โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
แม้ชื่อเสียงเรียงนามจะไม่ได้โด่งดังในตลาดกระแสเพลงหลัก แต่ “บรรณ สุวรรณโณชิน” หรือ “บรรณ ณ ใบชา” ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคนดนตรีคุณภาพ ที่มีไอเดียสร้างสรรค์งานเพลงดีๆออกมาอย่างต่อเนื่องและไม่เคยหยุดนิ่ง งานเพลงของเขาแต่ละชุดมักจะมีอะไรใหม่ๆมาให้ติดตามกันอยู่เสมอ
บรรณถือเป็นคนดนตรีที่มีความสามารถหลากหลายทั้งแต่งเพลง ร้องเพลง เล่นเปียโน เป็นโปรดิวเซอร์ ปั้นศิลปิน เป็นเจ้าของค่ายเพลง มิกซ์ มาสเตอร์ริ่ง รวมไปถึงออกแบบปก ซึ่งวันนี้นับแต่อัลบั้มแรก “บรรณ บราซิล”(ปีพ.ศ. 2546) เขามีอัลบั้มออกมารวมทั้งหมด 6 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดต่างก็มีจุดเด่นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป
สำหรับชุดล่าสุด(ชุดที่ 6 )นั้นก็คืออัลบั้ม “โฟล์คเฟรนด์”(Folkfriend) ในสังกัดใบชาsong ที่บรรณนำดนตรีโฟล์คมานำเสนอในรูปแบบเฉพาะ โดยตัวของบรรณนั้นรับหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ทั้งเขียนเพลง ร้องนำ เล่นดนตรี ควบคุมการผลิต เรียบเรียงดนตรี มิกซ์และมาสเตอร์ริ่ง ออกแบบ เรียกว่าทำสารพัดตามที่ตัวเองถนัด นอกจากนี้บรรณยังเติมสีสีนด้วย 5 ยอดนักกีตาร์อะคูสติกแถวหน้าของเมืองไทย ได้แก่ “ชีพชนก ศรียามาตย์”, “พยัต ภูวิชัย”, “โอเลต้าร์”, “วีระพล บินฮาซัน” และ“กฤษณ์ บาลไทยสงค์” ร่วมด้วย 2 คอรัสหญิง “โอ๋-ชุติมา แก้วเนียม” กับ “เพชร-พชรพรรณ สุทธนนท์”
อัลบั้มโฟล์คเฟรนด์ผลิตในสังกัดใบชาsong มีการทำในแบบลิมิเต็ด อิดิชั่น 2,000 ชุด กับบ็อกเซ็ทที่ดูดีสวยงามกว่าผลงานที่ผ่านๆมาของค่ายนี้
ผลงานชุดนี้มีเพลงมากถึง 15 แทรค เปิดตัวกันด้วยอินโทร. ลั้ลลัลลาเสียงใสๆของสองสาว ก่อนจะส่งต่ออารมณ์เข้าเพลง “เป็นหนี้” ที่สะท้อนความจริงแห่งยุคสมัยในอารมณ์กึ่งเสียดสี พร้อมถ้อยความให้ฉุกคิดถึงความพอเพียง ส่วนคนที่อยากมีโน่นมีนี่ก็ต้องเป็นหนี้ไปตามระเบียบ
จากนั้นต่อกันด้วยบทเพลงเด่นๆของอัลบั้ม ได้แก่
“ฟาร์มรัก”(แทรค 3) เพลงรักในมุมมองที่แตกต่าง จินตนาการถึงสถานที่หนึ่งที่เป็นฟาร์มแห่งความรัก ปลูกด้วยความเข้าใจ ใส่ใจให้อภัย เป็นรักในอุดมคติกับกับดนตรีใสๆน่ารัก
“เจ้านก” (แทรค 4) บทเพลงสื่อสันติภาพ นำเสนอวิถีของเจ้านกที่โบกบินเพื่อมอบสันติให้กับมนุษย์ แต่สุดท้ายกลับจบชีวิตลงด้วยกระสุนปืน เพลงนี้มาในอารมณ์เศร้าสะท้อนด้านมืดในความโหดร้ายของมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีมาทุกยุคทุกสมัย
“แพ้ให้เป็น”(แทรค 6) บทเพลงเพราะๆเนื้อหาให้กำลังใจ มีท่อนฮุกภาษาชวนฟัง ท่วงทำนองติดหู ดังความว่า “...ยิ้มรับไว้ ความพ่ายแพ้ แปรให้เป็นบทเรียน-สอนใจ เพื่อเริ่มใหม่ อีกครั้ง-แพ้หรือพลั้ง ยังไม่สาย ไม่ต้องอาย แพ้ให้เป็น-สู้ต่อ อย่ามัวท้อง ใครก็เป็น...”
