ในการสวดพระพุทธมนต์ บทสวดต่อจาก ธรรมนิยามสูตร คือ ติลักขณาทิคาถา ซึ่งบทสวดนี้ได้นำความจาก อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ในมรรควรรคที่ ๒๐ เรื่องที่ ๒ ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก และในปัณฑิตวรรคที่ ๖ เรื่องที่ ๑๐ การฟังธรรม และเรื่องที่ ๑๑ ภิกษุอาคันตุกะ มาร้อยเรียงเป็นคาถา ที่แสดงถึงธรรมปฏิบัติในส่วนวิปัสสนา มีบทสวดพร้อมคำแปล ดังนี้
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
ก็ชนเหล่าใดแลประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย
อาศัยธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว
โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก
อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์ธรรมแห่งความตรัสรู้
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
(และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีในการละเลิกความถือมั่น
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา
ชนเหล่านั้นๆ เป็นพระขีณาสพรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
แต่นี้จักขอกล่าวถึงที่มาของคาถาตามที่ปรากฏในอรรถกถาดังนี้
มรรควรรคที่ ๒๐ เรื่องที่ ๒ ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูปเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว ก็ออกไปปฏิบัติธรรมนั้นด้วยพากเพียรพยายามอยู่ในป่า แต่ก็ไม่บรรลุพระอรหัต ท่านเหล่านั้นจึงคิดว่า “เราจักเรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ” แล้วพาไปสู่สำนักพระศาสดา
พระศาสดาทรงพิจารณาว่า “กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่สบายของภิกษุเหล่านี้?” จึงทรงดำริว่า “ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะ สิ้นสองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร” แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารแม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี” แล้วตรัสพระคาถาว่า
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล
พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความว่า เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า “ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะต้องดับในภพนั้นๆเอง” เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์อันเนื่องด้วยการบริหารขันธ์นี้ เมื่อหน่ายย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกิจ มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น
ในคาถาที่ ๒ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติฯ คาถาที่ ๓ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ก็มีที่มาและอธิบายเหมือนคาถาที่ ๑ นี้ (อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ อันเป็นสามัญญลักษณะ มีอธิบายอยู่ในบทสวดธัมมนิยามแล้ว
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ เรื่องที่ ๑๐ การฟังธรรม พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี พวกมนุษย์ผู้อยู่ถนนสายเดียวกันในกรุงสาวัตถี เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ถวายทานโดยรวมกันเป็นคณะแล้ว ก็ให้ทำการฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง แต่ไม่อาจฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งได้ บางพวกเป็นผู้อาศัยความยินดีในกามก็กลับไปเรือนเสียก่อน บางพวกเป็นผู้อาศัยโทสะไปแล้ว แต่บางพวกง่วงงุนเต็มที นั่งสัปหงกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ไม่อาจจะฟังธรรมได้
ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุก็ปรารภถึงเหตุการณ์นี้กันในธรรมสภา เมื่อพระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ?” ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่กำลังปรารภกันอยู่
พระองค์จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์เหล่านี้ อาศัยภพแล้ว เลยข้องอยู่ในภพนั่นเอง โดยดาษดื่นชนิดผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย” แล้วตรัสพระคาถาว่า
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโนฯ
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว
ก็ชนเหล่าใดแลประพฤติสมควรแก่ธรรม
ในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว
ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ เรื่องที่ ๑๑ ภิกษุอาคันตุกะ พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จำพรรษาอยู่ในแคว้นโกศล ออกพรรษาแล้ว ปรึกษากันว่า "จักเฝ้าพระศาสดา" จึงไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สุดแห่งหนึ่ง พระศาสดาทรงพิจารณาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์แก่จริยาของพวกเธอ เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโตฯ
