เมื่อเร็วๆ นี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเรามีประชากร 64.5 ล้านคน มีผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป อยู่ราว 9.4 ล้านคน (ประมาณ 14.5% ของภาพรวม) และจะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 5 แสนคน จึงคาดว่าปี 2568 ไทยจะเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” คือเราจะเจอผู้สูงอายุ 1 คนในประชากรทุก 5 คน
แต่ยุคปัจจุบันนี้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างวัยเกษียณ 60 ปีก็ยังแข็งแรง และทำงานสบายมาก ดังนั้น คนที่มีเป้าหมายชีวิต และการวางแผนดำเนินชีวิตได้ดี ก็จะเป็นทรัพยากรที่สร้างคุณประโยชน์ให้ผู้เกี่ยวข้องและสังคมได้อีกมาก
ตัวอย่างของคนสู้ชีวิต และมีการพัฒนาชีวิตและการทำงาน ไปสู่ความสำเร็จนั้นย่อมมีในทุกวงการ แต่คนที่ได้สร้างผลงานเป็น ที่ชื่นชมยอมรับจากสังคม ขณะที่เจ้าตัวก็มีความ “สุขกาย สบายใจ” ในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในช่วงท้ายของชีวิตของคนวัยใกล้เกษียณหรือหลังเกษียณอาจยืนยาวเลยวัย 80 ปี ก็นับเป็นความสำเร็จอย่างคุ้มค่า
ผมดูตัวอย่างการดำเนินชีวิตของ ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม ผ่านหนังสือ “เติมทำนองให้ชีวิต” ที่เริ่มเขียนช่วงใกล้เกษียณอายุงาน ได้ให้ข้อคิดการใช้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ทั้งในวงการศึกษา และวงการบริหารธุรกิจ ด้วยการสร้างเสริมความ “เก่ง” พร้อมกับสั่งสม “ความดี” ตลอดมา
ดังที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เขียนคำนิยมไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า... ดร.วรภัทร โตธนะเกษม เริ่มต้นชีวิตจากเด็กชนบทธรรมดา แต่ก็ไปถึงความฝันได้อย่างน่าภาคภูมิใจ อะไรคือปัจจัยเหล่านั้น
1.แรงบันดาลใจ ดร.วรภัทร ในวัยเด็กนั้นชอบอ่านหนังสือ ได้แรงบัลดาลใจจากคนสำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แล้ว ดร.วรภัทร ก็ใช้แรงบันดาลใจสร้างความฝัน
2.มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ดร.วรภัทร เมื่อกำหนดความฝันแล้ว ก็เอาชนะจุดอ่อนข้อบกพร่องด้วยความเพียร ทั้งอุปสรรคในการเรียนและการงาน
3.ใช้ชีวิตภายใต้กรอบของคุณธรรม ดร.วรภัทร มีมาตรฐานคุณธรรมที่สูงส่ง และยึดมั่นในจริยาวัตร ที่จะควบคุมตนเองให้อยู่ในมาตรฐานนั้น ไม่คลอนแคลน เสมอต้นเสมอปลาย
4.ทุกจังหวะของช่วงชีวิตมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก-วัยทำงาน หรือเกษียณงานแล้ว แต่ ดร.วรภัทร ก็ยังเช่นเดิม คือสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความฝัน (ใหม่) แล้วเดินไปให้ถึงความฝันอีกพรมแดนหนึ่ง
“ดร.วรภัทร จึงเป็นคนดีที่เสมอต้นเสมอปลาย และเป็นคนเก่งหลายอย่าง ตลอดเส้นทางชีวิตของท่านที่ผ่านมา”
ผมสังเกตได้ว่า ดร.วรภัทร ดำเนินแนวทางชีวิตอย่างเข้าใจดีถึง “ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์” (Maslow 's Hierarchy of Needs) ของอับราฮัม มาสโลว์ โดยเริ่มจาก
