โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
แม้ไม่ได้ถูกยกให้เป็นวงดนตรีรูปหล่อ
แต่“สล็อต แมชชีน”(Slot Machine) วงดนตรีโจรแขนเดียว ก็ถูกยกให้เป็นวงร็อกที่แต่งตัวสุดเนี๊ยบแห่งสยามประเทศในยุคนี้ พ.ศ.นี้
แต่รูปลักษณ์ภายนอกย่อมมิอาจสู้ฝีมือ ความสามารถ ที่กาลเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตลอดเวลาเกือบ 10 ปีที่สล็อต แมชชีน โลดแล่นสำแดงฝีมืออยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทย พวกเขาถือเป็น“ของจริง”ที่ไม่อิงหน้าตาวงหนึ่ง
สล็อต แมชชีน ก่อตัวขึ้นมาจากรั้วมัธยม(สาธิตมหาวิยาลัยศิลปากร)ในนามวง “อะลุ้มอะหล่วย” ผ่านเวทีประกวดขาอ่อน เอ๊ย!!! ประกวดดนตรี คว้ารางวัลมาจำนวนหนึ่ง ก่อนออกอัลบั้มแรกเป็นของตัวเองในปี 2547 โดยเปลี่ยนชื่อวงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากวงอะลุ้มอะหล่วย เป็นวง “สล็อต แมชชีน” พร้อมกับใช้ชื่ออัลบั้มแรกว่า “Slot Machine”ตามชื่อวง
เพียงชุดแรกพวกเขาโด่งดังขึ้นมาทันทีแบบไม่ต้องรอ จากเพลง“รอ” ป็อบร็อกเพราะๆเท่ๆที่เริ่มฉายแนวทางดนตรีแบบสล็อต แมชชีนให้เห็น
ถัดมาอีก 2 ปี สล็อต แมชชีนปล่อย “Mutation” ออกมาเป็นผลงานลำดับที่ 2 อัลบั้มนี้มีเพลงดังอย่าง “ผ่าน” และ “คำสุดท้าย” ที่มาพร้อมกับชื่อเสียงของวงที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น
ในชุดมิวเทชั่น นอกจากสล็อต แมชชีนจะมีการเพิ่มและปรับเปลี่ยนสมาชิกภายในวงแล้ว พวกเขายังปรับเปลี่ยนแนวทางการทำเพลงของทั้งด้านเนื้อเพลง ซาวด์ดนตรี ที่มีความชัดเจนในแนวทางและมีสไตล์เป็นของตัวเอง อีกทั้งยังใส่ความ“แตกต่าง”จากวงร็อกรุ่นราวคราวเดียวกันลงไปให้เห็น
ครั้นมาถึง“Grey” อัลบั้มที่ 3 ที่คลอดออกมาในปี 2551 ซึ่งมีเพลงเด่นอย่าง “ลืมโลก” และ “ฝัน” นั้น สล็อต แมชชีน ยกระดับฝีมือการทำเพลงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะลีลาการร้องของนักร้องนำนั้น ถือว่าพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งลีลาการบังคับเสียง การแหกปาก และการโหนเสียงสูงๆที่เป็นทางถนัดของเขา ทำออกมาได้เป็นอย่างดีและมีลายเซ็นเป็นของตัวเอง
อย่างไรก็ดีในฝีมือที่เติบใหญ่ขึ้น ดูเหมือนว่าสล็อต แมชชีนจะลดสัดส่วนของความเป็นป็อบลงไปพอตัว โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้งานเพลงในชุดนี้โด่งดังมาก หากแต่อยากให้มันเป็นงานเพลงที่มีอายุการฟังกันนานๆ บวก-ลบ 5 ปี
จากนั้นมาในปีนี้ สล็อต แมชชีน ที่ประกอบด้วยสมาชิกชุดปัจจุบัน คือ เฟิร์ส-เสฐพงษ์ ดุรงค์จิรกานต์ : ร้องนำ และเขียนเนื้อเพลงเป็นหลัก,วิทย์-เจนวิทย์ จันทร์ปัญญาวงศ์ : ขยี้สายกีต้าร์,แก๊ก-อธิราช ปิ่นทอง : ทึ้งเบส และ ออโต้- เศรษฐรัตน์ พังจุนันท์ : กระหน่ำกลอง และเล่นเพอร์คัสชั่น ได้ส่ง“เซลล์”(Cell) ออกมาเป็นผลงานเพลงลำดับที่ 4 ของวง
เซลล์(ค่ายโซนี่มิวสิค) เป็นอัลบั้มที่ทางวงบอกว่าอยากให้มีความร่วมสมัยมีอายุการฟังนานมากขึ้นกว่าชุดที่ 3 คือ บวก-ลบ 10 ปี อีกทั้งยังเป็นอัลบั้มที่ทางวงเปลี่ยนโปรดิวเซอร์จาก สก็อตต์ มอฟฟ์แฟตต์(อดีตสมาชิกของวงชื่อดังจากแคนนาดา“เดอะ มอฟฟ์แฟตส์”)ใน 2 ชุดที่แล้ว มาเป็น “เจ : มณฑล จิรา” พระเอกหนุ่มหล่อ ที่นอกจากจะมีความสามารถด้านการแสดงแล้ว ยังมีฝีมือทางดนตรีเป็นอีกหนึ่งความสามารถที่คนในวงการให้การยอมรับ