“เขาเอาคืน” (แทรค 8) ขึ้นต้นมาด้วยเสียงเปียโนเพราะพริ้ง ก่อนเติมความอลังการด้วยไลน์เครื่องสาย และเสียงฟลู้ทเล่นเมโลดี้อันรื่นไหล ตัวเพลงมีการเปลี่ยนอารมณ์ช้าเร็ว เนื้อหาเตือนให้ตระหนักว่า วันโลกกำลังเอาคืนมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวจากมหันตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“ปิดตาเปิดใจ” (แทรค 10) เนื้อเพลงเป็นปริศนาธรรม ซึ่งบรรณได้แรงบันดาลใจมาจากคำพระท่านหนึ่ง ว่าบางครั้งมนุษย์ก็ควรปิดตาและลองเปิดใจ
“นักกินเมือง” (แทรค 13) บทเพลงเพราะๆฟังสบาย สวนทางกับเนื้อหาที่จัดหนัก อัดนักการเมือง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางถนัดและลายเซ็นของบรรณที่กล้าแต่งเพลงด่านักการเมืองมาหลายต่อหลายเพลงในผลงานที่ผ่านมาของเขา
“เกิดเมืองไทย”(แทรค 15) บทเพลงปลุกสำนึกรักชาติไทย เนื้อหาง่ายๆ สื่อตรงไปตรงมา แต่เปี่ยมไปด้วยพลัง ฟังแล้วชวนน้ำตาไหลสำหรับคนไทยผู้รักชาติ แม้เพลงนี้จะแต่งขึ้นมาก่อนสถานการณ์ปัจจุบันแต่มันกลับเข้ากับสถานการณ์ในช่วงนี้ได้ดีทีเดียว ที่ไม่น่าเชื่อว่าบ้านนี้เมืองนี้จะมีคนบางกลุ่มมีพฤติกรรมก่อกบฏด้วยการขอแยกแผ่นดินอยู่ เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งๆที่สิ่งที่พวกเขาทำนั้น ล้วนเต็มไปด้วยความชั่วร้าย เห็นแก่ตัว โกงกิน เอาแต่ได้ ไม่เคารพกฎหมาย กฎกติกาแต่อย่างใด
และนั่นก็คือบทเพลงเด่นๆจากอัลบั้มชุดโฟล์คเฟรนด์ ที่ชุดนี้อาจจะมีข้อด้อยตรงเสียงร้องของบรรณในชุดนี้แม้จะพัฒนาขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นนักร้องอาชีพ อีกทั้งยังไม่มีเสน่ห์ดึงดูดเพียงพอ แต่นั่นก็ถูกเติมเต็มด้วยความหลากหลายของดนตรี ที่เป็นผลงานเพลงโฟล์คอะคูสติกในแบบฉบับของบรรณ และมีรายละเอียดแอบแฝงซ่อนเร้นให้ค้นหา ทั้งเสียงของเครื่องดนตรีต่างๆที่ถูกถ่ายทอดออกมา การเรียบเรียงที่มีชั้นเชิง กับระบบบันทึกเสียงมากคุณภาพ
