“อธิบดีกรมการแพทย์” เผยโรคหลอดเลือดสมองอันตรายถึงชีวิต หรืออาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แนะสังเกตอาการด้วยตนเองตามหลัก FAST หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ลดอัตราพิการหรือเสียชีวิตได้
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก หรือวันหลอดเลือดสมอง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจตามลำดับ
นอกจากนั้น ยังพบว่าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือความพิการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณร้อยละ 80 และหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด พบได้ประมาณร้อยละ 20 หากประชาชนรู้จักดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ จะสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้
นายแพทย์สุพรรณ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะเสื่อมตามไปด้วยการสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง ทั้งนี้อาการเตือนสำคัญที่สังเกตได้ด้วยตนเองตามหลักที่จำได้ง่ายคือ F-A-S-T โดยที่
F = FACE รู้สึกชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ตามัวมองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก
A = ARM อาการแขนขาอ่อนแรงข้างใด ข้างหนึ่ง
S = SPEECH ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้
T = TIME เวลาที่จะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเน้นย้ำว่า อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในรายที่มีภาวะสมอง ขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร สิ่งที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดจะสามารถช่วยรักษาชีวิตและลดความพิการที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเซลล์สมองขาดเลือดเพียง 1 นาที จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ ถ้าได้รับการรักษาช้า อาจทำให้เกิดความพิการมากขึ้น
สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คือ
• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
• หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง
• ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• งดสูบบุหรี่
• ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปฎิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ
______________________
ข้อมูลจาก www.thaihealth.or.th
______________________________________________
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า วันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก หรือวันหลอดเลือดสมอง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจตามลำดับ
นอกจากนั้น ยังพบว่าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือความพิการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณร้อยละ 80 และหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด พบได้ประมาณร้อยละ 20 หากประชาชนรู้จักดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ จะสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าวได้
นายแพทย์สุพรรณ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อายุที่มากขึ้นหลอดเลือดจะเสื่อมตามไปด้วยการสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง ทั้งนี้อาการเตือนสำคัญที่สังเกตได้ด้วยตนเองตามหลักที่จำได้ง่ายคือ F-A-S-T โดยที่
F = FACE รู้สึกชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ตามัวมองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก
A = ARM อาการแขนขาอ่อนแรงข้างใด ข้างหนึ่ง
S = SPEECH ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้
T = TIME เวลาที่จะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเน้นย้ำว่า อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในรายที่มีภาวะสมอง ขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร สิ่งที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้น ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดจะสามารถช่วยรักษาชีวิตและลดความพิการที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเซลล์สมองขาดเลือดเพียง 1 นาที จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ ถ้าได้รับการรักษาช้า อาจทำให้เกิดความพิการมากขึ้น
สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คือ
• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
• หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง
• ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• งดสูบบุหรี่
• ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปฎิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ
______________________
ข้อมูลจาก www.thaihealth.or.th
______________________________________________