“ล็อบบี้ยิสต์ 161 คน และเงินในการล็อบบี้กว่า 60 ล้านบาทเพื่อวิ่งเต้นกับ ส.ส. รวมถึงหนุนสมาคมชาวไร่ยาสูบ และสมาคมผู้ค้าปลีกยาสูบให้ออกมาคัดค้านเพื่อล้มกฎหมายบุหรี่ฉบับล่าสุด โดยการลงขันของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ทั้ง บริษัทฟิลลิปมอร์ริส บริษัทบีเอที และบริษัทเจทีไอ นับเป็นการวิ่งเต้นล้มกฎหมายที่รุนแรงที่สุดเท่าที่มีมาในประวัติศาสตร์ ของประเทศไอร์แลนด์”
นี่คือคำกล่าวของนายแพทย์เจมส์ ไรลีย์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของไอร์แลนด์ ซึ่งเปิดเผย ในที่ประชุมนานาชาติเรื่องบุหรี่และสุขภาพ ที่กรุงอาบูดาบี เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
สถานการณ์ในไอร์แลนด์ไม่น่าจะแตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ในประเทศไทยขณะนี้เท่าไรนัก เพราะในช่วง 6 เดือนที่ ผ่านมา มีขบวนการที่กลุ่มต่างๆ ลุกขึ้นมาคัดค้านเพื่อล้มกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเสนอให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณา จะต่างก็ตรงที่ว่า เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าบริษัทบุหรี่จ้างล็อบบี้ยิสต์กี่คน และใช้เงินไปเท่าไหร่ในการนั่งคิด อกุศลกลยุทธ์ ซื้อหน้าหนังสือพิมพ์ จ้างคนเขียนนบทความและโฆษณา รวมทั้งซื้อบิลบอร์ดแถวๆ ดินแดงด้วย
คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมบริษัทบุหรี่จึงต้องลงทุนมากขนาดนั้น
คำตอบตรงไปตรงมา ที่เด็กมัธยมก็ตอบได้ คือ เขากลัวว่าจะขยายตลาดได้น้อยลง หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา
แต่คำถามที่น่าสนใจกว่าก็คือ แล้วทำไมรัฐบาลไม่ผ่านกฎหมายนี้เสียที
คำตอบน่าจะมีหลายแบบ อาทิ คิวยาว มีเรื่องที่ต้องเข้า ครม.เยอะแยะไปหมด เรื่องไม่สำคัญแบบนี้ รอไปก่อนนะ เรื่องนี้ไม่เร่งด่วน เด็กติดบุหรี่แล้ว 4 แสนคน คนไทยตายเพราะบุหรี่อีกปีละ 50,000 กว่าคน เทียบกับเรื่องเศรษฐกิจปากท้องแล้ว ปากท้องน่าจะมาก่อน ดังนั้นเรื่องบุหรี่ก็น่าจะรอไปก่อนได้
เรื่องนี้มีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ลุกขึ้นมาคัดค้านมากมาย ฉะนั้นไปเคลียร์กันก่อนเพื่อให้ได้ภาพความสงบเรียบร้อย รัฐจะออกนโยบายอะไรต้องคำนึงถึงภาคธุรกิจด้านนี้ด้วย อย่าเพิ่งเอาเข้าในรัฐบาลนี้ก็แล้วกัน
ไม่ว่าจะเป็นคำตอบไหน หากกฎหมายนี้ไม่สามารถผ่าน ครม. หรือไม่ผ่านสภา ฝ่ายที่เสียหายที่สุด คือ ประเทศ ชาติ รวมทั้งเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ที่ไม่ได้รับการปกป้องที่เพียงพอจากมาตรการของรัฐ แน่นอนที่สุด ฝ่ายที่ได้ประโยชน์คือบริษัทบุหรี่ ที่จะยังสามารถขยายตลาดออกไปเรื่อยๆ หากำไรโดยขายสินค้าที่ฆ่าลูกค้าของตัวเอง ถึงวันละ 115 คนในประเทศไทย