ขั้นที่ 1 ต้องการปัจจัย 4 เพื่อความอยู่รอด ซึ่งมาสโลว์เรียกว่า “ความต้องการทางกายภาพ”
ขั้นที่ 2 ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ขั้นที่ 3 อยากได้การยอมรับจากสังคม ทั้งเป็นที่รักและมีของรัก
ขั้นที่ 4 ความสำเร็จในชีวิต ต้องการมีฐานะการเงิน การงาน และฐานะทางสังคมที่ดี
ขั้นที่ 5 บรรลุความฝันสูงสุดที่ชีวิตต้องการ
คนทั่วไปที่ชีวิตไปถึงขั้นที่ 4 มักพอใจแล้ว ชีวิตถือว่าสำเร็จ เมื่อเลยวัย 50 ปีแล้ว ก็อาจไม่ไต่ความฝันไปถึงขั้นที่ 5 หรือบางคนอาจได้สัมผัสความฝันบ้างแล้วระหว่างทาง
แต่ถ้าบอกว่าความต้องการขั้นที่ 5 ของ ดร.วรภัทรมีความ ฝันที่ “อยากจะเป็นนักแต่งเพลง” ใครๆ ก็คงคิดว่าน่าจะเป็นได้แค่ “ฝัน” เจ้าตัวยังเคยบอกนักศึกษา MBA ธรรมศาสตร์ เมื่อวันบรรยาย “ทฤษฎีของมาสโลว์ “ชีวิตนี้ ผมคงไปไม่ถึงหรอก เพราะผมอ่านโน้ตก็ไม่เป็น เล่นดนตรีก็ไม่ได้”
ด้วยแรงบันดาลใจ (Inspiration) ซึ่งมีเหตุปัจจัยความรู้สึกประทับใจในสุนทรียของเสียงเพลงและหลงไหลเสน่ห์ของถ้อยคำในเนื้อเพลง เป็นแรงขับขานที่เกิดภายในใจ กลายเป็นไฟปรารถนาอย่างแรงกล้า (Passion) จนอยากจะทำสิ่งที่ใฝ่ฝันให้สำเร็จ ตั้งแต่สั่งสมความรู้มีคนสืบค้นเบื้องหลังการแต่งเพลง ศึกษาหลักทฤษฎีและรู้ความหมายที่ซ่อนอยู่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลายสถาบันที่มีหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารที่ ดร.วรภัทร ได้มีโอกาสไปเกี่ยวข้องต่างก็ได้ประจักษ์ในงานอดิเรกที่เอาจริงจากการเรียนรู้ฝึกฝน ความเอาจริงจนเกิดเป็น เพลงมาร์ชประจำรุ่นและประจำสถาบันหลายแห่ง ถึวขนาดล่าสุดได้สนองตอบคำขอให้แต่งเพลงประจำกระทรวงการคลังให้ทีเดียวเชียว
ลองสัมผัสผลงานการแต่งเพลงทั้งเนื้อร้องและทำนองได้ทาง Youtube กดดูได้เลยครับ
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้คุยกับ ดร.วรภัทร ถึงข้อคิดการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้ประเด็นตามมาว่า ปกติชีวิตจากนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นงานประจำ ไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่แบบเดิม คำถามคือ เราจะได้มีโอกาสดี เข้ามาหรือไม่ ถ้ามีงานที่เสนอมาเราก็จะมีทางเลือกว่าจะทำอะไรหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องสร้างทางเลือกของเราเองว่าเราจะทำอะไรที่มีคุณค่า
“ผมเองได้เข้าไปช่วยในหลายๆ องค์กร ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการบริหารความท้าทายในการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณค่า ผลตามมาคือชีวิตมีความสุข สุขภาพดีขึ้น ความสุขที่เกิดอยู่ที่กาย ใจ ปัญญา ได้ถูกนำมาใช้อย่างสมดุล”
ดร.วรภัทร ให้ข้อคิดที่น่าสนใจแม้ในวัยสูงอายุก็คือ ให้ความสำคัญที่ทำอย่างไรให้ “เป็นหนุ่มได้เสมอ” ซึ่งคือหนุ่มใน 3 มิติได้แก่ หนุ่มทางกายคือ ต้องออกกำลังกายเป็นประจำ หนุ่มทางใจคือ ทำใจให้รู้จักพอ ไม่อิจฉาริษยา หนุ่มทางปัญญาคือ ความคิดต้องมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ
____________________________
ที่มาข้อมูล :หนังสือ “เติมทำนองให้ชีวิต”