การได้หนุ่มเจมาโปรดิวซ์และร่วมเล่นดนตรีอีกหลากหลาย ทั้ง กีตาร์ เบส ซินธ์ และซาวด์ดีไซน์ ทำให้งานเพลงของสล็อต แมชชีนในชุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จากป็อบร็อกผันมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ร็อกที่เข้มไปด้วยเสียงคีย์บอร์ด ซินธิไซเซอร์ ที่จัดหนักใส่มากันแบบชุดใหญ่
เซลล์เปิดตัวด้วยไตเติ้ลแทรค “Cell” อินเทอร์ลูดสั้นๆที่บอกทิศทางของอัลบั้มด้วยเสียงแน่นๆของเครื่องสายและซินธ์ฟังล่องลอย ซึ่งหากดูแผ่นพับปกในประกอบมันจะชวนให้จินตนาการไปถึงท้องฟ้าจักรวาลได้อย่างไม่อยากเย็น
คล้ายๆกับทางวงกำลังจะบอกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดแสนคณานั้น แท้ที่จริงแล้วมันประกอบขึ้นจากอนุภาคเล็กที่สุดนั่นเอง
แล้วเซลล์ก็ออกเดินเข้าสู่“สวนดอกไม้” (Sound of Silence) บทเพลงแรกที่อินโทรขึ้นนำมาด้วยเสียงกีตาร์เล่นโน้ตในจังหวะขัดๆ ก่อนส่งเข้าตัวเพลงที่ทางกีตาร์ในเพลงนี้เด่นเหลือหลาย แค่เพลงแรกเฟิร์สก็โชว์ลายเซ็นการร้องเสียงสูงลิบให้ได้ตะกายตึกขึ้นไปโขยกความมันกันแล้ว
สวนดอกไม้ เป็นร็อกมันๆที่ใส่ความซับซ้อนลงไปพอตัว ทั้ง จังหวะขัดๆ การเปลี่ยนพาร์ท ฮาร์โมนี่ ขณะที่เนื้อร้องของเพลงนี้ บอกให้ค้นหาและเปิดใจรับฟัง “...ความงดงามที่เคยเงียบงัน เพียงแค่เธอจะเปิดใจฟัง เธอจะได้ยินสิ่งนั้น...” ซึ่งฟังแล้วมันสอดคล้องกับบทเพลงต่อๆไปในอัลบั้มที่แฝงสิ่งชวนค้นหาและต้องเปิดใจรับฟัง
ต่อกันด้วย “ราตรีไร้นาม”(Darkness Sunlight) ชื่อเพลงมาอย่างกับหนังจีนเลยแฮะ ราตรีไร้นามเป็นเพลงโจ๊ะๆจังหวะสนุกที่ไม่ป็อบ แต่ใช้ภาษาได้อย่างมีลีลา มีลูกเล่น และชวนคิด “...80,000 ภูผา 100 เมฆา 1,000 หุบเขา ด้วยแรงแห่งเงา รายล้อมพสุธา ถลากัดกินเดือนและดาว...”
มันกันต่อกับแทรค 4 เพลง 3 “เวทนา”(Automatic Lonely)กีตาร์ขึ้นนำมาแบบหยาบๆดิบๆในกลิ่นกรันจ์ ฟังหม่นหมองชวนเวทนาสอดคล้องกับอารมณ์เพลง ท่อนกลางเพลงเปลี่ยนอารมณ์มาสู่โหมดอีเล็คโทรนิคส์ พร้อมใส่ซาวด์กลิ่นภารตะลงไป เพลงนี้เฟิร์สโชว์น้ำเสียงในหลากหลายมิติ ทั้งคร่ำครวญ บีบเค้น และระเบิดอารมณ์แหกปากร้องส่งเสียงสูงลิบในช่วงท้ายๆ ชนิดผมกลัวว่าหนวดงามๆของแกจะกระเด็นหลุดเข้าปากไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว
จากนั้นอารมณ์เพลงเดินเข้าสู่ช่วงที่แสดงความเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้มแบบไม่กั๊ก กับ 3 บทเพลงที่ใช้ชื่อของ ท้องฟ้า ดวงดาว ระบบสุริยะจักรวาล มาผูกโยงเข้ากับเรื่องราวของชีวิต ความรัก ความเหงา ความหวัง
เริ่มกันที่ “พระอาทิตย์ทรงกลด”(Golden Age) ผ่อนอารมณ์ลงมาหน่อย เสียงร้องของเฟิร์สก็ลดโทนบีบเค้นบีบคั้นลงมาเป็นผ่อนคลาย แต่ยังมิวายคงลายเซ็นเสียงสูงเอาไว้ พร้อมแสดงให้เห็นถึงทักษะการบังคับน้ำเสียงให้นิ่งและมีพลังยามเมื่อต้องร้องเสียงหลบขึ้นสูงปรี๊ดได้เป็นอย่างดี
พระอาทิตย์ทรงกลดมีเมโลดี้มาทางป็อบให้พอฮึมฮัมตามกันได้ ขณะที่ภาคเนื้อร้องนั้น ใช้ภาษาได้สวยและเล่นคำได้อย่างน่าฟัง “...แสงไออุ่นรัก จะคอยโอบล้อมรอบกาย ทุกข์ตรมอมเศร้าจะสลาย มวลหมู่ดอกไม้ยังนอนอาบแสง พระอาทิตย์ตรงขอบฟ้า ส่องประกายสวยงาม...”
