ในการสวดพระพุทธมนต์ บทสวดต่อจาก อริยธนคาถา คือ ธรรมนิยามสูตร ซึ่งบทสวดนี้ได้นำความในอุปปาทสูตร มาพรรณนาให้เห็นถึงสามัญญลักษณะของสังขารทั่วๆ ไป อันได้แก่ ๑. ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง อนิจจัง ๒. ความเป็นทุกข์ ทุกขัง, ๓. ความเป็นอนัตตา อนัตตา
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือ “พุทธทาสภิกขุ” ได้บรรยายไว้ว่า “สามัญญลักษณะ ที่เรียกว่า ธรรมนิยาม ซึ่งแปลว่า บทนิยายของธรรม ในที่นี้ได้แก่ ธรรมชาติ คำว่า “นิยาม” แปลว่า เครื่องกำหนด ลักษณะทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นลักษณะเครื่องกำหนดให้ทราบได้ว่า เป็นกฎของธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่ในสิ่งทั้งปวง เราควรจะกล่าวว่า สิ่งใดเป็นไปในกฎทั้ง ๓ นี้ สิ่งนั้นควรเรียกว่า เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ แต่เราไม่อาจ หรือมีโอกาสที่จะกล่าวข้อความประโยคนี้ เพราะว่าไม่มีสิ่งใด ที่ไม่เป็นไปตามกฎนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวลักษณะทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นบทนิยามแห่งธรรม”
บทสวดธรรมนิยามพร้อมคำแปล ดังนี้
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สาวัตถิยัง วิหะระติ, เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ, อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ข้าพเจ้า (พระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระอารามสร้างถวายโดยอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี ชื่อเชตวัน ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ, อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติ, ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ, วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ, สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม นั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ครั้นเมื่อตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อุปปาทา วา ฯ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อุปปาทา วา ฯ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี พอใจในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อคราวทรงผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต เผยแพร่ธรรมบรรยายระหว่างกาลทรงผนวช เรื่องสามัญญลักษณะ ๓ ดังนี้
“...สามัญญลักษณะ ๓ ประการ อันเป็นเรื่องที่ควรรู้อย่างยิ่ง เพราะเป็นความจริงแห่งชีวิต อันพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะอันเสมอกัน ในที่นี้หมายความถึงลักษณะอันเสมอกันของสังขารต่างๆ สังขารนั้นหมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นแล้วบังเกิดมีนามรูปคือมีชื่อกำหนดว่าเป็นสิ่งนั้นๆ และมีรูปกายเป็นอย่างนั้นๆ ตัวเรานี้ก็เป็นสิ่งที่ปรุงขึ้น จึงเป็นสังขารอย่างหนึ่ง และคนอื่นที่มิใช่เราก็เป็นสังขารเหมือนกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นสังขาร ทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงมีลักษณะอันเสมอกัน หรือเป็นสามัญเช่นเดียวกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครมีลักษณะเป็นพิเศษเกินกว่าใครไปได้ ในแก่นที่แท้ของสังขาร จะมีแตกต่างกันก็แต่เรื่องภายนอก