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา
บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย
อาศัยธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว
ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก
อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์ธรรมแห่งความตรัสรู้
(และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีในการละเลิกความถือมั่น
ชนเหล่านั้นๆ เป็นพระขีณาสพ รุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
ในบทนี้ ธรรมดำคืออกุศลธรรม เช่นกายทุจริต เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมขาวคือกุศลธรรม เช่นกายสุจริต ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรเจริญตั้งแต่ออกบวช จนถึงอรหัตมรรค
เจริญอย่างไร? คือออกจากอาลัย ปรารภธรรมอันหาอาลัยมิได้ อธิบายว่า ธรรมเป็นเหตุให้อาลัย ตรัสเรียกว่าโอกะ ธรรมเป็นเหตุให้ไม่มีอาลัย ตรัสเรียกว่าอโนกะ บัณฑิตออกจากธรรมเป็นเหตุให้อาลัยแล้ว เจาะจง คือปรารภพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นเหตุไม่มีอาลัย เมื่อปรารถนาพระนิพพานนั้น ควรเจริญธรรมขาว
ซึ่งผลแห่งการเจริญธรรมนี้ ทำให้เป็นผู้มีอานุภาพ คือผู้ยังธรรม ต่างโดยขันธ์เป็นต้นให้รุ่งเรือง แล้วดำรงมั่นอยู่ ด้วยความรุ่งเรือง คือญาณอันกำกับด้วยอรหัตมรรค ชนเหล่าชั้นชื่อว่าดับสนิทแล้วในขันธาทิโลกนี้ คือปรินิพพานแล้ว ด้วยปรินิพพาน ๒ อย่าง คือด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะกิเลสวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ตั้งแต่เวลาที่บรรลุพระอรหัต และด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า อนุปาทิเสส เพราะขันธวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ด้วยดับจริมจิต คือถึงความหาบัญญัติไม่ได้ ดังประทีปหาเชื้อมิได้ฉะนั้น
เมื่อพิจารณาถึงที่มาของติลักขณาทิคาถา ย่อมเห็นถึงธรรมปฏิบัติที่พระศาสดาได้ยกมาสอนแก่พระภิกษุในครั้งนั้น เมื่อท่านนำไปปฏิบัติเป็นธรรมวิปัสสนา ก็ย่อมเห็นทุกข์ในสามัญญลักษณะ ที่สุดจิตของท่านก็เบื่อหน่ายในขันธ์ที่เห็น นำให้ทางเดินตามมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้ได้ในที่สุด
ด้วยเหตุนี้แล จึงกล่าวว่า ติลักขณาทิคาถา ธรรมปฏิบัติวิปัสสนา แล.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
ก็ชนเหล่าใดแลประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย
อาศัยธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว
โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก
อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์ธรรมแห่งความตรัสรู้
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
(และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีในการละเลิกความถือมั่น
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา
ชนเหล่านั้นๆ เป็นพระขีณาสพรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
แต่นี้จักขอกล่าวถึงที่มาของคาถาตามที่ปรากฏในอรรถกถาดังนี้
มรรควรรคที่ ๒๐ เรื่องที่ ๒ ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูปเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว ก็ออกไปปฏิบัติธรรมนั้นด้วยพากเพียรพยายามอยู่ในป่า แต่ก็ไม่บรรลุพระอรหัต ท่านเหล่านั้นจึงคิดว่า “เราจักเรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ” แล้วพาไปสู่สำนักพระศาสดา
พระศาสดาทรงพิจารณาว่า “กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่สบายของภิกษุเหล่านี้?” จึงทรงดำริว่า “ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะ สิ้นสองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร” แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารแม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี” แล้วตรัสพระคาถาว่า
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล
พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความว่า เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า “ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะต้องดับในภพนั้นๆเอง” เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์อันเนื่องด้วยการบริหารขันธ์นี้ เมื่อหน่ายย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกิจ มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น