จากนั้นคั่นด้วย “XY” อินเตอร์ลูดสั้นๆซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ ในแทรคที่ 6 ก่อนต่อด้วย “พลูโตที่รัก”(The Plutonian) เพลงช้าๆ เมโลดี้ฟังป็อบที่สุดในอัลบั้มที่มากับความเพราะ ลึก และล้ำ
เนื้อเพลงนี้เข้าใจเปรียบเปรยจักรวาลกับความรัก ความเหงา ได้อย่างล่องลอยชวนฝัน ฟังออกไปทางโปรเกรสซีฟที่มีเสียงซินธ์หนาๆคอยหนุน กับไลน์กีตาร์สวยๆเท่ๆเล่นเสริมเติมจินตนาการ “..จักรวาลกว้างใหญ่ไพศาล แต่ว่างเปล่า ว่างเปล่า เหงาเหลือเกิน โอ้ที่รัก วันนี้ เพราะไม่มีเธอ...”
ต่อกันด้วย“จันทร์เจ้า”(Goodbye)ที่ชื่อเพลงแม้ยังคงล่องลอยอยู่บนฟากฟ้า แต่ว่าดนตรีในเพลงนี้สลับจากอารมณ์เหงาๆในเพลงที่แล้ว มาเป็นกระชับ สนุกสนาน ที่มีรายละเอียดสอดแทรก และสามารถเรียกกลิ่นเก่าๆของสล็อต แมชชีน กลับคืนมาได้ดีพอสมควร
สำหรับเพลงจันทร์เจ้านี้นับเป็นอีกหนึ่งเพลงที่ใช้ภาษาได้งามอีกแล้ว ออกไปในทางบทกวีที่ชวนฟัง “...ท่ามกลางหมู่ดาวร้อยเรื่องราวนับพัน วันเดือนปีจะคอยดู จันทร์กระจ่างคอยเคียงคู่ ส่องลงมาเพื่อคอยเฝ้าดู ให้รักกลายเป็นศรัทธา...” แหม คมคายใช่เล่นนะพี่หนวด
ทั้ง“พระอาทิตย์ทรงกลด”,“พลูโตที่รัก” และ “จันทร์เจ้า” นับเป็นบทเพลงที่มีความลงตัวอย่างสูงทั้งด้านดนตรี ภาษา และแนวคิด ซึ่งสล็อต แมชชีน สามารถนำไปเป็นลายเซ็นใหม่ในชุดต่อๆไปได้อย่างสบาย เพราะฟังไม่ยาก แต่ว่าก็เล่นไม่ง่ายเลย
ถัดมาเป็นเพลง “Vaccine” ที่ว่าด้วยเรื่องราวของความรัก และกำลังใจ แต่ยังคงมีองค์ประกอบของจักรวาลอย่างดวงจันทร์เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราว ภาคดนตรีในเพลงนี้ฟังสบายไม่บีบเค้นเหมือนบทเพลงในช่วงแรกๆ โดยมีการใส่ความกระด้างสลับละมุนเข้ามาสร้างสีสัน
Vaccine เพลงนี้เขียนเนื้อโดย “ออโต้” มือกลองของวง ซึ่งแม้จะเป็นมือใหม่ในการเขียนคำร้อง แต่ว่าภาษาก็แฝงความคมคายอยู่ในที “...หยาดน้ำตา อาจไม่ได้นำมาแค่ความเศร้า แม้เหลือเพียงความว่างเปล่า ตัวเรานั้นยังอยู่ ทุกข์และสุขเหล่านั้น ช่วยให้เข้มแข็งและมีพลัง ชีวิตก้าวเดินต่อไป ให้เรารับรู้เข้าใจความหมาย...”
