xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไมซ์ การศึกษาของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ประเทศไทยพัฒนาการศึกษาไมซ์สู่เวทีโลก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จุดเกิดเหตุจากความต้องการของผู้ประกอบการไมซ์ภาคเอกชน เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ขาดแคลนบุคลากรจำนวนมากที่สนใจเข้าทำงานในสายไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ร่วมกับสมาคมพันธมิตร 3 สมาคมหลักคือ สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้าไทย และสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน ได้เร่งหารือเพื่อหาข้อสรุปพัฒนาจัดทำหลักสูตรไมซ์มาตรฐานสากล หรือ MICE 101 – Introduction to MICE Industry ถือว่าเป็นเล่มแรกของประเทศไทยและของโลกก็ว่าได้เมื่อมีหลักสูตรก็ต้องมีผู้นำไปถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อยอด 

การสร้างเครือข่ายเริ่มต้นที่ทำข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมและเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ จาก 28 สถาบันจบบจนวันนี้กว่า 115 สถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมและอาชีวศึกษา มีสอนด้านไมซ์ทั้งเป็นรายวิชา และเปิดสาขาไมซ์ ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านไมซ์มากที่สุดในโลก มีหลักสูตรด้านไมซ์ที่ครบทุกสาขาเป็นฉบับแรกของโลก และยังมีการพัฒนาต่อยอดเป็นเชิงลึกอีก 5 ด้าน อาทิ หลักสูตรมาตรฐานการจัดประชุมองค์กร (Meetings 101) หลักสูตรมาตรฐานการจัดงานเพื่อเป็นรางวัล (Incentives 101) หลักสูตรมาตรฐานการจัดประชุมวิชาชีพ (Conventions 101) หลักสูตรมาตรฐานการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition 101) และ หลักสูตรมาตรฐานการจัดงานอีเวนต์ (Event 101) เป็นต้น เรายังมีแผนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์กระบวนการจัดงานไมซ์อีกหลายมิติ เช่น หลักสูตรมาตรฐานการบริหารการจัดการสถานที่การจัดงาน (Venue Management 101) หลักสูตรการตลาดออนไลน์สำหรับไมซ์ (Digital Marketing In MICE Industry) หลักสูตรการออกแบบงานไมซ์ (New Normal Design in MICE Industry) เป็นต้น 

ที่ไหนเรียนไมซ์ได้บ้าง
เพียงระยะเวลา 5 ปี หลังจากหลักสูตรไมซ์มาตรฐานสากลเปิดตัวสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ การผลิตบุคลากรเริ่มเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาไทยและมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากเป้าหมาย 80 สถาบันที่ตั้งเป้าไว้เฉพาะบรรจุเป็นรายวิชาสู่การเป็น MICE Major ในคณะต่างๆ ซึ่งเราประมาณการว่าจะสามารถผลิตบัณฑิตด้านไมซ์ได้สถาบันละ 50-60 รายต่อปี หรือประมาณปีละ 5,000 คน ในช่วงปีการศึกษา 2558 และคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีองค์ความรู้ด้านไมซ์จำนวนกว่า 20,000 คน แต่เราก็กล้าพอที่จะตั้งเป้าหมายกับทีมงาน คือ ยกระดับมาตรฐานหลักสูตรการเรียนการสอนด้านไมซ์ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล รวมทั้งขยายเครือข่ายภาคการศึกษา MICE Academic Cluster สู่ 5 ภูมิภาคหลัก คือ ภาคกลาง โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเหนือ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคใต้ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาคตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมถึงพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อจัดวางให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การศึกษาด้านไมซ์แห่งอาเซียน (ASEAN MICE Education Hub)” 
 
ลองเลือกเรียนไมซ์ 1.) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาการผลิตอีเว้นท์และการจัดการนิทรรศการและการประชุม 2.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตรปริญญาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการบริการ และ การจัดงานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว ไมซ์ และ บริการ คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี 3.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์ สาขาการจัดการประชุมและนิทรรศการ 4.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สาขานวัตกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบริการ 5.) วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรนวัตกรรมการบริการ 6.) มหาวิทยาลัยบูรพา หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบริการ การท่องเที่ยวและไมซ์ (หลักสูตรนานาชาติ) 7.) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริหารนานาชาติ 8.) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ 9.) มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต หลักสูตรการบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ การประชุมและนิทรรศการ คณะวิทยาการจัดการ