ในคาถาที่ ๒ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติฯ คาถาที่ ๓ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ก็มีที่มาและอธิบายเหมือนคาถาที่ ๑ นี้ (อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ อันเป็นสามัญญลักษณะ มีอธิบายอยู่ในบทสวดธัมมนิยามแล้ว
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ เรื่องที่ ๑๐ การฟังธรรม พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี พวกมนุษย์ผู้อยู่ถนนสายเดียวกันในกรุงสาวัตถี เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ถวายทานโดยรวมกันเป็นคณะแล้ว ก็ให้ทำการฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง แต่ไม่อาจฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งได้ บางพวกเป็นผู้อาศัยความยินดีในกามก็กลับไปเรือนเสียก่อน บางพวกเป็นผู้อาศัยโทสะไปแล้ว แต่บางพวกง่วงงุนเต็มที นั่งสัปหงกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ไม่อาจจะฟังธรรมได้
ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุก็ปรารภถึงเหตุการณ์นี้กันในธรรมสภา เมื่อพระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ?” ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่กำลังปรารภกันอยู่
พระองค์จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาสัตว์เหล่านี้ อาศัยภพแล้ว เลยข้องอยู่ในภพนั่นเอง โดยดาษดื่นชนิดผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย” แล้วตรัสพระคาถาว่า
อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโนฯ
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว
ก็ชนเหล่าใดแลประพฤติสมควรแก่ธรรม
ในธรรมที่เรากล่าวชอบแล้ว
ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ เรื่องที่ ๑๑ ภิกษุอาคันตุกะ พรรณนาว่า ครั้งที่พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จำพรรษาอยู่ในแคว้นโกศล ออกพรรษาแล้ว ปรึกษากันว่า "จักเฝ้าพระศาสดา" จึงไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สุดแห่งหนึ่ง พระศาสดาทรงพิจารณาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์แก่จริยาของพวกเธอ เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโตฯ
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา
บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย
อาศัยธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว
ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก
อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์ธรรมแห่งความตรัสรู้
(และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดีในการละเลิกความถือมั่น
ชนเหล่านั้นๆ เป็นพระขีณาสพ รุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
ในบทนี้ ธรรมดำคืออกุศลธรรม เช่นกายทุจริต เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมขาวคือกุศลธรรม เช่นกายสุจริต ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรเจริญตั้งแต่ออกบวช จนถึงอรหัตมรรค
เจริญอย่างไร? คือออกจากอาลัย ปรารภธรรมอันหาอาลัยมิได้ อธิบายว่า ธรรมเป็นเหตุให้อาลัย ตรัสเรียกว่าโอกะ ธรรมเป็นเหตุให้ไม่มีอาลัย ตรัสเรียกว่าอโนกะ บัณฑิตออกจากธรรมเป็นเหตุให้อาลัยแล้ว เจาะจง คือปรารภพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นเหตุไม่มีอาลัย เมื่อปรารถนาพระนิพพานนั้น ควรเจริญธรรมขาว
ซึ่งผลแห่งการเจริญธรรมนี้ ทำให้เป็นผู้มีอานุภาพ คือผู้ยังธรรม ต่างโดยขันธ์เป็นต้นให้รุ่งเรือง แล้วดำรงมั่นอยู่ ด้วยความรุ่งเรือง คือญาณอันกำกับด้วยอรหัตมรรค ชนเหล่าชั้นชื่อว่าดับสนิทแล้วในขันธาทิโลกนี้ คือปรินิพพานแล้ว ด้วยปรินิพพาน ๒ อย่าง คือด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะกิเลสวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ตั้งแต่เวลาที่บรรลุพระอรหัต และด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า อนุปาทิเสส เพราะขันธวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ด้วยดับจริมจิต คือถึงความหาบัญญัติไม่ได้ ดังประทีปหาเชื้อมิได้ฉะนั้น
เมื่อพิจารณาถึงที่มาของติลักขณาทิคาถา ย่อมเห็นถึงธรรมปฏิบัติที่พระศาสดาได้ยกมาสอนแก่พระภิกษุในครั้งนั้น เมื่อท่านนำไปปฏิบัติเป็นธรรมวิปัสสนา ก็ย่อมเห็นทุกข์ในสามัญญลักษณะ ที่สุดจิตของท่านก็เบื่อหน่ายในขันธ์ที่เห็น นำให้ทางเดินตามมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้ได้ในที่สุด
ด้วยเหตุนี้แล จึงกล่าวว่า ติลักขณาทิคาถา ธรรมปฏิบัติวิปัสสนา แล.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 194 กุมภาพันธ์ 2560 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)