paulheng2006@hotmail.com
บนฟากฟ้ามีดวงดาวอยู่มากมาย ในห้วงนภากาศ...ดวงดาวเหล่านี้ต่างแข่งกันขับเปล่งส่องแสงฉายความสว่างในตัวเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อให้กระทบสายตาของผู้คนให้กระทบถึงความโดดเด่นสุขสกาวเหนือดวงอื่นๆ
โลกแห่งเสียงเพลงก็เช่นกัน...
ค่านิยมและทัศนคติทางเพศของการดูเพลงของผู้บริโภค โดยเฉพาะพ๊อพสตาร์สาวๆ ที่ใช้เพลงแด๊นซ์พ๊อพเป็นพาหะในการนำเสนอแรงยั่วยวนและดึงดูดใจทางเพศผ่านการร้องเพลง แสดงอวัจนภาษาหรือภาษากายผสานกับบทเพลงที่ขับร้องออกมา ได้สร้างแรงกระตุ้นทางการตลาดอย่างมหาศาลผ่านมิวสิควิดีโอและคอนเสิร์ตที่ตระเวนแสดงสดไปทั่วโลก
การเน้นนำสู่ภาพลักษณ์และสีสันที่คล่องแคล่วกระฉับกระเฉงเพื่อกระชับตัวเองสู่โลกแห่งอนาคต พ๊อพสตาร์สาวเซ็กซี่ผมบลอนด์อย่าง คริสติน่า อากีเลร่า Christina Aguilera ก็ออกอัลบั้มมาในปีช่วงกลางปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นงานใหม่รอบ 4 ปีทของเธอ ซึ่งโลกดนตรีได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้ามากมาย
โดยเฉพาะการมาถึงของพ๊อพสตาร์ดวงใหม่ที่มาแรงแซงหน้าจนกลายเป็นซูเปอร์สตาร์นักร้องสาวอันดับ 1 ของโลก เป็นเจ้าแม่แฟชั่นสุดเซอร์ซึ่งนำไปสู่ทอล์ก ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ได้ทุกสัปดาห์ อย่าง เลดี้ กาก้า (Lady GaGa)
คริสติน่า อากีเลร่า จึงต้องฉีกตัวเองสู่ภูมิทัศน์ทางด้านเสียงที่แปลกใหม่อย่างที่ตัวเธอเองไม่เคยทำมาก่อนในอดีต เพื่อไล่ล่าผู้มาใหม่ให้เท่าเทียม และรักษาสถานะดั้งเดิมเอาไว้ให้ได้ นับได้ว่า เป็นช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของอาชีพอย่างแท้จริง
อัลบั้มชุดที่ 4 หรือชุดล่าสุดของเธอ ‘Bionic’ โดยความหมายของคำนั้น หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีส่วนของร่างกายที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาของมนุษย์และสัตว์เพื่อนำไปใช้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่ง คริสติน่า อากีเลร่า พยายามที่จะเสนอนัยยะผ่านบทเพลงและดนตรีออกมาว่า ใครที่ก้าวหน้าอยู่แล้วในยุคนี้ เธอมีเทรนด์ดนตรีของอนาคตที่เหนือกว่า
แต่เมื่อกลับไปย้อนรอยลักษณะในทางศิลปะ หรือสุนทรียศาสตร์ในดนตรีและบทเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า ก็พบว่า เธอกำลังหลอกตัวเองอีกครั้ง
[1]
ในความเป็นนักร้องที่พยายามมุ่งขับไปสู่ความเป็นเลิศ ในฐานะนักร้องเสียงทอง (Diva) คริสติน่า อากีเลร่า ไม่ค่อยมีอุดมการณ์หรือสไตล์ทางดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองเท่าไหร่นัก เสียงร้องที่เปี่ยมคุณภาพและประสิทธิผล จึงถูกกลืนกลายจมหายไปกับเทรนดี้ทางดนตรีและภาพลักษณ์ยั่วยวนทางเพศอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ในแง่ความเป็นพ๊อพสตาร์ นักร้องยอดนิยมเธอสามารถดำรงสถานะนั้นอย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยยอดขายและความสำเร็จจากรางวัลต่างๆ
ความสามารถของการขับร้องและพลังเสียงของเธอฉายชัดมาตั้งแต่ช่วงยังเป็นเด็กย่างสู่ก่อนวัยรุ่น ทะยานอยากตามหาฝันแบบเด็กๆ การขับร้องที่ถูกยกให้เป็น เสียงแห่งเจอเนเรชั่นของเธอ ในการร้องสไตล์บลู อายด์ โซล หรือการร้องเพลงในขนบแบบอาร์แอนด์บี-โซล ด้วยเสียงของคนขาว เธอติดอยู่ในรายชื่อ 100 นักร้องที่ขับร้องเพลงในสายพ๊อพที่ดีที่สุด และติดอยู่ในอันดับ 5 จาก 22 นักร้องที่มีเสียงร้องดีที่สุดของเอ็มทีวี
นักร้องสาวเสียงทองเบอร์หนึ่งของโลกเพลงพ๊อพ หรือ ดิวา (Diva) อย่าง ซิลีน ดิออน(Celine Dion) เคยให้สัมภาษณ์ในคราวหนึ่งว่า เสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า น่าจะเป็นเสียงของนักร้องหญิงที่ดีที่สุดในโลก
และแม้แต่นิตยสารดนตรีอันทรงอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา อย่างโรลลิ่ง สโตน (Rolling Stone) ยังจัดอันดับของ คริสติน่า อากีเลร่า อยู่ในลำดับที่ 58 จากการคัดสรรนักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงเวลาที่ผ่านมาในโลกดนตรีร่วมสมัย และเธอก็เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดซึ่งมีชื่อติดอยู่ในรายชื่อในการคัดสรร
สำหรับคุณลักษณะเสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า นั้น ครูสอนร้องเพลงของเธอ ฟิลลิส ฟัลฟอร์ด (Phyllis Fulford) และ ไมเคิล เมล์เลอร์ (Michael Maille)r เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การเปล่งเสียงต่ำของเธอฟังดูหนืดเหนื่อยแต่สดใส มีวิธีการร้องที่บีบและลากเสียงสูงได้กว้างและเต็มบันไดเสียง แต่จะฟังระคายหูเวลาที่เธอขับร้องแบบกรีดเสียงสูงปรี๊ดเต็มที่ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าเธอร้องเพลงในเสียงต่ำเปิดหัวได้ดีและบีบเสียงสูงได้สดใสและกระจ่าง เสียงร้องของเธอมีความบริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยสีสัน
เธอมีเทคนิคการขับร้องที่ดีและมีความหลากหลาย เรียกว่า รอบจัดคนหนึ่งในการใช้เสียง มีเสียงที่กระเส่าสั่นเป็นจุดแข็ง และถือว่ามีความชำนาญอย่างมากในการใช้เทคนิคการร้องเพลงหลายๆ โน้ตในถ้อยพยางค์ที่ขับเปล่งเสียงออกมา ซึ่งเป็นพรสวรรค์ที่หาได้ยากสำหรับนักร้อง
แน่นอนในสายของคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องสาวเสียงทอง หรือดีวาก็ต้องถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มาก่อนที่กุมสภาพของตำแหน่งนักร้องสาวเสียงทองไว้เหนียวแน่น อย่าง วิทนีย์ ฮุสตัน (Whitney Houston) และ มารีอาห์ แครีย์ (Mariah Carey) การออกอัลบั้มชุดแรกของ คริสติน่า อากีเลร่า ในปี 1999 (พ.ศ.2542) ในชื่อเดียวกับชื่อของเธอ อัลบั้ม ‘Christina Aguilera’ นักวิจารณ์เพลงของเดอะ ลอสแองเจลิส ไทม์ ได้นิยามสไตล์การร้องเพลงและเสียงร้องของเธอว่า เป็นการบวกรวมของสามนักร้องเสียงดีในระดับตำนานของวงการเพลงมาไว้ในตัวเธอ คือ บาร์บารา สตรัยแซนด์ (Barbara Streisand), เกลดี้ส์ ไนท์ (Gladys Knight) และ อรีธา แฟรงคลิน (Aretha Franklin) โดยเฉพาะเสียงที่ละม้ายโน้มเอียงไปในทางเสียงร้องของ บาร์บารา สตรัยแซนด์ เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์เป็นอย่างมาก จากจุดเปิดตัวที่สวยงามของเธอทำให้เธอถูกคาดหวังว่าจะต้องขึ้นเป็นนักร้องสาวผู้ยิ่งใหญ่ของยุค
เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยถึงพรสวรรค์ในด้านเสียงร้อง คุณสมบัติและคุณลักษณะของเสียงที่มีคุณภาพเหนือมาตรฐานนักร้องทั่วไปของ คริสติน่า อากีเลร่า
แต่เมื่อมาดูแนวบทเพลงและสไตล์ดนตรีของเธอก็เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ แนวดนตรีและเนื้อร้องของเธอไม่ได้ไปไหนไกลวนเวียนอยู่กับ ความรัก เป็นหลักใหญ่เฉกเช่นนักร้องสาวในโลกดนตรียอดนิยมร่วมสมัย แม้ว่าจะมีแพลมเข้ามาบ้างที่กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของเพศหญิง และความเศร้าโศก
หนึ่งในคนที่ คริสติน่า อากีเลร่า ได้รับอิทธิพลมามากที่สุด และถือเป็นไอดอลประจำใจของเธอมาเสมอมิมีเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ นักร้องสาวผิวสีสายบูลส์ระดับตำนานที่มีชื่อว่า แอทต้า เจมส์ (Etta James) ซึ่งเธอนิยมชมชอบและคลั่งไคล้เสียงร้องมากที่สุด เป็นแรงบันดาลใจและพิมพ์เขียวที่ทำให้เธอก้าวเดินมาบนเส้นทางของนักร้อง โดยเฉพาะบทเพลง ‘At Last’ ที่ คริสติน่า อากีเลร่า ใช้ร้องคอฟเวอร์มาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างยาวนาน และลุ่มหลงจนถึงปัจจุบัน เป็นการยืนยันถึงความเป็นนักร้องในดวงใจของเธอ ซึ่งเธอเติบโตมากับบทเพลงของ แอทต้า เจมส์
หากติดตามงานเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า มาอย่างต่อเนื่องก็จะเห็นได้ในสิ่งที่เรียกว่า จับจดวูบไหวไปตามแฟชั่นของกระแสดนตรีโลก โดยเฉพาะเทรนด์ดนตรีซึ่งกำลังนิยมอยู่ในท้องตลาด มาตรวจสอบดูกันตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกของเธอ ซึ่งมีชื่อเดียวกับเธอ จะพบว่า กลุ่มตลาดคนฟังเพลงที่ตัวเธอและทีมทำเพลงมุ่งเป้าหรือโฟกัสเข้าไปก็คือ กลุ่มคนฟังเพลงวัยรุ่น บทเพลงและดนตรีที่ใช้ก็เป็นบับเบิลกัมพ๊อพและทีนพ๊อพ ซึ่งเป็นกระแสของดนตรียอดนิยมในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 90 ที่นักร้องวัยรุ่นและวงบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป ครอบครองตลาดเพลงกระแสหลักในอเมริกาเหนือและทั่วโลก
หลังจากงานชุดแรกประสบความสำเร็จอย่างมาก เธอก็เบี่ยงเบนเข้าสู่การขายความเซ็กซี่เนื้อหนังมังสา อัลบั้มชุดที่ 2 ซึ่งออกมาในปี 2002 (พ.ศ.2545) ‘Stripped’ เธอเลือกเส้นทางเข้าสู่เสน่ห์ของดนตรีโซล-อาร์แอนด์บี-ฮิพฮอพ และร็อค ในระดับที่ดูแนวโน้มความชอบและกระแสนิยมในทิศทางของตลาดเพลงเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่พัฒนาการในด้านการร้องเพลงของเธอ แต่เป็นเรื่องของการมองตลาดเพลงและขายหน้าตาและเสน่ห์ทางเพศที่ยั่วยวนเป็นหลัก เพราะถึงอย่างไร เสียงร้องของเธอสามารถร้องเพลงในแนวไหนได้อยู่แล้ว
ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะก่อนหน้าที่จะออกอัลบั้มชุด 2 ที่ห่างกับชุดแรก 3 ปี เธอมีอัลบั้มภาษาสเปนในแบบละตินพ๊อพ ‘Mi Reflejo’ ออกมาเพื่อขายในตลาดเพลงละตินอเมริกา โดยเฉพาะคนเชื้อสายฮิสแปนิก (Hispanic) หรือชาวละตินอเมริกันที่พูดภาษาสเปนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสำคัญมาก
โดยฮิสแปนิกเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ด้วยจำนวนมากถึง 44 ล้านคน หรือราว 15% ของประชากรในสหรัฐฯ ทั้งหมด (มากเป็นอันดับ 2 รองจากชาวอเมริกันผิวขาว) จากจุดนี้แสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งถึงการทำงานในแบบมองตลาดเป็นหลัก โดยข้ามผ่านพัฒนาการและจุดยืนอันเป็นเอกลักษณ์ในตัวนักร้องอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ คริสติน่า อากีเลร่า มีเชื้อสายละตินอเมริกาอยู่ก็ตาม แต่เธอก็ไม่สามารถพูดภาษาสเปนในชีวิตประจำวันเพื่อการสื่อสารได้ แต่ถูกเลือกให้มาร้องเพลงละตินพ๊อพที่ไม่ใช่ตัวเธอเอง
รวมถึงการขยับเข้าสู่ทิศทางของเซ็กซี่สตาร์จากโลกดนตรีมากยิ่งขึ้น การเป็นส่วนหนึ่งในการร้องเพลงในภาพยนตร์ ‘Moulin Rouge’ ทำให้เธอก้าวเข้าสู่ความอื้อฉาวและข่าวซุบซิบมากกว่าคุณภาพของบทเพลง ดนตรี และเสียงร้อง แต่นี่คือเส้นทางของคนที่จะมายืนอยู่ในตำแหน่งนักร้องสาวที่มีบทเพลงและอัลบั้มอยู่ในอันดับ 1 ของชาร์ตบิลบอร์ด ทุกอย่างต้องครบเครื่อง
อัลบั้ม ‘Back to Basics’ ที่ออกมาในปี 2006 (พ.ศ.2549) ซึ่งเหมือนกับชื่ออัลบั้ม เพราะ คริสติน่า อากีเลร่า นำตัวเองกลับไปสู่ยุคแห่งการร้องเพลง โชว์พลังเสียงอย่างเต็มที่ ด้วยการเลือกบทเพลงแจ๊ซในยุคสวิงแจ๊ซและบิ๊กแบนด์ นำมาขับร้อง แสดงให้เห็นศักยภาพในเสียงร้องอันยอดเยี่ยมอีกคราในสายดนตรีแจ๊ซและโซล แต่มันก็ไม่ใช่ตัวเธออีก เป็นแค่เพียงกลไกทางการตลาดที่มองกระแสนิยมเพลงโอลดี้ถูกนำรื้อฟื้นมาร้องใหม่โดยนักร้องเสียงทองรุ่นหลัง และไม่มีอะไรที่น่าประหลาดใจมากนัก
เส้นทางความเป็นพ๊อพสตาร์ที่ไม่มีการพุ่งสมาธิไปยังความเป็นนักร้องเสียงทองหรือดีวาพันธุ์แท้ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ คริสติน่า อากีเลร่า ไม่สามารถขึ้นเป็นซูเปอร์สตาร์แบบฉีกทิ้งนักร้องสาวรุ่นเดียวกันและรุ่นหลังได้เลย เธอจะเวียนว่ายเดินตามกระแสค้นหาเทรนด์ของดนตรีเพื่อให้ถูกใจและเข้ากับรสนิยมตลาดในช่วงที่ออกอัลบั้ม แน่นอนยอดขาย 30 ล้านแผ่นทั่วโลก เป็นเครื่องการันตีอยู่แล้ว รวมถึง 5 รางวัลแกรมมี่ ที่ช่วยยืนยันในคุณภาพและคุณค่าของพลังเสียงร้องของเธอ
ทำไม!...เธอจึงไม่สามารถทะลุจากพ๊อพสตาร์ ขึ้นสู่ความเป็นซูเปอร์สตาร์แบบสุกสกาว คนรู้จักเธอทั้งโลกในนามนักร้องสาวสุดเซ็กซี่ปี่ยมไปด้วยแรงดึงดูดใจทางเพศ มีเสน่ห์ในการร้องเพลงที่ล้นเหลือ แต่ไร้ซึ่งตัวตนและสไตล์ที่แท้จริงอย่างพิเศษจำเพาะเจาะจงถึงความเป็นตัวเอง
อัลบั้ม ‘Bionic’ ก็เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มาช่วยตอกย้ำสถานะตรงนี้ของเธอ ชี้ชัดว่า เธอไม่สมควรวิ่งตามโลกอีกแล้ว แต่ควรดึงสัญชาตญาณภายในและพรสวรรค์ความเป็นนักร้องเสียงทองออกมาให้ฉายฉานเสียที ก่อนที่จะสายเกินกาล
ใยเธอจึงไล่ตามเลดี้ กาก้า (Lady GaGaX ไม่ทัน และสู้ความสดพลังดึงดูดของรีฮันน่า (Rihanna) ไม่ได้ รวมถึงไม่สามารถแม้แต่จะเขย่าบัลลังก์ผู้อยู่ในจุดสูงสุดของนักร้องหญิงของชาวอเมริกัน บียอนเซ่ (Beyoncé) และไม่ต้องไปนับเพื่อนเก่าคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันมาตั้งแต่ยังเด็กๆ อย่าง บริทนีย์ สเปียร์ส (Britney Spears) แม้จะอยู่ในช่วงขาดาวน์ตกต่ำในชีวิต แต่ด้านงานเพลงก็ยังลุ้นกันสูสีพอๆ กัน
[2]
เสียงของเด็กวัยกำลังช่างพูดสนทนากับพ่อของตัวเอง...ในบทเพลงที่ 12 ‘My Heart’ (Intro) ซึ่งมีความยาว 19 วินาที น่าจะเป็นความรู้สึกจากห้วงลึกภายในที่แท้จริงที่สุดของ คริสติน่า อากีเลร่า ที่มีต่อสามีจอร์แดน แบรตแมน และลูกชาย แม็กซ์ ไลรอน แบรตแมน
พลังที่ส่งมาจากเสียงของพ่อและลูกที่มีต่อแม่นั้น ทำให้การนำเสียงมาไว้ในอัลบั้มเป็นมุมด้านที่สว่างที่สุดในฐานะเมียและแม่ ที่ตัดกับภาพลักษณ์ในโลกมายาแห่งเสียงเพลงและดนตรีของเธอ ซึ่งถูกคอลัมนิสต์และนักข่าวสายบันเทิงและดนตรีเรียกและเขียนชื่อเธอว่า ‘X-tina’
สำหรับคนฟังเพลงคนไทยเอง ทั้งที่เป็นแฟนเพลงและไม่เป็นแฟนเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า ก็ตาม ต่างรับรู้ผ่านข่าวใหญ่เมื่อหลายปีก่อน จากการแบนมิวสิควิดีโอบทเพลง ‘Dirrty’ ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับตรวจพิจารณาสื่อบันเทิงหรือเซนเซอร์ของเมืองไทย เนื่องจากสื่อออกมาถึงเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง และมีข้อความที่เขียนแปลเป็นภาษาไทยอย่างเหยียดหยามดูถูกในมิวสิควิดีโอว่า ‘การท่องเที่ยวทางเพศประเทศไทย' โดยในด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องจริงที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนไทยอยู่แล้ว แต่ คริสติน่า อากีเลร่า ก็ได้ออกมาขอโทษกรณีดังกล่าว
เพราะฉะนั้น คริสติน่า อากีเลร่า กับคนไทยจึงไม่ใช่เรื่องห่างไกลกันเลยทีเดียว
ด้วยวัย 29 ปี กับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของเธอ น่าผิดหวังอย่างแรงหากจะถามว่า คริสติน่า อากีเลร่า ตัวจริงอยู่ที่ไหน และเธอเคยมีตัวตนที่แท้จริงหรือไม่?!!!
59.77 นาที กับ 18 บทเพลงในอัลบั้ม ‘Bionic’ เป็นแรงเหวี่ยงทางดนตรีที่เปี่ยมด้วยสีสัน แต่ไร้พลังการขับเคลื่อนในเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่สดและไร้ข้อกังขา แม้ คริสติน่า อากีเลร่า จะมีส่วนร่วมในการเขียนเพลงในอัลบั้มเกือบทุกบทเพลงก็ตาม
การตั้งข้อสงสัยว่า นี่คือความเป็นธรรมชาติหรือตัวตนอันแท้จริงที่ครุ่นคิดและต้องการให้ดนตรีและบทเพลงของเธอออกมาในแนวทางนี้ เป็นความหาญกล้าที่จะทะยานต่อสู้ในโลกดนตรีตามแฟชั่นการฟังเพลงที่รุดหน้าไปเรื่อยๆ แต่ว่ากันตามจริงแล้ว คริสติน่า อากีเลร่า ยังไม่มีตัวตนที่จริงแท้ในอัลบั้มชุดนี้ เป็นแค่เศษเสี้ยวกระผีกริ้นหนึ่งเท่านั้น เพราะเธอไม่มีตัวตนและไม่เคยค้นหา...
