โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
“จิตใจตรงกัน ผูกพันรักใหม่ สุขใจเหลือเกิน รักเพลินสดใส มอบรักให้เธอ ใจฉันเหม่อลอย หากเธอยังคอย ฉันพลอยอุ่นใจ...”
เพลงแฟนฉัน : วงชาตรี
...............................
“เสียงเพลงประดุจ เครื่อง Time Machine”
ไอ้เอ้ เพื่อนเก่าเพื่อนแก่สมัยเรียนสวนกุหลาบ มันโพสต์ข้อความข้างต้นเอาไว้ในเฟซบุ๊ค พร้อมกับลงคลิปเพลง“ลมหายใจแห่งความคิดถึง”ของวง“แมคอินทอช” ที่โด่งดังมากสมัยพวกเราเป็นวัยรุ่นประกอบข้อความ
ครับ จากคลิปที่ลงคงเดาได้ไม่ยากว่าอายุอานามของพวกผมอยู่ในวัยไหน แต่ประทานโทษ!?! ทุกวันนี้พวกผมยังคิดกันว่าตัวเองยังเป็นวัยรุ่นอยู่ แต่กับพวกเด็กๆรุ่นใหม่นี่สิเขาไม่คิดอย่างนั้น นักศึกษาหลายคนเรียกพวกเราว่า“น้า” ทั้งๆที่พวกเราย้ำนักย้ำหนาว่า “ให้เรียกพี่ได้ไหม แล้วพี่จะให้กินขนมหมื่นห้า...” ขณะที่พวกสาวเสิร์ฟ น้องนางคาราโอเกะนี่ ต่างก็ยกให้พวกเราเป็น“ป๋า” เป็น“เฮีย” กันไปหมดแล้ว
ส่วนเพื่อนร่วมรุ่นที่ตบแต่งมีครอบครัวแล้ว(ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย) ภรรยาที่บ้านจะแอบเรียกมันว่า“ไอ้แก่”บ้างหรือเปล่า? อันนี้ผมมิอาจรู้ได้ รู้แต่ว่าประโยค“เสียงเพลงประดุจ เครื่อง Time Machine” ของไอ้เอ้ มันเป็นตัวฉุดอารมณ์ให้ผมย้อนเวลาไปนึกถึงเพลงเก่าๆในอดีตได้ดีเหลือเกิน(อันที่จริงเสียงเพลงยังมีคุณประโยชน์อีกมากหลายขึ้นอยู่กับว่าใครจะสบช่องมองเห็นเป็นอย่างไร)
และแน่นอนว่าสำหรับผมเสียงเพลงของ“วงชาตรี”ที่โด่งดังมากเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว(ในช่วงที่ผมยังเป็นเด็กประถมต้น) ถือว่ามีอิทธิพลต่อการฟังเพลงของผมเป็นอย่างมาก(ย้อนยุคไปแก่กว่าไอ้เอ้อีก)
ชาตรีเป็นวงดนตรีวงแรกที่ผมรู้จัก เพลงของชาตรีเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ผมหันมานิยมชมชอบในเพลงแนวสตริงอย่างจริงจัง ชาตรีเป็นแรงบันดาลใจให้ผมไล่ย้อนไปฟังวง“ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์”สตริงรุ่นบุกเบิก ชาตรีส่งอิทธิพลต่อการฟังเพลงสตริงในรุ่นต่อๆมา อย่าง แกรนด์เอ็กซ์, รอยัลสไปรท์ส,อินโนเซ้นท์ และ แมคอินทอช เป็นต้น
ขณะที่บทบาทในวงการเพลง ชาตรีถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยอย่างมาก พวกเขามีส่วนสำคัญในการบุกเบิกให้วัยรุ่นไทย(ในยุคนั้น)หันมาฟังเพลงไทยร่วมสมัยให้มากขึ้น
ที่สำคัญคือพวกเขาได้สร้างบทเพลงดีๆ เพลงดังๆ เพลงเพราะๆ ไว้เคียงคู่วงการเพลงไทยมากมาย
เป็นบทเพลงเหลือกาลเวลาที่ยังมีคนนิยมชมชอบและฟังได้อยู่มิรู้เบื่อ
1…
การก่อกำเนิดของวงชาตรี ไปจนถึงการกลายเป็นวงขวัญใจวัยรุ่นสุดฮอตแห่งยุค สร้างความปวดหัวเวียนเฮดแบบกินพาราไม่หายให้กับนักอนุรักษ์นิยมในยุคนั้นพอสมควร หลายคนแอนตี้ว่าชาตรีร้องเพลงทำภาษาไทยวิบัติ ออกเสียงไม่ชัด ร้อง“จิตใจ”เป็น“ฉิดไช”(ดังที่ผมเคยยกตัวอย่างมาประกอบในตอนที่แล้ว)
แต่ถ้าฟังกันอย่างจริงๆจังๆ จะพบว่าชาตรีร้องเพลงไทยชัดถ้อยชัดคำ ร้องเพลงไทยเป็นเพลงไทยด้วยภาษาไทย ไม่ใช่ร้องเพลงไทยในสำเนียงฝรั่งจ๋าเหมือนกับนักร้องบางคนในยุคนี้ พ.ศ.นี้ ที่เมื่อฟังแล้ว ฟังไม่ออกว่า(มัน)กำลังร้องเพลงภาษาอะไรอยู่(วะ)
อย่างไรก็ดี เสียงร้องของ 2 นักร้องวงชาตรี ทั้งคุณน้านราธิปและคุณน้าคฑาวุธ ถือว่ามีโทนเสียงที่คล้ายคลึงกันมาก ชนิดไม่ตั้งใจฟังอาจฟังไม่ออกว่าใครเป็นคนร้องนำ แต่ถึงอย่างนั้นถ้าตั้งใจฟังให้ดีๆ ฟังกันบ่อยๆ จะพบว่าทั้งคู่มีรายละเอียดของน้ำเสียงที่แตกต่างกันออกไป
เสียงของน้านราธิปมีโทนเสียงแหลมสูง ส่วนเสียงของน้าคฑาวุธฟังทุ้มนุ่มกว่า ส่วนเรื่องลีลาการร้องนั้น ทั้งคู่มีการออดอ้อนออเซาะ การดัดเสียงร้องกันอยู่(มาก)พอตัว ชนิดสาวๆบางคนฟังแล้วถึงกับใจละลาย
สำหรับผมไม่ถือว่านี่เป็นการดัดจริต แต่เป็นการดัดเสียงตามวิถีทางการร้องเพลง ซึ่งภายหลังได้เกิดเป็นแนวทางเฉพาะตัวของวงชาตรีชนิดที่ยากต่อการลอกเลียนแบบ แม้จะมีคนพยายามลอกเลียนแบบอยู่มากก็ตาม
