xs
xsm
sm
md
lg

20 ปีผ่านไป "เจิ้งเส้าชิว-เจ้าพ่อตลาดหุ้น" ยังหลอกหลอนนักลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จุดเริ่มต้นของ Ting Hai effect เกิดขึ้นใน1992 เมื่อ Greed of Man ออกอากาศในเดือน ต.ค.  ตลาดหุ้นฮ่องกงดัชนีฮั่งเส็งเองก็ตกไปถึง 598 จุดภายในเวลา 4 วัน คิดเป็นมูลค่าหลักหมื่นล้านเหรียญฮ่องกง


ถือเป็นปรากฏการณ์ที่นักเล่นหุ้นฮ่องกงทุกคนคุ้นเคยกันดี และระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับ "ติงไห่เอฟเฟค" กับการแพร่ภาพของซีรีส์ที่นำแสดงโดย "เจิ้งเส้าชิว" ทุก ๆ เรื่อง เป็นอาถรรพ์ที่เกิดขึ้นหลังจาก "เจ้าพ่อตลาดหุ้น" เข้าฉายในเวลาเดียวกับที่ตลาดหุ้นฮ่องกงเรื่อง หลังจากนั้นเมื่อใดที่ซีรีส์ของ "เจิ้งเส้าชิว" เริ่มแพร่ภาพดัชนีฮั่นเซ็งก็อยู่ในภาวะอันตรายทันที

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายปรากฏการณ์ประจำปีไปแล้ว สำหรับซีรีส์เกือบทุกเรื่องของนักแสดงชาวฮ่องกง เจิ้งเส้าชิว ที่มักจะออกฉายพร้อม ๆ กับการดิ่งลงของตลาดหุ้นฮ่องกง หลัง "เจ้าพ่อตลาดหุ้น" ซีรีส์สุดดังของเขาออกแพร่ภาพสร้างความฮือฮาเมื่อ 20 ปีก่อน บางคนบอกว่ามันคือคือคำสาปอาถรรพ์, บางคนบอกว่าเป็นเรื่องโชคลาง ขณะที่บางคนมองว่าเป็นเรื่องของจิตวิทยา และอีกจำนวนไม่น้อยที่มองว่าเป็นความบังเอิญเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในปีนี้ เมื่อนักแสดงวัย 65 ปี กำลังมีผลงานเรื่อง Master of Play เริ่มต้นแพร่ภาพในปลายเดือน มิ.ย. เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่นักเล่นหุ้นทุกคนก็ต้องกลั่นหายใจลุ้นกันไปตาม ๆ กัน

โดยบริษัทโบรกเกอร์ดัง CLSA ได้ให้ข้อมูลตัวเลขที่เก็บกันมาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมากับซีรีส์ถึง 18 เรื่องว่าเมื่อใดที่ผลงานของ เจิ้งเส้าชิว ออกอากาศจะมีโอกาสที่หุ้นจะตกอยู่ที่ 70% โดยในแต่ละครั้งหุ้นจะตกลงประมาณ 6.6%

แม้ส่วนใหญ่จะมองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้น แต่นักลงทุนในฮ่องกงหลายคนต่างระมัดระวังกับเรื่องนี้ อย่างที่นักเขียนของ CLSA บอกว่าอย่าประมาท "เจิ้งเส้าชิว เอฟเฟค" หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "ติงไห่ เอฟเฟค" อย่างเด็ดขาด

ติงไห่ ก็คือตัวละครของ "เจิ้งเส้าชิว" ในซีรีส์ดัง The Greed of Man หรือ "เจ้าพ่อตลาดหุ้น" งานที่เล่าเรื่องราวอันประกอบไปด้วยตัวละครมากมาย ผ่านช่วงเวลาถึง 3 ทศวรรษ ในการเล่าบรรยายถึงความเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจของฮ่องกง ทั้งความรุ่งเรือง และตกต่ำ รวมถึงด้านที่ฉ้อฉล เกี่ยวพันกับด้านมืดขององค์กรอาชญากรรมนอกกฎหมาย ด้วย

โดย ติงไห่ ชายที่เติบโตมาในครอบครัวที่ยากจน เป็นบุคคลไร้การศึกษา ที่ยึดมั่นอยู่กับแต่ตัวเอง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความรุนแรงถ่อยเถื่อน และบังคับขู่เข็ญผู้อื่น ซึ่งแม้จะไม่ได้มีสติปัญญาฉลาดเฉลียวอะไรนัก แต่เขากลับมีโชคในทางหุ้นอย่างเหลือเชื่อ โดย เจ้าพ่อตลาดหุ้น ถือว่าเป็นซีรีส์ที่โด่งดังคลาสสิกที่สุดเรื่องหนึ่งในยุค 90s ของ ทีวีบี, เป็นซีรีส์ในดวงใจของใคร ๆ หลายคน และตัวละคร ติงไห่ ก็เป็นบทเด่นติดตัวอยู่กับ เจิ้งเส้าชิว ในระดับเดียวกับ "ชอลิ้วเฮียง" ก็ว่าได้

