ขณะที่หนังไทยซึ่งน่าจะถือว่าเป็น “หนังฟอร์ม” แห่งปี และมีการลงทุนไปมากถึง 500 ล้านบาทแต่เก็บรายได้ในบ้านเราไปเพียง 50 กว่าล้านบาท เหลียวมองมายังฝั่งของคนดูหนังไทย ก็สามารถกล่าวได้ว่า ปี 2556 เป็นปีที่ถือว่าขาดทุนกับการควักกระเป๋าจ่ายค่าตั๋วอย่างยากจะปฏิเสธ เหตุผลเบื้องต้นก็เพราะว่า ไม่ว่าจะใช้นิ้วจิ้มลงไปตรงชื่อหนังไทยเรื่องไหนซึ่งเข้าฉายภายในปีนี้ ก็เหมือนจะโดนหนังที่พอจะพูดได้ว่า “ดีๆ” ยากสุดๆ
ขณะเดียวกัน แม้จะมีหนังไทยที่สามารถทำเงินได้ถล่มทลายทะลุหลักพันล้าน อย่าง “พี่มาก..พระโขนง” แต่นั่นก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ เพราะเมื่อกวาดสายตาดูอุตสาหกรรมหนังไทยในภาพรวม ความตื่นเต้นจากปรากฏการณ์ “พี่มากฟีเวอร์” นั้น ก็ถูกแทนที่ด้วยความห่อเหี่ยวซบเซา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากต้มยำกุ้งซึ่งควรได้เงินแต่ไม่ได้แล้ว ปีนี้ยังมีหนังไทยเข้าฉายอีกราว 20 กว่าเรื่อง ซึ่งถือว่าลดลงกว่าครึ่งของจำนวนหนังที่เข้าฉายในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมักจะสแตนด์บายอยู่ที่ 40-50 กว่าเรื่อง
จะพูดว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของหนังไทยยุคขาลง ก็คล้ายจะเป็นการโยนบาปให้กับอะไรก็ไม่รู้ เพราะถ้าจะพินิจดูแบบให้เห็นความเป็นจริง ต้องยอมรับว่าคุณภาพเนื้องานนั้นคือปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้คนไทยที่แม้จะบอกว่ายินดีสนับสนุนหนังไทย เบื่อหน่ายที่จะตีตั๋วเข้าไปชมในโรงหนัง เพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าทั้งเวลาและเงินทองที่ต้องจ่าย คำพูดแบบหนึ่งซึ่งผมและทีมงานรายการวิวไฟน์เดอร์แห่งช่องซูเปอร์บันเทิง คุยกันก็คือ เดี๋ยวนี้ ถ้าหนังไทยสักเรื่องสร้างรายรับไปแตะที่ตัวเลข 20 ล้านบาทขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นความตื่นเต้นแล้ว ทั้งที่จะว่ากันตามความเป็นจริง รายได้ระดับนี้ไม่นับเป็นความหรูหราน่าตื่นตะลึงแต่ประการใดในยุคปัจจุบัน เพราะมันแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นมาตรฐานพื้นๆ ซึ่งหนังทุกเรื่องสามารถที่จะไต่ไปถึง
เอาล่ะ พอพูดอย่างนี้ อาจจะเป็นการเอาจิตเอาใจไปยึดติดอยู่กับรายได้หรือเม็ดเงินมากเกินไปจนละเลยด้านอื่นๆ ตรรกะ 2-3 ข้อซึ่งคนดูหนังมักคุ้นเคยกันดีก็คือ หนังดีอาจจะทำเงิน หนังทำเงินอาจจะไม่ใช่หนังดีหรือหนังที่ยอดเยี่ยมควรค่าแก่การบันทึกไว้ในความทรงจำ ขวบปีที่ผ่านมา โดยส่วนตัว ยอมรับว่า หนังที่ควรค่าแก่การจดจำนั้น กลับเป็นหนังที่ฉายอยู่ในวงจำกัด และไม่อาจจัดว่าเป็นหนังทำเงินได้เลย
