xs
xsm
sm
md
lg

“นอนหลับยาก” แก้ยังไง มีวิธี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หลังจากที่ตรากตรำทำงานหรือเผชิญชีวิตมาเกือบทั้งวัน จนแทบจะไร้เรี่ยวแรงที่จะทำอะไรต่อไปได้แล้ว ในที่สุด การได้นอนหลับซักตื่นหนึ่ง คงจะช่วยแก้อาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะนั่นคือวิธีเดียวและวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้อาการที่กล่าวมาข้างต้น หายเป็นปลิดทิ้งไปได้ และ เตรียมตัวที่จะสู้ต่อไปในวันรุ่งขึ้นได้นั่นเอง

แต่อนิจจา...พอหัวถึงหมอนและอยู่บนเตียงนุ่มๆ แล้ว กลับไม่สามารถหลับได้อย่างใจต้องการ ไม่ว่าจะพลิกตัวหลายจำนวนรอบก็แล้ว สวดมนต์ให้จิตใจสงบก็แล้ว หรือ ทำอะไรให้รู้สึกเหนื่อยเพิ่มเติมก็แล้วแต่ แต่ก็ยังไม่สามารถหลับได้อยู่ดี และนี่เองคืออาการ “นอนหลับยาก” นั่นเอง
เครดิตภาพ : sabayaworld.com
คุณผู้อ่านที่มีอาการหลับยากนั้น อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป เพราะอาการดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งถ้าได้ทราบถึงเหตุผลและวิธีแก้ของการนอนไม่หลับนั้น ไม่แน่ว่า ถ้าได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว เชื่อได้เลยว่า น่าจะช่วยให้ได้หลับสนิทเพียงพอ จนฝันดี และตื่นมาสดชื่นแน่นอน หากได้อ่านตั้งแต่บรรทัดนี้เป็นต้นไป
เครดิตภาพ : manager.co.th
ปัจจัยของโรค และ อาการของ “นอนหลับยาก”

หากคุณเคยมีอาการหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ หรือตื่นนอนเร็วมาก แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีการอดนอนและอยากนอนต่อก็ตาม แถมยังมีอาการแบบนี้อยู่เสมอ นั่นคือสัญญาณเตือนของอาการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีแบบนี้ติดต่อกันประมาณ 1-2 วัน อาจจะหมายความว่า “อาการนอนหลับยาก” มาสู่ตัวคุณไปเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นได้ ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะเป็นอาการนี้

สำหรับอาการที่เข้าข่ายได้ มีดังต่อไปนี้ หลับไม่ต่อเนื่อง, หลับๆ ตื่นๆ จนลุกขึ้นมาตื่นบ่อยๆ, อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ หงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือ นอนหลับแต่จะตื่นเช้ามาก และไม่สามารถนอนต่อได้
เครดิตภาพ : goface.in.th
สาเหตุของอาการ
 
สำหรับปัจจัยของการ “นอนหลับยาก” นั้น เบื้องต้น คงจะเป็นเหตุผลหลักๆ นั่นคือ การเดินเปลี่ยนสถานที่นอน, อาการปวด, ความเครียด, บรรยากาศที่นอนไม่ดี เช่น มีเสียงดัง หรือ เผชิญปัญหาชีวิต, ความกดดันทางจิตใจ และ อื่นๆ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็เกี่ยวข้องเช่นกัน ดังนี้

- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างวัน เช่น กาแฟ ชา หรือ ยาอื่นๆ
- ดื่มแอลกอฮอล์ อาจจะทำให้มีอาการหลับๆ ตื่นๆ
- เป็นโรค ที่มีผลข้างเคียง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดไขข้อ เป็นต้น
- การออกกำลังหนักในช่วงบ่ายๆ
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานอาหารมื้อเย็นที่มากหรือน้อยเกินไป
- ที่นอนไม่ดี
เครดิตภาพ : clickorlando.com
การรักษาและ การดูแลเบื้องต้น

การรักษาที่ยอดฮิตสำหรับการแก้อาการนี้ โดยส่วนใหญ่คือ การใช้ยานอนหลับ ซึ่งทางแพทย์แนะนำว่า ทำได้แค่เพียงใช้ได้แค่ชั่วคราวหรือเมื่อต้องการเท่านั้น เพราะถ้าใช้อย่างต่อเนื่อง อาจจะถึงขั้นเสพติด ก็เป็นได้

นอกจากนี้ วิธีแก้แบบไม่ต้องพึ่งยา ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน เช่น ฝังเข็ม, การนวด การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด เป็นต้น ซึ่งอาจจะช่วยให้ผ่อนคลายและลงเอยด้วยการหลับได้เช่นเดียวกัน

ส่วนวิธีการดูแลเบื้องต้น ควรจะทำตามวิธีดังต่อไปนี้ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ดังนี้
- ควรนอนหลับอย่างเป็นเวลาทุกวันและงดงีบหลับระหว่างวัน
- งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเบาๆ จะทำให้หลับง่ายขึ้น
- อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือดูทีวีก่อนนอน
- อาบน้ำให้สบาย หรืออาจจะใช้สมุนไพร จำพวก Chamomile มาร่วมด้วยยิ่งดี
- ไม่ควรทำงานหรือดูทีวีบนที่นอนเด็ดขาด
- ลุกจากเตียงหากตื่นขึ้นมาในช่วงกลางคืน จนกว่าจะง่วง
- ไม่ควรอาหารเสริมที่มีส่วนผสมเช่น โสม Gaurana และ Kolanut
กำลังโหลดความคิดเห็น