นี่คือสัญชาตญาณของนักร้องในยุคขั้วต่อศตวรรษที่ 21 ที่เป็นเหมือนกันเกือบทั้งหมด
หากจะพุ่งเป้าโฟกัสไปที่ความเป็นดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่พยายามสร้างเสียงที่ทันสมัยล้ำหน้าสู่อนาคตในอัลบั้ม ‘Bionic’ ทั้งซาวด์ดนตรีรวมถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ดันถูกนักวิจารณ์ในโรลลิ่ง สโตนส์ เหน็บอย่างเจ็บแสบว่าเป็น ‘Gaga-style robot glam’ แถมยังตั้งข้อสังเกตถึงความแปลกเปลี่ยนของเสียงร้องให้ดูล้ำแนวใหม่ที่ต้องพึ่งพา ‘Auto-Tune’ ซึ่งเป็นโปรแกรม หรือ ปลั๊กอินแก้เสียงร้อง ที่สามารถแก้เสียงร้องที่เพี้ยน ให้ตรงตามโน้ตที่ต้องการได้ เพราะโดยปกติ การอัดเสียงของมนุษย์ จะมีเสียงเพี้ยนเล็กน้อยตามธรรมชาติ ถ้าคำไหนเพี้ยนจนฟังดูว่ามันเพี้ยนเกินไป โปรแกรมตัวนี้ก็จะเป็นตัวช่วยที่จะจูนเสียงของนักร้องให้ไม่เพี้ยนได้ โดยที่ไม่ต้องให้นักร้องมาอัดเสียงใหม่
ในอัลบั้มนี้ของ คริสติน่า อากีเลร่า การนำโปรแกรมนี้มาใช้นั้นถูกต้อง เพราะให้สร้างเสียงให้มีกลิ่นละม้ายไปในทางอิเล็กทรอนิคส์นั้น เป็นหัวใจหลักส่วนหนึ่งของการนำเสนอเสียงร้อง จึงเป็นเรื่องที่ถูกนำมาใช้งานอย่างเหมาะสมเพื่อทำให้เสียงมนุษย์เที่ยงตรงอย่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิมีผิดเพี้ยน หรือเรียกง่ายๆว่า ‘the postmodern future-pop’
หากว่าไปแล้วภาพรวมของอัลบั้มชุดนี้ที่บรรจุไว้ถึง 18 บทเพลง (มี 3 เพลงเป็นอินโทรสั้นๆ แค่เพลงละ 10 กว่าวินาที) ไม่มีข้อแตกต่างแต่อย่างใด สำหรับแฟชั่นการฟังเพลงด้วยรสนิยมร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน บทเพลงในอัลบั้มทั้งหมดพิสูจน์ให้เห็นว่า คริสติน่า อากีเลร่า เป็นผู้หญิงที่แบ่งออกเป็นหลายภาคได้มากมาย ทั้งวูบวาบแพรวพราวงดงามและกล้าหาญ คู่กับความงี่เง่าอย่างต้องกัดฟันฝืนทน
มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เธอเองมีความพยายามใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป แต่เป็นความสับสนวุ่นวายและวิ่งไล่ตามแฟชั่นดนตรีในโลกแห่งเสียงเพลงที่อยู่ในความนิยม ทั้งที่เธอเป็นผู้มาก่อน พยายามวางบุคลิกการร้องเพลงให้มีความห้าวดุมากขึ้น หาสไตล์ที่แตกต่างด้วยการทำงานในแนวทดลองที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่บทสรุปกลับไปอยู่ที่เธอไม่เคยหาซาวด์หรือเสียงแห่งตัวตนของตัวเองเจอเลย รวมถึงไม่เคยเข้าใจตัวเธอเอง
คริสติน่า อากีเลร่า มีเนื้อเสียงและคุณภาพของเสียงที่ดีเยี่ยม มีคุณสมบัติเหมาะที่จะก้าวขึ้นเป็นนักร้องเสียงทอง หรือดีวา (Diva) สามารถรองรับการร้องเพลงในทุกแนวเสียงได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพียงแต่ทีมทำเพลงและทีมการตลาดจะจัดวางเธอไว้ตรงจุดไหนให้เหมาะสมและสร้างมูลค่าสูงสุด ในฐานะทั้งสินค้าเพื่อความบันเทิงอันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ทางเพศให้มากที่สุด
เสียงร้องของเธอออกมาเหมือนเดิม เพิ่มความหนานักในเนื้อเสียงและความดังที่มากขึ้น โดยมีพื้นฐานของวิธีคิดเพื่อสร้างความสุขสนุกสนานเริงรมย์ให้โสตคนฟังทั้งเต้นรำและโยกย้ายในความรู้สึกของเสียงสังเคราะห์ที่ดูเหมือนฝืนๆ ไม่ลื่นไหลอย่างที่ควร
จะพบได้ว่าเสียงอันยอดเยี่ยมของเธอถูกฝังอยู่ภายใต้ความอื้ออึงในเสียงสะท้อนยอกย้อนของซาวด์สังเคราะห์ทางดนตรี ความพร่าเลือนบิดเบี้ยวจากการสร้างเสียงอันอลหม่านผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยคอนเซ็ปท์หรือแนวความคิดแบบอนาคตยุคอวกาศที่ดูเชยและสูญค่า แม้จะพยายามสื่อสารใส่เรื่องไบโออินฟอร์เมติกส์ (bioinformatics) ซึ่งเป็นศาสตร์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแขนงใหม่ ที่จะเป็นวิชาการแขนงหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตในศตวรรษที่ 21 มาเป็นความดึงดูดและเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังที่จะนำเสนอความคิดออกมาผ่านบทเพลงต่างๆ
โดยวางธีมเรื่องความเป็นทาสของเทคโนโลยีไว้ และใช้ความเข้มข้นและการส่งอารมณ์ผ่านเสียงร้องที่พยายามสื่อความเกรี้ยวกราดออกมาภายใต้ความโกลาหลของเสียงสังเคราะห์ในแบบที่เรียกว่า ‘สงครามซินธิไซเซอร์’ พยายามจริงจังเคร่งเครียดอย่างเกินขอบเขต
ซึ่งทำให้ฟังออกอย่างกระจ่างหูว่า การขับร้องผ่านเสียงที่ดีอยู่แล้วของเธอ ผ่านทักษะการใช้เสียงที่ซับซ้อนหลายบันไดเสียงที่เธอสามารถดึงศักยภาพในการร้องเพลงขั้นสูงออกมาได้ พรสวรรค์ทางเสียงที่เป็นธรรมชาติสร้างให้มาของเธอ ถูกลบล้างลงไปด้วยความพยายามเกรี้ยวกราดตามแรงโหมของดนตรีที่กระพือผ่านซาวด์สังเคราะห์และบีทที่รกรุงรัง เปี่ยมด้วยความก้าวร้าวและน่าเหน็ดหน่ายของการแสดงออกทางเพศที่มากเกินไป เพื่อที่จะสื่อถึงพลังขับเคลื่อนทางเพศที่ล้นหลาม
การที่จะโน้มน้าวคนฟังให้เชื่อในความเป็น เซ็กซ์บ็อท (sexbot) ในมิติของสาวน้อยร้อนแรงที่มาพร้อมจังหวะในแบบคลับบีทแห่งอนาคต พร้อมหางเครื่องหรือแด๊นเซอร์ในแนวไซไฟแด๊นซ์ ดูอิหลักอิเหลื่อเป็นอย่างมาก
สิ่งที่จับได้ถึงอารมณ์ในตัวเพลงและถ้อยคำที่พ่นออกมาผ่านเนื้อเพลง เป็นวาจาเจ็บแสบที่ทำร้ายทำลายความรู้สึกคนอื่นอย่างยั่วยุอารมณ์ ผ่านความน่าลุ่มหลงของดนตรีพ๊อพ ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาจากทีมทำเพลงและการตลาดมาแล้วว่า แจ่มแน่
บทเพลงนำในอัลบั้มที่เปิดหัวในเพลงแรก ‘Bionic’ แสดงให้เห็นถึงขีดแห่งความสามารถทางด้านเสียงที่สะท้อนออกมาของเธอได้เป็นอย่างดี คริสติน่า อากีเลร่า ได้เข้าสู่ระดับใหม่ของการใช้เสียงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
แต่จะดีหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เธอได้อรรถาธิบายถึงอัลบั้มชุดนี้ของตัวเธอเองไว้ว่า เป็นการผสมที่พิเศษระหว่างแนวดนตรีและสไตล์ดนตรีที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน สามารถสำรวจเข้าไปได้ถึงพลังการสร้างสรรค์ที่สดใหม่ รวมถึงความรู้สึกยั่วยวนอย่างเซ็กซี่ทั้งในทางอิเล็กทรอนิกส์และแบบธรรมชาติดั้งเดิม ถือเป็นซาวด์ใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
ยุทธวิธีแบบเดิมๆ สูตรในการทำเพลงให้ประสบความสำเร็จในตลาดเพลงยอดนิยมให้แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง ต้องเป็นบทเพลงนี้ ‘Elastic Love’ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ บีท ที่ล้อไปกับเสียงร้องในระดับเดียวที่เป็นระนาบล้อเลียนจังหวะหรือบีทหลักของเพลง ทำให้มีเสน่ห์ในแบบแปลกแต่ทว่าติดหูติดปากได้ทันที เหมาะแก่คอนเสิร์ตแสดงสดและการดีดดิ้นยิ่งนัก
คริสติน่า อากีเลร่า ยังร้องเพลงในภาษาสเปนและทำเสียงครวญครางออกมาอย่างมากมายในบทเพลง ‘Denudate’ ส่วน ‘I Hate Boys’ เป็นบทเพลงในแนวดิสโก้แพรวพราวที่ร้องวนซ้ำๆ ซากๆ แบบบทเพลงเกิร์ลกรุ๊ปยุครุ่งเรืองตามแนวทางของวงสไปซ์ เกิร์ลส์ (Spice Girls) ซึ่งน่าจะเป็นบทเพลงที่ดูทิศทางการตลาดเพื่อที่จะสร้างหรือนำเสนอรูปแบบใหม่ให้เธอก้าวขึ้นเป็นนักร้องเสียงทองหรือดิวาในยุคเทคโนใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า พยายามยกระดับของเสียงให้เข้าสู่เส้นเสียงของดนตรีแด๊นซ์ให้สวิงสวายมากขึ้น เห็นได้จากการจัดวางองค์ประกอบเสียงสังเคราะห์ที่ให้สอดคล้องล้อไปกับเสียงร้องของเธอ
บทเพลง ‘WooHoo’ ใกล้เคียงหรือละม้ายไปในทางดนตรีแด๊นซ์ฮอลล์ของฝั่งเร็กเก้ โดยเฉพาะการบิดรูปเสียงร้องให้ฟุ้งลอยออกมา
อีกบทเพลง ‘Lift Me Up’ ที่เป็นเพลงขายอย่างแน่นอน เป็นบัลลาดพ๊อพร็อคที่เปี่ยมด้วยพลังการโชว์เสียงร้องโดยการเค้นเปล่งเสียงผ่านลำคอเพื่อให้แสดงอารมณ์ออกมาอย่างเต็มที่เต็มความรู้สึก ซึ่งได้มือเขียนเพลงฮิตอย่าง ลินดา เพอร์รี่ (Linda Perr) อดีตนักร้องนำวง 4-Non-Blonde ซึ่งเคยแต่งเพลงสไตล์อารมณ์แบบพาวเวอร์บัลลาดมาให้กับ คริสติน่า อากีเลร่า อย่างต่อเนื่อง
อัลบั้ม ‘Bionic’ ชุดนี้ ถ้าออกมาก่อนการมาถึงของเลดี้ กาก้า คงไม่มีใครตั้งข้อสงสัยถึงพัฒนาการและการนำเทรนด์แฟชั่นดนตรีและการดูเพลงอย่างสุดกู่ของ คริสติน่า อากีเลร่า อย่างแน่นอน แต่เมื่อเธอเป็นผู้ตามเทรนด์ก็ต้องยอมรับภาวะถดถอยเพื่อค้นหาจุดลงตัวของตัวเอง หวนคืนสู่ตัวตนของการใช้พลังเสียงในฐานะ นักร้องเสียงทอง (Diva) พุ่งสมาธิไปตรงนั้นเสียที เพื่อให้สมกับการที่ธรรมชาติสร้างพรสวรรค์ในการใช้เสียงของเธอมาให้อย่างงดงาม เธอไม่ใช่พ๊อพสตาร์-เซ็กซี่สตาร์ ที่นำแฟชั่นอีกต่อไป แต่พื้นฐานที่แท้จริงคือนักร้องทีดีมีคุณภาพ...ซึ่งหลงลืมไปหมดแล้ว
คริสติน่า อากีเลร่า ต้องสลัดจากมายาคติที่หลงตัวเองจากสีสันมายาของการดูเพลงมาสู่การร้องเพลงอย่างจริงจัง เธอจึงจะสามารถขึ้นเป็นดาวค้างฟ้าได้...อย่างที่ฝัน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
………
บทเพลงในอัลบั้ม ‘Bionic’ ของ คริสติน่า อากีเลร่า
1. ‘Bionic’
2. ‘Not Myself Tonight’
3. ‘Woohoo’ (featuring Nicki Minaj)
4. ‘Elastic Love’
5. ‘Desnudate’
6. ‘Love & Glamour (Intro)’
7. ‘Glam’
8. ‘Prima Donna’
9. ‘Morning Dessert (Intro)’
10. ‘Sex for Breakfast’
11. ‘Lift Me Up’
12. ‘My Heart (Intro)’
13. ‘All I Need’
14. ‘I Am’
15. ‘You Lost Me’
16. ‘I Hate Boys’
17. ‘My Girls’ (featuring Peaches)
18. ‘Vanity’
>>>>>>>>>>
……….