 10.) มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจไมซ์และนวัตกรรมการตลาด 11.) มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง 12.) มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ 13.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาลัยนานาชาติเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 14.) มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม และไมซ์ 15.) มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักสูตรปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเวนต์ 16.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาลัยการจัดการ สาขาวิชาการจัดประชุม นิทรรศการ และ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 17.) Stamford International University สาขา Event Management 18.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการประชุม นิทรรศการ และ กิจกรรมพิเศษ 19.) วิทยาลัยดุสิตธานี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการนิทรรศการและการประชุม 20.) วิทยาลัยดุสิตธานีพัทยา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการนิทรรศการและการประชุม 21.) วิทยาลัยพณิชยการบางนา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยง สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ 22.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ 23.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ 24.) วิทยาลัยพาณิชยการบางนา สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ 25.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี 26.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ และ 27.) อาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ 
 
จบแล้วมีความหวังไม่ (ไมซ์)
คำตอบอยู่ที่งานนี้ พิธีปิดโครงการ MICE Student Chapter & MICE Start Up 2020” สร้างงานให้บุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นพันธุ์เมล็ดกล้าชั้นดีแห่งธุรกิจไมซ์ มุ่งส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาไทยที่สนใจในธุรกิจการจัดงานไมซ์และอีเวนต์ เปิดโอกาสเรียนรู้กระบวนการ เพื่อการก้าวเข้าสู่วงการด้านการจัดประชุมและนิทรรศการในฐานะคนสายพันธุ์ไมซ์อย่างมืออาชีพ ต่อยอดการจ้างงานในอนาคต ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มการกระจายรายได้จากกิจกรรมไมซ์ไปสู่ภูมิภาค ที่จะส่งเสริมการเพิ่มจำนวนการจ้างงานไมซ์ทั่วประเทศในอนาคต

โครงการนี้จะสามารถพัฒนาและผลิตสร้างผู้นำไมซ์รุ่นใหม่ (Creating Future MICE Leaders) ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ ในการให้โอกาสให้เยาวชนและผู้ประกอบการสร้างและปรับธุรกิจใหม่ในยุคสังคมวิธีใหม่ (New Normal) ที่จะได้ร่วมกันฝึกประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ ออกแบบแผนธุรกิจร่วมกับสถานประกอบการจริงผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ ที่จะต่อยอดการปั้น “MICE Start Up” ใน 5 กลุ่ม อาชีพ ไมซ์ ได้แก่ การประชุมองค์กร , การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล, การประชุมวิชาชีพ ,งานแสดงสินค้าและงานอีเวนต์ รวมทั้งด้านการจัดการสุขอนามัยด้านไมซ์ สร้าง MICE Start up ภายใต้แนวคิดการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดงานไมซ์ รวมถึงแพลทฟอร์มออนไลน์ในภาวะวิกฤติ COVID-19 และสังคมวิถีใหม่ (New Normal) ส่งเสริมต่อยอดนวัตกรรมด้านไมซ์ให้ประเทศไทยในอนาคต และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจ้างงานผ่าน Job Matching Platform www.micecapabilities.com ความสำเร็จที่คอยสนับสนุนคือพันธมิตรจากภาคเอกชนและภาคการศึกษา สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย), สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย), สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน, สมาคมโรงแรมไทย เครือข่ายภาคการศึกษาไมซ์ใน 5 ภูมิภาค ร่วมกันสนับสนุนการจัดตั้งโครงการเครือข่ายเยาวชนไมซ์ หรือ “MICE Student Chapter” สานฝันนิสิต นักศึกษาไทยที่อยากเรียนรู้และเข้าการทำงานในสายอาชีพในอุตสาหกรรมไมซ์แบบครบวงจร ประเทศไทยยังคงต้องอาศัยเยาวชนอนาคตของชาติเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาประเทศต่อไปอย่างยั่งยืน






กำลังโหลดความคิดเห็น