โดย ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
สำนักพิมพ์ : บ้านพระอาทิตย์
ผู้สนใจสอบถามได้ที่ : BaanPhraAthit
Line ID : baan_athit Line ID @ : @baan_athit Tel. 02-629-2700
แต่ยุคปัจจุบันนี้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างวัยเกษียณ 60 ปีก็ยังแข็งแรง และทำงานสบายมาก ดังนั้น คนที่มีเป้าหมายชีวิต และการวางแผนดำเนินชีวิตได้ดี ก็จะเป็นทรัพยากรที่สร้างคุณประโยชน์ให้ผู้เกี่ยวข้องและสังคมได้อีกมาก
ตัวอย่างของคนสู้ชีวิต และมีการพัฒนาชีวิตและการทำงาน ไปสู่ความสำเร็จนั้นย่อมมีในทุกวงการ แต่คนที่ได้สร้างผลงานเป็น ที่ชื่นชมยอมรับจากสังคม ขณะที่เจ้าตัวก็มีความ “สุขกาย สบายใจ” ในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในช่วงท้ายของชีวิตของคนวัยใกล้เกษียณหรือหลังเกษียณอาจยืนยาวเลยวัย 80 ปี ก็นับเป็นความสำเร็จอย่างคุ้มค่า
ผมดูตัวอย่างการดำเนินชีวิตของ ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม ผ่านหนังสือ “เติมทำนองให้ชีวิต” ที่เริ่มเขียนช่วงใกล้เกษียณอายุงาน ได้ให้ข้อคิดการใช้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ทั้งในวงการศึกษา และวงการบริหารธุรกิจ ด้วยการสร้างเสริมความ “เก่ง” พร้อมกับสั่งสม “ความดี” ตลอดมา
ดังที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เขียนคำนิยมไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า... ดร.วรภัทร โตธนะเกษม เริ่มต้นชีวิตจากเด็กชนบทธรรมดา แต่ก็ไปถึงความฝันได้อย่างน่าภาคภูมิใจ อะไรคือปัจจัยเหล่านั้น
1.แรงบันดาลใจ ดร.วรภัทร ในวัยเด็กนั้นชอบอ่านหนังสือ ได้แรงบัลดาลใจจากคนสำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แล้ว ดร.วรภัทร ก็ใช้แรงบันดาลใจสร้างความฝัน
2.มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ดร.วรภัทร เมื่อกำหนดความฝันแล้ว ก็เอาชนะจุดอ่อนข้อบกพร่องด้วยความเพียร ทั้งอุปสรรคในการเรียนและการงาน
3.ใช้ชีวิตภายใต้กรอบของคุณธรรม ดร.วรภัทร มีมาตรฐานคุณธรรมที่สูงส่ง และยึดมั่นในจริยาวัตร ที่จะควบคุมตนเองให้อยู่ในมาตรฐานนั้น ไม่คลอนแคลน เสมอต้นเสมอปลาย
4.ทุกจังหวะของช่วงชีวิตมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก-วัยทำงาน หรือเกษียณงานแล้ว แต่ ดร.วรภัทร ก็ยังเช่นเดิม คือสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความฝัน (ใหม่) แล้วเดินไปให้ถึงความฝันอีกพรมแดนหนึ่ง
“ดร.วรภัทร จึงเป็นคนดีที่เสมอต้นเสมอปลาย และเป็นคนเก่งหลายอย่าง ตลอดเส้นทางชีวิตของท่านที่ผ่านมา”
ผมสังเกตได้ว่า ดร.วรภัทร ดำเนินแนวทางชีวิตอย่างเข้าใจดีถึง “ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์” (Maslow 's Hierarchy of Needs) ของอับราฮัม มาสโลว์ โดยเริ่มจาก
ขั้นที่ 1 ต้องการปัจจัย 4 เพื่อความอยู่รอด ซึ่งมาสโลว์เรียกว่า “ความต้องการทางกายภาพ”
ขั้นที่ 2 ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ขั้นที่ 3 อยากได้การยอมรับจากสังคม ทั้งเป็นที่รักและมีของรัก
