คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมว่า ลูกน้อยของเรามีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โภชนาการที่สมบูรณ์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่แข็งแรงของเด็กช่วงวัย 1-5 ปีแรก
แต่จากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุก 1 ใน 10 ราย ไม่ได้รับสารอาหารและโภชนาการที่เพียงพอ นอกจากนี้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุก 1 ใน 6 ราย มีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบอายุ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของภาวะทุพโภชนาการ การไม่ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนอย่างเพียงพอ ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยและขาดเรียนในที่สุด ขัดขวางโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเกิดการชะลอตัวของพัฒนาการทางสมอง
ทั้งนี้ นางแอนนามิก ท้อปส์ ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งมี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน ได้ทำการวิจัยเรื่องความสำคัญของโภชนาการที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ณ ศูนย์รับดูแลเด็กแห่งหนึ่งในประเทศจีน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
“กลุ่มเด็กที่ได้รับโภชนาการที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่สำคัญ เช่น พีดีเอ็กซ์ กรดไขมันดีเอชเอ และเบต้า-กลูแคน อัตราการขาดเรียนจากการเจ็บป่วยลดลงถึง 38 เปอร์เซ็นต์ และนำไปสู่โอกาสในการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า Non-Stop Learning ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าและนำไปสู่ผลการเรียนที่น่าพึงพอใจในระยะยาว จากงานวิจัยล่าสุดยังค้นพบว่า เด็กที่ได้รับโภชนาการเสริมเหล่านี้จะสามารถฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็วขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของโภชนาการต่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง”
รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังกล่าวเสริมถึงเคล็ดลับการกระตุ้นการทำงานของสมองไว้ว่า
“ในช่วง 1-5 ปีแรกของชีวิต นับเป็นช่วงเวลาทองที่สมองมีพัฒนาการสูงสุดและเติบโตถึง 85% ของสมองผู้ใหญ่ มีการเชื่อมต่อของเซลล์สมองเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยทุก 1 วินาที เซลล์สมองของเด็กจะมีการเชื่อมต่อสูงถึง 700 เซลล์ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยต่อยอดการเรียนรู้ ให้ลูกฝึกการเปรียบเทียบขนาด สีสัน รูปทรงของผักผลไม้ชนิดต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานเรื่องคณิตศาสตร์ รวมทั้งฝึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากมื้ออาหารได้ด้วย ยิ่งมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งต่อยอดการเรียนรู้ของลูกได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วน
“และสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสมองอย่าง ดีเอชเอ (DHA) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมองและจอประสาทตา ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ช่วยส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างดีเอชเอเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น"
ทั้งนี้ ดีเอชเอพบได้จากนมแม่ ไข่แดง น้ำมันปลา อาหารทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ปลาน้ำจืด เช่น ปลาสวายและปลาช่อน หรือนมที่เสริมดีเอชเอ และพีดีเอ็กซ์ (PDX) สารอาหารที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ทั้งระบบ ช่วยให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ช่วยให้ลูกพร้อมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”
เพราะลูกไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้ การได้รับโภชนาการที่ดีพร้อมการกระตุ้นพัฒนาการจากพ่อแม่ในทุกๆ นาที คือปัจจัยสำคัญในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดของลูกน้อย โดยเด็กจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดีถึง 7 ด้าน ได้แก่ สมาธิจดจ่อนานกว่า มีทักษะแก้ปัญหาที่สูงกว่า สายตาและการมองเห็นที่ดีกว่า มีระดับสติปัญญาสูงกว่า การสื่อสารที่ดีกว่า เข้าใจคำศัพท์และการสื่อสารดีกว่า และทักษะการคิดวิเคราะห์และแยกแยะที่ดีกว่า ช่วยต่อยอดศักยภาพของลูกน้อย พร้อมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวต่อไป
แต่จากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุก 1 ใน 10 ราย ไม่ได้รับสารอาหารและโภชนาการที่เพียงพอ นอกจากนี้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ทุก 1 ใน 6 ราย มีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบอายุ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของภาวะทุพโภชนาการ การไม่ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนอย่างเพียงพอ ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยและขาดเรียนในที่สุด ขัดขวางโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเกิดการชะลอตัวของพัฒนาการทางสมอง
ทั้งนี้ นางแอนนามิก ท้อปส์ ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งมี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน ได้ทำการวิจัยเรื่องความสำคัญของโภชนาการที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ณ ศูนย์รับดูแลเด็กแห่งหนึ่งในประเทศจีน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
“กลุ่มเด็กที่ได้รับโภชนาการที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่สำคัญ เช่น พีดีเอ็กซ์ กรดไขมันดีเอชเอ และเบต้า-กลูแคน อัตราการขาดเรียนจากการเจ็บป่วยลดลงถึง 38 เปอร์เซ็นต์ และนำไปสู่โอกาสในการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า Non-Stop Learning ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าและนำไปสู่ผลการเรียนที่น่าพึงพอใจในระยะยาว จากงานวิจัยล่าสุดยังค้นพบว่า เด็กที่ได้รับโภชนาการเสริมเหล่านี้จะสามารถฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็วขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของโภชนาการต่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง”
รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังกล่าวเสริมถึงเคล็ดลับการกระตุ้นการทำงานของสมองไว้ว่า
“ในช่วง 1-5 ปีแรกของชีวิต นับเป็นช่วงเวลาทองที่สมองมีพัฒนาการสูงสุดและเติบโตถึง 85% ของสมองผู้ใหญ่ มีการเชื่อมต่อของเซลล์สมองเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยทุก 1 วินาที เซลล์สมองของเด็กจะมีการเชื่อมต่อสูงถึง 700 เซลล์ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยต่อยอดการเรียนรู้ ให้ลูกฝึกการเปรียบเทียบขนาด สีสัน รูปทรงของผักผลไม้ชนิดต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานเรื่องคณิตศาสตร์ รวมทั้งฝึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากมื้ออาหารได้ด้วย ยิ่งมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งต่อยอดการเรียนรู้ของลูกได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วน
“และสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสมองอย่าง ดีเอชเอ (DHA) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมองและจอประสาทตา ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ช่วยส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างดีเอชเอเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น"
ทั้งนี้ ดีเอชเอพบได้จากนมแม่ ไข่แดง น้ำมันปลา อาหารทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ปลาน้ำจืด เช่น ปลาสวายและปลาช่อน หรือนมที่เสริมดีเอชเอ และพีดีเอ็กซ์ (PDX) สารอาหารที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ทั้งระบบ ช่วยให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ช่วยให้ลูกพร้อมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”
เพราะลูกไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้ การได้รับโภชนาการที่ดีพร้อมการกระตุ้นพัฒนาการจากพ่อแม่ในทุกๆ นาที คือปัจจัยสำคัญในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดของลูกน้อย โดยเด็กจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดีถึง 7 ด้าน ได้แก่ สมาธิจดจ่อนานกว่า มีทักษะแก้ปัญหาที่สูงกว่า สายตาและการมองเห็นที่ดีกว่า มีระดับสติปัญญาสูงกว่า การสื่อสารที่ดีกว่า เข้าใจคำศัพท์และการสื่อสารดีกว่า และทักษะการคิดวิเคราะห์และแยกแยะที่ดีกว่า ช่วยต่อยอดศักยภาพของลูกน้อย พร้อมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวต่อไป