นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกาย ส่งผลทำให้เซลล์เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในปริมาณมากกว่าปกติ ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย จากสถิติพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมา คือ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 60,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 7 ราย
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม เป็นต้น รวมถึงการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด และปัจจัยจากภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
แม้โรคมะเร็งจะเป็นโรคร้าย แต่เราสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ ดังนี้
• เลือกทานอาหารมีประโยชน์ หลากหลาย และผักผลไม้
• ตรวจร่างกายเป็นประจำ
• ไม่สูบบุหรี่
• ไม่มีเซ็กซ์มั่ว
• ไม่มัวเมาสุรา
• ไม่ตากแดดจ้า
• ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ
• หลีกเลี่ยงการรับมลพิษจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมและในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสสารพิษหรือสารเคมีควรปฏิบัติตามกฎข้อบังคับหรือคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
• หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดมากเกินไป
• ควรลดความเครียด
• พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิด
• ควรตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถตรวจได้แม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย จากสถิติพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมา คือ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 60,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 7 ราย
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม เป็นต้น รวมถึงการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด และปัจจัยจากภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
แม้โรคมะเร็งจะเป็นโรคร้าย แต่เราสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ ดังนี้
• เลือกทานอาหารมีประโยชน์ หลากหลาย และผักผลไม้
• ตรวจร่างกายเป็นประจำ
• ไม่สูบบุหรี่
• ไม่มีเซ็กซ์มั่ว
• ไม่มัวเมาสุรา
• ไม่ตากแดดจ้า
• ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ
• หลีกเลี่ยงการรับมลพิษจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมและในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสสารพิษหรือสารเคมีควรปฏิบัติตามกฎข้อบังคับหรือคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
• หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดมากเกินไป
• ควรลดความเครียด
• พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิด
• ควรตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถตรวจได้แม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)