สองนักร้องนำวงชาตรีแม้จะร้องเพลงแบบดัดเสียง แต่พวกเขายังคงร้องด้วยโทน(ดัด)เสียงตามธรรมชาติของตัวเอง ฟังไม่อึดอัด ผิดกับนักร้องจำนวนมากในสมัยนี้ที่ดัดจริตร้องเพลงกันจนเกินงาม บางคน(กระแดะ)ฝืนร้องด้วยน้ำเสียงที่ไม่เป็นไปตาม(เสียง)ธรรมชาติ บางคนพยายามร้องเลียนแบบนักร้องต่างชาติ โดยลืมนึกถึงพื้นฐานน้ำเสียงตามธรรมชาติของตัวเอง ทำให้เพลงที่ออกมา ฟังดูเกร็ง อึดอัด หาเสียงเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของตัวเองไม่เจอ แถมบางคนฝืนร้องมากเกินไป(เวลาแสดงสด)จนกลายเป็นร้องเพี้ยนไปเลยก็มี
ในขณะที่ในเรื่องของการแต่งเพลงนั้น เนื้อเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงรักวัยรุ่นสะท้อนยุคสมัย ไม่ฟูมฟาย ซึ่งวงชาตรีสามารถทำเพลงเองได้แบบครบวงจรทั้ง แต่งคำร้อง ทำนอง เรียบเรียง ทำดนตรีเอง โดยมีนราธิปหัวหน้าวงเป็นมันสมองและหัวใจสำคัญ
อย่างไรก็ตามในส่วนของท่วงทำนองนั้น ต้องยอมรับว่าหลายเพลงของชาตรีมีการนำเพลงสากล(เพลงฝรั่ง) เพลงจีน เพลงญี่ปุ่น มาเขียนใหม่ ใส่เนื้อร้องไทยเข้าไป ถือเป็นของใหม่และเป็นค่านิยมของวงการเพลงในยุคนั้น ซึ่งเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์(บ้านเรา)ช่วงนั้นยังไม่ชัดเจน รวมถึงคนฟังเพลงในบ้านเราก็ยังไม่ต่อต้านต่อการทำเพลงไทยในทำนองต่างชาติ เพราะดนตรียุคนั้นไม่ได้เป็นธุรกิจจ๋าเหมือนกับยุคนี้ อีกทั้งหากมองกันในเรื่องของภาษาเพลงและความเป็นดนตรีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นดิอิม ชาตรี รอยัลสไปรท์ พี่แจ้ คาราวาน คาราบาว ต่างนำทำนองเพลงต่างชาติมาใส่เนื้อไทย ทำออกมาได้เป็นอย่างดี มีเสน่ห์ชวนฟัง ผิดกับยุคนี้ที่ทำออกมาสไตล์เดียวกัน ฟังไร้เสน่ห์สิ้นดี
2...
หลังกลุ่มเด็กหนุ่มผู้รักในเสียงดนตรีจากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ แผนกช่างภาพ ได้แก่ นราธิป กาญจนวัฒน์(แดง) : ร้องนำ กีตาร์ หัวหน้าวง,คฑาวุธ สท้านไตรภพ(ป้อม) : ร้องนำ กีตาร์ และเล่นคีย์บอร์ด(ในภายหลัง) และประเทือง อุดมกิจนุภาพ(เหมา) : เบส รวมตัวกันตั้งวง “ชาตรี”ขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยมีอนุสรณ์ คำเกษม(ปุ้ย) : กลอง ตามเข้ามาสบทบภายหลังเป็นสมาชิกคนที่ 4
พวกเขาได้วิเคราะห์ถึงทิศทาง จุดเด่น จุดด้อย ของการทำเพลงไทยสากล(เพลงสตริง)ในสมัยนั้น(อ่านรายละเอียดได้ในตอนที่แล้ว) ก่อนเข้าสู่วงการด้วยการทำคลอดอัลบั้มแรก “จากไปลอนดอน”ออกมาในปี พ.ศ.2518 แบบไม่ต้องไปโรงพยาบาล ไม่ต้องไปหาหมอตำแย
หลังจากนั้นในช่วง 11 ปีที่ชาตรีโลดแล่นอยู่ในวงการ(2518-2528) พวกเขาได้สร้างปรากฏการณ์ สร้างสิ่งใหม่ๆ และมีผลงานเพลงเด่นๆดังๆออกมามากมายกว่า 50 เพลง ซึ่งผมขอคัดเพลงฮิตในหมู่เพลงฮิตจำนวนหนึ่ง มาบอกเล่าสู่กันฟัง ให้คนในยุคแฟนฉันได้ย้อนรำลึกอดีต และให้เด็กรุ่นใหม่ที่หลายๆคนเคยนิยมใส่เสื้อ "กูฟังเพลงไทย" ได้รับรู้ว่าเพลงในยุคอดีตนั้นมีเสน่ห์และมีความอมตะอย่างไร
3...
สำหรับเพลงฮิตไม่มีวันตายของวงชาตรี ผมขอไล่เลียงตามอายุเพลงไปตั้งแต่อัลบั้มแรกถึงอัลบั้มสุดท้าย พร้อมกับอ้างอิงตัวเพลงตามสรรพเสียงในเวอร์ชั่นต้นฉบับดั้งเดิม ซึ่งแน่นอนว่าบทเพลงดังเพลงแรกย่อมหนีไม่พ้น“จากไปลอนดอน” เพลงแจ้งเกิดเพลงแรกจากอัลบั้ม(แรก)ในชื่อเดียวกัน
จากไปลอนดอน มาในแนวโฟล์คซองฟังสบายๆ ดนตรีฟังง่ายๆไม่ซับซ้อน เมโลดี้เป็นป็อบ ฟังติดหูง่าย มีกีตาร์โปร่งตีคอร์ดฉับๆ พร้อมด้วยเสียงเบสบวมๆ(ตามระบบการอัดเสียงในยุคนั้น)เดินเป็นเม็ดเป้งๆคุมริทึ่มอีกที(เพลงนี้ไม่มีกลอง)
จากไปลอนดอน ไม่ใช่เพลงที่มีเนื้อร้องสละสลวย แต่เป็นเพลงภาษาเรียบง่าย มีสัมผัส มีวรรคตอน มีท่อนฮุคเด่น โดน และคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
ตามกันด้วยเพลง“แฟนฉัน” ที่เป็นอีกหนึ่งในตำนานเพลงของวงชาตรี จากอัลบั้ม“แฟนฉัน”(2519)กับหน้าปก“โมนาลิซ่า”ที่ดูกิ๊บเก๋ไม่หยอก ซึ่งยุคนั้นโมนาลิซ่าไม่มีรหัสลับให้ต้องตีความกันเหมือนกับในยุคหลัง ตั้งแต่เกิดมีรหัสลับดาวินชีขึ้นมา