ฟังมาแล้ว
>>>>>>>>>>>>
Asylum / Disturbed
อัลบั้มชุดที่ 5 ของวงอัลเทอร์เนทีฟ เมทัล และเฮฟวี่ เมทัล ที่ยิ่งทำงานยิ่งห้าวและหนักแน่น กระชากชัดเจนทางตัวตนดนตรีของตัวเองออกมา ผ่านความโลดโผนโจนทะยานทางดนตรีที่อัดกันหนักหน่วงกระแทกกระทั้นอย่างสะใจ ซึ่งมาพร้อมความงามหวานกร้าวทะลุทะลวงของการโซโล่กีตาร์
52.46 นาที กับ 12 บทเพลง และ 1 บทเพลงที่ซ่อนอยู่ การโปรดิวซ์งานกันเองของวงทำให้เห็นระดับความก้าวหน้า แสดงให้เห็นถึงความอยู่ตัวทางดนตรีที่เพิ่มมิติความสลับซับซ้อนของการเรียบเรียงให้ทบทวีมากขึ้น บวกกับเสียงนักร้องนำที่ทรงพลัง กระชากเสียงได้รวบรัดแจ่มชัด เล่นล้อกับกีตาร์และเสียงประสานอย่างลงตัว เมื่อมาผนวกกับเนื้อหาของบทเพลงที่สะท้อนถึงภาพใหญ่ของโลกใบนี้และห้วงลึกภายในอันดำมืดของมนุษย์ ยิ่งทำให้โดดเด่น
จากอัลบั้มชุดนี้ประกาศให้รู้ว่า พวกเขาคือวงเมทัลแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างสมบูรณ์แบบ
The Best of Suede / Suede
วงบริติชพ๊อพหรือเรียกสั้นๆ ว่า บริตพ๊อพ ในยุคต้นทศวรรษที่ 90 ซึ่งบุกเบิกสไตล์ดนตรีนี้จนฮิตไปทั่วโลก โดยเฉพาะเมืองไทย วงดนตรีวงนี้อยู่ในใจคนรุ่นนั้นในระดับหัวแถวเช่นกัน โดยเฉพาะท่าเต้นหันหลังส่ายตูดอันเย้ายวนของนักร้องนำ เบร็ต แอนเดอร์สัน รวมถึงฝีมือกีตาร์ของ เบอร์นาร์ด บัทเลอร์ เปรียบเหมือนสูตรที่ลงตัวของวงดนตรีวงนี้
2 ซีดี กับ 20 บทเพลง กับการรวบรวมงานในยุคต้นตั้งแต่เริ่มมีชื่อเสียงจนถึงระดับที่ขึ้นจุดสูงสุดของอาชีพนักดนตรีที่ได้ทั้งเงินและกล่อง กลายเป็นวงระดับโลก ผ่านผลงานทั้งหมด 5 อัลบั้ม รวมเพลงชุดนี้น่าเก็บสะสมเป็นยิ่งยวด
Le noise / Neil Young
นักร้อง/นักเขียนเพลงชาวแคนาเดี้ยนที่อยู่เหนือกาลเวลา แม้ยังเป็นตำนานที่มีลมหายใจ แต่ขาไม่ใช่ทำตัวเป็นแค่ภาพบูชาไม่ผลิตงานออกมา ยิ่งมีวิกฤตทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมร่วมสมัย เขายิ่งโหมพลังขับเคลื่อนเป็นกระบอกเสียงด้วยบทเพลงและดนตรีประท้วงในรูปแบบของเขาที่ไม่ยอมประนีประนอมกับตลาดดนตรีแต่อย่างใด
อัลบั้มชุดนี้ก็เช่นกัน มีแค่เพียง 8 บทเพลง แต่จุดสำคัญก็คือ นีล ยัง เลือกที่จะทำงานกับโปรดิวเซอร์ชาวแคนาเดี้ยนผู้เลื่องชื่อ เดเนียล ลานัวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงสังเคราะห์ที่มืดหม่นทว่ากระชับหนักแน่นมาผสมผสานกับบทเพลงที่สวยงามประดุจกวีและการอุปมาอุปไมยและดนตรีของนีล ยัง ได้อย่างกลมกลืนลงตัว
Live In Detroit / Peter Frampton
เสน่หาของดนตรีและการแสดงสดใน 101 นาที ซึ่งสะกดคนฟังให้ตื่นตะลึงกับโสตและจักษุ พลังอันคุกรุ่นจากจิตวิญญาณดนตรีร๊อคในยุคทศวรรษที่ 70 ยังขับเปล่งพลังงานผ่านเสียงร้องและกีตาร์ของเขา โดยเฉพาะทีมเวิร์คทางดนตรี และการโซโล่กีตาร์ที่ลากสูงกรีดขยี้หัวใจให้ฟุ้งพุ่งกระจายออกมาจนคนดูแทบหยุดหายใจ
สมกับเป็นหนึ่งในคนดนตรียุคอรีน่า ร๊อค ที่สนใจและใส่ใจด้านโปรดักชั่นแบบเนี้ยบสุดฤทธิ์ เห็นได้คุณภาพการบันทึกเสียงเสียงผ่านการแสดงที่ดีมากๆ พร้อมกับมีสัมภาษณ์ถึงเบื้องหลังคอนเสิร์ตคราวนี้อย่างเจาะลึก
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
.........
ชีพจรดนตรี
>>>>>>>>>>>>>>>>
เบิร์ด & ฮาร์ท ชาร์ทความสุขพร้อมแขกรับเชิญอารมณ์ดีเจี๊ยบ (เฉลียง)
คอนเสิร์ต 'ร่วมฝันกันสร้างบ้าน' หลังได้รับการตอบรับจากแฟนๆ ในคอนเสิร์ต 'รวมใจปลอบขวัญชาวใต้' ผนึกกำลังศิลปินแบบไม่แบ่งค่าย นำรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ ล่าสุด แมซค็อทท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยหัวเรือใหญ่ ประสพ พลากรกิตติ กรรมการผู้จัดการ และกลุ่มศิลปิน Vintage ประกอบด้วย 'แอ๊ด' ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ (หัวหน้าวงเพื่อน), 'แดง' นราธิป กาญจนวัฒน์ (นักร้องนำวงชาตรี), 'กุ้ง' ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา (นักร้องนำวงเพื่อน) และ 'อ๊อด' รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (นักร้องนำวงคีรีบูน) และกลุ่มศิลปินในสังกัด เดินหน้าสานต่อเจตนารมณ์จัดกิจกรรมเพื่อคนไร้บ้าน จัดทำโครงการ 'Masscotte Social Responsibility' ตอน คนเพลงรวมพลังสร้างบ้าน โดยประเดิมคอนเสิร์ตแรกกับการกลับมารวมตัวครั้งสำคัญ ของวงสาว สาว สาว
คราวนี้ถึงคิวของ เบิร์ด & ฮาร์ท ชาร์ทความสุขพร้อมแขกรับเชิญอารมณ์ดีเจี๊ยบ (เฉลียง) ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 14.00 - 17.00 น. ณ วินเทจ ฮอลล์ ลาดพร้าว 101 กทม. ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
บัตรราคา1,500 บาท 1,000 บาท และ 800 บาท จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02-2623456 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiticketmajor.com
บี้ สุกฤษฎิ์ IN CONCERT
กลับมาอีกครั้งกับคอนเสิร์ตใหญ่ของนักร้องซุปเปอร์สตาร์ขวัญใจวัยรุ่น บี้-สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ที่คราวนี้เตรียมฟิตร่างกายมาอย่างดี พร้อมโชว์ให้แฟนๆ ได้สนุกและปรับทับใจกันเต็มที่ ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม 2554 19.00 น. / วันเสาร์ที่ 9 กรกฏาคม 2554 19.00 น. และวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฏาคม 2554 19.00 น. ที่อิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
บัตรราคา2,500 / 2,000 / 1,500 / 1,000 / 800 /500 / 300 บาท จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02-2623456 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiticketmajor.com
………
พอล เฮง / paulheng_2000@yahoo.com
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
บนฟากฟ้ามีดวงดาวอยู่มากมาย ในห้วงนภากาศ...ดวงดาวเหล่านี้ต่างแข่งกันขับเปล่งส่องแสงฉายความสว่างในตัวเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อให้กระทบสายตาของผู้คนให้กระทบถึงความโดดเด่นสุขสกาวเหนือดวงอื่นๆ
โลกแห่งเสียงเพลงก็เช่นกัน...