ส่วน“นิรันดร์”(Always) เพลงถัดมา เปิดพื้นที่ให้เฟิร์สแหกปากโชว์พลังเสียงกันอีกครั้ง ขณะที่ภาคดนตรีนั้น เน้นเสียงกีตาร์หยาบๆกับอิเล็กทรอนิกส์ซาวด์ผสมผสานกันไป
แล้วก็มาถึงเพลงสุดท้าย “ฝันกลางวัน”(Temple Party) ที่โทนดนตรีออกมาหม่นๆ ฟังกึ่งจริงกึ่งฝัน ก่อนปิดท้ายกันด้วยเสียงซินธ์อันล่องลอยกับเสียงเคาะเปียโนเหงาๆ ฟังเวิ้งว้างปิดท้ายโยนอารมณ์ให้ขึ้นไปยังเวิ้งฟ้า นภากาศ ล่องลอยขึ้นสู่จักรวาลอีกครั้ง
และนี่ก็เป็น 9 บทเพลง(11 แทรค) ใน Cell อัลบั้มที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางดนตรีครั้งสำคัญอันหาญกล้าของวงสล็อต แมชชีน ซึ่งพวกเขาได้ยกระดับฝีมือการทำเพลงจากวงป็อบร็อกทั่วๆไป ขึ้นสู่งานคอนเซ็ปต์อัลบั้มกึ่งๆโปรเกรสซีฟอันซับซ้อน เหนือชั้น ชวนค้นหา
ในขณะที่ภาคเนื้อร้องนั้นก็ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะนอกจากสำนวนภาษาที่กลมกล่อมจนออกกลิ่นกวีแล้ว ยังมีการสอดแทรกสิ่งให้ขบคิดและความแหลมคมไว้ในหลายๆเพลง ซึ่งแน่นอนว่างานเพลงชุดนี้ฟังยากขึ้นมากกว่า 3 ชุดที่ผ่านมาของพวกเขา รวมทั้งฟังยากขึ้นม้ากกกก... มาก กว่าบทเพลงพิมพ์นิยมร่วมสมัยทั่วๆไปตามท้องตลาด แถมมันฟังไม่ป็อบ ไม่มีท่อนฮุคติดหูง่ายๆให้ร้องตาม ซึ่งอาจไม่เป็นที่ถูกใจต้องหูใครหลายๆคน
แต่นี่นับเป็นหนึ่งในอัลบั้ม“เจ๋ง”แห่งปี ที่มีความแตกต่าง กล้า และ“ล้ำ”กว่าวงดนตรีทั่วๆไปในท้องตลาด
อย่างไรก็ตามงานเพลงแบบนี้ไม่ควรคาดหวังในเรื่องของความโด่งดังและยอดขาย
เพราะตลาดเพลงบ้านเรานั้น บ่อยครั้งที่ผลงานเพลงดีๆมักไม่ดังและขายไม่ค่อยออก
*****************************************
คลิกฟังเพลง "พลูโตที่รัก"
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Tom Gaebel
อัลบั้ม : Music to watch girls by
Tom Gaebel ได้รับการยกย่องให้เป็นนักร้องชายในสายสวิงแจ๊ซ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของเยอรมนีในยุคนี้ พ.ศ.นี้ สำหรับอัลบั้ม “Music to watch girls by” (สังกัด Hitman Jazz) เป็นการนำเพลงเก่า อาทิ What Now My Love(Frank Sinatra),Help Tourself(Tom Jones),I Saw Standing(Beatles) ร่วมด้วยเพลงใหม่ที่เขาแต่งขึ้นอย่าง Up and Down และ La La La(You Makes Me Sing) มานำเสนอเน้นความสนุกอบอุ่น คั่นด้วยเพลงช้าๆหวานซึ้งสลับอารมณ์ ด้วยเสียงร้องสไตล์เพลย์บอยอันทรงเสน่ห์ และแนวดนตรีย้อนยุคที่มีไลน์เครื่องเป่าเครื่องสายอันหนาแน่นเล่นสอดแทรกสร้างสีสัน นับเป็นอัลบั้มสไตล์สวิงแจ๊ซกลิ่นย้อนยุคที่ครบเครื่องและน่าฟังไม่น้อย
*****************************************
คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต “TPO & Guitar”
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย(TPO) ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยในการดูแลของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอคอนเสิร์ต “TPO & Guitar” ควบคุมวงโดยคอนดัคเตอร์หญิงคนเก่งชาวบราซิล Ligia Amadio เจ้าของรางวัล“วาทยกรยอดเยี่ยม” จาก Tokyo International Music Competition, II Latin-American Competition for Conducting in Santiago, Chile และจากสำนักอื่นๆ ผสานลีลากีต้าร์ฝีมือโซโลอิสท์ Paul Cesarczyk นักกีต้าร์ผลงานโดดเด่น ผู้เคยแสดงที่ Carnegie Hall ตั้งแต่อายุ 17 ปี ได้รับรางวัลมากมาย อาทิเช่น Andres Segovia Award อละ the Aaron Copland Award from ASCAP และได้ไปแสดงคอนเสิร์ตทั้งในยุโรปและอเมริกา เขาจะมาบรรเลง 2 บทเพลงร่วมกับวง TPO ได้แก่ Lute Concerto in D major RV 93 ของ Antonio Vivaldi และ Guitar Concerto No. 1 in D major op.99 ของ Mario Castelnuovo - Tedesco พร้อมกันนี้ ท่านจะได้รับฟังบทเพลง: Symphony No.2 in C minor op.29 ของ Alexander Scriabin และบทเพลงไทย “สาวสอดแหวน 3 ชั้น”
