในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวา พยาธิสภาพของโรคนี้ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าพันธุกรรมมีส่วนกระตุ้นให้เป็นโรคใหลตายอย่างไร
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ Brugada Syndrome และ Early Repolarization Syndrome คือคนที่เคยมีอาการ Cardiac Arrest หรือภาวะหัวใจเต้นระริกไม่มีการบีบตัว ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งอาการนี้ หากไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นมาก่อน ก็ พบว่าเกิดจากกระแสไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ รวมทั้งอาการ Agonal respiration หรือการหายใจเป็นเฮือกๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นหลังหัวใจหยุดเต้น คนกลุ่มนี้แม้มีชีวิตรอดจากการช่วยปั๊มหัวใจมาได้ครั้งหนึ่ง ก็ยังมีความเสี่ยงจะเกิดซ้ำอีก
สำหรับแนวทางการรักษา แนวทางแรกคือการใส่เครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Defibrillator) ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยเมื่อเกิดอาการภาวะหัวใจห้องล่างเต้นระริกโดยไม่มีการหดตัว (Ventricular Fibrillation) เครื่องกระตุกหัวใจก็จะช็อคหัวใจให้กลับมาทำงานอีกครั้ง
นอกจากนี้แล้ว นพ. กุลวี ยังได้บุกเบิกวิธีการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency ablation) ผ่านสายจี้ บริเวณจุดที่มีปัญหา ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยี 3-Dimention electroanatomical mapping มาจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ เพื่อให้แพทย์มองเห็นการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจน และค้นหา ตำแหน่งที่มีความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ โดยวัตถุประสงค์การรักษาแนวทางนี้คือมุ่งรักษาโรคให้หายขาด ต่างจากการใส่เครื่องกระตุกหัวใจที่ไม่ใช้ทางแก้แต่เป็นการป้องกันการเสียชีวิตเท่านั้น
อย่างไรก็ดี วิธีการรักษาด้วยวิธีจี้หัวใจ นอกจากต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อให้ค้นหาตำแหน่งผิดปกติได้อย่างแม่นยำแล้ว ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่า คือทักษะและความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งในเมืองไทยยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จำนวนไม่มาก ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยเทคนิค RF ablation อย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ไปในวงกว้างมากขึ้น
ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการในหัวข้อ “Genetics, Diagnosis and Treatment of Brugada & Early Repolarization Syndromes” หรือ “พันธุศาสตร์ การวินิจฉัยและการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในโรคใหลตาย (Brugada Syndrome) และภาวะ Early Repolarization” ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านหัวใจหลายคนมาร่วมงาน
การประชุมเชิงปฎิบัติการดังกล่าว ได้เน้นไปที่การอบรมการจี้หัวใจสำหรับโรคใหลตาย โดยนำผู้ป่วยที่มีอาการของโรคมาสาธิตการรักษา ซึ่งจะมีทั้งแบบที่มีอาการของ Brugada Syndrome, Early Repolarization ผู้ป่วยที่มีทั้ง 2 อาการผสมผสานกัน รวมทั้งผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ ผู้เข้าประชุมจะได้เห็นการสาธิตว่าจะหาจุดที่มีความผิดปกติตรงไหน หาเจอแล้วจะใช้เครื่องมือจี้อย่างไร
“วัตถุประสงค์ที่เราจัดงานนี้ขึ้นเพราะผมศึกษาโรคนี้มานาน เรามีการค้นพบใหม่ๆว่าโรคพวกนี้เกิดจากอะไร แล้วก็คิดค้นวิธีการจี้หัวใจเพื่อทำให้โรคนี้หายขาดได้ ขณะที่ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็มีห้อง ปฏิบัติการที่ทันสมัยระดับนานาชาติ เพราะถอดแบบมาจากห้องปฏิบัติการของผมในลอสแองเจลิส การจัดงานนี้ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็อยากทำเป็นการกุศล เพราะนี่เป็นโอกาสที่ดีในการเข้าใจการเสียชีวิตเฉียบพลันของคนปกติที่ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่ได้หวังผลทางธุรกิจ แต่อยากสร้างเรื่ององค์ความรู้ของวงการแพทย์เป็นหลัก” นพ. กุลวี กล่าว
