xs
xsm
sm
md
lg

"บอสณวัฒน์" โวย บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่ ควรทำให้ถูกกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชาวเน็ตวิจารณ์หนัก มิสแกรนด์สาวชาล็อต ออสติน เผลอคว้าบุหรี่ไฟฟ้าตอนไลฟ์สด ด้านบอสณวัตน์โวยถือบุหรี่ไฟฟ้าจะตายใช่ไหม พร้อมออกความเห็นว่าบุหรี่มมวนอันตรายกว่าบุหรี่ไฟฟ้า ยกกรณีต่างประเทศสนับสนุนผู้สูบบุหรี่ให้หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน

จากกรณีที่ ชาล็อต ออสติน หรือ ชาล็อต มิสแกรนด์ ไลฟ์สดเมื่อคืนวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 และได้มีการถือบุหรี่ไฟฟ้าในขณะที่ตนไลฟ์อยู่ ซึ่งภายหลังได้มีการออกมาชี้แจงว่าบุหรี่ไฟฟ้านี้ไม่ใช่ของตนเป็นของเพื่อนที่ลืมไว้ที่ห้อง และตนเองหยิบสลับเพราะคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าคือรีโมตทีวี

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากวิจารณ์จากชาวเน็ตมากมายว่าไม่สนับสนุนให้ดาราที่ปลื้มเป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ด้วยห่วงผลกระทบด้านสุขภาพ ขณะที่บางส่วนโจมตีนางงามสาวในเรื่องของการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย โดยมีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคา โดยบางส่วน่มองว่าไม่เหมาะสมที่จะนำบุหรี่ไฟฟ้าออกสื่อเพราะมีกลุ่มแฟนคลับจำนวนมากที่ดูไลฟ์และบางส่วนเป็นเยาวชน


ในด้านของ นายณวัฒน์ อิสรไกลศีล ผู้ดูแลและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้มีการออกมาไลฟ์และพูดถึงประเด็นดังกล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอยู่ทุกที่ และถามกลับว่า “มีออฟฟิศไหนที่ไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าบ้าง” แม้บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายในไทยเนื่องจากไม่มีใบจดแจ้ง แต่กลับถูกกฎหมายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก และนายณวัตน์ยังมีการเล่าถึงเบื้องลึกของกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าในไทยว่าที่ยังไม่สามารถทำให้ถูกกฎหมายได้เนื่องจากรัฐบาลเอื้อประโยชน์แก่ผู้ค้าบุหรี่ในไทย และมีความต้องการให้คนไทยสูบบุหรี่มวน เพราะบุหรี่มวนที่เป็นแบรนด์ไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นเหตุที่รัฐไม่ปล่อยให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายหรือไม่

นายณวัฒน์ได้แสดงมุมมองต่อโทษของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีข้อกังขาจากสังคมในปัจจุบันว่า “บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีโทษและไม่มีประโยชน์ แต่ใช้แทนการสูบบุหรี่จริง ซึ่งถ้าเป็นคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้วจะทราบว่ามันต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพ บุหรี่มวนมีความอันตรายมากกว่าบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เยอะมาก เพราะบุหรี่ไฟฟ้าหรือพ็อต ไม่มีควันเกิดขึ้น ทำให้ในหลายๆ ประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกากลับสนับสนุนให้คนใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่ด้วยซ้ำไป”

สิ่งที่นายณวัตน์กล่าวในไลฟ์สดถือเป็นการสะท้อนมุมมองของคนสมัยใหม่ที่เห็นบุหรี่ไฟฟ้าถูกใช้ในสังคมปัจจุบันจริงๆ แม้รัฐบาลจะแบนบุหรี่ไฟฟ้าต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ปี แต่กลับมีการขายกันอย่างโจ่งแจ้งโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ต สามารถสั่งซื้อได้โดยไม่มีการตรวจสอบอายุผู้ซื้อผู้ขาย ซื้อง่ายขายคล่อง ทำให้มีเยาวชนกลุ่มใหญ่ที่เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าอย่างง่ายดาย ซึ่งจากสถิติการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่เปิดเผยว่า มีจำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในไทยอยู่กว่า 78,000 คน คิดเป็นอัตรา 0.14 % ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

สังคมจึงควรตั้งคำถามกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าที่มีอยู่เกลื่อนว่าควรมีการผลักดันให้ถูกกฎหมายหรือไม่ เพราะหากรัฐบาลปรับแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกกฎหมาย และมีการควบคุมที่เข้มงวดในระดับเดียวกันกับบุหรี่มวน จะทำให้รัฐบาลมีความสามารถในการลดปัญหาการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

สำหรับคำถามว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าอย่างไร ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ และกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะผลวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าในไทยนั้นยังคงมีจำกัดด้วยบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยและการศึกษาจากหน่วยงานชั้นนำของต่างประเทศบ่งชี้ว่าสารพิษหลักในบุหรี่มวนที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมาจากควันในบุหรี่มวน เนื่องจากมีการเผาไหม้ และนิโคตินไมใช่้ตัวการหลักที่ก่อให้เกิดโรค แต่เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด ดังนั้นหากผู้สูบบุหรี่สามารถหลีกเหลี่ยงการเผาไหม้และควันบุหรี่ได้ จะสามารถลดอันตรายจากบุหรี่ได้อย่างมีนัยสำคัญ ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่ที่อายุมากกว่า 15 ปี อยู่กว่า 9.9 ล้านคน คิดเป็น 17.4% ของประชากรทั้งหมด และกลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้บริโภคที่ถูกจำกัดทางเลือกที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและลดอันตรายจากการสูบบุหรี่มวน

ในวันนี้เราเห็นคนในวงการบันเทิงออกมาพูดถึงประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า และได้รับความสนใจจากสังคมจนเป็นกระแสในโลกออนไลน์ แต่ในสังคมทั่วไปบุหรี่ไฟฟ้ากลับไม่ใช่เรื่องใหม่และมีกลุ่มผู้ใช้อยู่ในทุกวงการ เป็นสิ่งผิดกฎหมายแต่กลับมีกลุ่มผู้ใช้เป็นจำนวนมาก เป็นบทพิสูจน์ความล้มเหลวของกฎหมายภาครัฐ เพราะการแบนจึงไม่สามารถควบคุมได้ และปัญหาบุหรี่ไฟฟ้ายังกระทบสังคมและภาครัฐในหลายมิติ ตั้งแต่การเข้าถึงได้อย่างง่ายดายของเด็กและเยาวชน การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จนไปถึงปัญหาภาษีที่รัฐบาลต้องสูญเสียในทุกๆ ปี





กำลังโหลดความคิดเห็น