แรกๆ ที่ได้ฟังแบบอยู่ห่างๆ อย่างผ่านๆ จากการประชาสัมพันธ์-โปรโมตภาพยนตร์เรื่อง "พุ่มพวง" ผมค่อนข้างจะเฉยๆ ครับกับน้ำเสียงตลอดจนการร้องเพลงจากนางเอกของหนังเรื่องนี้อย่างน้อง "เปาวลี พรพิมล"
แต่หลังจากที่มีโอกาสได้ฟังเสียงของเธออย่างค่อนข้างจะตั้งใจจากแผ่นซีดีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวที่ทางสหมงคลฟิล์มฯ กรุณาใจดีส่งมาให้ อาการขนลุก! ก็เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ได้รู้สึกปวดอึหรือมีไข้หนาวสั่นเข้ามาปะปน
ที่ผ่านมาสาวสุพรรณคนนี้ผ่านเวทีการประกวดตลอดจนคว้ารางวัลจากการร้องเพลงมาหลายต่อหลายเวทีแล้วครับ ซึ่งอย่างที่รับทราบกันว่าเพลงส่วนใหญ่ที่เธอร้องนั้นก็คือเพลงของคุณ "พุ่มพวง ดวงจันทร์" นักร้องแม่แบบของเธอ และนั่นเองก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้น้องเปาได้มีโอกาสสวมบทบาทเป็นราชินีเพลงลูกทุ่งของไทยในการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ
ธรรมดาของคนที่มาทีหลัง สิ่งที่จะหนีไปไม่ได้ก็คือการถูกหยิบยกนำไปเปรียบเทียบกับของต้นฉบับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นฉบับที่ยิ่งใหญ่และเป็นถึงหนึ่งใน "แม่แบบ" ในการร้องเพลงของนักร้องลูกทุ่งรุ่นใหม่ของบ้านเราอย่างคุณผึ้ง พุ่มพวง ด้วยแล้ว งานนี้เสียงวิจารณ์ที่มีต่อการร้องของน้องเปาที่ถูกโปรโมตแล้วโปรโมตเล่าว่าเธอคือเงาเสียงของคุณพุ่มพวง แถมยังมีใบหน้าที่ละม้ายคล้ายกันอีต่างหากจึงเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจไม่น้อย
ผมเองยังไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ที่เธอแสดงเลยไม่รู้ว่าฝีมือของน้องเปาหรือว่าภาพรวมของหนังนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่สำหรับอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีการหยิบเอา 10 เพลงดังของคุณพุ่มพวง ที่ประกอบไปด้วย นักร้องบ้านนอก, โลกของผึ้ง, แก้วรอพี่, ตั๊กแตนผูกโบว์, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน, ดาวเรืองดาวโรย, สาวนาสั่งแฟน, กระแซะเข้ามาซิ และ ห่างหน่อยถอยนิด มาให้น้องเปาถ่ายทอดนั้น
ด้วยหูแบบบ้านๆ ที่ไม่ใช่หูของนักวิจารณ์เพลง ไม่ใช่หูของครู-อาจารย์สอนร้องเพลง ผมว่าน้องเปาเป็นคนที่มีน้ำเสียงไพเราะเพราะมากๆ คนหนึ่งเลยครับ
ถามว่าน้ำเสียงเธอคล้ายกับคุณพุ่งพวงมั้ย ก็มีส่วนคล้ายอยู่
ถ้าถามว่าเหมือนกันเป๊ะเลยมั้ย อันนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิกวิธีการร้อง หรืออารมณ์ในการถ่ายทอดเนื้อหาของเพลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความสามารถของนักร้องแต่ละคน รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ดนตรีประกอบ การบันทึกเสียง อายุ ประสบการณ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องของฐานะครอบครัว สภาพแวดล้อมต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลเช่นกัน
ยกตัวอย่าง นักร้องที่ไม่เคยอกหักเลย จะสามารถถ่ายทอดเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่ผิดหวังในเรื่องความรักได้อารมณ์เท่ากับนักร้องที่เคยอกหักได้อย่างไร?
