xs
xsm
sm
md
lg

กินวิตามินมากแล้วอายุสั้น จริงไหม!? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 นิตยสารที่ชื่อ American Scientific ได้ตีพิมพ์ในหัวข้อเรื่อง "The Myth of Antioxidants" แปลเป็นไทยก็คือ นิทานปรัมปราของสารต้านอนุมูลอิสระ

ความจริงแล้วในบทความนี้ได้เน้นหนักในเรื่องผลการวิจัยของสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จาก "อาหารเสริม" ประเภทวิตามินว่าสามารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้นั้น กลับทำให้เรามีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

รายงานชิ้นนี้เริ่มต้นจากผลการศึกษาในปี พ.ศ.2539 ที่ได้สำรวจผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 18,000 คน พบว่า กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมที่ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจำพวกเบต้า-แคโรทีน และเรตินอล กลับเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 28% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 17% เทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมปลอม อีกทั้งการศึกษานี้ยังพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในกลุ่มที่สูบบุหรี่จัดเป็นเวลา 18 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสูบบุหรี่จัดที่ได้รับสารก่อมะเร็งจากแร่ใยหินนั้นเกิดภาวะมะเร็งที่ปอดเพิ่มขึ้นมากกว่าอย่างชัดเจนในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมปลอม

ในปี พ.ศ.2550 นักวิจัยได้ทบทวนผลการศึกษาที่มีความเข้มงวดทางวิทยาศาสตร์จำนวน 68 ชิ้น เกี่ยวกับอาหารเสริมจำพวกวิตามิน และรายงานข้อมูลรวมกันทั้งหมด 47 ชิ้นที่มีอคติทางวิทยาศาสตร์น้อยที่สุด พบว่า การบริโภคอาหารเสริมประเภทวิตามินทำให้มีเพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น 5% อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ไปในรายละเอียดพบว่าความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจากอาหารเสริมนั้น ได้แก่ เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินอี

นักชีววิทยาคนหนึ่งจากมหาวิทยาลัย แมกกิลล์ ชื่อนายซิกฟรีด เฮคคิมิ ได้ทดลองในหนอนเพราะคาดหวังว่าหนอนที่มีการกลายพันธุ์จนมีอนุมูลอิสระสูงมากจะอายุสั้น แต่ผลการศึกษาจากงานวิจัยซึ่งได้รายงานใน PLOS Biology เมื่อปี พ.ศ. 2553 กลับพบว่า หนอนที่กลายพันธุ์และมีอนุมูลอิสระมากกลับมีอายุยืนกว่าหนอนทั่วไปประมาณ 32% และหนอนมีการกลายพันธุ์ทำให้มีอนุมูลอิสระมากนั้น เมื่อให้วิตามินซีเข้าไปกลับทำให้อายุสั้นลง การศึกษาครั้งนี้ทำให้นายซีฟรีดคาดว่าปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระในหนอนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำลายโมเลกุล แต่กลับเป็นสัญญาณการป้องกันร่างกายของหนอนให้กลายสภาพยีนให้ช่วยป้องกันความเสียหายแทน

รายงานเดียวกันจากการศึกษาในปี พ.ศ.2553 เขาได้พบว่า หนอนที่อาบน้ำด้วยสารพิษมีอายุยืนมากขึ้นถึง 58 % เมื่อเทียบกับหนอนที่ไม่ได้อาบสารพิษ และเมื่อให้อาหารด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลับระงับจากประโยชน์ที่ได้จากสารพิษ

ในที่สุดในเดือนเมษายน พ.ศ.2554 นายซิกฟรีด เฮคคิมิ และทีมงานของเขาได้แสดงให้เห็นว่าการยั้บยั้ง 5 ยีน ที่เป็นตำแหน่งรหัสทำให้เกิดเอนไซม์สารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ซุปเปอร์ ออกไซด์ ดิสมิวเทส เอนไซม์ (Superoxide Dismutase enzymes หรือ SOD) ไม่ได้มีผลต่ออายุขัยของหนอนอย่างแท้จริง

จากงานวิจัยนี้ทำให้หลายคนสงสัยว่าอนุมูลอิสระเป็นคุณ และสารต้านอนุมูลอิสระเป็นโทษ นั้นกลับความเชื่อดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิงจริงหรือไม่?

