เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly-UNGA) นายปีเตอร์ ทอมสัน( Peter Thomson) ประธานสมัชชาสหประชาชาติ ได้จัดประชุมสมัชชาสหประชาชาติ โดยมีวาระพิเศษเพื่อแสดงความอาลัย และสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งได้ยืนสงบนิ่งเพื่อแสดงความอาลัยเป็นเวลา 1 นาที
ในโอกาสนี้ นายบัน คีมูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติ และประธานกลุ่มภูมิภาคต่างๆ รวมถึงเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรผู้แทนสหรัฐฯ ได้กล่าวคำถวายสดุดีเพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้สรุปการประชุมสมัชชาสหประชาชาติวาระพิเศษนี้ เผยแพร่ในเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2559 ดังนี้
นายปีเตอร์ ทอมสัน (Peter Thomson) ประธานสมัชชาสหประชาชาติ (ฟิจิ) แสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาล และปวงชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และได้รับการเคารพเทิดทูนอย่างที่สุด เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับพสกนิกร ตลอดการครองราชย์ 70 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการยึดมั่นในพระราชปณิธานที่ว่าจะ “ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อย่างแท้จริง ในเวทีพหุภาคี นานาประเทศล้วนยอมรับพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เช่น รางวัล UN Development Programme (UNDP) Human Development Lifetime Achievement Award เมื่อปี 2549 และการกำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันดินโลก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความสำคัญของดินต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นายบัน คี มูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ว่า ทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำพาประเทศให้ทันสมัย ทรงนำความมั่นคงและเสถียรภาพมาสู่ประเทศในช่วงที่บ้านเมืองเกิดวิกฤต ความเศร้าโศกของประชาชนทั้งประเทศเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีความสำคัญต่อประชาชนของพระองค์อย่างยิ่งใหญ่เพียงใด ความมุ่งมั่นของพระองค์ที่ทรงงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง สหประชาชาติจะร่วมทำงานเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาลและประชาชนไทยต่อไป
นายคาฮา อิมนัดเซ (Kaha Imnadze) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรจอร์เจียประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ได้ย้ำถึงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของประชาชนทั้งประเทศ ทรงได้รับการชื่นชมและเคารพจากประเทศต่างๆทั่วโลก ทรงเป็นผู้นำที่แท้จริงที่เป็นแรงบันดาลใจของประเทศไทยและของโลก พระองค์ทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยในทุกด้าน และทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนทำงานเพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง
ดังที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “คนดีย่อมทำให้คนอื่นเป็นคนดี ความดีจะกระตุ้นให้เกิดความดีในสังคมและทำให้ผู้อื่นเป็นคนดี” พระองค์จะเป็นที่จดจำในฐานะทรงเป็นผู้นำที่โดดเด่น เสียสละทุ่มเทเพื่อประเทศ ทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” เป็นนักคิดผู้มีวิสัยทัศน์ ที่มีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาระดับโลก อีกทั้งยังทรงใช้พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี เป็นสะพานสานสัมพันธ์และหล่อหลอมมิตรภาพด้วย
นายคริสเตียน บาร์รอส เมเล็ต (Cristián Barros Melet) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรชิลีประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและแคริบเบียน แสดงความชื่นชมในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดช่วงเจ็ดทศวรรษของการครองราชย์ นับแต่ พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงได้รับความเคารพรักและเทิดทูนจากประชาชน เพราะพระองค์ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีและความก้าวหน้าของประชาชนเสมอ UN Development Programme (UNDP) จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “Human Development Lifetime Achievement Award” เมื่อปี 2549
นอกจากนั้น ทรงได้รับการยอมรับในระดับโลกในฐานะประมุขแห่งรัฐที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างเอกภาพและสันติภาพให้กับคนในชาติ
นายอับดุลลาห์ วาฟี (Abdallah Wafy) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไนเจอร์ประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศแอฟริกา ได้ย้ำถึงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่ประจักษ์ได้จากโครงการที่ทรงริเริ่มกว่า 4,000 โครงการ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสั่งสมจากประสบการณ์ด้านการพัฒนา ที่ทรงดำเนินการมาตลอดพระชนม์ชีพ และเป็นแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
มรดกของพระองค์จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศไทยและประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายมานซูร์ อายัด อโลไทบี (Mansour Ayyad Alotaibi) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรคูเวตประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก แสดงความชื่นชมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และทุ่มเทพระวรกายด้วยความรักในพสกนิกรตลอดรัชสมัย ทรงมีบทบาทในการสร้างสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้ง และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทำให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับต้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระราชกรณียกิจที่เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก นำไปสู่การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “Human Development Lifetime Achievement Award” จาก UN Development Programme (UNDP)
การสวรรคตของพระองค์ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของไทยและของโลก
นายแมทธิว รีครอฟต์ (Matthew Rycroft) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ขณะเดียวกันก็แสดงความชื่นชมต่อการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก โดยขึ้นครองราชย์ในช่วงหนึ่งปีหลังจากการก่อตั้งสหประชาชาติ ซึ่งไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ทรงปกครองประเทศด้วยวิสัยทัศน์ สร้างเอกภาพและน้ำหนึ่งใจเดียวกันของปวงชนตลอดรัชกาล