ซึ่งเมื่อออกอากาศครั้งแรก The Greed of Man ก็สร้างความฮือฮาได้ทันที ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน และเต็มไปด้วยทีมนักแสดงชั้นยอด เนื้อเรื่องก็เกี่ยวข้องกับความร่ำรวยของตระกูล "ติง" ในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดความแปรผันมากมาย และผู้คนส่วนใหญ่ต้องหมดเนื้อหมดตัว เป็นเนื้อหาที่น่าจะโดนใจชาวฮ่องกงในช่วงเวลานั้นทุกคน



แต่ผลกระทบของ The Greed of Man กับเศรษฐกิจและระบบการเงินของฮ่องกงกลับ "ตรง" และ "แรง" กว่านั้น เพราะในเดือน ต.ค. ที่ซีรีส์ออกฉาย ตลาดหุ้นฮ่องกงดัชนีฮั่งเส็งเองได้ร่วงลงไปถึง 598 จุด ภายในเวลา 4 วัน!!! คิดเป็นมูลค่าหลักหมื่นล้านเหรียญฮ่องกง

และไม่ใช่เพียงเท่านั้น เพราะนับจากนั้นเมื่อใดที่ซีรีส์ของ เจิ้งเส้าชิว ออกอากาศตลาดหุ้นฮ่องกงก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนไปด้วยทันที ...

เรื่องราวของ ติงไห่ เอฟเฟค เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางในฮ่องกงมาหลายปีแล้ว แม้จะมีบางคนเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความ "บังเอิญ" หรือไม่ก็เพียงการหยิบข้อมูลมา "จับแพะชนแกะ" มากกว่าจะเป็นสิ่งชี้วัดที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามนักลงทุนในฮ่องกงเองก็ยังคงระมัดระวังกับเรื่องนี้กันอยู่ดี แม้แต่ทางธนาคารดังCrédit Lyonnais ก็ยังเคยหยิบยกเรื่องนี้ไปพูดถึงมาแล้ว

ยังมีรายงานว่าในเวลาเดียวกัน ติงไห่ เอฟเฟค ก็ส่งผลกระทบไปถึงอาชีพในวงการบันเทิงของตัว เจิ้งเส้าชิว ด้วย ที่ช่วงหนึ่งถึงกับมีข่าวว่าทางสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ TVB พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเลือกเขาให้มารับบทนำในซีรีส์ที่บริษัทสร้าง เพราะไม่อยากจะไปเกี่ยวข้อง หรือต้องรับผิดชอบหากหุ้นจะตกขึ้นมา

ส่วนในมุมมองของนักวิเคราะห์ ฟรานซิส จง จาก CLSA เองก็ยอมรับว่า ติงไห่ เอฟเฟค ยังคงมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนฮ่องกงต่อไป เพราะส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเชื่อเรื่องแบบนี้กันมาก ซึ่งคงจะทำให้นักเล่นหุ้นทุกคนติดตามซีรีส์เรื่อง Master of Play ผลงานเรื่องล่าสุดของ เจิ้งเส้าชิว ที่มีกำหนดออกอากาศในช่วงปลายเดือน มิ.ย. และแพร่ภาพไปราว ๆ 5 สัปดาห์กันด้วยความกังวลใจ

แม้นักวิเคราะห์จาก CLSA จะบอกว่าในมุมมองของเขา นักแสดงชื่อดัง และซีรีส์ทางโทรทัศน์คงจะไม่ได้มีผลต่อการขึ้นลงของตลาดหุ้นอะไรมากมาย แต่เขาเองก็ยอมรับว่า "ตลาดมันเป็นเรื่องของจิตวิทยาอยู่แล้ว"



เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ ""ซ้อ 7"ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย
ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540
ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก
ระบบ True Move และ Hutch - เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000
*ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก



พ.ย. 1994 เมื่อซีรีส์ Instinct (จอมบงการ) ออกอากาศทาง TVB ตลาดหุ้นก็ร่วงหนักถึง 2,000 จุด
ก.ย. 1996 Once Upon a Time in Shanghai (ก๊อตฟาเธอร์เเห่งเซี่องไฮ้ ) ออกอากาศพร้อมกับที่ดัชนีฮั่งเส็งร่วงไป 300 จุด
มิ.ย. 1997 Cold Blood Warm Heart (ลูกผู้ชายต้องสู้) ออกอากาศตลาดหุ้นตกลงไปอีก 735 จุด
ธ.ค. 1997 ซีรีส์ฟอร์มใหญ่ Legend of Yung Ching (หย่งเจิ้นจักรพรรดิ์กระบี่เลือด) ออกอากาศพร้อมกับวิกฤติเศรษฐกิจของเอเชีย ซึ่งตลาดหุ้นฮ่องกงก็ดิ่งลงไปถึง 5,324 จุด จนดัชนีต่ำกว่า 10,000 จุดเลยทีเดียว
ก.ย. 2000 มีการหยิบโครงเรื่องของ The Greed of Man กลับมาสร้างใหม่ภายใต้ชื่อ Divine Retribution ออกอากาศทาง ATV แม้จะเป็นช่วงฟองสบู่ของธุรกิจเทคโนโลยีในช่วงนั้น แต่ตลาดหุ้นฮั่นเซ็งก็ตกลงไปอีกถึง 1,715 จุด และยังส่งผลไปถึงตลาดหุ้นในภูมิภาคให้ร่วงกันอย่างถ้วนหน้า
หน้าร้อนปี 2003 Greed of Man ยังไปสร้างความสยดสยองให้กับนักลงทุนถึงต่างแดน กับการถูกนำกลับไปฉายใหม่ทางทีวีดาวเทียม TVB-USA ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เกิดปัญหาอื้อฉาวกับบริษัท Enron จนตลาดหุ้นยูเอส และทั่วโลกร่วงกันไปตาม ๆ กัน
ต.ค. 2003 The Driving Power ออกอากาศและกลายเป็นครั้งแรกที่คำสาบของติงไห่ถูกทำลายเมื่อตลาดหุ้นฮ่องกงทยานขึ้นไป 100 จุด ในวันแรกที่ซีรีส์ออกอากาศ แต่หลังจากนั้นไม่นานหุ้นก็ตกลงไป 51 จุด
มี.ค. 2004 Blade Heart ออกอากาศในฮ่องกง และตลาดหุ้นก็ร่วงลงไปอีก 550 จุดในเวลา 3 วัน โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในแถบตะวันออกกลาง
ต.ค. 2004 ในวันแรกที่ The Conquerors Story ออกอากาศหุ้นร่วงลงทันที 198 จุด
มี.ค. 2005 The Princes Shadow ออกอากาศในช่วงเวลาที่เกิดความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมืองเมื่อผู้ว่าการเกาะ Tung Chee Hwa ประกาศลาออกจนทำให้ตลาดเกิดความผันผวนอย่างหนัก
เม.ย. 2006 Bar Bender ออกอากาศพร้อม ๆ กับการดิ่งลงของตลาดหุ้นฮ่องกง และยูเอส
ก.ค. 2006 The Princes Shadow ออกอากาศทาง TVB-USA ในเวลาเดียวกับที่หุ่นสหรัฐฯ ตกจากสัญญาณความขัดแย้งระหว่าง เลบานอนกับอิสราเอล
ก.พ.-มี.ค. 2007 The Princes Shadow เป็นสัญญาในทางลบต่อตลาดหุ้นอีกครั้ง เมื่อซีรีส์ถูกนำไปแพร่ภาพในจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงเดียวกับที่ตลาดหุ้นฮ่องกง, จีนแผ่นดินใหญ่ และอีกหลายประเทศร่วง
พ.ค. 2007 ไม่ใช่เฉพาะซีรีส์เท่านั้น แต่เมื่อ เจิ้งเส้าชิว ไปเป็นพิธีกรรายการ Investigative programme Mystery ก็ทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกงตกลง 700 จุดด้วย
ก.ค. 2007 Return Home ออกอากาศในฮ่องกง ในเวลาเดียวกับที่ปัญหาซับไพรม์กำลังก่อปัญหาจนทำให้ตลาดหุ้นร่วงหนัก 1,165 จุด เช่นเดียวกับที่ในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. ที่ตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และแคนาดา ก็มีปัญหาด้วยเช่นเดียวกัน
ส.ค. 2007 Bar Benders กับ The Greed of Man ถูกนำไปฉายทาง TVB-USA ในเวลาเดียวกับที่ปัญหาซับไพร์มเข้าขั้นวิกฤติ
ต.ค.-พ.ย. 2007 ถึงคราวหุ้นตกที่สิงคโปร์เมื่อมีการนำ The Conquerors Story ไปฉายที่นั่น
30 มี.ค. 2009 The King of Snooker เข้าฉายในฮ่องกง ก็ตกลงไป 663.17 หรือ 4.70% ทันที
Master of Play
กำลังโหลดความคิดเห็น