คอนเสิร์ตครั้งนี้ จัดขึ้น ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2 รอบ คือ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554 เวลา 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2554 เวลา 16.00 น. บัตรราคา 500, 300 และ 100(นักเรียนนักศึกษา) บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกรุณาโทร. 0 2800 2525 - 34 ต่อ 153-154 หรือ www.music.mahidol.ac.th, www.thailandphil.com
แม้ไม่ได้ถูกยกให้เป็นวงดนตรีรูปหล่อ
แต่“สล็อต แมชชีน”(Slot Machine) วงดนตรีโจรแขนเดียว ก็ถูกยกให้เป็นวงร็อกที่แต่งตัวสุดเนี๊ยบแห่งสยามประเทศในยุคนี้ พ.ศ.นี้
แต่รูปลักษณ์ภายนอกย่อมมิอาจสู้ฝีมือ ความสามารถ ที่กาลเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตลอดเวลาเกือบ 10 ปีที่สล็อต แมชชีน โลดแล่นสำแดงฝีมืออยู่ในยุทธจักรวงการเพลงไทย พวกเขาถือเป็น“ของจริง”ที่ไม่อิงหน้าตาวงหนึ่ง
สล็อต แมชชีน ก่อตัวขึ้นมาจากรั้วมัธยม(สาธิตมหาวิยาลัยศิลปากร)ในนามวง “อะลุ้มอะหล่วย” ผ่านเวทีประกวดขาอ่อน เอ๊ย!!! ประกวดดนตรี คว้ารางวัลมาจำนวนหนึ่ง ก่อนออกอัลบั้มแรกเป็นของตัวเองในปี 2547 โดยเปลี่ยนชื่อวงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากวงอะลุ้มอะหล่วย เป็นวง “สล็อต แมชชีน” พร้อมกับใช้ชื่ออัลบั้มแรกว่า “Slot Machine”ตามชื่อวง
เพียงชุดแรกพวกเขาโด่งดังขึ้นมาทันทีแบบไม่ต้องรอ จากเพลง“รอ” ป็อบร็อกเพราะๆเท่ๆที่เริ่มฉายแนวทางดนตรีแบบสล็อต แมชชีนให้เห็น
ถัดมาอีก 2 ปี สล็อต แมชชีนปล่อย “Mutation” ออกมาเป็นผลงานลำดับที่ 2 อัลบั้มนี้มีเพลงดังอย่าง “ผ่าน” และ “คำสุดท้าย” ที่มาพร้อมกับชื่อเสียงของวงที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น
ในชุดมิวเทชั่น นอกจากสล็อต แมชชีนจะมีการเพิ่มและปรับเปลี่ยนสมาชิกภายในวงแล้ว พวกเขายังปรับเปลี่ยนแนวทางการทำเพลงของทั้งด้านเนื้อเพลง ซาวด์ดนตรี ที่มีความชัดเจนในแนวทางและมีสไตล์เป็นของตัวเอง อีกทั้งยังใส่ความ“แตกต่าง”จากวงร็อกรุ่นราวคราวเดียวกันลงไปให้เห็น
ครั้นมาถึง“Grey” อัลบั้มที่ 3 ที่คลอดออกมาในปี 2551 ซึ่งมีเพลงเด่นอย่าง “ลืมโลก” และ “ฝัน” นั้น สล็อต แมชชีน ยกระดับฝีมือการทำเพลงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะลีลาการร้องของนักร้องนำนั้น ถือว่าพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งลีลาการบังคับเสียง การแหกปาก และการโหนเสียงสูงๆที่เป็นทางถนัดของเขา ทำออกมาได้เป็นอย่างดีและมีลายเซ็นเป็นของตัวเอง
อย่างไรก็ดีในฝีมือที่เติบใหญ่ขึ้น ดูเหมือนว่าสล็อต แมชชีนจะลดสัดส่วนของความเป็นป็อบลงไปพอตัว โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้งานเพลงในชุดนี้โด่งดังมาก หากแต่อยากให้มันเป็นงานเพลงที่มีอายุการฟังกันนานๆ บวก-ลบ 5 ปี
จากนั้นมาในปีนี้ สล็อต แมชชีน ที่ประกอบด้วยสมาชิกชุดปัจจุบัน คือ เฟิร์ส-เสฐพงษ์ ดุรงค์จิรกานต์ : ร้องนำ และเขียนเนื้อเพลงเป็นหลัก,วิทย์-เจนวิทย์ จันทร์ปัญญาวงศ์ : ขยี้สายกีต้าร์,แก๊ก-อธิราช ปิ่นทอง : ทึ้งเบส และ ออโต้- เศรษฐรัตน์ พังจุนันท์ : กระหน่ำกลอง และเล่นเพอร์คัสชั่น ได้ส่ง“เซลล์”(Cell) ออกมาเป็นผลงานเพลงลำดับที่ 4 ของวง