แฟนฉันมาในอารมณ์สนุกๆ ใช้ภาษาง่ายๆ สัมผัสซื่อๆ แต่เมื่อฟังแล้วยังคงโดนใจและติดหูมาจนถึงทุกวันนี้ เพลงนี้มีนักร้องรุ่นหลังนำมาร้องหลายคน แต่ประทานโทษไม่มีใครสามารถทำได้เทียบเคียงกับต้นฉบับของวงชาตรีเลย นอกจากนี้เพลงแฟนฉันยังทรงอิทธิพลอย่างสูงต่อภาพยนตร์เรื่อง“แฟนฉัน”ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์กลายเป็นตำนานหนังไทยไม่มีวันตายอีกเรื่องหนึ่ง
ในชุดแฟนฉันยังมีเพลงฮิตอีกหนึ่งเพลงคือ “ฉันไม่เคยรักใครจริง”ที่ไลน์เบสเสียงบวมๆ เล่นเด่นเหลือหลาย ขณะที่ท่วงทำนองนั้นเป็นป็อบฟังง่าย มีประโยคจำง่ายๆอย่าง “เมื่อได้สมใจก็บินหนี สมใจก็บินหนี”
หลังมีชื่อจากชุดแรก ชุดสอง วงชาตรีมีโอกาสได้ร่วมทำเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง“สวัสดีคุณครู”(2519) ที่เป็นการแจ้งเกิดของอดีตนางเอกหมายเลขหนึ่งของวงการหนังไทยคือ จารุณี สุขสวัสดิ์
สวัสดีคุณครู ดังทั้งตัวหนัง นางเอก และเพลงประกอบ ที่มีเพลง“สวัสดีคุณครู”ของชาตรีเป็นเพลงชูโรง
เพลง“สวัสดีคุณครู” ว่าด้วยเรื่องราวของลูกศิษย์จอมแสบ ตำหนิต่อว่าคุณครูว่าขี้บ่น แถมกร่างสุดขั้วเหมือนลูกนักการเมืองหลายคนๆ ดังในเนื้อร้องท่อนที่ร้องว่า “...สวัสดีคุณครู ไม่รู้หรือว่าผมลูกใคร หากมาทำเป็นตี ทีนี้โดนแน่ แล้วจะหาว่าหล่อไม่เตือน...” แต่ในช่วงหลังของเพลงเปลี่ยนจังหวะช้าลง พร้อมจบแบบเตือนใจด้วยเสียงร้องของพี่แป๋ว“ศิริลักษณ์ โสภณ”ที่ฟังแล้วชวนให้นึกถึงเสียงของคุณครูได้ดีทีเดียว ซึ่งหลังร่วมร้องเพลงกับชาตรีได้ไม่นาน พี่แป๋วก็กลายมาเป็นคู่ขวัญของพี่ป้อม พร้อมกับเปลี่ยนนามสกุลเป็น“ศิริลักษณ์ สท้านไตรภพ”ในเวลาต่อมา
พูดถึงการทำเพลงประกอบหนังแล้ว ชาตรียังมีเพลงอย่าง “สนุกกันวัยเรียน” “ฝนตกแดดออก” “รักแล้วรอหน่อย”และ“จ๊ะเอ๋เบบี้” จัดเป็นดังในระดับหนังไทยที่ยังมีชื่อมาจนถึงทุกวันนี้
4...
หลังโด่งดังจากเพลงหนังในปี 2520 ชาตรีเดินทางสู่ยุคทองอย่างเต็มตัว
ในปี 2522 ชาตรีมีการปรับแนวทางดนตรีใหม่ ลดความเป็นโฟล์คซองลง เพิ่มความเป็นป็อบเข้ามา มีการนำคีย์บอร์ดเข้ามาเสริมทัพให้ดนตรีทันสมัยและหวือหวามากขึ้น โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถ(ยุ่น) มาร่วมเป็นสมาชิกชาตรีคนที่ 5 พร้อมกับย้ายไปอยู่สังกัดใหม่คือ EMI ส่งอัลบั้ม “รักสิบแบบ”(2522) ออกมา แล้วตามด้วยอัลบั้ม“ชีวิตใหม่”(2523)
อัลบั้มชีวิตใหม่ มีเพลง“ชีวิตใหม่”ที่มาแบบมันในกลิ่นร็อคเป็นเพลงชูโรง ร่วมกับเพลง“พยานรัก” อันสุดหวานซึ้ง
ปี 2523 ชาตรีส่งอัลบั้ม“รักครั้งแรก”ออกมา ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มในตำนานมาจนทุกวันนี้
รักครั้งแรก เป็นอัลบั้มที่สร้างชื่อสูงสุดให้กับวงชาตรี ชุดนี้พวกเขาโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย ทำยอดขายได้ถล่มทลาย(ได้รับการการันตีจากค่ายต้นสังกัดว่าสามารถขายเทปได้เกินกว่า 1 ล้านตลับ) อัลบั้มนี้ดนตรีฟังทันสมัยขึ้น เสียงคีย์บอร์ดฟังเด่นได้ใจ ในขณะที่เสียงกีตาร์โปร่งตีคอร์ดแบบโฟล์คซองบทบาทลงไปมาก
อัลบั้มรักครั้งแรก มีเพลงอมตะอย่าง “บทเรียนรัก” และ “ยากยิ่งนัก” 2 เพลงไพเราะหวานใน 2 อารมณ์ ในท่วงทำนองสวยงาม ภาษาโดนใจ และเพลง“รักครั้งแรก” ที่ดังเหลือหลายกลายเป็นตำนานมาจนทุกวันนี้
เพลงรักครั้งแรก ลงตัวด้วยเนื้อหาโรแมนติกคมคาย ภาษาสวยมีเสน่ห์ มีลูกเล่น เล่นคำ วรรณยุกต์ สัมผัส ได้เป็นอย่างดี มีท่อนฮุคเด็ดโดนใจ ผสมกับท่วงทำนองที่นำมาจากเพลงญี่ปุ่นและดนตรีกระชับสนุกทำให้ฟังติดหูง่าย(มาก) ชนิดแค่ขึ้นเสียงคีย์บอร์ด กีตาร์ เล่นอินโทรนำมา แฟนเพลงชาตรีก็คลอทำนองตามได้แล้ว ในขณะที่ลีลาการร้องนำของน้าป้อมนั้นก็สุดยอด ยากยิ่งนักที่ใครจะเลียนแบบ
ทั้ง 3 เพลงดังในชุดรักครั้งแรก มีความพิเศษอีกอย่างตรงที่ เนื้อเพลงเขียนโดย เด็กหญิง“วันทนา วุฑากร” นักเรียนชั้น ม.1 จากโรงเรียน มาแตร์เดอี ที่ยุคนั้นมีอายุเพียง 13 ขวบเท่านั้น นับเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย(ในยุคนั้น)พอสมควร
5...