แน่นอนว่า เมื่อหนังดีๆ หาได้ยาก ด้านหนึ่งมันจึงไม่ยากที่จะชี้ชัดถึงหนังที่โดดออกมาจากพวกในแง่ของคุณภาพ ในบรรดาหนังไทยที่เข้าฉาย ผมอาจจะไม่ได้ดูอยู่ประมาณ 3-4 เรื่อง โดยเฉพาะ Mary is happy, Mary is happy ที่ได้ข่าวว่าคนตีตั๋วเข้าไปดูกันแน่นโรงลิโด้ตอนเข้าฉาย สำหรับคนบ้านไกลอย่างผม คิดว่าคงมีโอกาสได้ดูตอนเป็นหนังแผ่นไปแล้ว ทั้งนี้ รวมไปจนถึง “ฟัดจังโตะ” ที่จะเข้าฉายช่วงใกล้วันส่งท้ายปี (ตอนเขียนบทความนี้ หนังยังไม่เข้า) ที่ก็ได้ข่าวว่า เป็นหนังไทยที่ทำได้สนุกเรื่องหนึ่งเช่นกัน
อย่างไรก็ดี กับบรรดาหนังที่ฉายโรงใหญ่ ถ้าให้เลือกจริงๆ ผมเลือกให้หนังเล็กๆ อย่าง “ตั้งวง” ของคุณคงเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นหนังไทยยอดเยี่ยมแห่งปี ผลงานชิ้นนี้ไม่ได้มีดาราดัง ไม่ได้มีองค์ประกอบที่ใหญ่โตมโหฬารในแง่งานสร้าง แต่หัวจิตหัวใจของหนังนั้นยิ่งใหญ่เกินตัว เอาเป็นว่า ผมขออนุญาตไล่เรียงไปทีละเรื่อง ตั้งแต่หนังยอดเยี่ยมไปจนถึงหนังที่จัดได้ว่ามีคุณภาพพอยอมรับได้ หมายเหตุตัวโตๆ ไว้ในบรรทัดนี้เลยนะครับว่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัว เพราะทุกคนก็มีสิทธิในการเลือกหนังของตัวเอง หนังดีๆ ของคนหนึ่งคน อาจจะแตกต่างกันอย่างสุดขั้วกับหนังดีๆ ของคนอีกคนหรือหลายๆ คน
***หมายเหตุ : นอกจาก “ทองสุก 13” แล้ว ผมเคยเขียนถึงหนังเหล่านี้ไว้แล้วแบบละเอียดเป็นรายเรื่อง สามารถย้อนกลับไปอ่านในลิงก์บทความเก่าได้ครับ
1.ตั้งวง (คงเดช จาตุรันต์รัศมี / กำกับ)
หนังเล็กๆ ที่สามารถหลอมรวมเอาแง่มุมอันหลากหลายมานำเสนอได้อย่างมีเอกภาพและแหลมคม ซึ่งถ้านำมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับมันจริงๆ จะทำให้เรามองเห็นภาพของสังคมไทยในหลากหลายมิติ หนังมีทั้งประเด็นหลัก (Main Idea) และประเด็นรอง หรือ Sub-Text ที่ซ้อนทับกันอยู่หลายชั้น และทุกส่วนล้วนถูกสื่อออกมาอย่างแยบยลผ่านเรื่องราวที่ไม่บีบเค้นบังคับให้คนดูต้องเชื่อตาม แต่ชี้ชวนให้ตั้งคำถามและขบคิดอย่างมีอิสระ แน่นอนว่า พลังของเรื่องนั้นมีมากเพียงพอต่อการทำให้เราหันกลับมาสำรวจตรวจสอบกระทั่งตั้งคำถามต่อความเป็นไป เพื่อทำความเข้าใจในตัวของเราเอง ในหลากแง่หลายมุม เพราะมีก็แต่ผู้ที่เข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพให้รุดหน้าต่อไปได้ หนังเรื่องนี้เหมาะกับคนไทยทุกคน และมันเป็นหนังที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้คน สังคม และชาติบ้านเมืองได้
2.พี่มาก..พระโขนง (บรรจง ปิสัญธนะกุล)