เซลล์(ค่ายโซนี่มิวสิค) เป็นอัลบั้มที่ทางวงบอกว่าอยากให้มีความร่วมสมัยมีอายุการฟังนานมากขึ้นกว่าชุดที่ 3 คือ บวก-ลบ 10 ปี อีกทั้งยังเป็นอัลบั้มที่ทางวงเปลี่ยนโปรดิวเซอร์จาก สก็อตต์ มอฟฟ์แฟตต์(อดีตสมาชิกของวงชื่อดังจากแคนนาดา“เดอะ มอฟฟ์แฟตส์”)ใน 2 ชุดที่แล้ว มาเป็น “เจ : มณฑล จิรา” พระเอกหนุ่มหล่อ ที่นอกจากจะมีความสามารถด้านการแสดงแล้ว ยังมีฝีมือทางดนตรีเป็นอีกหนึ่งความสามารถที่คนในวงการให้การยอมรับ
การได้หนุ่มเจมาโปรดิวซ์และร่วมเล่นดนตรีอีกหลากหลาย ทั้ง กีตาร์ เบส ซินธ์ และซาวด์ดีไซน์ ทำให้งานเพลงของสล็อต แมชชีนในชุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จากป็อบร็อกผันมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ร็อกที่เข้มไปด้วยเสียงคีย์บอร์ด ซินธิไซเซอร์ ที่จัดหนักใส่มากันแบบชุดใหญ่
เซลล์เปิดตัวด้วยไตเติ้ลแทรค “Cell” อินเทอร์ลูดสั้นๆที่บอกทิศทางของอัลบั้มด้วยเสียงแน่นๆของเครื่องสายและซินธ์ฟังล่องลอย ซึ่งหากดูแผ่นพับปกในประกอบมันจะชวนให้จินตนาการไปถึงท้องฟ้าจักรวาลได้อย่างไม่อยากเย็น
คล้ายๆกับทางวงกำลังจะบอกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดแสนคณานั้น แท้ที่จริงแล้วมันประกอบขึ้นจากอนุภาคเล็กที่สุดนั่นเอง
แล้วเซลล์ก็ออกเดินเข้าสู่“สวนดอกไม้” (Sound of Silence) บทเพลงแรกที่อินโทรขึ้นนำมาด้วยเสียงกีตาร์เล่นโน้ตในจังหวะขัดๆ ก่อนส่งเข้าตัวเพลงที่ทางกีตาร์ในเพลงนี้เด่นเหลือหลาย แค่เพลงแรกเฟิร์สก็โชว์ลายเซ็นการร้องเสียงสูงลิบให้ได้ตะกายตึกขึ้นไปโขยกความมันกันแล้ว
สวนดอกไม้ เป็นร็อกมันๆที่ใส่ความซับซ้อนลงไปพอตัว ทั้ง จังหวะขัดๆ การเปลี่ยนพาร์ท ฮาร์โมนี่ ขณะที่เนื้อร้องของเพลงนี้ บอกให้ค้นหาและเปิดใจรับฟัง “...ความงดงามที่เคยเงียบงัน เพียงแค่เธอจะเปิดใจฟัง เธอจะได้ยินสิ่งนั้น...” ซึ่งฟังแล้วมันสอดคล้องกับบทเพลงต่อๆไปในอัลบั้มที่แฝงสิ่งชวนค้นหาและต้องเปิดใจรับฟัง
ต่อกันด้วย “ราตรีไร้นาม”(Darkness Sunlight) ชื่อเพลงมาอย่างกับหนังจีนเลยแฮะ ราตรีไร้นามเป็นเพลงโจ๊ะๆจังหวะสนุกที่ไม่ป็อบ แต่ใช้ภาษาได้อย่างมีลีลา มีลูกเล่น และชวนคิด “...80,000 ภูผา 100 เมฆา 1,000 หุบเขา ด้วยแรงแห่งเงา รายล้อมพสุธา ถลากัดกินเดือนและดาว...”
มันกันต่อกับแทรค 4 เพลง 3 “เวทนา”(Automatic Lonely)กีตาร์ขึ้นนำมาแบบหยาบๆดิบๆในกลิ่นกรันจ์ ฟังหม่นหมองชวนเวทนาสอดคล้องกับอารมณ์เพลง ท่อนกลางเพลงเปลี่ยนอารมณ์มาสู่โหมดอีเล็คโทรนิคส์ พร้อมใส่ซาวด์กลิ่นภารตะลงไป เพลงนี้เฟิร์สโชว์น้ำเสียงในหลากหลายมิติ ทั้งคร่ำครวญ บีบเค้น และระเบิดอารมณ์แหกปากร้องส่งเสียงสูงลิบในช่วงท้ายๆ ชนิดผมกลัวว่าหนวดงามๆของแกจะกระเด็นหลุดเข้าปากไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว
จากนั้นอารมณ์เพลงเดินเข้าสู่ช่วงที่แสดงความเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้มแบบไม่กั๊ก กับ 3 บทเพลงที่ใช้ชื่อของ ท้องฟ้า ดวงดาว ระบบสุริยะจักรวาล มาผูกโยงเข้ากับเรื่องราวของชีวิต ความรัก ความเหงา ความหวัง
เริ่มกันที่ “พระอาทิตย์ทรงกลด”(Golden Age) ผ่อนอารมณ์ลงมาหน่อย เสียงร้องของเฟิร์สก็ลดโทนบีบเค้นบีบคั้นลงมาเป็นผ่อนคลาย แต่ยังมิวายคงลายเซ็นเสียงสูงเอาไว้ พร้อมแสดงให้เห็นถึงทักษะการบังคับน้ำเสียงให้นิ่งและมีพลังยามเมื่อต้องร้องเสียงหลบขึ้นสูงปรี๊ดได้เป็นอย่างดี
พระอาทิตย์ทรงกลดมีเมโลดี้มาทางป็อบให้พอฮึมฮัมตามกันได้ ขณะที่ภาคเนื้อร้องนั้น ใช้ภาษาได้สวยและเล่นคำได้อย่างน่าฟัง “...แสงไออุ่นรัก จะคอยโอบล้อมรอบกาย ทุกข์ตรมอมเศร้าจะสลาย มวลหมู่ดอกไม้ยังนอนอาบแสง พระอาทิตย์ตรงขอบฟ้า ส่องประกายสวยงาม...”