นอกจากนี้ที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือซุ่มเสียงใสๆของ 2 สาวคอรัส โอ๋กับเพชรที่ฟังเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งชุดนี้หากขาดเสียงของพวกเธอไป งานเพลงโดยรวมจะฟังขาดเสน่ห์และดูด้อยลงไปมากโข นับเป็นความเก่งของบรรณที่นอกจะใช้ภาคดนตรีมาเติมเต็มจุดด้อยในเสียงร้องของตัวเองแล้ว ยังนำเสียงใสๆของ 2 สาวคอรัสมาช่วยสร้างเสน่ห์สีสันให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของงานเพลงชุดนี้และในหลายๆชุดของบรรณนั่นก็คือ ภาคเนื้อหา ของเนื้อเพลงที่ไม่ได้เป็นไปตามสมัยนิยม หากแต่เป็นเพลงที่มีเนื้อหาแตกต่างไม่จำเจ มากความคิดสร้างสรรค์ แม้ในบางเพลงถ้อยคำอาจไม่สละสลวย(รวมถึงบางเพลงในชุดนี้) แต่ก็ถูกทดแทนด้วยการสื่อความที่ชัดเจน เห็นภาพ โดยในอัลบั้มชุดนี้บรรณเขียนเพลงเน้นเนื้อหาในมิติที่หลากหลาย ทั้ง ความรัก สันติภาพ สะท้อนสังคม(จะว่าเป็นเพื่อชีวิตก็ได้) อนุรักษ์ ให้กำลังใจ ธรรมะ และด่านักการเมือง
สำหรับใครที่ต้องการฟังบทเพลงคุณภาพที่แตกต่างจากบทเพลงตลาดร่วมสมัย “โฟล์คเฟรนด์” คือทางเลือกของการเพื่อนทางมิติแห่งเสียงดนตรีที่น่าสนใจไม่น้อยเลย
แม้ชื่อเสียงเรียงนามจะไม่ได้โด่งดังในตลาดกระแสเพลงหลัก แต่ “บรรณ สุวรรณโณชิน” หรือ “บรรณ ณ ใบชา” ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคนดนตรีคุณภาพ ที่มีไอเดียสร้างสรรค์งานเพลงดีๆออกมาอย่างต่อเนื่องและไม่เคยหยุดนิ่ง งานเพลงของเขาแต่ละชุดมักจะมีอะไรใหม่ๆมาให้ติดตามกันอยู่เสมอ
บรรณถือเป็นคนดนตรีที่มีความสามารถหลากหลายทั้งแต่งเพลง ร้องเพลง เล่นเปียโน เป็นโปรดิวเซอร์ ปั้นศิลปิน เป็นเจ้าของค่ายเพลง มิกซ์ มาสเตอร์ริ่ง รวมไปถึงออกแบบปก ซึ่งวันนี้นับแต่อัลบั้มแรก “บรรณ บราซิล”(ปีพ.ศ. 2546) เขามีอัลบั้มออกมารวมทั้งหมด 6 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดต่างก็มีจุดเด่นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป
สำหรับชุดล่าสุด(ชุดที่ 6 )นั้นก็คืออัลบั้ม “โฟล์คเฟรนด์”(Folkfriend) ในสังกัดใบชาsong ที่บรรณนำดนตรีโฟล์คมานำเสนอในรูปแบบเฉพาะ โดยตัวของบรรณนั้นรับหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ทั้งเขียนเพลง ร้องนำ เล่นดนตรี ควบคุมการผลิต เรียบเรียงดนตรี มิกซ์และมาสเตอร์ริ่ง ออกแบบ เรียกว่าทำสารพัดตามที่ตัวเองถนัด นอกจากนี้บรรณยังเติมสีสีนด้วย 5 ยอดนักกีตาร์อะคูสติกแถวหน้าของเมืองไทย ได้แก่ “ชีพชนก ศรียามาตย์”, “พยัต ภูวิชัย”, “โอเลต้าร์”, “วีระพล บินฮาซัน” และ“กฤษณ์ บาลไทยสงค์” ร่วมด้วย 2 คอรัสหญิง “โอ๋-ชุติมา แก้วเนียม” กับ “เพชร-พชรพรรณ สุทธนนท์”
อัลบั้มโฟล์คเฟรนด์ผลิตในสังกัดใบชาsong มีการทำในแบบลิมิเต็ด อิดิชั่น 2,000 ชุด กับบ็อกเซ็ทที่ดูดีสวยงามกว่าผลงานที่ผ่านๆมาของค่ายนี้
ผลงานชุดนี้มีเพลงมากถึง 15 แทรค เปิดตัวกันด้วยอินโทร. ลั้ลลัลลาเสียงใสๆของสองสาว ก่อนจะส่งต่ออารมณ์เข้าเพลง “เป็นหนี้” ที่สะท้อนความจริงแห่งยุคสมัยในอารมณ์กึ่งเสียดสี พร้อมถ้อยความให้ฉุกคิดถึงความพอเพียง ส่วนคนที่อยากมีโน่นมีนี่ก็ต้องเป็นหนี้ไปตามระเบียบ
จากนั้นต่อกันด้วยบทเพลงเด่นๆของอัลบั้ม ได้แก่
“ฟาร์มรัก”(แทรค 3) เพลงรักในมุมมองที่แตกต่าง จินตนาการถึงสถานที่หนึ่งที่เป็นฟาร์มแห่งความรัก ปลูกด้วยความเข้าใจ ใส่ใจให้อภัย เป็นรักในอุดมคติกับกับดนตรีใสๆน่ารัก
“เจ้านก” (แทรค 4) บทเพลงสื่อสันติภาพ นำเสนอวิถีของเจ้านกที่โบกบินเพื่อมอบสันติให้กับมนุษย์ แต่สุดท้ายกลับจบชีวิตลงด้วยกระสุนปืน เพลงนี้มาในอารมณ์เศร้าสะท้อนด้านมืดในความโหดร้ายของมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีมาทุกยุคทุกสมัย
“แพ้ให้เป็น”(แทรค 6) บทเพลงเพราะๆเนื้อหาให้กำลังใจ มีท่อนฮุกภาษาชวนฟัง ท่วงทำนองติดหู ดังความว่า “...ยิ้มรับไว้ ความพ่ายแพ้ แปรให้เป็นบทเรียน-สอนใจ เพื่อเริ่มใหม่ อีกครั้ง-แพ้หรือพลั้ง ยังไม่สาย ไม่ต้องอาย แพ้ให้เป็น-สู้ต่อ อย่ามัวท้อง ใครก็เป็น...”
