เปิดระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยรถราชการและค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ หลังอดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 บอกถ้าผู้พิพากษาไม่อยู่บ้านปากแหว่งต้องมีปัญหาเดินทาง พบถ้าไม่ใช้รถหลวงยังได้เงินเหมาจ่ายแทนเดือนละ 4 หมื่นกว่าบาท
เป็นคำพูดที่น่าสนใจไม่น้อยต่อกรณีการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา (อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5) ระหว่างร่วมจัดกิจกรรมปลูกป่าที่บริเวณที่ทำการศาลอุทรธ์ภาค 5 เนื่องในวันศาลยุติธรรมเมื่อวันที่ 21เม.ย. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่มีคนหลายกลุ่มออกมาคัดค้าน
โดยตอนหนึ่งเจ้าตัวได้ระบุไว้ว่าการให้เจ้าหน้าที่ศาลได้พักอยู่ในหมู่บ้านดังกล่าว แง่หนึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะอยู่ใกล้สถานี่ทำงาน ซึ่งหากให้มีการรื้อถอนแล้วผู้พิพากษารวมถึงเจ้าหน้าที่ต้องไปอยู่ที่อื่นก็จะมีปัญหาในเรื่องของการเดินทางเนื่องจากที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 อยู่ไกลจากตัวเมืองถึง 10 กิโลเมตร พร้อมกันนี้เจ้าตัวก็ตั้งคำถามว่าแล้วจะให้ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่เดินทางอย่างไร?
"...แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะเรียนก็คือว่า ในอีกไม่นานนี้จะต้องมีคดีเลือกตั้ง เลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งจะต้อง เอ่อ ฟ้องกันที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 นี่เอง ถ้าหากท่านผู้พิพากษาไม่มีที่อยู่ ใครจะพิจารณาคดีให้ท่านล่ะครับ ท่านอาจจะต้องเดินทางไปฟ้องกันที่กรุงเทพมหานครนะ ทั้งภาคเลยนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่นะครับ"
"ท่านไม่อำนวยความสะดวกให้กับท่านผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 หรือครับ คดีเลือกตั้งต้องพิจารณาคดีโดยรวดเร็วนะครับ ท่านจะให้ผู้พิพากษาเดินทางไกลเหรอครับ แล้วจะพิจาตณาคดีได้อย่างไร นี่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงนะครับ"
"ท่านที่อยากจะให้รื้อถอนบ้านแล้วให้ไปหาที่อยู่กันใหม่ ที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 นี่อยู่ไกลออกมามากนะครับ ไกลจากที่อยู่ในเมือง มาเป็นสิบกิโลฯ ท่านให้ผู้พิพากษาเดินทางมาอย่างไร? เจ้าหน้าที่ของศาลจะเดินทางมาอย่างไร? ท่านต้องคำนึงสิ่งเหล่านี้นะ..."
(ฟังบทสัมภาษณ์ได้จากในคลิปตั้งแต่นาทีที่ 3.10 - 4.12)
ทั้งนี้กับบทสัมภาษณ์เชิงคำถามของอดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 นั้นอันที่จริงแล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเพื่อไปปฎิบัติหน้าที่หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ของผู้พิพากษาตลอดจนเจ้าหน้าที่ศาลนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเองใด้มีกฎระเบียบการอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้เอาไว้ไม่ได้ต่างอะไรไปจากหน่วยงานของราชการอื่นๆ แต่อย่างใด
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพาหนะอย่าง "รถราชการ" ทั้งรถประจําตําแหน่ง รถรับรอง ที่มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงตำแหน่งของผู้ที่มีสิทธิ์ใช้รวมถึงสเปคของรถ นอกจากนี้หากทางผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่เองปฏิเสธที่จะใช้รถ "ราชการ" ก็จะได้รับ "ค่าตอบแทนเหมาจ่าย" ให้เป็นเดือนๆ ซึ่งหากพิจารณาตามภาพข้างล่างนี้ก็จะเห็นว่าไม่ได้น้อยเลย
ดังนั้นเกี่ยวกับเรื่องของการเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยไป-กลับวันละประมาณ 20 กิโลเมตรกรณีที่้ต้องมีการรื้อทิ้งบ้านพักในบริเวณดังกล่าวก็คงจะไม่ทำให้ผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่ของศาลมีความลำบากมากมายแต่อย่างใดตามที่อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นกังวลอย่างแน่นอน
...
อ่านรายละเอียด ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยรถราชการและค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง
เกี่ยวกับ ผู้บริหารศาลอุทธรณ์ภาค 5