จากนั้นคั่นด้วย “XY” อินเตอร์ลูดสั้นๆซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ ในแทรคที่ 6 ก่อนต่อด้วย “พลูโตที่รัก”(The Plutonian) เพลงช้าๆ เมโลดี้ฟังป็อบที่สุดในอัลบั้มที่มากับความเพราะ ลึก และล้ำ
เนื้อเพลงนี้เข้าใจเปรียบเปรยจักรวาลกับความรัก ความเหงา ได้อย่างล่องลอยชวนฝัน ฟังออกไปทางโปรเกรสซีฟที่มีเสียงซินธ์หนาๆคอยหนุน กับไลน์กีตาร์สวยๆเท่ๆเล่นเสริมเติมจินตนาการ “..จักรวาลกว้างใหญ่ไพศาล แต่ว่างเปล่า ว่างเปล่า เหงาเหลือเกิน โอ้ที่รัก วันนี้ เพราะไม่มีเธอ...”
ต่อกันด้วย“จันทร์เจ้า”(Goodbye)ที่ชื่อเพลงแม้ยังคงล่องลอยอยู่บนฟากฟ้า แต่ว่าดนตรีในเพลงนี้สลับจากอารมณ์เหงาๆในเพลงที่แล้ว มาเป็นกระชับ สนุกสนาน ที่มีรายละเอียดสอดแทรก และสามารถเรียกกลิ่นเก่าๆของสล็อต แมชชีน กลับคืนมาได้ดีพอสมควร
สำหรับเพลงจันทร์เจ้านี้นับเป็นอีกหนึ่งเพลงที่ใช้ภาษาได้งามอีกแล้ว ออกไปในทางบทกวีที่ชวนฟัง “...ท่ามกลางหมู่ดาวร้อยเรื่องราวนับพัน วันเดือนปีจะคอยดู จันทร์กระจ่างคอยเคียงคู่ ส่องลงมาเพื่อคอยเฝ้าดู ให้รักกลายเป็นศรัทธา...” แหม คมคายใช่เล่นนะพี่หนวด
ทั้ง“พระอาทิตย์ทรงกลด”,“พลูโตที่รัก” และ “จันทร์เจ้า” นับเป็นบทเพลงที่มีความลงตัวอย่างสูงทั้งด้านดนตรี ภาษา และแนวคิด ซึ่งสล็อต แมชชีน สามารถนำไปเป็นลายเซ็นใหม่ในชุดต่อๆไปได้อย่างสบาย เพราะฟังไม่ยาก แต่ว่าก็เล่นไม่ง่ายเลย
ถัดมาเป็นเพลง “Vaccine” ที่ว่าด้วยเรื่องราวของความรัก และกำลังใจ แต่ยังคงมีองค์ประกอบของจักรวาลอย่างดวงจันทร์เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราว ภาคดนตรีในเพลงนี้ฟังสบายไม่บีบเค้นเหมือนบทเพลงในช่วงแรกๆ โดยมีการใส่ความกระด้างสลับละมุนเข้ามาสร้างสีสัน
Vaccine เพลงนี้เขียนเนื้อโดย “ออโต้” มือกลองของวง ซึ่งแม้จะเป็นมือใหม่ในการเขียนคำร้อง แต่ว่าภาษาก็แฝงความคมคายอยู่ในที “...หยาดน้ำตา อาจไม่ได้นำมาแค่ความเศร้า แม้เหลือเพียงความว่างเปล่า ตัวเรานั้นยังอยู่ ทุกข์และสุขเหล่านั้น ช่วยให้เข้มแข็งและมีพลัง ชีวิตก้าวเดินต่อไป ให้เรารับรู้เข้าใจความหมาย...”