หลังขึ้นสู่จุดสุดยอดในชุดรักครั้งแรก ชาตรีไม่ได้ด่ำดิ่งลงสู่ความตกต่ำเหมือนสูตรสำเร็จทั่วไป หากแต่พวกเขายังมีงานเพลงดังๆ เพลงดีๆ ออกมาสู่วงการเพลงอีกเรื่อยๆ โดยชุดถัดมา“สัญญาใจ”(2524) มีเพลง“สัญญาใจ” เป็นเพลงฮิต ชนิดที่คนรุ่นนั้นยังจำท่อน “ไปหาดใหญ่คราวนั้น ฉันยังจดจำ”ได้เป็นอย่างดี
อัลบั้มสัญญาใจยังมีเพลงเด่นๆอีกอย่าง “พรุ่งนี้เราคงเข้าใจ” “ไร้คู่” และ “ตี๋เฉินหลง” ในจังหวะสนุกๆ กลิ่นเพลงจีน ซึ่งเกาะกระแสเฉินหลง ไอ้หนุ่มพันมือ ไอ้หนุ่มหมัดหมา เอ๊ย!!! หมัดเมา ทีโด่งดังมากในยุคนั้น
ในปีเดียวกันนี้ชาตรียังมีงานเพลง “ชะตารัก” ออกมา ชุดนี้น้าป้อมเหมาร้องเพลงทั้งหมด แต่วงชาตรีไม่ได้เล่นเอง โดยไปบันทึกเสียงกันถึงที่ฮ่องกง ระบบเสียงจึงออกมาเยี่ยมทีเดียว(สำหรับยุคนั้น)
ชุดชะตารักมีเพลงเด่นๆ อาทิ “อย่าลืมฉัน”,”พลังรัก”,”ชะตารัก” และ“รักเพียงเธอ” ที่มาในอารมร์เพลงจีนจ๋า พร้อมด้วยเนื้อร้องท่อนฮิตๆ อย่าง “จากกันไปแสนไกล ใจยังคิดเป็นห่วงเธอ อยากจะได้พบเจอ โอ้เธอจงกลับมา วอนเธอกลับคืนมา เธอจงกลับคืนมา ตามสัญญาที่เราให้ไว้ต่อกัน...”
ปี 2525 ชาตรี ออกอัลบั้มชุดที่ 10 “ชาตรีอินคอนเสิร์ต”แล้วตามด้วย ผลงานชุด“รักไม่เป็น” ที่มีเพลงดังติดกลิ่นร็อกอย่าง “ภาษาเงิน” เป็นเพลงไฮไลท์
ครับ ภาษาเงิน แม้จะคือส่วนเกินของภาษาใจ แต่โลกเราทุกวันนี้ หนีภาษาเงินไม่พ้น เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แถมยิ่งใกล้วันเลือกตั้งอย่างนี้ ภาษาเงินยิ่งสะพัดหนัก
“รักที่เธอลืม”เป็นอัลบั้มที่ชาตรีปล่อยออกมาในปี 2526 มีเพลงดังอย่าง “รักที่เฝ้ารอ”,”รักที่เธอลืม” และ“พายุรัก” งานเพลงชุดนี้ขายดีไม่น้อย สามารถทำยอดขายเทปเทปเกิน 2 แสนตลับ ภายใน 2 สัปดาห์ แล้วต่อด้วยชุด“แอบรัก”ที่ตามออกมาในปีเดียวกัน
ปี 2527 ชาตรีออกอัลบั้ม“ชาตรีทศวรรษ”ฉลอง 10 ปี ในวงการเพลง ก่อนออกชุด“อธิษฐานรัก” ตามมาในวันวาเลนไทน์(14 ก.พ.) ปี 2528
ชุดอธิษฐานรัก ชาตรีมาในกลิ่นดนตรีเป็นป็อบร็อก เล่นกีตาร์ติดเสียงดิสทอร์ชั่นแตกๆ มีเพลงดังอมตะอย่าง “อธิษฐานรัก” ที่น้าแดง น้าป้อม ผลัดกันร้องอย่างคร่ำครวญ โหยหา ได้อย่างถึงอารมณ์
ในชุดอธิษฐานรักยังมีเพลงสุดท้ายของอัลบั้มเป็นเพลงเด่นอีกหนึ่งที่ฟังแล้วเหมือนการบอกเป็นนัยๆถึงอนาคตของวง นั่นก็คือ เพลง “จำจากจร” ที่มาในอารมณ์เหงาเศร้าของการลาจาก
“...ล๊า ลาที มิได้ลาจาก...จร จำพราก แสนไกล ล๊า ลาไป หัวใจยังอยู่ และจะคงอยู่เพื่อเธอ...”
บางส่วนของเนื้อเพลงในจำจากจรร้องไว้อย่างนั้น แต่ในความเป็นจริง หลังจากออกอัลบั้มอธิฐานรักมาได้ไม่กี่เดือน วงชาตรีช็อคแฟนเพลงด้วยการประกาศแยกวงอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 พ.ค. 2528 ณ ลานโลกดนตรี ท่ามกลางความอาลัยอาวรณ์ของแฟนเพลงที่มาชมคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของวงชาตรีกันอย่างเนืองแน่น
เป็นการลาจากจรของวงชาตรีที่ทิ้งผลงานฝากไว้เป็นตำนานเคียงคู่วงการเพลงไทยมากมาย
นับเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่วันนี้ชื่อ“ชาตรี”ของพวกเขายังอยู่ยงคงกระพัน คงความเป็นอมตะอยู่ไม่เสื่อมคลาย
*****************************************
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
- ในปี 2550 ชาตรีกลับมาร่วมตัวเล่นคอนเสิร์ตด้วยกันอีกครั้งในชื่อ "33 ปี ชาตรี The Memory Concert"
- ปี 2552 มีข่าวว่าชาตรีจะกลับมารวมตัวกันออกอัลบั้มใหม่แต่ก็เงียบหายไป
- ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจาก หนังสือ "ชาตรี 3 ทศวรรษ บทเพลงแห่งความทรงจำ" ของ EMC เรียบเรียงโดย วันชัย สุนทรถาวร แห่งวงสิชล
- ขอจบบทความของตำนานวงชาตรีแต่เพียงเท่านี้
*****************************************
คลิกฟังเพลง รักครั้งแรก ของชาตรี
*****************************************
บทความแนะนำเพลงน่าสนใจย้อนยุค จะนำเสนอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
คอนเสิร์ต
Eric Legnini Trio Jazz Live
สมาคมฝรั่งเศส จัดการแสดงคอนเสิร์ต “Eric Legnini Trio Jazz Live” ในวันเสาร์ที่ 11 มิ.ย. 54 ณ ห้องออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสฯ
คอนเสิร์ตครั้งนี้ Eric Legnini ผู้เคยมาสร้างความประทับใจในการแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทยเมื่อปี 2008 จะมาพร้อมกับวงทรีโอของเขา เอริค เป็นนักเปียโนแจ๊ซชาวเบลเยียม ที่เริ่มเล่นเปียโนมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เอริคมีอัลบั้มแรกชื่อ Never let me go ก่อนจะมีอัลบั้มต่อๆมาในผลงานการสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยม เป็นดนตรีแจ๊ซที่ผสมผสานความเป็นโซล-ฟั้งก์ และท่วงทำนองเฉพาะตัวของเขาไปเข้าไปในแนวทางเฉพาะตัว
สำหรับผู้สนใจคอนเสิร์ตครั้งนี้ จะจัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน เวลา 19.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสฯ ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรได้ที่ห้องสมุด สมาคมฝรั่งเศสฯ (ปิดทำการวันจันทร์) บัตรสำหรับนักศึกษาและสมาชิกราคา 250 บาท และบัตรสำหรับบุคคลทั่วไปราคา 400 บาท สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ chalanthorn.kidthang@alliance-francaise.or.th หรือโทรศัพท์ 02-670-4231 หรือ www.alliance-francaise.or.th
“จิตใจตรงกัน ผูกพันรักใหม่ สุขใจเหลือเกิน รักเพลินสดใส มอบรักให้เธอ ใจฉันเหม่อลอย หากเธอยังคอย ฉันพลอยอุ่นใจ...”