“เขาเอาคืน” (แทรค 8) ขึ้นต้นมาด้วยเสียงเปียโนเพราะพริ้ง ก่อนเติมความอลังการด้วยไลน์เครื่องสาย และเสียงฟลู้ทเล่นเมโลดี้อันรื่นไหล ตัวเพลงมีการเปลี่ยนอารมณ์ช้าเร็ว เนื้อหาเตือนให้ตระหนักว่า วันโลกกำลังเอาคืนมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวจากมหันตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“ปิดตาเปิดใจ” (แทรค 10) เนื้อเพลงเป็นปริศนาธรรม ซึ่งบรรณได้แรงบันดาลใจมาจากคำพระท่านหนึ่ง ว่าบางครั้งมนุษย์ก็ควรปิดตาและลองเปิดใจ
“นักกินเมือง” (แทรค 13) บทเพลงเพราะๆฟังสบาย สวนทางกับเนื้อหาที่จัดหนัก อัดนักการเมือง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางถนัดและลายเซ็นของบรรณที่กล้าแต่งเพลงด่านักการเมืองมาหลายต่อหลายเพลงในผลงานที่ผ่านมาของเขา
“เกิดเมืองไทย”(แทรค 15) บทเพลงปลุกสำนึกรักชาติไทย เนื้อหาง่ายๆ สื่อตรงไปตรงมา แต่เปี่ยมไปด้วยพลัง ฟังแล้วชวนน้ำตาไหลสำหรับคนไทยผู้รักชาติ แม้เพลงนี้จะแต่งขึ้นมาก่อนสถานการณ์ปัจจุบันแต่มันกลับเข้ากับสถานการณ์ในช่วงนี้ได้ดีทีเดียว ที่ไม่น่าเชื่อว่าบ้านนี้เมืองนี้จะมีคนบางกลุ่มมีพฤติกรรมก่อกบฏด้วยการขอแยกแผ่นดินอยู่ เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทั้งๆที่สิ่งที่พวกเขาทำนั้น ล้วนเต็มไปด้วยความชั่วร้าย เห็นแก่ตัว โกงกิน เอาแต่ได้ ไม่เคารพกฎหมาย กฎกติกาแต่อย่างใด
และนั่นก็คือบทเพลงเด่นๆจากอัลบั้มชุดโฟล์คเฟรนด์ ที่ชุดนี้อาจจะมีข้อด้อยตรงเสียงร้องของบรรณในชุดนี้แม้จะพัฒนาขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นนักร้องอาชีพ อีกทั้งยังไม่มีเสน่ห์ดึงดูดเพียงพอ แต่นั่นก็ถูกเติมเต็มด้วยความหลากหลายของดนตรี ที่เป็นผลงานเพลงโฟล์คอะคูสติกในแบบฉบับของบรรณ และมีรายละเอียดแอบแฝงซ่อนเร้นให้ค้นหา ทั้งเสียงของเครื่องดนตรีต่างๆที่ถูกถ่ายทอดออกมา การเรียบเรียงที่มีชั้นเชิง กับระบบบันทึกเสียงมากคุณภาพ
นอกจากนี้ที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือซุ่มเสียงใสๆของ 2 สาวคอรัส โอ๋กับเพชรที่ฟังเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งชุดนี้หากขาดเสียงของพวกเธอไป งานเพลงโดยรวมจะฟังขาดเสน่ห์และดูด้อยลงไปมากโข นับเป็นความเก่งของบรรณที่นอกจะใช้ภาคดนตรีมาเติมเต็มจุดด้อยในเสียงร้องของตัวเองแล้ว ยังนำเสียงใสๆของ 2 สาวคอรัสมาช่วยสร้างเสน่ห์สีสันให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของงานเพลงชุดนี้และในหลายๆชุดของบรรณนั่นก็คือ ภาคเนื้อหา ของเนื้อเพลงที่ไม่ได้เป็นไปตามสมัยนิยม หากแต่เป็นเพลงที่มีเนื้อหาแตกต่างไม่จำเจ มากความคิดสร้างสรรค์ แม้ในบางเพลงถ้อยคำอาจไม่สละสลวย(รวมถึงบางเพลงในชุดนี้) แต่ก็ถูกทดแทนด้วยการสื่อความที่ชัดเจน เห็นภาพ โดยในอัลบั้มชุดนี้บรรณเขียนเพลงเน้นเนื้อหาในมิติที่หลากหลาย ทั้ง ความรัก สันติภาพ สะท้อนสังคม(จะว่าเป็นเพื่อชีวิตก็ได้) อนุรักษ์ ให้กำลังใจ ธรรมะ และด่านักการเมือง
สำหรับใครที่ต้องการฟังบทเพลงคุณภาพที่แตกต่างจากบทเพลงตลาดร่วมสมัย “โฟล์คเฟรนด์” คือทางเลือกของการเพื่อนทางมิติแห่งเสียงดนตรีที่น่าสนใจไม่น้อยเลย