ขั้นที่ 4 ความสำเร็จในชีวิต ต้องการมีฐานะการเงิน การงาน และฐานะทางสังคมที่ดี
ขั้นที่ 5 บรรลุความฝันสูงสุดที่ชีวิตต้องการ
คนทั่วไปที่ชีวิตไปถึงขั้นที่ 4 มักพอใจแล้ว ชีวิตถือว่าสำเร็จ เมื่อเลยวัย 50 ปีแล้ว ก็อาจไม่ไต่ความฝันไปถึงขั้นที่ 5 หรือบางคนอาจได้สัมผัสความฝันบ้างแล้วระหว่างทาง
แต่ถ้าบอกว่าความต้องการขั้นที่ 5 ของ ดร.วรภัทรมีความ ฝันที่ “อยากจะเป็นนักแต่งเพลง” ใครๆ ก็คงคิดว่าน่าจะเป็นได้แค่ “ฝัน” เจ้าตัวยังเคยบอกนักศึกษา MBA ธรรมศาสตร์ เมื่อวันบรรยาย “ทฤษฎีของมาสโลว์ “ชีวิตนี้ ผมคงไปไม่ถึงหรอก เพราะผมอ่านโน้ตก็ไม่เป็น เล่นดนตรีก็ไม่ได้”
ด้วยแรงบันดาลใจ (Inspiration) ซึ่งมีเหตุปัจจัยความรู้สึกประทับใจในสุนทรียของเสียงเพลงและหลงไหลเสน่ห์ของถ้อยคำในเนื้อเพลง เป็นแรงขับขานที่เกิดภายในใจ กลายเป็นไฟปรารถนาอย่างแรงกล้า (Passion) จนอยากจะทำสิ่งที่ใฝ่ฝันให้สำเร็จ ตั้งแต่สั่งสมความรู้มีคนสืบค้นเบื้องหลังการแต่งเพลง ศึกษาหลักทฤษฎีและรู้ความหมายที่ซ่อนอยู่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลายสถาบันที่มีหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารที่ ดร.วรภัทร ได้มีโอกาสไปเกี่ยวข้องต่างก็ได้ประจักษ์ในงานอดิเรกที่เอาจริงจากการเรียนรู้ฝึกฝน ความเอาจริงจนเกิดเป็น เพลงมาร์ชประจำรุ่นและประจำสถาบันหลายแห่ง ถึวขนาดล่าสุดได้สนองตอบคำขอให้แต่งเพลงประจำกระทรวงการคลังให้ทีเดียวเชียว
ลองสัมผัสผลงานการแต่งเพลงทั้งเนื้อร้องและทำนองได้ทาง Youtube กดดูได้เลยครับ
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้คุยกับ ดร.วรภัทร ถึงข้อคิดการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้ประเด็นตามมาว่า ปกติชีวิตจากนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นงานประจำ ไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่แบบเดิม คำถามคือ เราจะได้มีโอกาสดี เข้ามาหรือไม่ ถ้ามีงานที่เสนอมาเราก็จะมีทางเลือกว่าจะทำอะไรหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องสร้างทางเลือกของเราเองว่าเราจะทำอะไรที่มีคุณค่า
“ผมเองได้เข้าไปช่วยในหลายๆ องค์กร ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการบริหารความท้าทายในการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณค่า ผลตามมาคือชีวิตมีความสุข สุขภาพดีขึ้น ความสุขที่เกิดอยู่ที่กาย ใจ ปัญญา ได้ถูกนำมาใช้อย่างสมดุล”
ดร.วรภัทร ให้ข้อคิดที่น่าสนใจแม้ในวัยสูงอายุก็คือ ให้ความสำคัญที่ทำอย่างไรให้ “เป็นหนุ่มได้เสมอ” ซึ่งคือหนุ่มใน 3 มิติได้แก่ หนุ่มทางกายคือ ต้องออกกำลังกายเป็นประจำ หนุ่มทางใจคือ ทำใจให้รู้จักพอ ไม่อิจฉาริษยา หนุ่มทางปัญญาคือ ความคิดต้องมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ
____________________________
ที่มาข้อมูล :หนังสือ “เติมทำนองให้ชีวิต”
โดย ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
สำนักพิมพ์ : บ้านพระอาทิตย์
ผู้สนใจสอบถามได้ที่ : BaanPhraAthit
Line ID : baan_athit Line ID @ : @baan_athit Tel. 02-629-2700