เพลงแฟนฉัน : วงชาตรี
...............................
“เสียงเพลงประดุจ เครื่อง Time Machine”
ไอ้เอ้ เพื่อนเก่าเพื่อนแก่สมัยเรียนสวนกุหลาบ มันโพสต์ข้อความข้างต้นเอาไว้ในเฟซบุ๊ค พร้อมกับลงคลิปเพลง“ลมหายใจแห่งความคิดถึง”ของวง“แมคอินทอช” ที่โด่งดังมากสมัยพวกเราเป็นวัยรุ่นประกอบข้อความ
ครับ จากคลิปที่ลงคงเดาได้ไม่ยากว่าอายุอานามของพวกผมอยู่ในวัยไหน แต่ประทานโทษ!?! ทุกวันนี้พวกผมยังคิดกันว่าตัวเองยังเป็นวัยรุ่นอยู่ แต่กับพวกเด็กๆรุ่นใหม่นี่สิเขาไม่คิดอย่างนั้น นักศึกษาหลายคนเรียกพวกเราว่า“น้า” ทั้งๆที่พวกเราย้ำนักย้ำหนาว่า “ให้เรียกพี่ได้ไหม แล้วพี่จะให้กินขนมหมื่นห้า...” ขณะที่พวกสาวเสิร์ฟ น้องนางคาราโอเกะนี่ ต่างก็ยกให้พวกเราเป็น“ป๋า” เป็น“เฮีย” กันไปหมดแล้ว
ส่วนเพื่อนร่วมรุ่นที่ตบแต่งมีครอบครัวแล้ว(ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย) ภรรยาที่บ้านจะแอบเรียกมันว่า“ไอ้แก่”บ้างหรือเปล่า? อันนี้ผมมิอาจรู้ได้ รู้แต่ว่าประโยค“เสียงเพลงประดุจ เครื่อง Time Machine” ของไอ้เอ้ มันเป็นตัวฉุดอารมณ์ให้ผมย้อนเวลาไปนึกถึงเพลงเก่าๆในอดีตได้ดีเหลือเกิน(อันที่จริงเสียงเพลงยังมีคุณประโยชน์อีกมากหลายขึ้นอยู่กับว่าใครจะสบช่องมองเห็นเป็นอย่างไร)
และแน่นอนว่าสำหรับผมเสียงเพลงของ“วงชาตรี”ที่โด่งดังมากเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว(ในช่วงที่ผมยังเป็นเด็กประถมต้น) ถือว่ามีอิทธิพลต่อการฟังเพลงของผมเป็นอย่างมาก(ย้อนยุคไปแก่กว่าไอ้เอ้อีก)
ชาตรีเป็นวงดนตรีวงแรกที่ผมรู้จัก เพลงของชาตรีเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ผมหันมานิยมชมชอบในเพลงแนวสตริงอย่างจริงจัง ชาตรีเป็นแรงบันดาลใจให้ผมไล่ย้อนไปฟังวง“ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์”สตริงรุ่นบุกเบิก ชาตรีส่งอิทธิพลต่อการฟังเพลงสตริงในรุ่นต่อๆมา อย่าง แกรนด์เอ็กซ์, รอยัลสไปรท์ส,อินโนเซ้นท์ และ แมคอินทอช เป็นต้น
ขณะที่บทบาทในวงการเพลง ชาตรีถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยอย่างมาก พวกเขามีส่วนสำคัญในการบุกเบิกให้วัยรุ่นไทย(ในยุคนั้น)หันมาฟังเพลงไทยร่วมสมัยให้มากขึ้น
ที่สำคัญคือพวกเขาได้สร้างบทเพลงดีๆ เพลงดังๆ เพลงเพราะๆ ไว้เคียงคู่วงการเพลงไทยมากมาย
เป็นบทเพลงเหลือกาลเวลาที่ยังมีคนนิยมชมชอบและฟังได้อยู่มิรู้เบื่อ
1…
การก่อกำเนิดของวงชาตรี ไปจนถึงการกลายเป็นวงขวัญใจวัยรุ่นสุดฮอตแห่งยุค สร้างความปวดหัวเวียนเฮดแบบกินพาราไม่หายให้กับนักอนุรักษ์นิยมในยุคนั้นพอสมควร หลายคนแอนตี้ว่าชาตรีร้องเพลงทำภาษาไทยวิบัติ ออกเสียงไม่ชัด ร้อง“จิตใจ”เป็น“ฉิดไช”(ดังที่ผมเคยยกตัวอย่างมาประกอบในตอนที่แล้ว)
แต่ถ้าฟังกันอย่างจริงๆจังๆ จะพบว่าชาตรีร้องเพลงไทยชัดถ้อยชัดคำ ร้องเพลงไทยเป็นเพลงไทยด้วยภาษาไทย ไม่ใช่ร้องเพลงไทยในสำเนียงฝรั่งจ๋าเหมือนกับนักร้องบางคนในยุคนี้ พ.ศ.นี้ ที่เมื่อฟังแล้ว ฟังไม่ออกว่า(มัน)กำลังร้องเพลงภาษาอะไรอยู่(วะ)
อย่างไรก็ดี เสียงร้องของ 2 นักร้องวงชาตรี ทั้งคุณน้านราธิปและคุณน้าคฑาวุธ ถือว่ามีโทนเสียงที่คล้ายคลึงกันมาก ชนิดไม่ตั้งใจฟังอาจฟังไม่ออกว่าใครเป็นคนร้องนำ แต่ถึงอย่างนั้นถ้าตั้งใจฟังให้ดีๆ ฟังกันบ่อยๆ จะพบว่าทั้งคู่มีรายละเอียดของน้ำเสียงที่แตกต่างกันออกไป
เสียงของน้านราธิปมีโทนเสียงแหลมสูง ส่วนเสียงของน้าคฑาวุธฟังทุ้มนุ่มกว่า ส่วนเรื่องลีลาการร้องนั้น ทั้งคู่มีการออดอ้อนออเซาะ การดัดเสียงร้องกันอยู่(มาก)พอตัว ชนิดสาวๆบางคนฟังแล้วถึงกับใจละลาย
สำหรับผมไม่ถือว่านี่เป็นการดัดจริต แต่เป็นการดัดเสียงตามวิถีทางการร้องเพลง ซึ่งภายหลังได้เกิดเป็นแนวทางเฉพาะตัวของวงชาตรีชนิดที่ยากต่อการลอกเลียนแบบ แม้จะมีคนพยายามลอกเลียนแบบอยู่มากก็ตาม