เรื่องดังกล่าวได้ถูกอธิบายโดย ซิมมอน เมโลฟ นักชีวเคมีจากสถาบันบัคเพื่อการวิจัยด้านอายุขัยแห่งเมืองโนวาโต แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวนี้ไม่ง่าย ตรงไปตรงมาอย่างนั้น อนุมูลอิสระอาจจะเป็นประโยชน์ในบางสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง แต่อาจจะเป็นอันตรายกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้ด้วย อนุมูลอิสระที่มีปริมาณมากได้แสดงว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและการทำงานอวัยวะโดยไม่สามารถโต้เถียงได้ และมีหลักฐานจำนวนมากได้ระบุว่าอนุมูลอิสระยังมีบทบาทพัฒนาการกลายเป็นสภาพแวดล้อมของโรคเรื้อรัง ดังเช่นโรคหัวใจ

นอกจากนี้ นักวิจัยหลายคนจากมหาวิทยาลัยแห่งวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้แห็นว่า หนูที่มีอายุยืนยาวกว่าเมื่อสามารถสังเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับสูงที่เรียกว่า คาตะเลส เช่นเดียวกันกับอนุมูลอิสระก็มีส่วนสำคัญทำให้แก่เร็วได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามมันเป็นเรื่องที่แตกต่างกันมากเมื่อทดลองในพยาธิวิทยา

นายซิกฟรีด เฮคคิมิ ผู้เป็นหัวหน้าคณะวิจัยในหนอนที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ได้ให้ความเห็นว่า อนุมูลอิสระในบางกรณีจะส่งผลทำให้เกิดการทำลายเซลล์ ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลทำให้เกิดการส่งสัญญาณทำให้ร่างกายมีกลไกในการซ่อมแซมตัวเองด้วย ในแบบจำลองนี้ อนุมูลอิสระเป็นผลต่อเนื่องของอายุขัยและไม่ได้เป็นสาเหตุของการทำลายอายุขัย แต่ในแบบจำลองอีกมากพบว่าอนุมูลอิสระสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับอายุขัยได้เช่นกัน

แต่จากงานวิจัยข้างต้นทำให้ได้ข้อคิดว่า อนุมูลอิสระที่ได้จากอาหารเสริมในรูปวิตามิน อาจจะไม่ได้ดีอย่างที่หลายคนคิด เพราะการรับประทานอาหารเสริมในรูปของวิตามินในปริมาณที่มาก ในบางกรณีอาจจะเกิดภาวะที่ทำให้สารต้านอนุมูลอิสระกลับกลายเป็นอนุมูลอิสระเองได้ในปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า โปร-ออกซิแดนต์

การบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระผ่านอาหารหลักประจำวันดูจะมีความปลอดภัยมากกว่า

ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ที. คอลิน แคมป์เบลล์ นักชีวเคมีชาวอเมริกัน ผู้ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณในสาขาชีวโภชนชีวเคมี ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วย สำหรับคนทั่วไปในการรับประทานอาหารเสริมในรูปของวิตามิน เพราะเชื่อว่า คุณค่าทางอาหารนั้นต้องมีการผสมผสานใช้งานร่วมกัน เหมือนการเล่นวงดนตรีดุริยางค์ที่ต้องมีการเล่นด้วยเครื่องดนตรีผสมกันหลายชิ้น ไม่ควรแยกวิตามินออกมาจากอาหารต่างหาก เพราะจะทำให้ผลที่ได้รับจากวิตามินไม่เหมือนกับสิ่งที่เราได้วิตามินที่มาจากจากอาหารโดยตรง

ส่วนอนุมูลอิสระในร่างกายเรานั้น เปลี่ยนแปลงและสมดุลแล้วหรือไม่อย่างไร เรามีอนุมูลอิสระมากไป หรือรับสารต้านอนุมูลอิสระมากไปจนไม่สมดุลหรือไม่ วันนี้ที่ Man Nature Lab ที่บ้านพระอาทิตย์ให้บริการตรวจเลือดเพื่อติดตามผลในการปรับพฤติกรรมการบริโภคของแต่คนในแต่ละช่วงเวลาแล้ว ในโครงการ "ตรวจเลือดเปลี่ยนชีวิต" สนใจติดต่อที่ โทร.096-065-3684, 096-065-3685, 097-238-5596
กำลังโหลดความคิดเห็น