พูดถึงความไพเราะระหว่างเพลงที่ร้องโดยคุณพุ่มพวงกับที่ร้องโดยน้องเปา ผมว่าต่างก็เพราะกันคนละแบบครับ
เพลงนักร้องบ้านนอก/เปาวลี-พุ่มพวง
ของคุณพุ่มพวงนั้นผมไม่รู้ว่าเสียงเธอดีหรือไม่ดี แต่ที่รู้ๆ กัน คือถ้าเธอร้องเพลงเศร้ามันก็ได้อารมณ์เศร้าจนสัมผัสได้จริง ส่วนเพลงสนุกก็คือสนุกคึกคักจริงๆ อย่างช่วงเวลาที่เป็นเด็กวัย 10 กว่าขวบนั้น ยามที่ได้ยินเพลงสาวนาสั่งแฟนของเธอผ่านเครื่องไฟในงานบวช งานแต่ง ฯ ว่า...หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเน้อพี่เน้อ...ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายเป็นต้องขานรับพร้อมๆ กันว่า...เออ...อย่างไม่ต้องนัดหมาย
ขณะที่ของน้องเปากับงานในอัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์นี้ เนื้อเสียงของเธอนั้นต้องบอกว่าใสและหวานมาก กระทั่งเพลงที่เธอร้องออกมานั้นมันคล้ายกับจะเศร้าจะสนุกก็จะออกแนวเศร้าสนุกแบบห่วงกลัวว่าเสียงจะไม่สวย ห่วงเสียงจะไม่หวาน ห่วงว่าเสียงจะไม่เพราะ จนบางครั้งก็ฟังแล้วรู้สึกว่ามันโหวงๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะระบบการบันทึกเสียงที่จะพยายามให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับเสียงของคุณพุ่มพวงหรืออะไรกันแน่?
ทั้งนี้ทั้งนั้นในความรู้สึกของผม ผมว่าคนที่ถ่ายทอดอารมณ์เพลงของคุณพุ่มพวงได้ค่อนข้างจะใกล้เคียงทีเดียวก็คือคุณ "ยุ้ย ญาติเยอะ" แต่ต้องเป็นในช่วงที่ย้อนกลับไปเมื่อเกือบจะ 20 ปีที่แล้วนะครับ
อย่างที่บอก ด้วยน้ำเสียงของของน้องเปาที่หวานฟังแล้วชวนให้ขนลุกนั้น หลังหมดจากช่วงของกระแสหนังพุ่มพวงไปแล้ว ผมหวังว่าเธอคงจะมีงานเพลงออกมาให้ฟังอีก และก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมากทีเดียวหากถ้าเพลงที่เธอร้องนั้นจะเป็นเพลงลูกทุ่งที่เป็นลูกทุ่งที่มีเนื้อหาดีๆ ภาษาไพเราะสละสลวย ไม่ใช่ลูกทุ่งพันทางที่ตอนนี้ผสมกันให้มั่วไปหมด
ไม่ใช่หัวโบราณหรือมองว่ามันไม่ดีนะครับ แต่ไม่รู้สึกว่ามันเยอะไปหน่อยหรือ?
เสียงเพราะๆ หวานๆ อย่างน้องเปานี่ ขอไว้สักคนก็แล้วกัน
เขียนเกี่ยวพันไปถึงคุณพุ่มพวง ก็ให้นึกถึงครูเพลงคนสำคัญที่มีส่วนทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังอย่าง "ครูลพ บุรีรัตน์" (วิเชียร คำเจริญ) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2548 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทนักแต่งเพลงลูกทุ่ง ผู้สร้างสรรค์เพลงฮิตให้กับคุณพุ่มพวงกว่า 150 เพลง และเป็นเจ้าของเพลงลูกทุ่งกว่า 3,000 เพลง
ว่ากันว่าคนแรกที่เรียกครูลพโดยมีคำว่า "ครู" นำหน้านั้นก็คือคุณพุ่มพวง นี่แหละครับ และในขณะที่ใครต่อใครต่างเรียกคุณพุ่มพวงว่าราชินีลูกทุ่ง แต่ครูลพนั้นส่วนใหญ่จะเรียกเธอว่า "นางพญาลูกทุ่ง"
นึกถึงครูเพลงชื่อดังขึ้นมาเพราะเมื่อสองวันที่ผ่านมา(อังคารที่ 2 สิงหาคม2554) ผมโทรศัพท์ไปเพื่อจะขอสัมภาษณ์ท่านจึงได้รับทราบว่าช่วงนี้สุขภาพในวัยเฉียด 80 ของท่านไม่ค่อยจะดีนัก ขณะที่ภรรยาก็ป่วยด้วยโรคนิ้ว(มือข้างซ้าย)ล็อค จนถึงขนาดต้องมีการผ่าตัดโดยคาดว่าจะต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยายาบาล(ถ้าจำไม่ผิดคือที่พญาไท)ไปอีกหลายวัน
