3 วันร้อน 4 เย็น อุณหภูมิค่อยๆ ลดต่ำลงบ้างในช่วงฤดูการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่หน้าฝนในเดือนหกตอนนี้ เชื่อว่าคงทำให้เราที่เคยนอนเหงื่อไหลไคลย้อยทุกๆ วัน เพราะสภาพอากาศที่อบอ้าวได้คลายตัวขึ้นไม่มากก็น้อย และแม้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีกว่าฤดูร้อนที่ผ่านมาในการพักผ่อนนอนหลับ แต่กระนั้นแล้วเราหารู้ไม่ว่าในขณะที่เราหลับใหลบนที่นอนหมอนนุ่มๆ อย่างเย็นสบาย ยังมีสิ่งสกปรก ไรฝุ่น และเชื้อโรคอื่นๆ ที่ตามติดและกำลังฟูมฝักจนอาจจะรบกวนการนอนแสนสบายในช่วงนี้ของคุณไม่ได้ดีเหมือนรอคอย
วันนี้เราจึงหยิบวิธีการทำความสะอาดมาฝากๆ ให้ได้ใช้จัดการกับปัญหาเหล่านั้น เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี หลังจากหลับไม่สนิทเป็นแรมเดือน
1.เริ่มต้นด้วยการกำจัดฝุ่น
ถือเป็นขั้นตอนเบื้องต้นพื้นฐานในการทำความสะอาดทุกสิ่งอย่าง การทำความสะอาดที่นอนก็เช่นเดียวกัน วิธีนี้เราสามารถเลือกว่าจะใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือปัดตีกลางแดด เพื่อจัดการกับไรฝุ่นและความสกปรกก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน หรือจะใช้เตารีดรีดผ้าปรับองศาความร้อนให้เหมาะสมไล่ไถจนครบทุกตารางนิ้ว ก็สามารถฆ่าตัวไรฝุ่นได้ผลชะงักไม่แพ้กัน
นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรอย่างอบเชยและก้านพลู สารสกัดจากดอก Chrysanthemums น้ำยาสกัดสมุนไพรฆ่าไรฝุ่นของศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราชคิดค้นขึ้นก็เหมาะที่จะนำมาใช้ก่อนและหลังทำความสะอาดอีกด้วย
2.จากนั้นขจัดกลิ่นอับและคราบสกปรก
หลังจากทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่มักยังมีอยู่คือเรื่องของ "กลิ่นอับ" และ "คราบเหงื่อไคล" หลงเหลือทิ้งไว้เป็นของดูต่างหน้า ก็ไม่ต้องกังวลใจเพราะเราสามารถกำจัดได้ง่ายๆ แถมยังสามารถสลายคราบเปื้อนได้โดยการใช้เบกกิ้งโซดาหรือแป้งฝุ่นเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้นเราควรจะใช้น้ำยาทำความสะอาดชนิด "เอนไซม์" หรือ "ไซตรัส" สารสกัดจากธรรมชาติ อาทิ มังคุด มะกรูด มะนาว หรือ น้ำส้มสายชู ฉีดพรมทำความสะอาดให้ทั่ว จากนั้นโรยผงเบกกิ้งโซดาที่มีสรรพคุณในการช่วยซึมซับดูดคราบน้ำออกมาให้หมดหรือจะโรยด้วยแป้งฝุ่นทาตัวช่วยเพิ่มกลิ่นหอมติดและซับน้ำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังเสร็จสิ้นการทำความสะอาดทางที่ดีควรน้ำไปตากแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมง ป้องกันกรณีอับชื้น
3.กระบวนการสุดท้ายกำจัดเชื้อราที่ฝังลึกบนที่นอน
ไม่มากก็น้อยย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าหลังจากทำความสะอาดคราบสกปรกและกลิ่นต่างๆ จะหายไป แต่ต้องยอมรับว่าที่นอนเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะความอับ ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้อาจจะเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อราโดยที่เราไม่รู้ตัว และวิธีการจัดการกับเชื้อราที่ฝังลึกก็สามารถทำได้โดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด) ผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำยาฆ่าเชื้อสูตรต่างๆ ที่ความเข้มข้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ทำความสะอาดทั้งสองด้านซ้ำจนมั่นใจว่าเชื้อราที่ฝังตัวตายจนหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรละเลยเพราะจะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวหากที่นอนนั้นฝังด้วยเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ภายใน