นพ. กุลวี กล่าวอีกว่า แนวคิดในการพัฒนาเทคนิคการรักษานี้ คือหวังว่าจะสามารถเข้ามาทดแทนการใส่เครื่องกระตุกหัวใจได้ เพราะการใส่เครื่องกระตุกหัวใจจะต้องใส่เครื่องมือนี้ไปตลอดชีวิต และระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้อาจเสี่ยงมีปัจจัยแทรกซ้อนได้ เช่น ฉนวนของสายไฟรั่วและทำให้เครื่องไม่ทำงาน หรือเกิดการติดเชื้อได้หากเปลี่ยนเครื่องบ่อยๆ
นอกจากนี้ เทคนิคดังกล่าวยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย เนื่องจากการใส่เครื่องมือแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใส่เครื่องมืออีกหลายครั้ง ตลอดชีวิต ดังนั้น หากสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการ และทำการรักษาด้วยการจี้หัวใจตั้งแต่แรกย่อมทำให้เกิดการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ในเชิงบวกแก่ผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม กว่าจะเดินหน้าไปถึงจุดนั้นได้ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี โดยขั้นตอนขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเทคนิคนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการเกิดอาการของโรค เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง และคาดว่าจะทำการวิจัยเสร็จภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม ในลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลว่าโรคใหลตายเป็น กลุ่มโรคเดียวกับ Brugada Syndrome และ Early Repolarization Syndrome ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากจนทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน ส่วนกลไกที่เป็นสาเหตุของ Brugada หรือ Early Repolarization เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ยังเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ต้องทำการศึกษากันต่อไป
อาการของโรคนี้ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตฉับพลันในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรงและไม่เคยป่วยมาก่อน ในประเทศไทยมักพบเจอบ่อยในภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลาง ช่วงอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 30-50 ปี ที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่ รับรู้ของคนทั่วไป และผู้ป่วยมักเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและสังคม ดังนั้น หากอยู่ๆ เสียชีวิตไป จะทำให้มีปัญหากับคนที่อยู่ข้างหลังได้
จากปริศนาดังกล่าว นพ. กุลวี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ทำการศึกษาบุกเบิกสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคใหลตาย โดยในปี 2539 นพ. กุลวี และคณะวิจัยได้ค้นพบว่าอาการของโรคนี้มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกตินี้จะมีรูปแบบเฉพาะ ที่ภายหลังเรียกว่าเป็น Brugada Syndrome ล่าสุดเมื่อ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ก็มีการค้นพบใหม่อีกว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีพังผืดในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวา พยาธิสภาพของโรคนี้ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าพันธุกรรมมีส่วนกระตุ้นให้เป็นโรคใหลตายอย่างไร
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ Brugada Syndrome และ Early Repolarization Syndrome คือคนที่เคยมีอาการ Cardiac Arrest หรือภาวะหัวใจเต้นระริกไม่มีการบีบตัว ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งอาการนี้ หากไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นมาก่อน ก็ พบว่าเกิดจากกระแสไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ รวมทั้งอาการ Agonal respiration หรือการหายใจเป็นเฮือกๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นหลังหัวใจหยุดเต้น คนกลุ่มนี้แม้มีชีวิตรอดจากการช่วยปั๊มหัวใจมาได้ครั้งหนึ่ง ก็ยังมีความเสี่ยงจะเกิดซ้ำอีก
สำหรับแนวทางการรักษา แนวทางแรกคือการใส่เครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Defibrillator) ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยเมื่อเกิดอาการภาวะหัวใจห้องล่างเต้นระริกโดยไม่มีการหดตัว (Ventricular Fibrillation) เครื่องกระตุกหัวใจก็จะช็อคหัวใจให้กลับมาทำงานอีกครั้ง