ใช้พื้นที่ย่อหน้าสุดท้ายนี้ขอให้ครูเพลงคนสำคัญของบ้านเราพร้อมภรรยามีสุขภาพแข็งแรงในเร็ววันก็แล้วกันนะครับ
แต่หลังจากที่มีโอกาสได้ฟังเสียงของเธออย่างค่อนข้างจะตั้งใจจากแผ่นซีดีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวที่ทางสหมงคลฟิล์มฯ กรุณาใจดีส่งมาให้ อาการขนลุก! ก็เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ได้รู้สึกปวดอึหรือมีไข้หนาวสั่นเข้ามาปะปน
ที่ผ่านมาสาวสุพรรณคนนี้ผ่านเวทีการประกวดตลอดจนคว้ารางวัลจากการร้องเพลงมาหลายต่อหลายเวทีแล้วครับ ซึ่งอย่างที่รับทราบกันว่าเพลงส่วนใหญ่ที่เธอร้องนั้นก็คือเพลงของคุณ "พุ่มพวง ดวงจันทร์" นักร้องแม่แบบของเธอ และนั่นเองก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้น้องเปาได้มีโอกาสสวมบทบาทเป็นราชินีเพลงลูกทุ่งของไทยในการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ
ธรรมดาของคนที่มาทีหลัง สิ่งที่จะหนีไปไม่ได้ก็คือการถูกหยิบยกนำไปเปรียบเทียบกับของต้นฉบับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นฉบับที่ยิ่งใหญ่และเป็นถึงหนึ่งใน "แม่แบบ" ในการร้องเพลงของนักร้องลูกทุ่งรุ่นใหม่ของบ้านเราอย่างคุณผึ้ง พุ่มพวง ด้วยแล้ว งานนี้เสียงวิจารณ์ที่มีต่อการร้องของน้องเปาที่ถูกโปรโมตแล้วโปรโมตเล่าว่าเธอคือเงาเสียงของคุณพุ่มพวง แถมยังมีใบหน้าที่ละม้ายคล้ายกันอีต่างหากจึงเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจไม่น้อย
ผมเองยังไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ที่เธอแสดงเลยไม่รู้ว่าฝีมือของน้องเปาหรือว่าภาพรวมของหนังนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่สำหรับอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีการหยิบเอา 10 เพลงดังของคุณพุ่มพวง ที่ประกอบไปด้วย นักร้องบ้านนอก, โลกของผึ้ง, แก้วรอพี่, ตั๊กแตนผูกโบว์, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน, ดาวเรืองดาวโรย, สาวนาสั่งแฟน, กระแซะเข้ามาซิ และ ห่างหน่อยถอยนิด มาให้น้องเปาถ่ายทอดนั้น
ด้วยหูแบบบ้านๆ ที่ไม่ใช่หูของนักวิจารณ์เพลง ไม่ใช่หูของครู-อาจารย์สอนร้องเพลง ผมว่าน้องเปาเป็นคนที่มีน้ำเสียงไพเราะเพราะมากๆ คนหนึ่งเลยครับ
ถามว่าน้ำเสียงเธอคล้ายกับคุณพุ่งพวงมั้ย ก็มีส่วนคล้ายอยู่
ถ้าถามว่าเหมือนกันเป๊ะเลยมั้ย อันนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิกวิธีการร้อง หรืออารมณ์ในการถ่ายทอดเนื้อหาของเพลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความสามารถของนักร้องแต่ละคน รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ดนตรีประกอบ การบันทึกเสียง อายุ ประสบการณ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องของฐานะครอบครัว สภาพแวดล้อมต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลเช่นกัน
ยกตัวอย่าง นักร้องที่ไม่เคยอกหักเลย จะสามารถถ่ายทอดเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่ผิดหวังในเรื่องความรักได้อารมณ์เท่ากับนักร้องที่เคยอกหักได้อย่างไร?