สองนักร้องนำวงชาตรีแม้จะร้องเพลงแบบดัดเสียง แต่พวกเขายังคงร้องด้วยโทน(ดัด)เสียงตามธรรมชาติของตัวเอง ฟังไม่อึดอัด ผิดกับนักร้องจำนวนมากในสมัยนี้ที่ดัดจริตร้องเพลงกันจนเกินงาม บางคน(กระแดะ)ฝืนร้องด้วยน้ำเสียงที่ไม่เป็นไปตาม(เสียง)ธรรมชาติ บางคนพยายามร้องเลียนแบบนักร้องต่างชาติ โดยลืมนึกถึงพื้นฐานน้ำเสียงตามธรรมชาติของตัวเอง ทำให้เพลงที่ออกมา ฟังดูเกร็ง อึดอัด หาเสียงเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของตัวเองไม่เจอ แถมบางคนฝืนร้องมากเกินไป(เวลาแสดงสด)จนกลายเป็นร้องเพี้ยนไปเลยก็มี
ในขณะที่ในเรื่องของการแต่งเพลงนั้น เนื้อเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงรักวัยรุ่นสะท้อนยุคสมัย ไม่ฟูมฟาย ซึ่งวงชาตรีสามารถทำเพลงเองได้แบบครบวงจรทั้ง แต่งคำร้อง ทำนอง เรียบเรียง ทำดนตรีเอง โดยมีนราธิปหัวหน้าวงเป็นมันสมองและหัวใจสำคัญ
อย่างไรก็ตามในส่วนของท่วงทำนองนั้น ต้องยอมรับว่าหลายเพลงของชาตรีมีการนำเพลงสากล(เพลงฝรั่ง) เพลงจีน เพลงญี่ปุ่น มาเขียนใหม่ ใส่เนื้อร้องไทยเข้าไป ถือเป็นของใหม่และเป็นค่านิยมของวงการเพลงในยุคนั้น ซึ่งเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์(บ้านเรา)ช่วงนั้นยังไม่ชัดเจน รวมถึงคนฟังเพลงในบ้านเราก็ยังไม่ต่อต้านต่อการทำเพลงไทยในทำนองต่างชาติ เพราะดนตรียุคนั้นไม่ได้เป็นธุรกิจจ๋าเหมือนกับยุคนี้ อีกทั้งหากมองกันในเรื่องของภาษาเพลงและความเป็นดนตรีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นดิอิม ชาตรี รอยัลสไปรท์ พี่แจ้ คาราวาน คาราบาว ต่างนำทำนองเพลงต่างชาติมาใส่เนื้อไทย ทำออกมาได้เป็นอย่างดี มีเสน่ห์ชวนฟัง ผิดกับยุคนี้ที่ทำออกมาสไตล์เดียวกัน ฟังไร้เสน่ห์สิ้นดี
2...
หลังกลุ่มเด็กหนุ่มผู้รักในเสียงดนตรีจากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ แผนกช่างภาพ ได้แก่ นราธิป กาญจนวัฒน์(แดง) : ร้องนำ กีตาร์ หัวหน้าวง,คฑาวุธ สท้านไตรภพ(ป้อม) : ร้องนำ กีตาร์ และเล่นคีย์บอร์ด(ในภายหลัง) และประเทือง อุดมกิจนุภาพ(เหมา) : เบส รวมตัวกันตั้งวง “ชาตรี”ขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยมีอนุสรณ์ คำเกษม(ปุ้ย) : กลอง ตามเข้ามาสบทบภายหลังเป็นสมาชิกคนที่ 4
พวกเขาได้วิเคราะห์ถึงทิศทาง จุดเด่น จุดด้อย ของการทำเพลงไทยสากล(เพลงสตริง)ในสมัยนั้น(อ่านรายละเอียดได้ในตอนที่แล้ว) ก่อนเข้าสู่วงการด้วยการทำคลอดอัลบั้มแรก “จากไปลอนดอน”ออกมาในปี พ.ศ.2518 แบบไม่ต้องไปโรงพยาบาล ไม่ต้องไปหาหมอตำแย
หลังจากนั้นในช่วง 11 ปีที่ชาตรีโลดแล่นอยู่ในวงการ(2518-2528) พวกเขาได้สร้างปรากฏการณ์ สร้างสิ่งใหม่ๆ และมีผลงานเพลงเด่นๆดังๆออกมามากมายกว่า 50 เพลง ซึ่งผมขอคัดเพลงฮิตในหมู่เพลงฮิตจำนวนหนึ่ง มาบอกเล่าสู่กันฟัง ให้คนในยุคแฟนฉันได้ย้อนรำลึกอดีต และให้เด็กรุ่นใหม่ที่หลายๆคนเคยนิยมใส่เสื้อ "กูฟังเพลงไทย" ได้รับรู้ว่าเพลงในยุคอดีตนั้นมีเสน่ห์และมีความอมตะอย่างไร
3...
สำหรับเพลงฮิตไม่มีวันตายของวงชาตรี ผมขอไล่เลียงตามอายุเพลงไปตั้งแต่อัลบั้มแรกถึงอัลบั้มสุดท้าย พร้อมกับอ้างอิงตัวเพลงตามสรรพเสียงในเวอร์ชั่นต้นฉบับดั้งเดิม ซึ่งแน่นอนว่าบทเพลงดังเพลงแรกย่อมหนีไม่พ้น“จากไปลอนดอน” เพลงแจ้งเกิดเพลงแรกจากอัลบั้ม(แรก)ในชื่อเดียวกัน
จากไปลอนดอน มาในแนวโฟล์คซองฟังสบายๆ ดนตรีฟังง่ายๆไม่ซับซ้อน เมโลดี้เป็นป็อบ ฟังติดหูง่าย มีกีตาร์โปร่งตีคอร์ดฉับๆ พร้อมด้วยเสียงเบสบวมๆ(ตามระบบการอัดเสียงในยุคนั้น)เดินเป็นเม็ดเป้งๆคุมริทึ่มอีกที(เพลงนี้ไม่มีกลอง)
จากไปลอนดอน ไม่ใช่เพลงที่มีเนื้อร้องสละสลวย แต่เป็นเพลงภาษาเรียบง่าย มีสัมผัส มีวรรคตอน มีท่อนฮุคเด่น โดน และคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
ตามกันด้วยเพลง“แฟนฉัน” ที่เป็นอีกหนึ่งในตำนานเพลงของวงชาตรี จากอัลบั้ม“แฟนฉัน”(2519)กับหน้าปก“โมนาลิซ่า”ที่ดูกิ๊บเก๋ไม่หยอก ซึ่งยุคนั้นโมนาลิซ่าไม่มีรหัสลับให้ต้องตีความกันเหมือนกับในยุคหลัง ตั้งแต่เกิดมีรหัสลับดาวินชีขึ้นมา