นอกจากนี้แล้ว นพ. กุลวี ยังได้บุกเบิกวิธีการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency ablation) ผ่านสายจี้ บริเวณจุดที่มีปัญหา ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยี 3-Dimention electroanatomical mapping มาจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ เพื่อให้แพทย์มองเห็นการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจน และค้นหา ตำแหน่งที่มีความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ โดยวัตถุประสงค์การรักษาแนวทางนี้คือมุ่งรักษาโรคให้หายขาด ต่างจากการใส่เครื่องกระตุกหัวใจที่ไม่ใช้ทางแก้แต่เป็นการป้องกันการเสียชีวิตเท่านั้น
อย่างไรก็ดี วิธีการรักษาด้วยวิธีจี้หัวใจ นอกจากต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อให้ค้นหาตำแหน่งผิดปกติได้อย่างแม่นยำแล้ว ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่า คือทักษะและความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งในเมืองไทยยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จำนวนไม่มาก ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยเทคนิค RF ablation อย่างต่อเนื่องเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ไปในวงกว้างมากขึ้น
ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการในหัวข้อ “Genetics, Diagnosis and Treatment of Brugada & Early Repolarization Syndromes” หรือ “พันธุศาสตร์ การวินิจฉัยและการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในโรคใหลตาย (Brugada Syndrome) และภาวะ Early Repolarization” ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านหัวใจหลายคนมาร่วมงาน
การประชุมเชิงปฎิบัติการดังกล่าว ได้เน้นไปที่การอบรมการจี้หัวใจสำหรับโรคใหลตาย โดยนำผู้ป่วยที่มีอาการของโรคมาสาธิตการรักษา ซึ่งจะมีทั้งแบบที่มีอาการของ Brugada Syndrome, Early Repolarization ผู้ป่วยที่มีทั้ง 2 อาการผสมผสานกัน รวมทั้งผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ ผู้เข้าประชุมจะได้เห็นการสาธิตว่าจะหาจุดที่มีความผิดปกติตรงไหน หาเจอแล้วจะใช้เครื่องมือจี้อย่างไร
“วัตถุประสงค์ที่เราจัดงานนี้ขึ้นเพราะผมศึกษาโรคนี้มานาน เรามีการค้นพบใหม่ๆว่าโรคพวกนี้เกิดจากอะไร แล้วก็คิดค้นวิธีการจี้หัวใจเพื่อทำให้โรคนี้หายขาดได้ ขณะที่ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็มีห้อง ปฏิบัติการที่ทันสมัยระดับนานาชาติ เพราะถอดแบบมาจากห้องปฏิบัติการของผมในลอสแองเจลิส การจัดงานนี้ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็อยากทำเป็นการกุศล เพราะนี่เป็นโอกาสที่ดีในการเข้าใจการเสียชีวิตเฉียบพลันของคนปกติที่ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่ได้หวังผลทางธุรกิจ แต่อยากสร้างเรื่ององค์ความรู้ของวงการแพทย์เป็นหลัก” นพ. กุลวี กล่าว
นพ. กุลวี กล่าวอีกว่า แนวคิดในการพัฒนาเทคนิคการรักษานี้ คือหวังว่าจะสามารถเข้ามาทดแทนการใส่เครื่องกระตุกหัวใจได้ เพราะการใส่เครื่องกระตุกหัวใจจะต้องใส่เครื่องมือนี้ไปตลอดชีวิต และระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้อาจเสี่ยงมีปัจจัยแทรกซ้อนได้ เช่น ฉนวนของสายไฟรั่วและทำให้เครื่องไม่ทำงาน หรือเกิดการติดเชื้อได้หากเปลี่ยนเครื่องบ่อยๆ
นอกจากนี้ เทคนิคดังกล่าวยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย เนื่องจากการใส่เครื่องมือแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใส่เครื่องมืออีกหลายครั้ง ตลอดชีวิต ดังนั้น หากสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการ และทำการรักษาด้วยการจี้หัวใจตั้งแต่แรกย่อมทำให้เกิดการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ในเชิงบวกแก่ผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม กว่าจะเดินหน้าไปถึงจุดนั้นได้ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี โดยขั้นตอนขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเทคนิคนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการเกิดอาการของโรค เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง และคาดว่าจะทำการวิจัยเสร็จภายในอีก 2 ปีข้างหน้า