พูดถึงความไพเราะระหว่างเพลงที่ร้องโดยคุณพุ่มพวงกับที่ร้องโดยน้องเปา ผมว่าต่างก็เพราะกันคนละแบบครับ
เพลงนักร้องบ้านนอก/เปาวลี-พุ่มพวง
ของคุณพุ่มพวงนั้นผมไม่รู้ว่าเสียงเธอดีหรือไม่ดี แต่ที่รู้ๆ กัน คือถ้าเธอร้องเพลงเศร้ามันก็ได้อารมณ์เศร้าจนสัมผัสได้จริง ส่วนเพลงสนุกก็คือสนุกคึกคักจริงๆ อย่างช่วงเวลาที่เป็นเด็กวัย 10 กว่าขวบนั้น ยามที่ได้ยินเพลงสาวนาสั่งแฟนของเธอผ่านเครื่องไฟในงานบวช งานแต่ง ฯ ว่า...หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเน้อพี่เน้อ...ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายเป็นต้องขานรับพร้อมๆ กันว่า...เออ...อย่างไม่ต้องนัดหมาย
ขณะที่ของน้องเปากับงานในอัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์นี้ เนื้อเสียงของเธอนั้นต้องบอกว่าใสและหวานมาก กระทั่งเพลงที่เธอร้องออกมานั้นมันคล้ายกับจะเศร้าจะสนุกก็จะออกแนวเศร้าสนุกแบบห่วงกลัวว่าเสียงจะไม่สวย ห่วงเสียงจะไม่หวาน ห่วงว่าเสียงจะไม่เพราะ จนบางครั้งก็ฟังแล้วรู้สึกว่ามันโหวงๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะระบบการบันทึกเสียงที่จะพยายามให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับเสียงของคุณพุ่มพวงหรืออะไรกันแน่?
ทั้งนี้ทั้งนั้นในความรู้สึกของผม ผมว่าคนที่ถ่ายทอดอารมณ์เพลงของคุณพุ่มพวงได้ค่อนข้างจะใกล้เคียงทีเดียวก็คือคุณ "ยุ้ย ญาติเยอะ" แต่ต้องเป็นในช่วงที่ย้อนกลับไปเมื่อเกือบจะ 20 ปีที่แล้วนะครับ
อย่างที่บอก ด้วยน้ำเสียงของของน้องเปาที่หวานฟังแล้วชวนให้ขนลุกนั้น หลังหมดจากช่วงของกระแสหนังพุ่มพวงไปแล้ว ผมหวังว่าเธอคงจะมีงานเพลงออกมาให้ฟังอีก และก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมากทีเดียวหากถ้าเพลงที่เธอร้องนั้นจะเป็นเพลงลูกทุ่งที่เป็นลูกทุ่งที่มีเนื้อหาดีๆ ภาษาไพเราะสละสลวย ไม่ใช่ลูกทุ่งพันทางที่ตอนนี้ผสมกันให้มั่วไปหมด
ไม่ใช่หัวโบราณหรือมองว่ามันไม่ดีนะครับ แต่ไม่รู้สึกว่ามันเยอะไปหน่อยหรือ?
เสียงเพราะๆ หวานๆ อย่างน้องเปานี่ ขอไว้สักคนก็แล้วกัน
เขียนเกี่ยวพันไปถึงคุณพุ่มพวง ก็ให้นึกถึงครูเพลงคนสำคัญที่มีส่วนทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังอย่าง "ครูลพ บุรีรัตน์" (วิเชียร คำเจริญ) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2548 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทนักแต่งเพลงลูกทุ่ง ผู้สร้างสรรค์เพลงฮิตให้กับคุณพุ่มพวงกว่า 150 เพลง และเป็นเจ้าของเพลงลูกทุ่งกว่า 3,000 เพลง
ว่ากันว่าคนแรกที่เรียกครูลพโดยมีคำว่า "ครู" นำหน้านั้นก็คือคุณพุ่มพวง นี่แหละครับ และในขณะที่ใครต่อใครต่างเรียกคุณพุ่มพวงว่าราชินีลูกทุ่ง แต่ครูลพนั้นส่วนใหญ่จะเรียกเธอว่า "นางพญาลูกทุ่ง"
นึกถึงครูเพลงชื่อดังขึ้นมาเพราะเมื่อสองวันที่ผ่านมา(อังคารที่ 2 สิงหาคม2554) ผมโทรศัพท์ไปเพื่อจะขอสัมภาษณ์ท่านจึงได้รับทราบว่าช่วงนี้สุขภาพในวัยเฉียด 80 ของท่านไม่ค่อยจะดีนัก ขณะที่ภรรยาก็ป่วยด้วยโรคนิ้ว(มือข้างซ้าย)ล็อค จนถึงขนาดต้องมีการผ่าตัดโดยคาดว่าจะต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยายาบาล(ถ้าจำไม่ผิดคือที่พญาไท)ไปอีกหลายวัน
ใช้พื้นที่ย่อหน้าสุดท้ายนี้ขอให้ครูเพลงคนสำคัญของบ้านเราพร้อมภรรยามีสุขภาพแข็งแรงในเร็ววันก็แล้วกันนะครับ