แฟนฉันมาในอารมณ์สนุกๆ ใช้ภาษาง่ายๆ สัมผัสซื่อๆ แต่เมื่อฟังแล้วยังคงโดนใจและติดหูมาจนถึงทุกวันนี้ เพลงนี้มีนักร้องรุ่นหลังนำมาร้องหลายคน แต่ประทานโทษไม่มีใครสามารถทำได้เทียบเคียงกับต้นฉบับของวงชาตรีเลย นอกจากนี้เพลงแฟนฉันยังทรงอิทธิพลอย่างสูงต่อภาพยนตร์เรื่อง“แฟนฉัน”ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์กลายเป็นตำนานหนังไทยไม่มีวันตายอีกเรื่องหนึ่ง
ในชุดแฟนฉันยังมีเพลงฮิตอีกหนึ่งเพลงคือ “ฉันไม่เคยรักใครจริง”ที่ไลน์เบสเสียงบวมๆ เล่นเด่นเหลือหลาย ขณะที่ท่วงทำนองนั้นเป็นป็อบฟังง่าย มีประโยคจำง่ายๆอย่าง “เมื่อได้สมใจก็บินหนี สมใจก็บินหนี”
หลังมีชื่อจากชุดแรก ชุดสอง วงชาตรีมีโอกาสได้ร่วมทำเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง“สวัสดีคุณครู”(2519) ที่เป็นการแจ้งเกิดของอดีตนางเอกหมายเลขหนึ่งของวงการหนังไทยคือ จารุณี สุขสวัสดิ์
สวัสดีคุณครู ดังทั้งตัวหนัง นางเอก และเพลงประกอบ ที่มีเพลง“สวัสดีคุณครู”ของชาตรีเป็นเพลงชูโรง
เพลง“สวัสดีคุณครู” ว่าด้วยเรื่องราวของลูกศิษย์จอมแสบ ตำหนิต่อว่าคุณครูว่าขี้บ่น แถมกร่างสุดขั้วเหมือนลูกนักการเมืองหลายคนๆ ดังในเนื้อร้องท่อนที่ร้องว่า “...สวัสดีคุณครู ไม่รู้หรือว่าผมลูกใคร หากมาทำเป็นตี ทีนี้โดนแน่ แล้วจะหาว่าหล่อไม่เตือน...” แต่ในช่วงหลังของเพลงเปลี่ยนจังหวะช้าลง พร้อมจบแบบเตือนใจด้วยเสียงร้องของพี่แป๋ว“ศิริลักษณ์ โสภณ”ที่ฟังแล้วชวนให้นึกถึงเสียงของคุณครูได้ดีทีเดียว ซึ่งหลังร่วมร้องเพลงกับชาตรีได้ไม่นาน พี่แป๋วก็กลายมาเป็นคู่ขวัญของพี่ป้อม พร้อมกับเปลี่ยนนามสกุลเป็น“ศิริลักษณ์ สท้านไตรภพ”ในเวลาต่อมา
พูดถึงการทำเพลงประกอบหนังแล้ว ชาตรียังมีเพลงอย่าง “สนุกกันวัยเรียน” “ฝนตกแดดออก” “รักแล้วรอหน่อย”และ“จ๊ะเอ๋เบบี้” จัดเป็นดังในระดับหนังไทยที่ยังมีชื่อมาจนถึงทุกวันนี้
4...
หลังโด่งดังจากเพลงหนังในปี 2520 ชาตรีเดินทางสู่ยุคทองอย่างเต็มตัว
ในปี 2522 ชาตรีมีการปรับแนวทางดนตรีใหม่ ลดความเป็นโฟล์คซองลง เพิ่มความเป็นป็อบเข้ามา มีการนำคีย์บอร์ดเข้ามาเสริมทัพให้ดนตรีทันสมัยและหวือหวามากขึ้น โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถ(ยุ่น) มาร่วมเป็นสมาชิกชาตรีคนที่ 5 พร้อมกับย้ายไปอยู่สังกัดใหม่คือ EMI ส่งอัลบั้ม “รักสิบแบบ”(2522) ออกมา แล้วตามด้วยอัลบั้ม“ชีวิตใหม่”(2523)
อัลบั้มชีวิตใหม่ มีเพลง“ชีวิตใหม่”ที่มาแบบมันในกลิ่นร็อคเป็นเพลงชูโรง ร่วมกับเพลง“พยานรัก” อันสุดหวานซึ้ง
ปี 2523 ชาตรีส่งอัลบั้ม“รักครั้งแรก”ออกมา ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มในตำนานมาจนทุกวันนี้
รักครั้งแรก เป็นอัลบั้มที่สร้างชื่อสูงสุดให้กับวงชาตรี ชุดนี้พวกเขาโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย ทำยอดขายได้ถล่มทลาย(ได้รับการการันตีจากค่ายต้นสังกัดว่าสามารถขายเทปได้เกินกว่า 1 ล้านตลับ) อัลบั้มนี้ดนตรีฟังทันสมัยขึ้น เสียงคีย์บอร์ดฟังเด่นได้ใจ ในขณะที่เสียงกีตาร์โปร่งตีคอร์ดแบบโฟล์คซองบทบาทลงไปมาก
อัลบั้มรักครั้งแรก มีเพลงอมตะอย่าง “บทเรียนรัก” และ “ยากยิ่งนัก” 2 เพลงไพเราะหวานใน 2 อารมณ์ ในท่วงทำนองสวยงาม ภาษาโดนใจ และเพลง“รักครั้งแรก” ที่ดังเหลือหลายกลายเป็นตำนานมาจนทุกวันนี้
เพลงรักครั้งแรก ลงตัวด้วยเนื้อหาโรแมนติกคมคาย ภาษาสวยมีเสน่ห์ มีลูกเล่น เล่นคำ วรรณยุกต์ สัมผัส ได้เป็นอย่างดี มีท่อนฮุคเด็ดโดนใจ ผสมกับท่วงทำนองที่นำมาจากเพลงญี่ปุ่นและดนตรีกระชับสนุกทำให้ฟังติดหูง่าย(มาก) ชนิดแค่ขึ้นเสียงคีย์บอร์ด กีตาร์ เล่นอินโทรนำมา แฟนเพลงชาตรีก็คลอทำนองตามได้แล้ว ในขณะที่ลีลาการร้องนำของน้าป้อมนั้นก็สุดยอด ยากยิ่งนักที่ใครจะเลียนแบบ
ทั้ง 3 เพลงดังในชุดรักครั้งแรก มีความพิเศษอีกอย่างตรงที่ เนื้อเพลงเขียนโดย เด็กหญิง“วันทนา วุฑากร” นักเรียนชั้น ม.1 จากโรงเรียน มาแตร์เดอี ที่ยุคนั้นมีอายุเพียง 13 ขวบเท่านั้น นับเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย(ในยุคนั้น)พอสมควร
5...