ข้อมูลบางส่วนจาก www.homepro.co.th และ www.stou.ac.th
วันนี้เราจึงหยิบวิธีการทำความสะอาดมาฝากๆ ให้ได้ใช้จัดการกับปัญหาเหล่านั้น เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี หลังจากหลับไม่สนิทเป็นแรมเดือน
1.เริ่มต้นด้วยการกำจัดฝุ่น
ถือเป็นขั้นตอนเบื้องต้นพื้นฐานในการทำความสะอาดทุกสิ่งอย่าง การทำความสะอาดที่นอนก็เช่นเดียวกัน วิธีนี้เราสามารถเลือกว่าจะใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือปัดตีกลางแดด เพื่อจัดการกับไรฝุ่นและความสกปรกก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน หรือจะใช้เตารีดรีดผ้าปรับองศาความร้อนให้เหมาะสมไล่ไถจนครบทุกตารางนิ้ว ก็สามารถฆ่าตัวไรฝุ่นได้ผลชะงักไม่แพ้กัน
นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรอย่างอบเชยและก้านพลู สารสกัดจากดอก Chrysanthemums น้ำยาสกัดสมุนไพรฆ่าไรฝุ่นของศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราชคิดค้นขึ้นก็เหมาะที่จะนำมาใช้ก่อนและหลังทำความสะอาดอีกด้วย
2.จากนั้นขจัดกลิ่นอับและคราบสกปรก
หลังจากทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่มักยังมีอยู่คือเรื่องของ "กลิ่นอับ" และ "คราบเหงื่อไคล" หลงเหลือทิ้งไว้เป็นของดูต่างหน้า ก็ไม่ต้องกังวลใจเพราะเราสามารถกำจัดได้ง่ายๆ แถมยังสามารถสลายคราบเปื้อนได้โดยการใช้เบกกิ้งโซดาหรือแป้งฝุ่นเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้นเราควรจะใช้น้ำยาทำความสะอาดชนิด "เอนไซม์" หรือ "ไซตรัส" สารสกัดจากธรรมชาติ อาทิ มังคุด มะกรูด มะนาว หรือ น้ำส้มสายชู ฉีดพรมทำความสะอาดให้ทั่ว จากนั้นโรยผงเบกกิ้งโซดาที่มีสรรพคุณในการช่วยซึมซับดูดคราบน้ำออกมาให้หมดหรือจะโรยด้วยแป้งฝุ่นทาตัวช่วยเพิ่มกลิ่นหอมติดและซับน้ำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังเสร็จสิ้นการทำความสะอาดทางที่ดีควรน้ำไปตากแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมง ป้องกันกรณีอับชื้น
3.กระบวนการสุดท้ายกำจัดเชื้อราที่ฝังลึกบนที่นอน
ไม่มากก็น้อยย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าหลังจากทำความสะอาดคราบสกปรกและกลิ่นต่างๆ จะหายไป แต่ต้องยอมรับว่าที่นอนเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะความอับ ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้อาจจะเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อราโดยที่เราไม่รู้ตัว และวิธีการจัดการกับเชื้อราที่ฝังลึกก็สามารถทำได้โดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด) ผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำยาฆ่าเชื้อสูตรต่างๆ ที่ความเข้มข้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ทำความสะอาดทั้งสองด้านซ้ำจนมั่นใจว่าเชื้อราที่ฝังตัวตายจนหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรละเลยเพราะจะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวหากที่นอนนั้นฝังด้วยเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ภายใน
ข้อมูลบางส่วนจาก www.homepro.co.th และ www.stou.ac.th