ความดีงามของแม่นากเวอร์ชั่นนี้ คือผลพวงแห่งการกล้าคิดใหม่อีกหนึ่งครั้งของหนังไทย มันคือการคิดใหม่ที่ทำให้เรื่องราวของแม่นาก ดูแตกต่างน่าสนใจ เพราะเมื่อก่อน พอพูดถึงแม่นาก ทุกคนก็จะนึกถึงผีที่ไม่ไปผุดไปเกิดเพราะความรักความผูกผันที่มีต่อสามี แต่โต้ง-บรรจง สลับมุมเพียงเล็กน้อย ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องของแม่นาก ให้เป็นมุมมองที่มองผ่านคนรักของแม่นาก ซึ่งก็คือ พ่อมาก ตั้งแต่ชื่อเรื่องที่เดินออกจากกรอบเดิมๆ ที่มักจะใช้ชื่อคนรักฝ่ายหญิงเป็นตัวนำ ก็เปลี่ยนตำแหน่งมาใช้คำว่า “พี่มาก” แทน
ส่วนประเด็นความตลกโปกฮาก็เรียกได้ว่าจัดหนักตั้งแต่ต้นจนจบ หนังเตรียมคนดูให้เข้าสู่โหมดของความฮาได้สำเร็จตั้งแต่ภาพยนตร์ตัวอย่าง และคนที่ทำหนังให้คน (ส่วนมาก) หัวเราะหรือยิ้มออกมาได้ทุกๆ 2-5 นาทีนั้น ย่อมไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน จังหวะการโยนมุกแม่นยำ และกล้าทำกล้าเล่น ไม่ว่าจะเป็นมุกที่ต้องใช้ไอเดีย ไปจกระทั่งมุกที่เขาเรียกกันว่า “มุกควาย” หนังจัดให้ได้ทุกรูปแบบของมุกตลก ขณะที่นักแสดงทุกคนก็เล่นได้ฮาแบบทุ่มเทกันสุดตัว ไม่เว้นแม้แต่มาริโอ้ เมาเร่อ ที่ทิ้งภาพหนุ่มหล่อ มาเป็นคนที่ดูติงต๊องและดูน่าขันไม่น้อยหน้าเพื่อนอีก 4 คน ไม่แปลกใจว่าเพราะอะไรหนังเรื่องนี้ถึงทำเงินเกินพันล้านบาท
3.ทองสุก 13 (ทวีวัฒน์ วันทา / กำกับ)
อาจจะดูเหมือนว่าเป็นหนังผีที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังผีรุ่นพี่หลายๆ เรื่อง ไล่ตั้งแต่พล็อตอันว่าด้วยวัยรุ่น 3-4 คนที่หวังจะไปใช้เวลารื่นรมย์อยู่ในกระท่อมกลางป่า แต่สุดท้ายกลับเจอผีหลอกอย่างสาหัส ผู้กำกับน่าจะจงใจหยิบแนวทางมาจากหนังอย่าง The Evil Dead รวมถึง The Cabin in the Wood ไม่มากก็น้อย ทองสุก 13 เป็นหนังผีที่กล่าวได้ว่ามีรสชาติที่ค่อนข้างประหลาด โดยเฉพาะการหลอกของผีที่มีตั้งแต่ขับเน้นความน่าสะพรึงกลัวด้วยบรรยากาศหลอนๆ ไปจนถึงปล่อยผีออกมาโฉ่งฉ่างตุ้งแช่ หรือแม้กระทั่งชั้นเชิงลูกล่อลูกหลอกซึ่งหนังก็ดูเหมือนจะบอกกับคนดูอยู่กลายๆ เมื่อดูไปจนจบว่า ประสบการณ์ของการถูกผีหลอกจริงๆ นั้นมันเป็นเช่นไร
4.Love Syndrome รักโง่ๆ (พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ / กำกับ)
ผลงานการกำกับของคุณพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ ซึ่งมีผลงานการันตีฝีมือมาแล้วจำนวนหนึ่ง และเชื่อว่าน่าจะเป็นความชอบของคนดูจำนวนไม่น้อย ทั้ง “ไอ้ฟัก” (ที่ดัดแปลงจากนิยาย “คำพิพากษา” ของชาติ กอบจิตติ) และ “มะหมา 4 ขาครับ” รักโง่ๆ หรือ Love Syndrome เล่าถึงความรักหลากคู่หลายวัย คล้ายๆ กับ Love Actually ที่คนดูสามารถเลือกประทับใจกับเรื่องรักของคู่ใดก็ได้ และเป็นไปได้มากเหลือเกินที่จะประทับใจไปกับเรื่องของทุกคู่ เพราะความจริงที่ต้องยอมรับก็คือ แต่ละคู่ล้วนแล้วแต่มีความน่าประทับใจในแบบของตัวเอง
