มะแว้ง สมุนไพรไทยที่รู้จักกันมานาน มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ สามารถใช้เป็นได้ทั้งอาหารและสรรพคุณทางตำรับยารักษาแผนโบราณทั้งไทยและต่างประเทศ
ผลมะแว้งที่คนมักนิยมนำมาใช้ มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น แต่ก็มีสรรพคุณทางยาคล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่นิยมปลูก “มะแว้งต้น” เพราะปลูกง่าย แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มต้น ไม่ยุ่งยากเหมือนกับมะแว้งเครือ แต่สำหรับการนำมะแว้งมาทำเป็นยา คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้ผลของมะแว้งเครือมากกว่า
"มะแว้ง” มีคุณค่าทางโภชนาการ
คือ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี มีสารประกอบประเภทสเตียรอยดฅ์ เช่น เบต้าซิโตสเตอรอล, ไดออสเจนิน, มีสารอัลลาลอยด์โซลานีน, โซลานิดีน และรสขม
สรรพคุณเด่นของมะแว้ง
มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอและป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อที่รุนแรงในระบบทางเดินหายใจ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ จึงสามารระงับการอักเสบได้ มะแว้งตามสรรพคุณยาไทยบอกไว้ว่า ผลมะแว้งใช้ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้เบาหวาน บำรุงเลือด รากมะแว้ง แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ขับปัสสาวะ เพราะทุกส่วนของต้นมะแว้งนั้นล้วนแต่มีสรรพคุณทางยารักษา
ราก : แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ทั้งต้น : แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ใบ : บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
ผล :
1. ผลแก่ มีสรรพคุณใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย เจริญอาหารและบำรุงน้ำดี แก้ไข้
2.ผลสุกและดิบ ใช้เป็นน้ำกระสายกวาดคอ เพื่อรักษาอาการไอ และช่วยขับเสมหะ ใช้เตรียมยาประสะมะแว้ง
___________
ข่าวโดย : กมลชนก บุญเพ็ง
ผลมะแว้งที่คนมักนิยมนำมาใช้ มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น แต่ก็มีสรรพคุณทางยาคล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่นิยมปลูก “มะแว้งต้น” เพราะปลูกง่าย แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มต้น ไม่ยุ่งยากเหมือนกับมะแว้งเครือ แต่สำหรับการนำมะแว้งมาทำเป็นยา คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้ผลของมะแว้งเครือมากกว่า
"มะแว้ง” มีคุณค่าทางโภชนาการ
คือ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี มีสารประกอบประเภทสเตียรอยดฅ์ เช่น เบต้าซิโตสเตอรอล, ไดออสเจนิน, มีสารอัลลาลอยด์โซลานีน, โซลานิดีน และรสขม
สรรพคุณเด่นของมะแว้ง
มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอและป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อที่รุนแรงในระบบทางเดินหายใจ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ จึงสามารระงับการอักเสบได้ มะแว้งตามสรรพคุณยาไทยบอกไว้ว่า ผลมะแว้งใช้ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้เบาหวาน บำรุงเลือด รากมะแว้ง แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ขับปัสสาวะ เพราะทุกส่วนของต้นมะแว้งนั้นล้วนแต่มีสรรพคุณทางยารักษา
ราก : แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ทั้งต้น : แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ใบ : บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
ผล :
1. ผลแก่ มีสรรพคุณใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย เจริญอาหารและบำรุงน้ำดี แก้ไข้
2.ผลสุกและดิบ ใช้เป็นน้ำกระสายกวาดคอ เพื่อรักษาอาการไอ และช่วยขับเสมหะ ใช้เตรียมยาประสะมะแว้ง
วิธีการใช้ มะแว้ง รักษาอาการ 1.ใช้เป็นน้ำกระสายยาแก้ไอ วิธีใช้ก็คือ เอาลูกมะแว้งมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำที่ได้มาละลายยาแก้ไอเพื่อเสริมฤทธิ์แก้ไอให้ดียิ่งขึ้น เพียงใช้ลูกมะแว้งดิบแก่ที่ยังมีสีเขียวอยู่หรือใช้ลูกสุกที่มีสีแดง ลูกยิ่งสดยิ่งดี เอามาอมแล้วขบพอให้ลูกแตก ค่อยๆ กลืนน้ำที่ออกจากลูกมะแว้งทีละนิด เมื่อหมดน้ำแล้วก็คายกากทิ้งแล้วอมลูกใหม่ อมทีละลูกติดต่อกัน ๓ - ๑๐ ลูก วันละ ๓ - ๔ ครั้ง หรือทุกครั้งที่ไอ 2.ลูกมะแว้งมีรสขมในตอนแรก แต่หลังจากยาหมดจากปากไปสักพักหนึ่งจะรู้สึกว่าหวานชุ่มคอ บางคนใช้ลูกมะแว้งจิ้มน้ำพริกกินพร้อมข้าวสัก ๒ - ๓ ลูกเช่นกัน บางคนนำมาตำให้ละเอียดผสมเกลือมะนาว บางคนใส่พริกขี้หนูตำลงไปด้วยนิดหน่อย เติมน้ำลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นกรอง เอาน้ำยาที่ได้จิบไปทีละนิด จิบไปเรื่อยๆ 3.ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น 4.ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะแว้งต้นเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ลดความดันโลหิต ต้านการชัก เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ กดประสาทส่วนกลาง ลดน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ลดการบีบตัวของลำไส้ |
___________
ข่าวโดย : กมลชนก บุญเพ็ง