ค่านิยมและทัศนคติทางเพศของการดูเพลงของผู้บริโภค โดยเฉพาะพ๊อพสตาร์สาวๆ ที่ใช้เพลงแด๊นซ์พ๊อพเป็นพาหะในการนำเสนอแรงยั่วยวนและดึงดูดใจทางเพศผ่านการร้องเพลง แสดงอวัจนภาษาหรือภาษากายผสานกับบทเพลงที่ขับร้องออกมา ได้สร้างแรงกระตุ้นทางการตลาดอย่างมหาศาลผ่านมิวสิควิดีโอและคอนเสิร์ตที่ตระเวนแสดงสดไปทั่วโลก
การเน้นนำสู่ภาพลักษณ์และสีสันที่คล่องแคล่วกระฉับกระเฉงเพื่อกระชับตัวเองสู่โลกแห่งอนาคต พ๊อพสตาร์สาวเซ็กซี่ผมบลอนด์อย่าง คริสติน่า อากีเลร่า Christina Aguilera ก็ออกอัลบั้มมาในปีช่วงกลางปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นงานใหม่รอบ 4 ปีทของเธอ ซึ่งโลกดนตรีได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้ามากมาย
โดยเฉพาะการมาถึงของพ๊อพสตาร์ดวงใหม่ที่มาแรงแซงหน้าจนกลายเป็นซูเปอร์สตาร์นักร้องสาวอันดับ 1 ของโลก เป็นเจ้าแม่แฟชั่นสุดเซอร์ซึ่งนำไปสู่ทอล์ก ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ได้ทุกสัปดาห์ อย่าง เลดี้ กาก้า (Lady GaGa)
คริสติน่า อากีเลร่า จึงต้องฉีกตัวเองสู่ภูมิทัศน์ทางด้านเสียงที่แปลกใหม่อย่างที่ตัวเธอเองไม่เคยทำมาก่อนในอดีต เพื่อไล่ล่าผู้มาใหม่ให้เท่าเทียม และรักษาสถานะดั้งเดิมเอาไว้ให้ได้ นับได้ว่า เป็นช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของอาชีพอย่างแท้จริง
อัลบั้มชุดที่ 4 หรือชุดล่าสุดของเธอ ‘Bionic’ โดยความหมายของคำนั้น หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีส่วนของร่างกายที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาของมนุษย์และสัตว์เพื่อนำไปใช้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่ง คริสติน่า อากีเลร่า พยายามที่จะเสนอนัยยะผ่านบทเพลงและดนตรีออกมาว่า ใครที่ก้าวหน้าอยู่แล้วในยุคนี้ เธอมีเทรนด์ดนตรีของอนาคตที่เหนือกว่า
แต่เมื่อกลับไปย้อนรอยลักษณะในทางศิลปะ หรือสุนทรียศาสตร์ในดนตรีและบทเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า ก็พบว่า เธอกำลังหลอกตัวเองอีกครั้ง
[1]
ในความเป็นนักร้องที่พยายามมุ่งขับไปสู่ความเป็นเลิศ ในฐานะนักร้องเสียงทอง (Diva) คริสติน่า อากีเลร่า ไม่ค่อยมีอุดมการณ์หรือสไตล์ทางดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองเท่าไหร่นัก เสียงร้องที่เปี่ยมคุณภาพและประสิทธิผล จึงถูกกลืนกลายจมหายไปกับเทรนดี้ทางดนตรีและภาพลักษณ์ยั่วยวนทางเพศอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ในแง่ความเป็นพ๊อพสตาร์ นักร้องยอดนิยมเธอสามารถดำรงสถานะนั้นอย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยยอดขายและความสำเร็จจากรางวัลต่างๆ
ความสามารถของการขับร้องและพลังเสียงของเธอฉายชัดมาตั้งแต่ช่วงยังเป็นเด็กย่างสู่ก่อนวัยรุ่น ทะยานอยากตามหาฝันแบบเด็กๆ การขับร้องที่ถูกยกให้เป็น เสียงแห่งเจอเนเรชั่นของเธอ ในการร้องสไตล์บลู อายด์ โซล หรือการร้องเพลงในขนบแบบอาร์แอนด์บี-โซล ด้วยเสียงของคนขาว เธอติดอยู่ในรายชื่อ 100 นักร้องที่ขับร้องเพลงในสายพ๊อพที่ดีที่สุด และติดอยู่ในอันดับ 5 จาก 22 นักร้องที่มีเสียงร้องดีที่สุดของเอ็มทีวี
นักร้องสาวเสียงทองเบอร์หนึ่งของโลกเพลงพ๊อพ หรือ ดิวา (Diva) อย่าง ซิลีน ดิออน(Celine Dion) เคยให้สัมภาษณ์ในคราวหนึ่งว่า เสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า น่าจะเป็นเสียงของนักร้องหญิงที่ดีที่สุดในโลก
และแม้แต่นิตยสารดนตรีอันทรงอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา อย่างโรลลิ่ง สโตน (Rolling Stone) ยังจัดอันดับของ คริสติน่า อากีเลร่า อยู่ในลำดับที่ 58 จากการคัดสรรนักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงเวลาที่ผ่านมาในโลกดนตรีร่วมสมัย และเธอก็เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดซึ่งมีชื่อติดอยู่ในรายชื่อในการคัดสรร
สำหรับคุณลักษณะเสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า นั้น ครูสอนร้องเพลงของเธอ ฟิลลิส ฟัลฟอร์ด (Phyllis Fulford) และ ไมเคิล เมล์เลอร์ (Michael Maille)r เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การเปล่งเสียงต่ำของเธอฟังดูหนืดเหนื่อยแต่สดใส มีวิธีการร้องที่บีบและลากเสียงสูงได้กว้างและเต็มบันไดเสียง แต่จะฟังระคายหูเวลาที่เธอขับร้องแบบกรีดเสียงสูงปรี๊ดเต็มที่ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าเธอร้องเพลงในเสียงต่ำเปิดหัวได้ดีและบีบเสียงสูงได้สดใสและกระจ่าง เสียงร้องของเธอมีความบริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยสีสัน
เธอมีเทคนิคการขับร้องที่ดีและมีความหลากหลาย เรียกว่า รอบจัดคนหนึ่งในการใช้เสียง มีเสียงที่กระเส่าสั่นเป็นจุดแข็ง และถือว่ามีความชำนาญอย่างมากในการใช้เทคนิคการร้องเพลงหลายๆ โน้ตในถ้อยพยางค์ที่ขับเปล่งเสียงออกมา ซึ่งเป็นพรสวรรค์ที่หาได้ยากสำหรับนักร้อง
แน่นอนในสายของคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องสาวเสียงทอง หรือดีวาก็ต้องถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มาก่อนที่กุมสภาพของตำแหน่งนักร้องสาวเสียงทองไว้เหนียวแน่น อย่าง วิทนีย์ ฮุสตัน (Whitney Houston) และ มารีอาห์ แครีย์ (Mariah Carey) การออกอัลบั้มชุดแรกของ คริสติน่า อากีเลร่า ในปี 1999 (พ.ศ.2542) ในชื่อเดียวกับชื่อของเธอ อัลบั้ม ‘Christina Aguilera’ นักวิจารณ์เพลงของเดอะ ลอสแองเจลิส ไทม์ ได้นิยามสไตล์การร้องเพลงและเสียงร้องของเธอว่า เป็นการบวกรวมของสามนักร้องเสียงดีในระดับตำนานของวงการเพลงมาไว้ในตัวเธอ คือ บาร์บารา สตรัยแซนด์ (Barbara Streisand), เกลดี้ส์ ไนท์ (Gladys Knight) และ อรีธา แฟรงคลิน (Aretha Franklin) โดยเฉพาะเสียงที่ละม้ายโน้มเอียงไปในทางเสียงร้องของ บาร์บารา สตรัยแซนด์ เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์เป็นอย่างมาก จากจุดเปิดตัวที่สวยงามของเธอทำให้เธอถูกคาดหวังว่าจะต้องขึ้นเป็นนักร้องสาวผู้ยิ่งใหญ่ของยุค
เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยถึงพรสวรรค์ในด้านเสียงร้อง คุณสมบัติและคุณลักษณะของเสียงที่มีคุณภาพเหนือมาตรฐานนักร้องทั่วไปของ คริสติน่า อากีเลร่า
แต่เมื่อมาดูแนวบทเพลงและสไตล์ดนตรีของเธอก็เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ แนวดนตรีและเนื้อร้องของเธอไม่ได้ไปไหนไกลวนเวียนอยู่กับ ความรัก เป็นหลักใหญ่เฉกเช่นนักร้องสาวในโลกดนตรียอดนิยมร่วมสมัย แม้ว่าจะมีแพลมเข้ามาบ้างที่กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณ อำนาจของเพศหญิง และความเศร้าโศก
หนึ่งในคนที่ คริสติน่า อากีเลร่า ได้รับอิทธิพลมามากที่สุด และถือเป็นไอดอลประจำใจของเธอมาเสมอมิมีเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ นักร้องสาวผิวสีสายบูลส์ระดับตำนานที่มีชื่อว่า แอทต้า เจมส์ (Etta James) ซึ่งเธอนิยมชมชอบและคลั่งไคล้เสียงร้องมากที่สุด เป็นแรงบันดาลใจและพิมพ์เขียวที่ทำให้เธอก้าวเดินมาบนเส้นทางของนักร้อง โดยเฉพาะบทเพลง ‘At Last’ ที่ คริสติน่า อากีเลร่า ใช้ร้องคอฟเวอร์มาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างยาวนาน และลุ่มหลงจนถึงปัจจุบัน เป็นการยืนยันถึงความเป็นนักร้องในดวงใจของเธอ ซึ่งเธอเติบโตมากับบทเพลงของ แอทต้า เจมส์
หากติดตามงานเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า มาอย่างต่อเนื่องก็จะเห็นได้ในสิ่งที่เรียกว่า จับจดวูบไหวไปตามแฟชั่นของกระแสดนตรีโลก โดยเฉพาะเทรนด์ดนตรีซึ่งกำลังนิยมอยู่ในท้องตลาด มาตรวจสอบดูกันตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกของเธอ ซึ่งมีชื่อเดียวกับเธอ จะพบว่า กลุ่มตลาดคนฟังเพลงที่ตัวเธอและทีมทำเพลงมุ่งเป้าหรือโฟกัสเข้าไปก็คือ กลุ่มคนฟังเพลงวัยรุ่น บทเพลงและดนตรีที่ใช้ก็เป็นบับเบิลกัมพ๊อพและทีนพ๊อพ ซึ่งเป็นกระแสของดนตรียอดนิยมในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 90 ที่นักร้องวัยรุ่นและวงบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป ครอบครองตลาดเพลงกระแสหลักในอเมริกาเหนือและทั่วโลก
หลังจากงานชุดแรกประสบความสำเร็จอย่างมาก เธอก็เบี่ยงเบนเข้าสู่การขายความเซ็กซี่เนื้อหนังมังสา อัลบั้มชุดที่ 2 ซึ่งออกมาในปี 2002 (พ.ศ.2545) ‘Stripped’ เธอเลือกเส้นทางเข้าสู่เสน่ห์ของดนตรีโซล-อาร์แอนด์บี-ฮิพฮอพ และร็อค ในระดับที่ดูแนวโน้มความชอบและกระแสนิยมในทิศทางของตลาดเพลงเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่พัฒนาการในด้านการร้องเพลงของเธอ แต่เป็นเรื่องของการมองตลาดเพลงและขายหน้าตาและเสน่ห์ทางเพศที่ยั่วยวนเป็นหลัก เพราะถึงอย่างไร เสียงร้องของเธอสามารถร้องเพลงในแนวไหนได้อยู่แล้ว
ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะก่อนหน้าที่จะออกอัลบั้มชุด 2 ที่ห่างกับชุดแรก 3 ปี เธอมีอัลบั้มภาษาสเปนในแบบละตินพ๊อพ ‘Mi Reflejo’ ออกมาเพื่อขายในตลาดเพลงละตินอเมริกา โดยเฉพาะคนเชื้อสายฮิสแปนิก (Hispanic) หรือชาวละตินอเมริกันที่พูดภาษาสเปนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสำคัญมาก
โดยฮิสแปนิกเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ด้วยจำนวนมากถึง 44 ล้านคน หรือราว 15% ของประชากรในสหรัฐฯ ทั้งหมด (มากเป็นอันดับ 2 รองจากชาวอเมริกันผิวขาว) จากจุดนี้แสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งถึงการทำงานในแบบมองตลาดเป็นหลัก โดยข้ามผ่านพัฒนาการและจุดยืนอันเป็นเอกลักษณ์ในตัวนักร้องอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ คริสติน่า อากีเลร่า มีเชื้อสายละตินอเมริกาอยู่ก็ตาม แต่เธอก็ไม่สามารถพูดภาษาสเปนในชีวิตประจำวันเพื่อการสื่อสารได้ แต่ถูกเลือกให้มาร้องเพลงละตินพ๊อพที่ไม่ใช่ตัวเธอเอง
รวมถึงการขยับเข้าสู่ทิศทางของเซ็กซี่สตาร์จากโลกดนตรีมากยิ่งขึ้น การเป็นส่วนหนึ่งในการร้องเพลงในภาพยนตร์ ‘Moulin Rouge’ ทำให้เธอก้าวเข้าสู่ความอื้อฉาวและข่าวซุบซิบมากกว่าคุณภาพของบทเพลง ดนตรี และเสียงร้อง แต่นี่คือเส้นทางของคนที่จะมายืนอยู่ในตำแหน่งนักร้องสาวที่มีบทเพลงและอัลบั้มอยู่ในอันดับ 1 ของชาร์ตบิลบอร์ด ทุกอย่างต้องครบเครื่อง
อัลบั้ม ‘Back to Basics’ ที่ออกมาในปี 2006 (พ.ศ.2549) ซึ่งเหมือนกับชื่ออัลบั้ม เพราะ คริสติน่า อากีเลร่า นำตัวเองกลับไปสู่ยุคแห่งการร้องเพลง โชว์พลังเสียงอย่างเต็มที่ ด้วยการเลือกบทเพลงแจ๊ซในยุคสวิงแจ๊ซและบิ๊กแบนด์ นำมาขับร้อง แสดงให้เห็นศักยภาพในเสียงร้องอันยอดเยี่ยมอีกคราในสายดนตรีแจ๊ซและโซล แต่มันก็ไม่ใช่ตัวเธออีก เป็นแค่เพียงกลไกทางการตลาดที่มองกระแสนิยมเพลงโอลดี้ถูกนำรื้อฟื้นมาร้องใหม่โดยนักร้องเสียงทองรุ่นหลัง และไม่มีอะไรที่น่าประหลาดใจมากนัก
เส้นทางความเป็นพ๊อพสตาร์ที่ไม่มีการพุ่งสมาธิไปยังความเป็นนักร้องเสียงทองหรือดีวาพันธุ์แท้ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ คริสติน่า อากีเลร่า ไม่สามารถขึ้นเป็นซูเปอร์สตาร์แบบฉีกทิ้งนักร้องสาวรุ่นเดียวกันและรุ่นหลังได้เลย เธอจะเวียนว่ายเดินตามกระแสค้นหาเทรนด์ของดนตรีเพื่อให้ถูกใจและเข้ากับรสนิยมตลาดในช่วงที่ออกอัลบั้ม แน่นอนยอดขาย 30 ล้านแผ่นทั่วโลก เป็นเครื่องการันตีอยู่แล้ว รวมถึง 5 รางวัลแกรมมี่ ที่ช่วยยืนยันในคุณภาพและคุณค่าของพลังเสียงร้องของเธอ
ทำไม!...เธอจึงไม่สามารถทะลุจากพ๊อพสตาร์ ขึ้นสู่ความเป็นซูเปอร์สตาร์แบบสุกสกาว คนรู้จักเธอทั้งโลกในนามนักร้องสาวสุดเซ็กซี่ปี่ยมไปด้วยแรงดึงดูดใจทางเพศ มีเสน่ห์ในการร้องเพลงที่ล้นเหลือ แต่ไร้ซึ่งตัวตนและสไตล์ที่แท้จริงอย่างพิเศษจำเพาะเจาะจงถึงความเป็นตัวเอง
อัลบั้ม ‘Bionic’ ก็เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มาช่วยตอกย้ำสถานะตรงนี้ของเธอ ชี้ชัดว่า เธอไม่สมควรวิ่งตามโลกอีกแล้ว แต่ควรดึงสัญชาตญาณภายในและพรสวรรค์ความเป็นนักร้องเสียงทองออกมาให้ฉายฉานเสียที ก่อนที่จะสายเกินกาล
ใยเธอจึงไล่ตามเลดี้ กาก้า (Lady GaGaX ไม่ทัน และสู้ความสดพลังดึงดูดของรีฮันน่า (Rihanna) ไม่ได้ รวมถึงไม่สามารถแม้แต่จะเขย่าบัลลังก์ผู้อยู่ในจุดสูงสุดของนักร้องหญิงของชาวอเมริกัน บียอนเซ่ (Beyoncé) และไม่ต้องไปนับเพื่อนเก่าคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันมาตั้งแต่ยังเด็กๆ อย่าง บริทนีย์ สเปียร์ส (Britney Spears) แม้จะอยู่ในช่วงขาดาวน์ตกต่ำในชีวิต แต่ด้านงานเพลงก็ยังลุ้นกันสูสีพอๆ กัน
[2]
เสียงของเด็กวัยกำลังช่างพูดสนทนากับพ่อของตัวเอง...ในบทเพลงที่ 12 ‘My Heart’ (Intro) ซึ่งมีความยาว 19 วินาที น่าจะเป็นความรู้สึกจากห้วงลึกภายในที่แท้จริงที่สุดของ คริสติน่า อากีเลร่า ที่มีต่อสามีจอร์แดน แบรตแมน และลูกชาย แม็กซ์ ไลรอน แบรตแมน
พลังที่ส่งมาจากเสียงของพ่อและลูกที่มีต่อแม่นั้น ทำให้การนำเสียงมาไว้ในอัลบั้มเป็นมุมด้านที่สว่างที่สุดในฐานะเมียและแม่ ที่ตัดกับภาพลักษณ์ในโลกมายาแห่งเสียงเพลงและดนตรีของเธอ ซึ่งถูกคอลัมนิสต์และนักข่าวสายบันเทิงและดนตรีเรียกและเขียนชื่อเธอว่า ‘X-tina’
สำหรับคนฟังเพลงคนไทยเอง ทั้งที่เป็นแฟนเพลงและไม่เป็นแฟนเพลงของ คริสติน่า อากีเลร่า ก็ตาม ต่างรับรู้ผ่านข่าวใหญ่เมื่อหลายปีก่อน จากการแบนมิวสิควิดีโอบทเพลง ‘Dirrty’ ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับตรวจพิจารณาสื่อบันเทิงหรือเซนเซอร์ของเมืองไทย เนื่องจากสื่อออกมาถึงเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง และมีข้อความที่เขียนแปลเป็นภาษาไทยอย่างเหยียดหยามดูถูกในมิวสิควิดีโอว่า ‘การท่องเที่ยวทางเพศประเทศไทย' โดยในด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องจริงที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนไทยอยู่แล้ว แต่ คริสติน่า อากีเลร่า ก็ได้ออกมาขอโทษกรณีดังกล่าว
เพราะฉะนั้น คริสติน่า อากีเลร่า กับคนไทยจึงไม่ใช่เรื่องห่างไกลกันเลยทีเดียว
ด้วยวัย 29 ปี กับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของเธอ น่าผิดหวังอย่างแรงหากจะถามว่า คริสติน่า อากีเลร่า ตัวจริงอยู่ที่ไหน และเธอเคยมีตัวตนที่แท้จริงหรือไม่?!!!
59.77 นาที กับ 18 บทเพลงในอัลบั้ม ‘Bionic’ เป็นแรงเหวี่ยงทางดนตรีที่เปี่ยมด้วยสีสัน แต่ไร้พลังการขับเคลื่อนในเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่สดและไร้ข้อกังขา แม้ คริสติน่า อากีเลร่า จะมีส่วนร่วมในการเขียนเพลงในอัลบั้มเกือบทุกบทเพลงก็ตาม
การตั้งข้อสงสัยว่า นี่คือความเป็นธรรมชาติหรือตัวตนอันแท้จริงที่ครุ่นคิดและต้องการให้ดนตรีและบทเพลงของเธอออกมาในแนวทางนี้ เป็นความหาญกล้าที่จะทะยานต่อสู้ในโลกดนตรีตามแฟชั่นการฟังเพลงที่รุดหน้าไปเรื่อยๆ แต่ว่ากันตามจริงแล้ว คริสติน่า อากีเลร่า ยังไม่มีตัวตนที่จริงแท้ในอัลบั้มชุดนี้ เป็นแค่เศษเสี้ยวกระผีกริ้นหนึ่งเท่านั้น เพราะเธอไม่มีตัวตนและไม่เคยค้นหา...
นี่คือสัญชาตญาณของนักร้องในยุคขั้วต่อศตวรรษที่ 21 ที่เป็นเหมือนกันเกือบทั้งหมด
หากจะพุ่งเป้าโฟกัสไปที่ความเป็นดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่พยายามสร้างเสียงที่ทันสมัยล้ำหน้าสู่อนาคตในอัลบั้ม ‘Bionic’ ทั้งซาวด์ดนตรีรวมถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ดันถูกนักวิจารณ์ในโรลลิ่ง สโตนส์ เหน็บอย่างเจ็บแสบว่าเป็น ‘Gaga-style robot glam’ แถมยังตั้งข้อสังเกตถึงความแปลกเปลี่ยนของเสียงร้องให้ดูล้ำแนวใหม่ที่ต้องพึ่งพา ‘Auto-Tune’ ซึ่งเป็นโปรแกรม หรือ ปลั๊กอินแก้เสียงร้อง ที่สามารถแก้เสียงร้องที่เพี้ยน ให้ตรงตามโน้ตที่ต้องการได้ เพราะโดยปกติ การอัดเสียงของมนุษย์ จะมีเสียงเพี้ยนเล็กน้อยตามธรรมชาติ ถ้าคำไหนเพี้ยนจนฟังดูว่ามันเพี้ยนเกินไป โปรแกรมตัวนี้ก็จะเป็นตัวช่วยที่จะจูนเสียงของนักร้องให้ไม่เพี้ยนได้ โดยที่ไม่ต้องให้นักร้องมาอัดเสียงใหม่
ในอัลบั้มนี้ของ คริสติน่า อากีเลร่า การนำโปรแกรมนี้มาใช้นั้นถูกต้อง เพราะให้สร้างเสียงให้มีกลิ่นละม้ายไปในทางอิเล็กทรอนิคส์นั้น เป็นหัวใจหลักส่วนหนึ่งของการนำเสนอเสียงร้อง จึงเป็นเรื่องที่ถูกนำมาใช้งานอย่างเหมาะสมเพื่อทำให้เสียงมนุษย์เที่ยงตรงอย่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิมีผิดเพี้ยน หรือเรียกง่ายๆว่า ‘the postmodern future-pop’
หากว่าไปแล้วภาพรวมของอัลบั้มชุดนี้ที่บรรจุไว้ถึง 18 บทเพลง (มี 3 เพลงเป็นอินโทรสั้นๆ แค่เพลงละ 10 กว่าวินาที) ไม่มีข้อแตกต่างแต่อย่างใด สำหรับแฟชั่นการฟังเพลงด้วยรสนิยมร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน บทเพลงในอัลบั้มทั้งหมดพิสูจน์ให้เห็นว่า คริสติน่า อากีเลร่า เป็นผู้หญิงที่แบ่งออกเป็นหลายภาคได้มากมาย ทั้งวูบวาบแพรวพราวงดงามและกล้าหาญ คู่กับความงี่เง่าอย่างต้องกัดฟันฝืนทน
มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เธอเองมีความพยายามใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป แต่เป็นความสับสนวุ่นวายและวิ่งไล่ตามแฟชั่นดนตรีในโลกแห่งเสียงเพลงที่อยู่ในความนิยม ทั้งที่เธอเป็นผู้มาก่อน พยายามวางบุคลิกการร้องเพลงให้มีความห้าวดุมากขึ้น หาสไตล์ที่แตกต่างด้วยการทำงานในแนวทดลองที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่บทสรุปกลับไปอยู่ที่เธอไม่เคยหาซาวด์หรือเสียงแห่งตัวตนของตัวเองเจอเลย รวมถึงไม่เคยเข้าใจตัวเธอเอง
คริสติน่า อากีเลร่า มีเนื้อเสียงและคุณภาพของเสียงที่ดีเยี่ยม มีคุณสมบัติเหมาะที่จะก้าวขึ้นเป็นนักร้องเสียงทอง หรือดีวา (Diva) สามารถรองรับการร้องเพลงในทุกแนวเสียงได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพียงแต่ทีมทำเพลงและทีมการตลาดจะจัดวางเธอไว้ตรงจุดไหนให้เหมาะสมและสร้างมูลค่าสูงสุด ในฐานะทั้งสินค้าเพื่อความบันเทิงอันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ทางเพศให้มากที่สุด
เสียงร้องของเธอออกมาเหมือนเดิม เพิ่มความหนานักในเนื้อเสียงและความดังที่มากขึ้น โดยมีพื้นฐานของวิธีคิดเพื่อสร้างความสุขสนุกสนานเริงรมย์ให้โสตคนฟังทั้งเต้นรำและโยกย้ายในความรู้สึกของเสียงสังเคราะห์ที่ดูเหมือนฝืนๆ ไม่ลื่นไหลอย่างที่ควร
จะพบได้ว่าเสียงอันยอดเยี่ยมของเธอถูกฝังอยู่ภายใต้ความอื้ออึงในเสียงสะท้อนยอกย้อนของซาวด์สังเคราะห์ทางดนตรี ความพร่าเลือนบิดเบี้ยวจากการสร้างเสียงอันอลหม่านผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยคอนเซ็ปท์หรือแนวความคิดแบบอนาคตยุคอวกาศที่ดูเชยและสูญค่า แม้จะพยายามสื่อสารใส่เรื่องไบโออินฟอร์เมติกส์ (bioinformatics) ซึ่งเป็นศาสตร์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแขนงใหม่ ที่จะเป็นวิชาการแขนงหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตในศตวรรษที่ 21 มาเป็นความดึงดูดและเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังที่จะนำเสนอความคิดออกมาผ่านบทเพลงต่างๆ
โดยวางธีมเรื่องความเป็นทาสของเทคโนโลยีไว้ และใช้ความเข้มข้นและการส่งอารมณ์ผ่านเสียงร้องที่พยายามสื่อความเกรี้ยวกราดออกมาภายใต้ความโกลาหลของเสียงสังเคราะห์ในแบบที่เรียกว่า ‘สงครามซินธิไซเซอร์’ พยายามจริงจังเคร่งเครียดอย่างเกินขอบเขต
ซึ่งทำให้ฟังออกอย่างกระจ่างหูว่า การขับร้องผ่านเสียงที่ดีอยู่แล้วของเธอ ผ่านทักษะการใช้เสียงที่ซับซ้อนหลายบันไดเสียงที่เธอสามารถดึงศักยภาพในการร้องเพลงขั้นสูงออกมาได้ พรสวรรค์ทางเสียงที่เป็นธรรมชาติสร้างให้มาของเธอ ถูกลบล้างลงไปด้วยความพยายามเกรี้ยวกราดตามแรงโหมของดนตรีที่กระพือผ่านซาวด์สังเคราะห์และบีทที่รกรุงรัง เปี่ยมด้วยความก้าวร้าวและน่าเหน็ดหน่ายของการแสดงออกทางเพศที่มากเกินไป เพื่อที่จะสื่อถึงพลังขับเคลื่อนทางเพศที่ล้นหลาม
การที่จะโน้มน้าวคนฟังให้เชื่อในความเป็น เซ็กซ์บ็อท (sexbot) ในมิติของสาวน้อยร้อนแรงที่มาพร้อมจังหวะในแบบคลับบีทแห่งอนาคต พร้อมหางเครื่องหรือแด๊นเซอร์ในแนวไซไฟแด๊นซ์ ดูอิหลักอิเหลื่อเป็นอย่างมาก
สิ่งที่จับได้ถึงอารมณ์ในตัวเพลงและถ้อยคำที่พ่นออกมาผ่านเนื้อเพลง เป็นวาจาเจ็บแสบที่ทำร้ายทำลายความรู้สึกคนอื่นอย่างยั่วยุอารมณ์ ผ่านความน่าลุ่มหลงของดนตรีพ๊อพ ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาจากทีมทำเพลงและการตลาดมาแล้วว่า แจ่มแน่
บทเพลงนำในอัลบั้มที่เปิดหัวในเพลงแรก ‘Bionic’ แสดงให้เห็นถึงขีดแห่งความสามารถทางด้านเสียงที่สะท้อนออกมาของเธอได้เป็นอย่างดี คริสติน่า อากีเลร่า ได้เข้าสู่ระดับใหม่ของการใช้เสียงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
แต่จะดีหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เธอได้อรรถาธิบายถึงอัลบั้มชุดนี้ของตัวเธอเองไว้ว่า เป็นการผสมที่พิเศษระหว่างแนวดนตรีและสไตล์ดนตรีที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน สามารถสำรวจเข้าไปได้ถึงพลังการสร้างสรรค์ที่สดใหม่ รวมถึงความรู้สึกยั่วยวนอย่างเซ็กซี่ทั้งในทางอิเล็กทรอนิกส์และแบบธรรมชาติดั้งเดิม ถือเป็นซาวด์ใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
ยุทธวิธีแบบเดิมๆ สูตรในการทำเพลงให้ประสบความสำเร็จในตลาดเพลงยอดนิยมให้แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง ต้องเป็นบทเพลงนี้ ‘Elastic Love’ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ บีท ที่ล้อไปกับเสียงร้องในระดับเดียวที่เป็นระนาบล้อเลียนจังหวะหรือบีทหลักของเพลง ทำให้มีเสน่ห์ในแบบแปลกแต่ทว่าติดหูติดปากได้ทันที เหมาะแก่คอนเสิร์ตแสดงสดและการดีดดิ้นยิ่งนัก
คริสติน่า อากีเลร่า ยังร้องเพลงในภาษาสเปนและทำเสียงครวญครางออกมาอย่างมากมายในบทเพลง ‘Denudate’ ส่วน ‘I Hate Boys’ เป็นบทเพลงในแนวดิสโก้แพรวพราวที่ร้องวนซ้ำๆ ซากๆ แบบบทเพลงเกิร์ลกรุ๊ปยุครุ่งเรืองตามแนวทางของวงสไปซ์ เกิร์ลส์ (Spice Girls) ซึ่งน่าจะเป็นบทเพลงที่ดูทิศทางการตลาดเพื่อที่จะสร้างหรือนำเสนอรูปแบบใหม่ให้เธอก้าวขึ้นเป็นนักร้องเสียงทองหรือดิวาในยุคเทคโนใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเสียงร้องของ คริสติน่า อากีเลร่า พยายามยกระดับของเสียงให้เข้าสู่เส้นเสียงของดนตรีแด๊นซ์ให้สวิงสวายมากขึ้น เห็นได้จากการจัดวางองค์ประกอบเสียงสังเคราะห์ที่ให้สอดคล้องล้อไปกับเสียงร้องของเธอ
บทเพลง ‘WooHoo’ ใกล้เคียงหรือละม้ายไปในทางดนตรีแด๊นซ์ฮอลล์ของฝั่งเร็กเก้ โดยเฉพาะการบิดรูปเสียงร้องให้ฟุ้งลอยออกมา
อีกบทเพลง ‘Lift Me Up’ ที่เป็นเพลงขายอย่างแน่นอน เป็นบัลลาดพ๊อพร็อคที่เปี่ยมด้วยพลังการโชว์เสียงร้องโดยการเค้นเปล่งเสียงผ่านลำคอเพื่อให้แสดงอารมณ์ออกมาอย่างเต็มที่เต็มความรู้สึก ซึ่งได้มือเขียนเพลงฮิตอย่าง ลินดา เพอร์รี่ (Linda Perr) อดีตนักร้องนำวง 4-Non-Blonde ซึ่งเคยแต่งเพลงสไตล์อารมณ์แบบพาวเวอร์บัลลาดมาให้กับ คริสติน่า อากีเลร่า อย่างต่อเนื่อง
อัลบั้ม ‘Bionic’ ชุดนี้ ถ้าออกมาก่อนการมาถึงของเลดี้ กาก้า คงไม่มีใครตั้งข้อสงสัยถึงพัฒนาการและการนำเทรนด์แฟชั่นดนตรีและการดูเพลงอย่างสุดกู่ของ คริสติน่า อากีเลร่า อย่างแน่นอน แต่เมื่อเธอเป็นผู้ตามเทรนด์ก็ต้องยอมรับภาวะถดถอยเพื่อค้นหาจุดลงตัวของตัวเอง หวนคืนสู่ตัวตนของการใช้พลังเสียงในฐานะ นักร้องเสียงทอง (Diva) พุ่งสมาธิไปตรงนั้นเสียที เพื่อให้สมกับการที่ธรรมชาติสร้างพรสวรรค์ในการใช้เสียงของเธอมาให้อย่างงดงาม เธอไม่ใช่พ๊อพสตาร์-เซ็กซี่สตาร์ ที่นำแฟชั่นอีกต่อไป แต่พื้นฐานที่แท้จริงคือนักร้องทีดีมีคุณภาพ...ซึ่งหลงลืมไปหมดแล้ว
คริสติน่า อากีเลร่า ต้องสลัดจากมายาคติที่หลงตัวเองจากสีสันมายาของการดูเพลงมาสู่การร้องเพลงอย่างจริงจัง เธอจึงจะสามารถขึ้นเป็นดาวค้างฟ้าได้...อย่างที่ฝัน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
………
บทเพลงในอัลบั้ม ‘Bionic’ ของ คริสติน่า อากีเลร่า
1. ‘Bionic’
2. ‘Not Myself Tonight’
3. ‘Woohoo’ (featuring Nicki Minaj)
4. ‘Elastic Love’
5. ‘Desnudate’
6. ‘Love & Glamour (Intro)’
7. ‘Glam’
8. ‘Prima Donna’
9. ‘Morning Dessert (Intro)’
10. ‘Sex for Breakfast’
11. ‘Lift Me Up’
12. ‘My Heart (Intro)’
13. ‘All I Need’
14. ‘I Am’
15. ‘You Lost Me’
16. ‘I Hate Boys’
17. ‘My Girls’ (featuring Peaches)
18. ‘Vanity’
>>>>>>>>>>
……….