แต่ไม่ว่าเรื่องราวของแต่ละคู่จะแตกต่างกันออกไปอย่างไรในแง่รายละเอียด สุดท้ายแล้ว ประเด็นของแต่ละคู่ก็วิ่งไปสู่ปลายทางคล้ายๆ กัน นั่นก็คือ การพาคนดูร่วมกันเดินทางไปค้นหาคำตอบของคำถามว่าความรักนั้น แท้จริงแล้วคือสิ่งใดกันแน่
ขณะเดียวกัน แม้จะมีหนังไทยที่สามารถทำเงินได้ถล่มทลายทะลุหลักพันล้าน อย่าง “พี่มาก..พระโขนง” แต่นั่นก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ เพราะเมื่อกวาดสายตาดูอุตสาหกรรมหนังไทยในภาพรวม ความตื่นเต้นจากปรากฏการณ์ “พี่มากฟีเวอร์” นั้น ก็ถูกแทนที่ด้วยความห่อเหี่ยวซบเซา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากต้มยำกุ้งซึ่งควรได้เงินแต่ไม่ได้แล้ว ปีนี้ยังมีหนังไทยเข้าฉายอีกราว 20 กว่าเรื่อง ซึ่งถือว่าลดลงกว่าครึ่งของจำนวนหนังที่เข้าฉายในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมักจะสแตนด์บายอยู่ที่ 40-50 กว่าเรื่อง
จะพูดว่า เรากำลังอยู่ในช่วงของหนังไทยยุคขาลง ก็คล้ายจะเป็นการโยนบาปให้กับอะไรก็ไม่รู้ เพราะถ้าจะพินิจดูแบบให้เห็นความเป็นจริง ต้องยอมรับว่าคุณภาพเนื้องานนั้นคือปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้คนไทยที่แม้จะบอกว่ายินดีสนับสนุนหนังไทย เบื่อหน่ายที่จะตีตั๋วเข้าไปชมในโรงหนัง เพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าทั้งเวลาและเงินทองที่ต้องจ่าย คำพูดแบบหนึ่งซึ่งผมและทีมงานรายการวิวไฟน์เดอร์แห่งช่องซูเปอร์บันเทิง คุยกันก็คือ เดี๋ยวนี้ ถ้าหนังไทยสักเรื่องสร้างรายรับไปแตะที่ตัวเลข 20 ล้านบาทขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นความตื่นเต้นแล้ว ทั้งที่จะว่ากันตามความเป็นจริง รายได้ระดับนี้ไม่นับเป็นความหรูหราน่าตื่นตะลึงแต่ประการใดในยุคปัจจุบัน เพราะมันแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นมาตรฐานพื้นๆ ซึ่งหนังทุกเรื่องสามารถที่จะไต่ไปถึง
เอาล่ะ พอพูดอย่างนี้ อาจจะเป็นการเอาจิตเอาใจไปยึดติดอยู่กับรายได้หรือเม็ดเงินมากเกินไปจนละเลยด้านอื่นๆ ตรรกะ 2-3 ข้อซึ่งคนดูหนังมักคุ้นเคยกันดีก็คือ หนังดีอาจจะทำเงิน หนังทำเงินอาจจะไม่ใช่หนังดีหรือหนังที่ยอดเยี่ยมควรค่าแก่การบันทึกไว้ในความทรงจำ ขวบปีที่ผ่านมา โดยส่วนตัว ยอมรับว่า หนังที่ควรค่าแก่การจดจำนั้น กลับเป็นหนังที่ฉายอยู่ในวงจำกัด และไม่อาจจัดว่าเป็นหนังทำเงินได้เลย
แน่นอนว่า เมื่อหนังดีๆ หาได้ยาก ด้านหนึ่งมันจึงไม่ยากที่จะชี้ชัดถึงหนังที่โดดออกมาจากพวกในแง่ของคุณภาพ ในบรรดาหนังไทยที่เข้าฉาย ผมอาจจะไม่ได้ดูอยู่ประมาณ 3-4 เรื่อง โดยเฉพาะ Mary is happy, Mary is happy ที่ได้ข่าวว่าคนตีตั๋วเข้าไปดูกันแน่นโรงลิโด้ตอนเข้าฉาย สำหรับคนบ้านไกลอย่างผม คิดว่าคงมีโอกาสได้ดูตอนเป็นหนังแผ่นไปแล้ว ทั้งนี้ รวมไปจนถึง “ฟัดจังโตะ” ที่จะเข้าฉายช่วงใกล้วันส่งท้ายปี (ตอนเขียนบทความนี้ หนังยังไม่เข้า) ที่ก็ได้ข่าวว่า เป็นหนังไทยที่ทำได้สนุกเรื่องหนึ่งเช่นกัน