สามัญญลักษณะ ๓ ที่มีเหมือนกันทุกรูปทุกนามคือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตา “อนิจจตา” คือลักษณะของความไม่เที่ยง “ทุกขตา” คือลักษณะของความไม่ทน และ “อนัตตา” คือลักษณะของความไม่ใช่ตน
อนิจจตา คือความไม่เที่ยงนั้นได้แก่ความแปรปรวนไปไม่หยุดยั้งของสรรพสิ่งทั้งปวง จะหาสิ่งใดที่คงที่แน่นอนนั้นไม่มีเลย ย่อมแปรปรวนไปทุกขณะจิตทุกลมหายใจเข้าออก แม้ร่างกายของเรานี้ก็มีส่วนปลีกย่อยชนิดที่เล็กที่สุด คือ กลละ (Cell) สลายลงและเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุดยั้ง เป็นอันสรุปได้ว่าร่างกายเรานี้ตายอยู่ทุกขณะ และเกิดใหม่อยู่ทุกขณะ จะหาส่วนใดที่เกิดแล้วยังไม่ตายก็ไม่ได้
ส่วนในทางจิตหรือธาตุรู้แห่งตนนั้นก็ใช่ว่าจะคงที่ มีแต่ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน จิตนั้นตั้งอยู่ด้วยความคิด แต่ความคิดของเรานั้นเกิดแล้วก็ดับอยู่เป็นนิจ คิดถึงเรื่องหนึ่งแล้วก็ชักโยงให้เรื่องอื่นเข้ามาต่อเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป เช่นนึกถึงน้ำก็ต้องนึกถึงคลอง นึกถึงคลองก็นึกถึงแม่น้ำและทะเล ตลอดจนเรือแพ ตามแต่ความคิดอย่างหนึ่งจะชักนำให้เกิดความคิดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตมีเพียงอาการเดียวคือคิด เมื่อความคิดหนึ่งสิ้นไปจิตก็ดับ ความคิดใหม่เกิดขึ้นอีกจิตก็เกิดใหม่ ทั้งกายและจิตจึงมีลักษณะอนิจจตา คือความปรวนแปรแลเห็นได้ชัด
ทุกขตา หมายถึงลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ คำว่าทุกข์ในที่นี้มิใช่หมายถึงความทุกข์อันเป็นทุกขเวทนา คือความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ เพราะสังขารทั้งปวงมิใช่ว่าจะมีแต่ทุกขเวทนาเสมอกันเท่าเทียมกัน ย่อมมีสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง และอทุกขมสุขเวทนาคือความรู้สึกเป็นกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้างตามแต่กรรมต่างๆกันของแต่ละคน
แต่ทุกขตานั้นหมายความถึงลักษณะอันทนอยู่ไม่ได้ของสังขาร คือสังขารนั้นถึงจะปรวนแปรอยู่เป็นนิจ ก็พอจะรวมเข้าเป็นตอนๆได้ เช่นคนเรานั้นก็มีตอนเด็ก ตอนหนุ่มสาว และตอนชรา แต่ตอนใดตอนหนึ่งในทุกตอนๆนี้ ถึงแม้ว่าจะเห็นได้ ก็ทนอยู่ไม่ได้ เด็กก็ต้องเติบโตเป็นหนุ่มสาว จะคงเป็นเด็กตลอดไปไม่ได้ หนุ่มสาวก็จะต้องแก่ลง จะเป็นหนุ่มสาวตลอดไปไม่ได้ นี้คือสามัญญลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความเสมอกันสำหรับสังขารทุกอย่าง
อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา อันสังขารคือตัวเรานั้น เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น ประกอบด้วยของหลายอย่างเข้ามาประกอบกัน เมื่อสังขารคือที่รวมของของหลายอย่างเช่นนี้ สังขารก็คือสังขตธรรม คือสิ่งที่แยกออกได้ มิใช่ธาตุแท้ และเมื่อแยกออกได้แล้วก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นตัวตน เช่นโลหะที่เราเรียกว่านากนั้น มีขึ้นได้ด้วยเอาธาตุทองแดงและทองคำมาหลอมเข้าด้วยกัน เมื่อแยกเอาทองคำและทองแดงออกจากกันอีก นากก็ไม่มี จะหานากที่เป็นตัวตนของตนเองนั้นไม่มีเลย