ส่วน“นิรันดร์”(Always) เพลงถัดมา เปิดพื้นที่ให้เฟิร์สแหกปากโชว์พลังเสียงกันอีกครั้ง ขณะที่ภาคดนตรีนั้น เน้นเสียงกีตาร์หยาบๆกับอิเล็กทรอนิกส์ซาวด์ผสมผสานกันไป
แล้วก็มาถึงเพลงสุดท้าย “ฝันกลางวัน”(Temple Party) ที่โทนดนตรีออกมาหม่นๆ ฟังกึ่งจริงกึ่งฝัน ก่อนปิดท้ายกันด้วยเสียงซินธ์อันล่องลอยกับเสียงเคาะเปียโนเหงาๆ ฟังเวิ้งว้างปิดท้ายโยนอารมณ์ให้ขึ้นไปยังเวิ้งฟ้า นภากาศ ล่องลอยขึ้นสู่จักรวาลอีกครั้ง
และนี่ก็เป็น 9 บทเพลง(11 แทรค) ใน Cell อัลบั้มที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางดนตรีครั้งสำคัญอันหาญกล้าของวงสล็อต แมชชีน ซึ่งพวกเขาได้ยกระดับฝีมือการทำเพลงจากวงป็อบร็อกทั่วๆไป ขึ้นสู่งานคอนเซ็ปต์อัลบั้มกึ่งๆโปรเกรสซีฟอันซับซ้อน เหนือชั้น ชวนค้นหา
ในขณะที่ภาคเนื้อร้องนั้นก็ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะนอกจากสำนวนภาษาที่กลมกล่อมจนออกกลิ่นกวีแล้ว ยังมีการสอดแทรกสิ่งให้ขบคิดและความแหลมคมไว้ในหลายๆเพลง ซึ่งแน่นอนว่างานเพลงชุดนี้ฟังยากขึ้นมากกว่า 3 ชุดที่ผ่านมาของพวกเขา รวมทั้งฟังยากขึ้นม้ากกกก... มาก กว่าบทเพลงพิมพ์นิยมร่วมสมัยทั่วๆไปตามท้องตลาด แถมมันฟังไม่ป็อบ ไม่มีท่อนฮุคติดหูง่ายๆให้ร้องตาม ซึ่งอาจไม่เป็นที่ถูกใจต้องหูใครหลายๆคน
แต่นี่นับเป็นหนึ่งในอัลบั้ม“เจ๋ง”แห่งปี ที่มีความแตกต่าง กล้า และ“ล้ำ”กว่าวงดนตรีทั่วๆไปในท้องตลาด
อย่างไรก็ตามงานเพลงแบบนี้ไม่ควรคาดหวังในเรื่องของความโด่งดังและยอดขาย
เพราะตลาดเพลงบ้านเรานั้น บ่อยครั้งที่ผลงานเพลงดีๆมักไม่ดังและขายไม่ค่อยออก
*****************************************
คลิกฟังเพลง "พลูโตที่รัก"
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Tom Gaebel
อัลบั้ม : Music to watch girls by
Tom Gaebel ได้รับการยกย่องให้เป็นนักร้องชายในสายสวิงแจ๊ซ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของเยอรมนีในยุคนี้ พ.ศ.นี้ สำหรับอัลบั้ม “Music to watch girls by” (สังกัด Hitman Jazz) เป็นการนำเพลงเก่า อาทิ What Now My Love(Frank Sinatra),Help Tourself(Tom Jones),I Saw Standing(Beatles) ร่วมด้วยเพลงใหม่ที่เขาแต่งขึ้นอย่าง Up and Down และ La La La(You Makes Me Sing) มานำเสนอเน้นความสนุกอบอุ่น คั่นด้วยเพลงช้าๆหวานซึ้งสลับอารมณ์ ด้วยเสียงร้องสไตล์เพลย์บอยอันทรงเสน่ห์ และแนวดนตรีย้อนยุคที่มีไลน์เครื่องเป่าเครื่องสายอันหนาแน่นเล่นสอดแทรกสร้างสีสัน นับเป็นอัลบั้มสไตล์สวิงแจ๊ซกลิ่นย้อนยุคที่ครบเครื่องและน่าฟังไม่น้อย
*****************************************
คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต “TPO & Guitar”
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย(TPO) ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยในการดูแลของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอคอนเสิร์ต “TPO & Guitar” ควบคุมวงโดยคอนดัคเตอร์หญิงคนเก่งชาวบราซิล Ligia Amadio เจ้าของรางวัล“วาทยกรยอดเยี่ยม” จาก Tokyo International Music Competition, II Latin-American Competition for Conducting in Santiago, Chile และจากสำนักอื่นๆ ผสานลีลากีต้าร์ฝีมือโซโลอิสท์ Paul Cesarczyk นักกีต้าร์ผลงานโดดเด่น ผู้เคยแสดงที่ Carnegie Hall ตั้งแต่อายุ 17 ปี ได้รับรางวัลมากมาย อาทิเช่น Andres Segovia Award อละ the Aaron Copland Award from ASCAP และได้ไปแสดงคอนเสิร์ตทั้งในยุโรปและอเมริกา เขาจะมาบรรเลง 2 บทเพลงร่วมกับวง TPO ได้แก่ Lute Concerto in D major RV 93 ของ Antonio Vivaldi และ Guitar Concerto No. 1 in D major op.99 ของ Mario Castelnuovo - Tedesco พร้อมกันนี้ ท่านจะได้รับฟังบทเพลง: Symphony No.2 in C minor op.29 ของ Alexander Scriabin และบทเพลงไทย “สาวสอดแหวน 3 ชั้น”
คอนเสิร์ตครั้งนี้ จัดขึ้น ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2 รอบ คือ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554 เวลา 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2554 เวลา 16.00 น. บัตรราคา 500, 300 และ 100(นักเรียนนักศึกษา) บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกรุณาโทร. 0 2800 2525 - 34 ต่อ 153-154 หรือ www.music.mahidol.ac.th, www.thailandphil.com