อย่างไรก็ดี กับบรรดาหนังที่ฉายโรงใหญ่ ถ้าให้เลือกจริงๆ ผมเลือกให้หนังเล็กๆ อย่าง “ตั้งวง” ของคุณคงเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นหนังไทยยอดเยี่ยมแห่งปี ผลงานชิ้นนี้ไม่ได้มีดาราดัง ไม่ได้มีองค์ประกอบที่ใหญ่โตมโหฬารในแง่งานสร้าง แต่หัวจิตหัวใจของหนังนั้นยิ่งใหญ่เกินตัว เอาเป็นว่า ผมขออนุญาตไล่เรียงไปทีละเรื่อง ตั้งแต่หนังยอดเยี่ยมไปจนถึงหนังที่จัดได้ว่ามีคุณภาพพอยอมรับได้ หมายเหตุตัวโตๆ ไว้ในบรรทัดนี้เลยนะครับว่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัว เพราะทุกคนก็มีสิทธิในการเลือกหนังของตัวเอง หนังดีๆ ของคนหนึ่งคน อาจจะแตกต่างกันอย่างสุดขั้วกับหนังดีๆ ของคนอีกคนหรือหลายๆ คน
***หมายเหตุ : นอกจาก “ทองสุก 13” แล้ว ผมเคยเขียนถึงหนังเหล่านี้ไว้แล้วแบบละเอียดเป็นรายเรื่อง สามารถย้อนกลับไปอ่านในลิงก์บทความเก่าได้ครับ
1.ตั้งวง (คงเดช จาตุรันต์รัศมี / กำกับ)
หนังเล็กๆ ที่สามารถหลอมรวมเอาแง่มุมอันหลากหลายมานำเสนอได้อย่างมีเอกภาพและแหลมคม ซึ่งถ้านำมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับมันจริงๆ จะทำให้เรามองเห็นภาพของสังคมไทยในหลากหลายมิติ หนังมีทั้งประเด็นหลัก (Main Idea) และประเด็นรอง หรือ Sub-Text ที่ซ้อนทับกันอยู่หลายชั้น และทุกส่วนล้วนถูกสื่อออกมาอย่างแยบยลผ่านเรื่องราวที่ไม่บีบเค้นบังคับให้คนดูต้องเชื่อตาม แต่ชี้ชวนให้ตั้งคำถามและขบคิดอย่างมีอิสระ แน่นอนว่า พลังของเรื่องนั้นมีมากเพียงพอต่อการทำให้เราหันกลับมาสำรวจตรวจสอบกระทั่งตั้งคำถามต่อความเป็นไป เพื่อทำความเข้าใจในตัวของเราเอง ในหลากแง่หลายมุม เพราะมีก็แต่ผู้ที่เข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพให้รุดหน้าต่อไปได้ หนังเรื่องนี้เหมาะกับคนไทยทุกคน และมันเป็นหนังที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้คน สังคม และชาติบ้านเมืองได้
2.พี่มาก..พระโขนง (บรรจง ปิสัญธนะกุล)
ความดีงามของแม่นากเวอร์ชั่นนี้ คือผลพวงแห่งการกล้าคิดใหม่อีกหนึ่งครั้งของหนังไทย มันคือการคิดใหม่ที่ทำให้เรื่องราวของแม่นาก ดูแตกต่างน่าสนใจ เพราะเมื่อก่อน พอพูดถึงแม่นาก ทุกคนก็จะนึกถึงผีที่ไม่ไปผุดไปเกิดเพราะความรักความผูกผันที่มีต่อสามี แต่โต้ง-บรรจง สลับมุมเพียงเล็กน้อย ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องของแม่นาก ให้เป็นมุมมองที่มองผ่านคนรักของแม่นาก ซึ่งก็คือ พ่อมาก ตั้งแต่ชื่อเรื่องที่เดินออกจากกรอบเดิมๆ ที่มักจะใช้ชื่อคนรักฝ่ายหญิงเป็นตัวนำ ก็เปลี่ยนตำแหน่งมาใช้คำว่า “พี่มาก” แทน
ส่วนประเด็นความตลกโปกฮาก็เรียกได้ว่าจัดหนักตั้งแต่ต้นจนจบ หนังเตรียมคนดูให้เข้าสู่โหมดของความฮาได้สำเร็จตั้งแต่ภาพยนตร์ตัวอย่าง และคนที่ทำหนังให้คน (ส่วนมาก) หัวเราะหรือยิ้มออกมาได้ทุกๆ 2-5 นาทีนั้น ย่อมไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน จังหวะการโยนมุกแม่นยำ และกล้าทำกล้าเล่น ไม่ว่าจะเป็นมุกที่ต้องใช้ไอเดีย ไปจกระทั่งมุกที่เขาเรียกกันว่า “มุกควาย” หนังจัดให้ได้ทุกรูปแบบของมุกตลก ขณะที่นักแสดงทุกคนก็เล่นได้ฮาแบบทุ่มเทกันสุดตัว ไม่เว้นแม้แต่มาริโอ้ เมาเร่อ ที่ทิ้งภาพหนุ่มหล่อ มาเป็นคนที่ดูติงต๊องและดูน่าขันไม่น้อยหน้าเพื่อนอีก 4 คน ไม่แปลกใจว่าเพราะอะไรหนังเรื่องนี้ถึงทำเงินเกินพันล้านบาท
3.ทองสุก 13 (ทวีวัฒน์ วันทา / กำกับ)
อาจจะดูเหมือนว่าเป็นหนังผีที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังผีรุ่นพี่หลายๆ เรื่อง ไล่ตั้งแต่พล็อตอันว่าด้วยวัยรุ่น 3-4 คนที่หวังจะไปใช้เวลารื่นรมย์อยู่ในกระท่อมกลางป่า แต่สุดท้ายกลับเจอผีหลอกอย่างสาหัส ผู้กำกับน่าจะจงใจหยิบแนวทางมาจากหนังอย่าง The Evil Dead รวมถึง The Cabin in the Wood ไม่มากก็น้อย ทองสุก 13 เป็นหนังผีที่กล่าวได้ว่ามีรสชาติที่ค่อนข้างประหลาด โดยเฉพาะการหลอกของผีที่มีตั้งแต่ขับเน้นความน่าสะพรึงกลัวด้วยบรรยากาศหลอนๆ ไปจนถึงปล่อยผีออกมาโฉ่งฉ่างตุ้งแช่ หรือแม้กระทั่งชั้นเชิงลูกล่อลูกหลอกซึ่งหนังก็ดูเหมือนจะบอกกับคนดูอยู่กลายๆ เมื่อดูไปจนจบว่า ประสบการณ์ของการถูกผีหลอกจริงๆ นั้นมันเป็นเช่นไร
4.Love Syndrome รักโง่ๆ (พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ / กำกับ)
ผลงานการกำกับของคุณพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ ซึ่งมีผลงานการันตีฝีมือมาแล้วจำนวนหนึ่ง และเชื่อว่าน่าจะเป็นความชอบของคนดูจำนวนไม่น้อย ทั้ง “ไอ้ฟัก” (ที่ดัดแปลงจากนิยาย “คำพิพากษา” ของชาติ กอบจิตติ) และ “มะหมา 4 ขาครับ” รักโง่ๆ หรือ Love Syndrome เล่าถึงความรักหลากคู่หลายวัย คล้ายๆ กับ Love Actually ที่คนดูสามารถเลือกประทับใจกับเรื่องรักของคู่ใดก็ได้ และเป็นไปได้มากเหลือเกินที่จะประทับใจไปกับเรื่องของทุกคู่ เพราะความจริงที่ต้องยอมรับก็คือ แต่ละคู่ล้วนแล้วแต่มีความน่าประทับใจในแบบของตัวเอง
แต่ไม่ว่าเรื่องราวของแต่ละคู่จะแตกต่างกันออกไปอย่างไรในแง่รายละเอียด สุดท้ายแล้ว ประเด็นของแต่ละคู่ก็วิ่งไปสู่ปลายทางคล้ายๆ กัน นั่นก็คือ การพาคนดูร่วมกันเดินทางไปค้นหาคำตอบของคำถามว่าความรักนั้น แท้จริงแล้วคือสิ่งใดกันแน่