ประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 95 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คือโรคไตจากเบาหวาน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “เบาหวานลงไต”
โรคไตจากเบาหวาน หรือ “เบาหวานลงไต” เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
ลักษณะอาการ มีดังต่อไปนี้
1.มีภาวะโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะ ระยะแรกมีปริมาณเล็กน้อย และมากขึ้นตามลำดับ
2.มีความดันโลหิตสูง
3.การทำงานของไต ในระยะแรกจะปกติ ต่อมาจะเริ่มเสื่อม และเสื่อมมากขึ้นจนเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตจากเบาหวาน
1.ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานมานาน
2.มีประวัติครอบครัวของโรคไตจากเบาหวาน หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือความดันโลหิตสูง
3.การควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
4.การควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ไม่ดี
5.ภาวะไขมันในเลือดสูง
6.มีโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ
7.การสูบบุหรี่
________________________________
ขอบคุณข้อมูล : ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพ : Pixabay.com
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “เบาหวานลงไต”
โรคไตจากเบาหวาน หรือ “เบาหวานลงไต” เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
ลักษณะอาการ มีดังต่อไปนี้
1.มีภาวะโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะ ระยะแรกมีปริมาณเล็กน้อย และมากขึ้นตามลำดับ
2.มีความดันโลหิตสูง
3.การทำงานของไต ในระยะแรกจะปกติ ต่อมาจะเริ่มเสื่อม และเสื่อมมากขึ้นจนเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตจากเบาหวาน
1.ระยะเวลาของการเป็นเบาหวานมานาน
2.มีประวัติครอบครัวของโรคไตจากเบาหวาน หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือความดันโลหิตสูง
3.การควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
4.การควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ไม่ดี
5.ภาวะไขมันในเลือดสูง
6.มีโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ
7.การสูบบุหรี่
แนวทางการป้องกันและรักษา 1.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี 2.ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งในข้อนี้ มีการแนะนำเกี่ยวกับกลุ่มของยาลดความดันโลหิตที่สามารถเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้ร่วมกัน หากไม่มีข้อห้าม และควรมีการปรึกษาแพทย์ 3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอัลบูมินในปัสสาวะ และ/หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงต้องได้รับการรักษา ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไต 4.ควรได้รับคำแนะนำและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างเหมาะสม ได้แก่ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และงดสูบบุหรี่ 5.ควรได้รับการดูแลรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่น จำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารให้เหมาะสม |
________________________________
ขอบคุณข้อมูล : ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพ : Pixabay.com