ร่างกายของเราที่เห็นว่ามีขนาดมิใช่เล็กนี้ ถ้าจะพูดทางวิทยาศาสตร์ ก็ประกอบด้วยอากาศธาตุคือความว่างเปล่าและธาตุอื่นๆ อันเป็นสสาร เมื่อแยกออกแล้วจะปรากฏว่าอากาศธาตุ หรือช่องว่างระหว่างสสารนั้นมีอยู่มาก หากเอาอากาศธาตุนั้นแยกออกเสียได้ นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่า ร่างกายของมนุษย์จะมีส่วนที่เป็นสสารเหลืออยู่ประมาณเท่ากับหัวเข็มหมุดเท่านั้นเอง และสสารนั้นก็ยังแยกออกได้เป็นธาตุเกลือธาตุหินปูนและอื่นๆ
ถ้าหากจะถือว่าจิตเป็นอัตตา คือตัวเรา จิตนั้นก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่บังคับได้ แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่าจิตนั้นบังคับมิได้เลย จะมีบ้างก็เป็นครั้งคราว คือกระทำให้หยุดนิ่งสงบลง แต่เมื่อมีเรื่องภายนอกเข้ามากระทบจิตแล้ว จะบังคับมิให้เกิดความคิดนั้นไม่ได้ จิตย่อมเป็นไปตามเรื่องของมัน โดยปราศจากการบังคับ เมื่อบังคับมิได้ จิตก็ไม่มีเจ้าของ และมิใช่ตัวเราเป็นแน่แท้
เมื่อกายก็มิใช่ตัวเรา จิตก็มิใช่ตัวเรา เช่นนี้ สิ่งที่เป็นตัวเราโดยแท้ก็หาพบไม่ เป็นแต่ความเข้าใจผิด และความยึดเหนี่ยวในสิ่งที่ผิดเท่านั้นเอง อนัตตาคือความไม่ใช่ตน จึงเป็นลักษณะอันสามัญเสมอกันแห่งสังขารทั้งหลายอีกอย่างหนึ่ง
อนิจจตา ความแปรปรวนไม่เที่ยง ทุกขตา ความไม่ทนอยู่ได้ และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน จึงเป็นสามัญญลักษณะของสังขารทั้งปวงเสมอกัน ไม่มีข้อยกเว้นอย่างไรทั้งสิ้น”
เมื่อมีความเข้าใจในสามัญญลักษณะเช่นนี้ จิตใจย่อมตระหนักถึงสัจธรรมของโลก ทำให้เกิดความไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง สามารถดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างสม่ำเสมอ อันจักส่งผลให้ทำสุขประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม มาตลอดพระชนมชีพ พระองค์จึงทรงสถิตในหฤทัยพสกนิกรตลอดไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือ “พุทธทาสภิกขุ” ได้บรรยายไว้ว่า “สามัญญลักษณะ ที่เรียกว่า ธรรมนิยาม ซึ่งแปลว่า บทนิยายของธรรม ในที่นี้ได้แก่ ธรรมชาติ คำว่า “นิยาม” แปลว่า เครื่องกำหนด ลักษณะทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นลักษณะเครื่องกำหนดให้ทราบได้ว่า เป็นกฎของธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่ในสิ่งทั้งปวง เราควรจะกล่าวว่า สิ่งใดเป็นไปในกฎทั้ง ๓ นี้ สิ่งนั้นควรเรียกว่า เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ แต่เราไม่อาจ หรือมีโอกาสที่จะกล่าวข้อความประโยคนี้ เพราะว่าไม่มีสิ่งใด ที่ไม่เป็นไปตามกฎนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวลักษณะทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นบทนิยามแห่งธรรม”
บทสวดธรรมนิยามพร้อมคำแปล ดังนี้
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สาวัตถิยัง วิหะระติ, เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ, อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ข้าพเจ้า (พระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระอารามสร้างถวายโดยอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี ชื่อเชตวัน ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ, อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติ, ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ, วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ, สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม นั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ครั้นเมื่อตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อุปปาทา วา ฯ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อุปปาทา วา ฯ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี พอใจในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อคราวทรงผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต เผยแพร่ธรรมบรรยายระหว่างกาลทรงผนวช เรื่องสามัญญลักษณะ ๓ ดังนี้
“...สามัญญลักษณะ ๓ ประการ อันเป็นเรื่องที่ควรรู้อย่างยิ่ง เพราะเป็นความจริงแห่งชีวิต อันพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะอันเสมอกัน ในที่นี้หมายความถึงลักษณะอันเสมอกันของสังขารต่างๆ สังขารนั้นหมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นแล้วบังเกิดมีนามรูปคือมีชื่อกำหนดว่าเป็นสิ่งนั้นๆ และมีรูปกายเป็นอย่างนั้นๆ ตัวเรานี้ก็เป็นสิ่งที่ปรุงขึ้น จึงเป็นสังขารอย่างหนึ่ง และคนอื่นที่มิใช่เราก็เป็นสังขารเหมือนกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นสังขาร ทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงมีลักษณะอันเสมอกัน หรือเป็นสามัญเช่นเดียวกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครมีลักษณะเป็นพิเศษเกินกว่าใครไปได้ ในแก่นที่แท้ของสังขาร จะมีแตกต่างกันก็แต่เรื่องภายนอก
สามัญญลักษณะ ๓ ที่มีเหมือนกันทุกรูปทุกนามคือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตา “อนิจจตา” คือลักษณะของความไม่เที่ยง “ทุกขตา” คือลักษณะของความไม่ทน และ “อนัตตา” คือลักษณะของความไม่ใช่ตน
อนิจจตา คือความไม่เที่ยงนั้นได้แก่ความแปรปรวนไปไม่หยุดยั้งของสรรพสิ่งทั้งปวง จะหาสิ่งใดที่คงที่แน่นอนนั้นไม่มีเลย ย่อมแปรปรวนไปทุกขณะจิตทุกลมหายใจเข้าออก แม้ร่างกายของเรานี้ก็มีส่วนปลีกย่อยชนิดที่เล็กที่สุด คือ กลละ (Cell) สลายลงและเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุดยั้ง เป็นอันสรุปได้ว่าร่างกายเรานี้ตายอยู่ทุกขณะ และเกิดใหม่อยู่ทุกขณะ จะหาส่วนใดที่เกิดแล้วยังไม่ตายก็ไม่ได้
ส่วนในทางจิตหรือธาตุรู้แห่งตนนั้นก็ใช่ว่าจะคงที่ มีแต่ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน จิตนั้นตั้งอยู่ด้วยความคิด แต่ความคิดของเรานั้นเกิดแล้วก็ดับอยู่เป็นนิจ คิดถึงเรื่องหนึ่งแล้วก็ชักโยงให้เรื่องอื่นเข้ามาต่อเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป เช่นนึกถึงน้ำก็ต้องนึกถึงคลอง นึกถึงคลองก็นึกถึงแม่น้ำและทะเล ตลอดจนเรือแพ ตามแต่ความคิดอย่างหนึ่งจะชักนำให้เกิดความคิดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตมีเพียงอาการเดียวคือคิด เมื่อความคิดหนึ่งสิ้นไปจิตก็ดับ ความคิดใหม่เกิดขึ้นอีกจิตก็เกิดใหม่ ทั้งกายและจิตจึงมีลักษณะอนิจจตา คือความปรวนแปรแลเห็นได้ชัด
ทุกขตา หมายถึงลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ คำว่าทุกข์ในที่นี้มิใช่หมายถึงความทุกข์อันเป็นทุกขเวทนา คือความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ เพราะสังขารทั้งปวงมิใช่ว่าจะมีแต่ทุกขเวทนาเสมอกันเท่าเทียมกัน ย่อมมีสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง และอทุกขมสุขเวทนาคือความรู้สึกเป็นกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้างตามแต่กรรมต่างๆกันของแต่ละคน