วาทกรรมหลักที่บริษัทบุหรี่และเครือข่ายใช้ในการคัดค้านกฎหมายนี้ คือ กฎหมายนี้ “สุดโต่ง” เกินไป ทั้งๆ ที่หากจะว่ากันตามข้อเท็จจริงแล้ว บุหรี่ควรจะเป็นสินค้าที่ถูกห้ามผลิตและขาย เพราะบุหรี่ มีอำนาจเสพ ติดสูงมาก เทียบเท่าเฮโรอีน มีสารก่อมะเร็งถึง 70 ชนิด และทำให้ครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ระยะยาวเจ็บป่วย และเสียชีวิตก่อน เวลาอันควร ในขณะที่สินค้าบริโภคอื่น เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม อาหารกระป๋อง ฯลฯ หากถูกตรวจพบว่ามีสารก่อ มะเร็งแม้แต่ชนิดเดียว จะถูกห้ามขาย และสินค้านั้นจะถูกเรียกเก็บจากตลาดทันที
ฉะนั้น ถ้าจะพูดกันให้ตรงจริงที่สุดก็คือ สังคมนี้เป็นสังคมโลกเบี้ยวที่ยอมให้มีผู้ผลิตสินค้าฆ่าคนเชิดหน้าเฉิดฉาย อยู่ในสังคมได้อย่างถูกกฎหมาย มิหนำซ้ำยังใช้วาทกรรมโจมตีผู้ที่ปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชนโดยส่วนรวมอีกด้วย หากวิญญูชนใช้ปัญญาพิจารณาไม่นานก็คงจะเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นอะไร
กฎหมายนี้ “สุดโต่ง” ตามวาทกรรมของบริษัทบุหรี่หรือไม่ อนาคตของประเทศจะเป็นเช่นไร คงขึ้นอยู่กับสติและ ดีกรีคุณธรรมของรัฐบาลไทยแล้วล่ะว่า จะเคลิ้มไปตามวาทกรรมของบริษัทบุหรี่ หรือจะยืนหยัดที่จะปกป้องคนไทย และเด็กไทย เหมือนกับที่รัฐบาลไอร์แลนด์สามารถเอาชนะอำนาจมืดและอำนาจเงินของพวกล็อบบี้ยิสต์มาได้สำเร็จ
อย่าทำให้คนไทยต้องผิดหวังเลยครับท่าน....ขอร้อง
___________________________________________
***บทความโดย “ดร.กิตติ กันภัย” อดีตรองศาสตราจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย***
นี่คือคำกล่าวของนายแพทย์เจมส์ ไรลีย์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของไอร์แลนด์ ซึ่งเปิดเผย ในที่ประชุมนานาชาติเรื่องบุหรี่และสุขภาพ ที่กรุงอาบูดาบี เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
สถานการณ์ในไอร์แลนด์ไม่น่าจะแตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ในประเทศไทยขณะนี้เท่าไรนัก เพราะในช่วง 6 เดือนที่ ผ่านมา มีขบวนการที่กลุ่มต่างๆ ลุกขึ้นมาคัดค้านเพื่อล้มกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเสนอให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณา จะต่างก็ตรงที่ว่า เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าบริษัทบุหรี่จ้างล็อบบี้ยิสต์กี่คน และใช้เงินไปเท่าไหร่ในการนั่งคิด อกุศลกลยุทธ์ ซื้อหน้าหนังสือพิมพ์ จ้างคนเขียนนบทความและโฆษณา รวมทั้งซื้อบิลบอร์ดแถวๆ ดินแดงด้วย
คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมบริษัทบุหรี่จึงต้องลงทุนมากขนาดนั้น
คำตอบตรงไปตรงมา ที่เด็กมัธยมก็ตอบได้ คือ เขากลัวว่าจะขยายตลาดได้น้อยลง หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา
แต่คำถามที่น่าสนใจกว่าก็คือ แล้วทำไมรัฐบาลไม่ผ่านกฎหมายนี้เสียที
คำตอบน่าจะมีหลายแบบ อาทิ คิวยาว มีเรื่องที่ต้องเข้า ครม.เยอะแยะไปหมด เรื่องไม่สำคัญแบบนี้ รอไปก่อนนะ เรื่องนี้ไม่เร่งด่วน เด็กติดบุหรี่แล้ว 4 แสนคน คนไทยตายเพราะบุหรี่อีกปีละ 50,000 กว่าคน เทียบกับเรื่องเศรษฐกิจปากท้องแล้ว ปากท้องน่าจะมาก่อน ดังนั้นเรื่องบุหรี่ก็น่าจะรอไปก่อนได้
เรื่องนี้มีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ลุกขึ้นมาคัดค้านมากมาย ฉะนั้นไปเคลียร์กันก่อนเพื่อให้ได้ภาพความสงบเรียบร้อย รัฐจะออกนโยบายอะไรต้องคำนึงถึงภาคธุรกิจด้านนี้ด้วย อย่าเพิ่งเอาเข้าในรัฐบาลนี้ก็แล้วกัน
ไม่ว่าจะเป็นคำตอบไหน หากกฎหมายนี้ไม่สามารถผ่าน ครม. หรือไม่ผ่านสภา ฝ่ายที่เสียหายที่สุด คือ ประเทศ ชาติ รวมทั้งเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ที่ไม่ได้รับการปกป้องที่เพียงพอจากมาตรการของรัฐ แน่นอนที่สุด ฝ่ายที่ได้ประโยชน์คือบริษัทบุหรี่ ที่จะยังสามารถขยายตลาดออกไปเรื่อยๆ หากำไรโดยขายสินค้าที่ฆ่าลูกค้าของตัวเอง ถึงวันละ 115 คนในประเทศไทย
วาทกรรมหลักที่บริษัทบุหรี่และเครือข่ายใช้ในการคัดค้านกฎหมายนี้ คือ กฎหมายนี้ “สุดโต่ง” เกินไป ทั้งๆ ที่หากจะว่ากันตามข้อเท็จจริงแล้ว บุหรี่ควรจะเป็นสินค้าที่ถูกห้ามผลิตและขาย เพราะบุหรี่ มีอำนาจเสพ ติดสูงมาก เทียบเท่าเฮโรอีน มีสารก่อมะเร็งถึง 70 ชนิด และทำให้ครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ระยะยาวเจ็บป่วย และเสียชีวิตก่อน เวลาอันควร ในขณะที่สินค้าบริโภคอื่น เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม อาหารกระป๋อง ฯลฯ หากถูกตรวจพบว่ามีสารก่อ มะเร็งแม้แต่ชนิดเดียว จะถูกห้ามขาย และสินค้านั้นจะถูกเรียกเก็บจากตลาดทันที
ฉะนั้น ถ้าจะพูดกันให้ตรงจริงที่สุดก็คือ สังคมนี้เป็นสังคมโลกเบี้ยวที่ยอมให้มีผู้ผลิตสินค้าฆ่าคนเชิดหน้าเฉิดฉาย อยู่ในสังคมได้อย่างถูกกฎหมาย มิหนำซ้ำยังใช้วาทกรรมโจมตีผู้ที่ปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชนโดยส่วนรวมอีกด้วย หากวิญญูชนใช้ปัญญาพิจารณาไม่นานก็คงจะเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นอะไร
กฎหมายนี้ “สุดโต่ง” ตามวาทกรรมของบริษัทบุหรี่หรือไม่ อนาคตของประเทศจะเป็นเช่นไร คงขึ้นอยู่กับสติและ ดีกรีคุณธรรมของรัฐบาลไทยแล้วล่ะว่า จะเคลิ้มไปตามวาทกรรมของบริษัทบุหรี่ หรือจะยืนหยัดที่จะปกป้องคนไทย และเด็กไทย เหมือนกับที่รัฐบาลไอร์แลนด์สามารถเอาชนะอำนาจมืดและอำนาจเงินของพวกล็อบบี้ยิสต์มาได้สำเร็จ
อย่าทำให้คนไทยต้องผิดหวังเลยครับท่าน....ขอร้อง
___________________________________________
***บทความโดย “ดร.กิตติ กันภัย” อดีตรองศาสตราจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย***