เป็นอีกครั้งหนึ่งที่หลายๆ คนคงจะรู้สึกเหมือนๆ กับผมว่าบรรดาคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ช่าง "ว่างมาก" เสียเหลือเกินหลังมีข่าวออกมาว่าที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ (คกก.) มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนสำนวนสุภาษิตที่ว่า "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" เป็น" รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด"
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ต่างอะไรไปจากการได้รับรู้ข่าวก่อนหน้าที่ผู้อำนวยการอนุรักษ์สัตว์ป่าท่านเกิดผุดไอเดียบรรเจิดคิดจะเปลี่ยนชื่อ "เหี้ย" เป็น "วรนุช" นั่นแหละครับ
ผลสุดท้ายก็โดนจวกเละจากหลายๆ ฝ่าย
หลังเป็นข่าวออกมาว่าจะมีการนำเอาเรื่องการเปลี่ยนสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่ว่าเข้าครม. (บางคนก็เลยเถิดไปถึงขนาดที่ต้องการให้มีการชำระกันใหม่เลย) ทางฟากของราชบัณฑิตหลายคนต่างก็พากันออกมาแสดงความเห็นคัดค้านทันที โดยบอกว่าหากจะคิดคำขึ้นใหม่ก็ทำไป แต่ไม่เห็นมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงของเดิมแต่อย่างใด
จะว่าไปแล้วเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ก็ไม่ค่อยจะรู้จักคำว่า "สำนวน สุภาษิต คำพังเพย" กันสักเท่าไหร่แล้วครับ เพราะถ้าเข้าใจไม่ผิดดูเหมือนว่าในโรงเรียนจะไม่มีการเรียนการสอนกันแล้ว
จริงๆ คำว่า สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ทั้ง 3 คำนี้ต่างก็มีความหมายที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ...
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง แต่เป็นที่เข้าใจกันแพร่หลาย ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้จะสลับที่หรือตัดทอนไม่ได้ เช่น หัวหกก้นขวิด หมูไปไก่มา ตีนเท่าฝาหอย อ้อยเข้าปากช้าง ขวานผ่าซาก คว้าน้ำเหลว ปั้นน้ำเป็นตัว ฯลฯ
ส่วน คำพังเพย จะเป็นคำที่กล่าวกลางไว้ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น คางคกขึ้นวอ กระต่ายตื่นตูม เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
และ สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำความดีและละเว้นความชั่ว เช่น ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กงเกวียนกงกรรม รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี (อ้างอิงจากเว็บไซต์การศึกษาดอทคอม www.kanzuksa.com)
ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าคำว่า สำนวน นั้นมีความหมายครอบคลุมทั้ง คำพังเพย คำสุภาษิต ขณะที่ คำพังเพย กับ คำสุภาษิตเองก็มีความใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นเวลาที่ใช้เราจึงเรียกรวมๆ กันไป หรือใช้คำว่าสำนวนคำเดียว
เสน่ห์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งของสำนวนเหล่านี้นอกจากความไพเราะเพราะพริ้งจากการเลือกใช้คำ มีคล้องจองในเรื่องของเสียง ตลอดจนชี้ให้เห็นภาพของสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ แนวคิด และการเป็นคนช่างสังเกต ช่างเปรียบเปรยเจ้าบทเจ้ากลอนของผู้คนในพื้นที่-ในสมัยนั้นๆ แล้ว ที่สำคัญก็คือ สำนวนเหล่านี้ต่างก็มีที่มา-ที่ไป ซ่อนไว้ด้วยความหมายหรือนัยยะที่ไม่อาจจะตีความกันเพียงแค่เฉพาะตัวอักษรที่เห็นๆ ได้
โดยเฉพาะที่มาที่ไปของคำนั้นผมว่าเป็นอะไรที่สนุกๆ มากๆ หากได้รับรู้
อย่างสำนวนคำว่า "ดีแตก" ซึ่งมีความหมายค่อนข้างจะตรงตัว หมายถึงคนที่เคยทำดีมาตลอดแต่แล้วก็กลับมาเสียในภายหลัง หรือดีเกินไปจนเสีย ทว่ามาของคำนั้นไม่เกี่ยวอะไรเลยกับเรื่องของความดี แต่ดันไปเกี่ยวกับ "ดี" ที่เป็นอวัยวะของปลาซะอย่างนั้น
หรือจะเป็นสำนวน "เจ้าชู้ประตูดิน" ซึ่งยอมรับตรงๆ ว่าหลายปีก่อนผมเข้าใจว่าสำนวนซึ่งเปรียบเปรยถึงผู้ชายที่มีนิสัยเจ้าชู้นี้มีที่มาจาก "กำแพงดิน" อดีตแหล่งรวมซ่องโสเภณีราคาถูกในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันดี ก่อนจะมารู้ในภายหลังว่า "ประตูดิน" ก็คือ ประตูช่องกุด หรือ ประตูศรีสุดาวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง ริมถนนมหาราชทางที่จะไปท่าเตียนในกรุงเทพฯ นี่แหละ
ส่วนที่มาของสำนวน เจ้าชู้ประตูดิน ก็เพราะ แต่ก่อนประตูช่องกุด หรือประตูดินนี้เป็นประตูที่อยู่ระหว่างทางเข้าออกเขตวังชั้นในซึ่งเป็นที่อยู่ของหญิงสาวชาววัง ผู้ชายไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะฉะนั้นหากหนุ่มๆ จะมายลโฉม หรืออยากจะมาทำความรู้จักสาวๆ ในวังก็จะต้องมาดักรอที่ประตูแห่งนี้นั่นเอง
หรือจะเป็น "ควันหลง" สำนวนนี้ถ้าใครเข้าใจว่ามาจากหลังจากไฟไหม้มอดแล้วยังมีควันไฟหลงเหลืออยู่นั้นก็เอาไปศูนย์คะแนนครับ
เพราะสำนวนนี้เอามาจากพวกที่สูบฝิ่นสูบกัญชา พอคนที่ไม่เคยสูบมาเห็นก็อยากลอง คว้ากล้องคว้าบ้องไปสูดโดยไม่รู้ว่าในนั้นยังมีควันเหลือค้างอยู่ก็เลยเกิดอาการสำลักหรือมึนเมาขึ้นมาทันที ส่วนความหมายก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและผ่านไปแล้ว แต่ยังมีผลที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งนั้นหลงเหลืออยู่
ด้วยเหตุนี้แหละครับผมเลยรู้สึกว่าการที่มีคนบางคนต้องการเปลี่ยนสำนวน รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี โดยมองว่าเพราะสำนวนนี้สะท้อนถึงทัศนะคติในเรื่องของความรุนแรงและมีส่วนทำให้เกิดค่านิยมการใช้กำลังในการดูแลลูกหลานนั้นเป็นการมองอะไรที่ผิวเผินเอามากๆ
ส่วนจะเข้ากับสำนวนอะไร ลองสรรหาให้ท่านเหล่านี้ตามสะดวกเลยครับ...
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ต่างอะไรไปจากการได้รับรู้ข่าวก่อนหน้าที่ผู้อำนวยการอนุรักษ์สัตว์ป่าท่านเกิดผุดไอเดียบรรเจิดคิดจะเปลี่ยนชื่อ "เหี้ย" เป็น "วรนุช" นั่นแหละครับ
ผลสุดท้ายก็โดนจวกเละจากหลายๆ ฝ่าย
หลังเป็นข่าวออกมาว่าจะมีการนำเอาเรื่องการเปลี่ยนสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่ว่าเข้าครม. (บางคนก็เลยเถิดไปถึงขนาดที่ต้องการให้มีการชำระกันใหม่เลย) ทางฟากของราชบัณฑิตหลายคนต่างก็พากันออกมาแสดงความเห็นคัดค้านทันที โดยบอกว่าหากจะคิดคำขึ้นใหม่ก็ทำไป แต่ไม่เห็นมีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงของเดิมแต่อย่างใด
จะว่าไปแล้วเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ก็ไม่ค่อยจะรู้จักคำว่า "สำนวน สุภาษิต คำพังเพย" กันสักเท่าไหร่แล้วครับ เพราะถ้าเข้าใจไม่ผิดดูเหมือนว่าในโรงเรียนจะไม่มีการเรียนการสอนกันแล้ว
จริงๆ คำว่า สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ทั้ง 3 คำนี้ต่างก็มีความหมายที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ...
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง แต่เป็นที่เข้าใจกันแพร่หลาย ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้จะสลับที่หรือตัดทอนไม่ได้ เช่น หัวหกก้นขวิด หมูไปไก่มา ตีนเท่าฝาหอย อ้อยเข้าปากช้าง ขวานผ่าซาก คว้าน้ำเหลว ปั้นน้ำเป็นตัว ฯลฯ
ส่วน คำพังเพย จะเป็นคำที่กล่าวกลางไว้ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น คางคกขึ้นวอ กระต่ายตื่นตูม เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
และ สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำความดีและละเว้นความชั่ว เช่น ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กงเกวียนกงกรรม รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี (อ้างอิงจากเว็บไซต์การศึกษาดอทคอม www.kanzuksa.com)
ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าคำว่า สำนวน นั้นมีความหมายครอบคลุมทั้ง คำพังเพย คำสุภาษิต ขณะที่ คำพังเพย กับ คำสุภาษิตเองก็มีความใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นเวลาที่ใช้เราจึงเรียกรวมๆ กันไป หรือใช้คำว่าสำนวนคำเดียว
เสน่ห์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งของสำนวนเหล่านี้นอกจากความไพเราะเพราะพริ้งจากการเลือกใช้คำ มีคล้องจองในเรื่องของเสียง ตลอดจนชี้ให้เห็นภาพของสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ แนวคิด และการเป็นคนช่างสังเกต ช่างเปรียบเปรยเจ้าบทเจ้ากลอนของผู้คนในพื้นที่-ในสมัยนั้นๆ แล้ว ที่สำคัญก็คือ สำนวนเหล่านี้ต่างก็มีที่มา-ที่ไป ซ่อนไว้ด้วยความหมายหรือนัยยะที่ไม่อาจจะตีความกันเพียงแค่เฉพาะตัวอักษรที่เห็นๆ ได้
โดยเฉพาะที่มาที่ไปของคำนั้นผมว่าเป็นอะไรที่สนุกๆ มากๆ หากได้รับรู้
อย่างสำนวนคำว่า "ดีแตก" ซึ่งมีความหมายค่อนข้างจะตรงตัว หมายถึงคนที่เคยทำดีมาตลอดแต่แล้วก็กลับมาเสียในภายหลัง หรือดีเกินไปจนเสีย ทว่ามาของคำนั้นไม่เกี่ยวอะไรเลยกับเรื่องของความดี แต่ดันไปเกี่ยวกับ "ดี" ที่เป็นอวัยวะของปลาซะอย่างนั้น
หรือจะเป็นสำนวน "เจ้าชู้ประตูดิน" ซึ่งยอมรับตรงๆ ว่าหลายปีก่อนผมเข้าใจว่าสำนวนซึ่งเปรียบเปรยถึงผู้ชายที่มีนิสัยเจ้าชู้นี้มีที่มาจาก "กำแพงดิน" อดีตแหล่งรวมซ่องโสเภณีราคาถูกในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันดี ก่อนจะมารู้ในภายหลังว่า "ประตูดิน" ก็คือ ประตูช่องกุด หรือ ประตูศรีสุดาวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง ริมถนนมหาราชทางที่จะไปท่าเตียนในกรุงเทพฯ นี่แหละ
ส่วนที่มาของสำนวน เจ้าชู้ประตูดิน ก็เพราะ แต่ก่อนประตูช่องกุด หรือประตูดินนี้เป็นประตูที่อยู่ระหว่างทางเข้าออกเขตวังชั้นในซึ่งเป็นที่อยู่ของหญิงสาวชาววัง ผู้ชายไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะฉะนั้นหากหนุ่มๆ จะมายลโฉม หรืออยากจะมาทำความรู้จักสาวๆ ในวังก็จะต้องมาดักรอที่ประตูแห่งนี้นั่นเอง
หรือจะเป็น "ควันหลง" สำนวนนี้ถ้าใครเข้าใจว่ามาจากหลังจากไฟไหม้มอดแล้วยังมีควันไฟหลงเหลืออยู่นั้นก็เอาไปศูนย์คะแนนครับ
เพราะสำนวนนี้เอามาจากพวกที่สูบฝิ่นสูบกัญชา พอคนที่ไม่เคยสูบมาเห็นก็อยากลอง คว้ากล้องคว้าบ้องไปสูดโดยไม่รู้ว่าในนั้นยังมีควันเหลือค้างอยู่ก็เลยเกิดอาการสำลักหรือมึนเมาขึ้นมาทันที ส่วนความหมายก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและผ่านไปแล้ว แต่ยังมีผลที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งนั้นหลงเหลืออยู่
ด้วยเหตุนี้แหละครับผมเลยรู้สึกว่าการที่มีคนบางคนต้องการเปลี่ยนสำนวน รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี โดยมองว่าเพราะสำนวนนี้สะท้อนถึงทัศนะคติในเรื่องของความรุนแรงและมีส่วนทำให้เกิดค่านิยมการใช้กำลังในการดูแลลูกหลานนั้นเป็นการมองอะไรที่ผิวเผินเอามากๆ
ส่วนจะเข้ากับสำนวนอะไร ลองสรรหาให้ท่านเหล่านี้ตามสะดวกเลยครับ...