แต่ทุกขตานั้นหมายความถึงลักษณะอันทนอยู่ไม่ได้ของสังขาร คือสังขารนั้นถึงจะปรวนแปรอยู่เป็นนิจ ก็พอจะรวมเข้าเป็นตอนๆได้ เช่นคนเรานั้นก็มีตอนเด็ก ตอนหนุ่มสาว และตอนชรา แต่ตอนใดตอนหนึ่งในทุกตอนๆนี้ ถึงแม้ว่าจะเห็นได้ ก็ทนอยู่ไม่ได้ เด็กก็ต้องเติบโตเป็นหนุ่มสาว จะคงเป็นเด็กตลอดไปไม่ได้ หนุ่มสาวก็จะต้องแก่ลง จะเป็นหนุ่มสาวตลอดไปไม่ได้ นี้คือสามัญญลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความเสมอกันสำหรับสังขารทุกอย่าง
อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา อันสังขารคือตัวเรานั้น เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น ประกอบด้วยของหลายอย่างเข้ามาประกอบกัน เมื่อสังขารคือที่รวมของของหลายอย่างเช่นนี้ สังขารก็คือสังขตธรรม คือสิ่งที่แยกออกได้ มิใช่ธาตุแท้ และเมื่อแยกออกได้แล้วก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นตัวตน เช่นโลหะที่เราเรียกว่านากนั้น มีขึ้นได้ด้วยเอาธาตุทองแดงและทองคำมาหลอมเข้าด้วยกัน เมื่อแยกเอาทองคำและทองแดงออกจากกันอีก นากก็ไม่มี จะหานากที่เป็นตัวตนของตนเองนั้นไม่มีเลย
ร่างกายของเราที่เห็นว่ามีขนาดมิใช่เล็กนี้ ถ้าจะพูดทางวิทยาศาสตร์ ก็ประกอบด้วยอากาศธาตุคือความว่างเปล่าและธาตุอื่นๆ อันเป็นสสาร เมื่อแยกออกแล้วจะปรากฏว่าอากาศธาตุ หรือช่องว่างระหว่างสสารนั้นมีอยู่มาก หากเอาอากาศธาตุนั้นแยกออกเสียได้ นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่า ร่างกายของมนุษย์จะมีส่วนที่เป็นสสารเหลืออยู่ประมาณเท่ากับหัวเข็มหมุดเท่านั้นเอง และสสารนั้นก็ยังแยกออกได้เป็นธาตุเกลือธาตุหินปูนและอื่นๆ
ถ้าหากจะถือว่าจิตเป็นอัตตา คือตัวเรา จิตนั้นก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่บังคับได้ แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่าจิตนั้นบังคับมิได้เลย จะมีบ้างก็เป็นครั้งคราว คือกระทำให้หยุดนิ่งสงบลง แต่เมื่อมีเรื่องภายนอกเข้ามากระทบจิตแล้ว จะบังคับมิให้เกิดความคิดนั้นไม่ได้ จิตย่อมเป็นไปตามเรื่องของมัน โดยปราศจากการบังคับ เมื่อบังคับมิได้ จิตก็ไม่มีเจ้าของ และมิใช่ตัวเราเป็นแน่แท้
เมื่อกายก็มิใช่ตัวเรา จิตก็มิใช่ตัวเรา เช่นนี้ สิ่งที่เป็นตัวเราโดยแท้ก็หาพบไม่ เป็นแต่ความเข้าใจผิด และความยึดเหนี่ยวในสิ่งที่ผิดเท่านั้นเอง อนัตตาคือความไม่ใช่ตน จึงเป็นลักษณะอันสามัญเสมอกันแห่งสังขารทั้งหลายอีกอย่างหนึ่ง
อนิจจตา ความแปรปรวนไม่เที่ยง ทุกขตา ความไม่ทนอยู่ได้ และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน จึงเป็นสามัญญลักษณะของสังขารทั้งปวงเสมอกัน ไม่มีข้อยกเว้นอย่างไรทั้งสิ้น”
เมื่อมีความเข้าใจในสามัญญลักษณะเช่นนี้ จิตใจย่อมตระหนักถึงสัจธรรมของโลก ทำให้เกิดความไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง สามารถดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างสม่ำเสมอ อันจักส่งผลให้ทำสุขประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม มาตลอดพระชนมชีพ พระองค์จึงทรงสถิตในหฤทัยพสกนิกรตลอดไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)