หลังขึ้นสู่จุดสุดยอดในชุดรักครั้งแรก ชาตรีไม่ได้ด่ำดิ่งลงสู่ความตกต่ำเหมือนสูตรสำเร็จทั่วไป หากแต่พวกเขายังมีงานเพลงดังๆ เพลงดีๆ ออกมาสู่วงการเพลงอีกเรื่อยๆ โดยชุดถัดมา“สัญญาใจ”(2524) มีเพลง“สัญญาใจ” เป็นเพลงฮิต ชนิดที่คนรุ่นนั้นยังจำท่อน “ไปหาดใหญ่คราวนั้น ฉันยังจดจำ”ได้เป็นอย่างดี
อัลบั้มสัญญาใจยังมีเพลงเด่นๆอีกอย่าง “พรุ่งนี้เราคงเข้าใจ” “ไร้คู่” และ “ตี๋เฉินหลง” ในจังหวะสนุกๆ กลิ่นเพลงจีน ซึ่งเกาะกระแสเฉินหลง ไอ้หนุ่มพันมือ ไอ้หนุ่มหมัดหมา เอ๊ย!!! หมัดเมา ทีโด่งดังมากในยุคนั้น
ในปีเดียวกันนี้ชาตรียังมีงานเพลง “ชะตารัก” ออกมา ชุดนี้น้าป้อมเหมาร้องเพลงทั้งหมด แต่วงชาตรีไม่ได้เล่นเอง โดยไปบันทึกเสียงกันถึงที่ฮ่องกง ระบบเสียงจึงออกมาเยี่ยมทีเดียว(สำหรับยุคนั้น)
ชุดชะตารักมีเพลงเด่นๆ อาทิ “อย่าลืมฉัน”,”พลังรัก”,”ชะตารัก” และ“รักเพียงเธอ” ที่มาในอารมร์เพลงจีนจ๋า พร้อมด้วยเนื้อร้องท่อนฮิตๆ อย่าง “จากกันไปแสนไกล ใจยังคิดเป็นห่วงเธอ อยากจะได้พบเจอ โอ้เธอจงกลับมา วอนเธอกลับคืนมา เธอจงกลับคืนมา ตามสัญญาที่เราให้ไว้ต่อกัน...”
ปี 2525 ชาตรี ออกอัลบั้มชุดที่ 10 “ชาตรีอินคอนเสิร์ต”แล้วตามด้วย ผลงานชุด“รักไม่เป็น” ที่มีเพลงดังติดกลิ่นร็อกอย่าง “ภาษาเงิน” เป็นเพลงไฮไลท์
ครับ ภาษาเงิน แม้จะคือส่วนเกินของภาษาใจ แต่โลกเราทุกวันนี้ หนีภาษาเงินไม่พ้น เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แถมยิ่งใกล้วันเลือกตั้งอย่างนี้ ภาษาเงินยิ่งสะพัดหนัก
“รักที่เธอลืม”เป็นอัลบั้มที่ชาตรีปล่อยออกมาในปี 2526 มีเพลงดังอย่าง “รักที่เฝ้ารอ”,”รักที่เธอลืม” และ“พายุรัก” งานเพลงชุดนี้ขายดีไม่น้อย สามารถทำยอดขายเทปเทปเกิน 2 แสนตลับ ภายใน 2 สัปดาห์ แล้วต่อด้วยชุด“แอบรัก”ที่ตามออกมาในปีเดียวกัน
ปี 2527 ชาตรีออกอัลบั้ม“ชาตรีทศวรรษ”ฉลอง 10 ปี ในวงการเพลง ก่อนออกชุด“อธิษฐานรัก” ตามมาในวันวาเลนไทน์(14 ก.พ.) ปี 2528
ชุดอธิษฐานรัก ชาตรีมาในกลิ่นดนตรีเป็นป็อบร็อก เล่นกีตาร์ติดเสียงดิสทอร์ชั่นแตกๆ มีเพลงดังอมตะอย่าง “อธิษฐานรัก” ที่น้าแดง น้าป้อม ผลัดกันร้องอย่างคร่ำครวญ โหยหา ได้อย่างถึงอารมณ์
ในชุดอธิษฐานรักยังมีเพลงสุดท้ายของอัลบั้มเป็นเพลงเด่นอีกหนึ่งที่ฟังแล้วเหมือนการบอกเป็นนัยๆถึงอนาคตของวง นั่นก็คือ เพลง “จำจากจร” ที่มาในอารมณ์เหงาเศร้าของการลาจาก
“...ล๊า ลาที มิได้ลาจาก...จร จำพราก แสนไกล ล๊า ลาไป หัวใจยังอยู่ และจะคงอยู่เพื่อเธอ...”
บางส่วนของเนื้อเพลงในจำจากจรร้องไว้อย่างนั้น แต่ในความเป็นจริง หลังจากออกอัลบั้มอธิฐานรักมาได้ไม่กี่เดือน วงชาตรีช็อคแฟนเพลงด้วยการประกาศแยกวงอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 พ.ค. 2528 ณ ลานโลกดนตรี ท่ามกลางความอาลัยอาวรณ์ของแฟนเพลงที่มาชมคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของวงชาตรีกันอย่างเนืองแน่น
เป็นการลาจากจรของวงชาตรีที่ทิ้งผลงานฝากไว้เป็นตำนานเคียงคู่วงการเพลงไทยมากมาย
นับเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่วันนี้ชื่อ“ชาตรี”ของพวกเขายังอยู่ยงคงกระพัน คงความเป็นอมตะอยู่ไม่เสื่อมคลาย
*****************************************
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
- ในปี 2550 ชาตรีกลับมาร่วมตัวเล่นคอนเสิร์ตด้วยกันอีกครั้งในชื่อ "33 ปี ชาตรี The Memory Concert"
- ปี 2552 มีข่าวว่าชาตรีจะกลับมารวมตัวกันออกอัลบั้มใหม่แต่ก็เงียบหายไป
- ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจาก หนังสือ "ชาตรี 3 ทศวรรษ บทเพลงแห่งความทรงจำ" ของ EMC เรียบเรียงโดย วันชัย สุนทรถาวร แห่งวงสิชล
- ขอจบบทความของตำนานวงชาตรีแต่เพียงเท่านี้
*****************************************
คลิกฟังเพลง รักครั้งแรก ของชาตรี
*****************************************
บทความแนะนำเพลงน่าสนใจย้อนยุค จะนำเสนอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
คอนเสิร์ต
Eric Legnini Trio Jazz Live
สมาคมฝรั่งเศส จัดการแสดงคอนเสิร์ต “Eric Legnini Trio Jazz Live” ในวันเสาร์ที่ 11 มิ.ย. 54 ณ ห้องออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสฯ
คอนเสิร์ตครั้งนี้ Eric Legnini ผู้เคยมาสร้างความประทับใจในการแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทยเมื่อปี 2008 จะมาพร้อมกับวงทรีโอของเขา เอริค เป็นนักเปียโนแจ๊ซชาวเบลเยียม ที่เริ่มเล่นเปียโนมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เอริคมีอัลบั้มแรกชื่อ Never let me go ก่อนจะมีอัลบั้มต่อๆมาในผลงานการสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยม เป็นดนตรีแจ๊ซที่ผสมผสานความเป็นโซล-ฟั้งก์ และท่วงทำนองเฉพาะตัวของเขาไปเข้าไปในแนวทางเฉพาะตัว
สำหรับผู้สนใจคอนเสิร์ตครั้งนี้ จะจัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน เวลา 19.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม สมาคมฝรั่งเศสฯ ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรได้ที่ห้องสมุด สมาคมฝรั่งเศสฯ (ปิดทำการวันจันทร์) บัตรสำหรับนักศึกษาและสมาชิกราคา 250 บาท และบัตรสำหรับบุคคลทั่วไปราคา 400 บาท สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ chalanthorn.kidthang@alliance-francaise.or.th หรือโทรศัพท์ 02-670-4231 หรือ www.alliance-francaise.or.th