ฟังมาแล้ว
>>>>>>>>>>>>
Asylum / Disturbed
อัลบั้มชุดที่ 5 ของวงอัลเทอร์เนทีฟ เมทัล และเฮฟวี่ เมทัล ที่ยิ่งทำงานยิ่งห้าวและหนักแน่น กระชากชัดเจนทางตัวตนดนตรีของตัวเองออกมา ผ่านความโลดโผนโจนทะยานทางดนตรีที่อัดกันหนักหน่วงกระแทกกระทั้นอย่างสะใจ ซึ่งมาพร้อมความงามหวานกร้าวทะลุทะลวงของการโซโล่กีตาร์
52.46 นาที กับ 12 บทเพลง และ 1 บทเพลงที่ซ่อนอยู่ การโปรดิวซ์งานกันเองของวงทำให้เห็นระดับความก้าวหน้า แสดงให้เห็นถึงความอยู่ตัวทางดนตรีที่เพิ่มมิติความสลับซับซ้อนของการเรียบเรียงให้ทบทวีมากขึ้น บวกกับเสียงนักร้องนำที่ทรงพลัง กระชากเสียงได้รวบรัดแจ่มชัด เล่นล้อกับกีตาร์และเสียงประสานอย่างลงตัว เมื่อมาผนวกกับเนื้อหาของบทเพลงที่สะท้อนถึงภาพใหญ่ของโลกใบนี้และห้วงลึกภายในอันดำมืดของมนุษย์ ยิ่งทำให้โดดเด่น
จากอัลบั้มชุดนี้ประกาศให้รู้ว่า พวกเขาคือวงเมทัลแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างสมบูรณ์แบบ
The Best of Suede / Suede
วงบริติชพ๊อพหรือเรียกสั้นๆ ว่า บริตพ๊อพ ในยุคต้นทศวรรษที่ 90 ซึ่งบุกเบิกสไตล์ดนตรีนี้จนฮิตไปทั่วโลก โดยเฉพาะเมืองไทย วงดนตรีวงนี้อยู่ในใจคนรุ่นนั้นในระดับหัวแถวเช่นกัน โดยเฉพาะท่าเต้นหันหลังส่ายตูดอันเย้ายวนของนักร้องนำ เบร็ต แอนเดอร์สัน รวมถึงฝีมือกีตาร์ของ เบอร์นาร์ด บัทเลอร์ เปรียบเหมือนสูตรที่ลงตัวของวงดนตรีวงนี้
2 ซีดี กับ 20 บทเพลง กับการรวบรวมงานในยุคต้นตั้งแต่เริ่มมีชื่อเสียงจนถึงระดับที่ขึ้นจุดสูงสุดของอาชีพนักดนตรีที่ได้ทั้งเงินและกล่อง กลายเป็นวงระดับโลก ผ่านผลงานทั้งหมด 5 อัลบั้ม รวมเพลงชุดนี้น่าเก็บสะสมเป็นยิ่งยวด
Le noise / Neil Young
นักร้อง/นักเขียนเพลงชาวแคนาเดี้ยนที่อยู่เหนือกาลเวลา แม้ยังเป็นตำนานที่มีลมหายใจ แต่ขาไม่ใช่ทำตัวเป็นแค่ภาพบูชาไม่ผลิตงานออกมา ยิ่งมีวิกฤตทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมร่วมสมัย เขายิ่งโหมพลังขับเคลื่อนเป็นกระบอกเสียงด้วยบทเพลงและดนตรีประท้วงในรูปแบบของเขาที่ไม่ยอมประนีประนอมกับตลาดดนตรีแต่อย่างใด
อัลบั้มชุดนี้ก็เช่นกัน มีแค่เพียง 8 บทเพลง แต่จุดสำคัญก็คือ นีล ยัง เลือกที่จะทำงานกับโปรดิวเซอร์ชาวแคนาเดี้ยนผู้เลื่องชื่อ เดเนียล ลานัวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงสังเคราะห์ที่มืดหม่นทว่ากระชับหนักแน่นมาผสมผสานกับบทเพลงที่สวยงามประดุจกวีและการอุปมาอุปไมยและดนตรีของนีล ยัง ได้อย่างกลมกลืนลงตัว
Live In Detroit / Peter Frampton
เสน่หาของดนตรีและการแสดงสดใน 101 นาที ซึ่งสะกดคนฟังให้ตื่นตะลึงกับโสตและจักษุ พลังอันคุกรุ่นจากจิตวิญญาณดนตรีร๊อคในยุคทศวรรษที่ 70 ยังขับเปล่งพลังงานผ่านเสียงร้องและกีตาร์ของเขา โดยเฉพาะทีมเวิร์คทางดนตรี และการโซโล่กีตาร์ที่ลากสูงกรีดขยี้หัวใจให้ฟุ้งพุ่งกระจายออกมาจนคนดูแทบหยุดหายใจ
สมกับเป็นหนึ่งในคนดนตรียุคอรีน่า ร๊อค ที่สนใจและใส่ใจด้านโปรดักชั่นแบบเนี้ยบสุดฤทธิ์ เห็นได้คุณภาพการบันทึกเสียงเสียงผ่านการแสดงที่ดีมากๆ พร้อมกับมีสัมภาษณ์ถึงเบื้องหลังคอนเสิร์ตคราวนี้อย่างเจาะลึก
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
.........
ชีพจรดนตรี
>>>>>>>>>>>>>>>>
เบิร์ด & ฮาร์ท ชาร์ทความสุขพร้อมแขกรับเชิญอารมณ์ดีเจี๊ยบ (เฉลียง)
คอนเสิร์ต 'ร่วมฝันกันสร้างบ้าน' หลังได้รับการตอบรับจากแฟนๆ ในคอนเสิร์ต 'รวมใจปลอบขวัญชาวใต้' ผนึกกำลังศิลปินแบบไม่แบ่งค่าย นำรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ ล่าสุด แมซค็อทท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยหัวเรือใหญ่ ประสพ พลากรกิตติ กรรมการผู้จัดการ และกลุ่มศิลปิน Vintage ประกอบด้วย 'แอ๊ด' ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ (หัวหน้าวงเพื่อน), 'แดง' นราธิป กาญจนวัฒน์ (นักร้องนำวงชาตรี), 'กุ้ง' ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา (นักร้องนำวงเพื่อน) และ 'อ๊อด' รณชัย ถมยาปริวัฒน์ (นักร้องนำวงคีรีบูน) และกลุ่มศิลปินในสังกัด เดินหน้าสานต่อเจตนารมณ์จัดกิจกรรมเพื่อคนไร้บ้าน จัดทำโครงการ 'Masscotte Social Responsibility' ตอน คนเพลงรวมพลังสร้างบ้าน โดยประเดิมคอนเสิร์ตแรกกับการกลับมารวมตัวครั้งสำคัญ ของวงสาว สาว สาว
คราวนี้ถึงคิวของ เบิร์ด & ฮาร์ท ชาร์ทความสุขพร้อมแขกรับเชิญอารมณ์ดีเจี๊ยบ (เฉลียง) ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 14.00 - 17.00 น. ณ วินเทจ ฮอลล์ ลาดพร้าว 101 กทม. ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
บัตรราคา1,500 บาท 1,000 บาท และ 800 บาท จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02-2623456 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiticketmajor.com
บี้ สุกฤษฎิ์ IN CONCERT
กลับมาอีกครั้งกับคอนเสิร์ตใหญ่ของนักร้องซุปเปอร์สตาร์ขวัญใจวัยรุ่น บี้-สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ที่คราวนี้เตรียมฟิตร่างกายมาอย่างดี พร้อมโชว์ให้แฟนๆ ได้สนุกและปรับทับใจกันเต็มที่ ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม 2554 19.00 น. / วันเสาร์ที่ 9 กรกฏาคม 2554 19.00 น. และวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฏาคม 2554 19.00 น. ที่อิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
บัตรราคา2,500 / 2,000 / 1,500 / 1,000 / 800 /500 / 300 บาท จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร.02-2623456 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiticketmajor.com
………
พอล เฮง / paulheng_2000@yahoo.com
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>