ประชาคมระหว่างประเทศจะน้อมรำลึกถึงพระองค์ ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ผู้สนับสนุนการพัฒนา พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ ดนตรี และการถ่ายภาพ อีกทั้งจะทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งเสถียรภาพของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป ผลงานของพระองค์ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญอย่างแท้จริง
นางซาแมนทา พาวเวอร์ (Samantha Power) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียครั้งสำคัญของประเทศไทย และย้ำถึงสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างไทยและสหรัฐฯ จากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ และประทับที่เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ของสหรัฐฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ซึ่งได้ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ต่อที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐฯ ในการเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 1960 สหรัฐฯ น้อมรำลึกถึงพระราชดำรัสในการพระราชทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนที่ว่า ทรงประสงค์จะถูกจดจำเพียงว่า ทรงได้บำเพ็ญประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระราชดำริเรื่องนี้ หมายถึงการให้ความช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง และประชาชนระดับรากหญ้าในทุกด้าน
พระวิริยะอุตสาหะและพระอัจริยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือพสกนิกร ด้วยพระองค์เอง อาทิ โครงการแก้มลิง และโครงการอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่มีการจดทะเบียน น่าชื่นชมอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของชาวไทย และโลกที่ได้มีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ในฐานะผู้แทนประเทศไทย แสดงความขอบคุณ และรู้สึกซาบซึ้งใจที่สมัชชาสหประชาชาติได้จัดวาระพิเศษเพื่อถวายสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นในวันนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพระราชกรณียกิจและสิ่งที่พระองค์ทรงทุ่มเทเพื่อปวงชนชาวไทยตลอด 70 ปีของการครองราชย์ เป็นที่รับรู้ไม่เพียงแต่ในหัวใจของประชาชนไทย แต่ยังเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งได้ถวายรางวัลที่ทรงคุณค่าเพื่อเทิดพระเกียรติสำหรับความสำเร็จที่ได้ทรงทุ่มเทด้วยพระวิริยะอุตสาหะเพื่อประชาชนของพระองค์ ได้แก่ เหรียญ Agricola ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อปี ค.ศ. 1995, รางวัล UN-HABITAT Scroll of Honour Award ปี ค.ศ. 2003, รางวัล Human development lifetime achievement award ของ United Nations Development Programme (UNDP) เมื่อปี ค.ศ. 2006 และรางวัล WIPO global leader award ปี ค.ศ. 2009
นอกจากนี้ เพื่อน้อมรำลึกในพระราชกรณียกิจด้านการวิจัยและพัฒนาดิน สหประชาชาติยังได้กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพเป็นวันดินโลก (World Soil Day) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 อีกด้วย จากโครงการพัฒนาหลายพันโครงการทั่วประเทศ ได้สั่งสมและพัฒนาเป็น “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและเป็นกรอบในการตัดสินใจ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังได้รับการยอมรับในฐานะแนวทางที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเปิดฟังเทปบันทึกวาระพิเศษดังกล่าวเพิ่มเติม ทางเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
ในโอกาสนี้ นายบัน คีมูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติ และประธานกลุ่มภูมิภาคต่างๆ รวมถึงเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรผู้แทนสหรัฐฯ ได้กล่าวคำถวายสดุดีเพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้สรุปการประชุมสมัชชาสหประชาชาติวาระพิเศษนี้ เผยแพร่ในเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2559 ดังนี้
นายปีเตอร์ ทอมสัน (Peter Thomson) ประธานสมัชชาสหประชาชาติ (ฟิจิ) แสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาล และปวงชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และได้รับการเคารพเทิดทูนอย่างที่สุด เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับพสกนิกร ตลอดการครองราชย์ 70 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการยึดมั่นในพระราชปณิธานที่ว่าจะ “ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อย่างแท้จริง ในเวทีพหุภาคี นานาประเทศล้วนยอมรับพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เช่น รางวัล UN Development Programme (UNDP) Human Development Lifetime Achievement Award เมื่อปี 2549 และการกำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันดินโลก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความสำคัญของดินต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นายบัน คี มูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ว่า ทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำพาประเทศให้ทันสมัย ทรงนำความมั่นคงและเสถียรภาพมาสู่ประเทศในช่วงที่บ้านเมืองเกิดวิกฤต ความเศร้าโศกของประชาชนทั้งประเทศเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีความสำคัญต่อประชาชนของพระองค์อย่างยิ่งใหญ่เพียงใด ความมุ่งมั่นของพระองค์ที่ทรงงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง สหประชาชาติจะร่วมทำงานเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาลและประชาชนไทยต่อไป
นายคาฮา อิมนัดเซ (Kaha Imnadze) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรจอร์เจียประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ได้ย้ำถึงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของประชาชนทั้งประเทศ ทรงได้รับการชื่นชมและเคารพจากประเทศต่างๆทั่วโลก ทรงเป็นผู้นำที่แท้จริงที่เป็นแรงบันดาลใจของประเทศไทยและของโลก พระองค์ทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยในทุกด้าน และทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนทำงานเพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง
ดังที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “คนดีย่อมทำให้คนอื่นเป็นคนดี ความดีจะกระตุ้นให้เกิดความดีในสังคมและทำให้ผู้อื่นเป็นคนดี” พระองค์จะเป็นที่จดจำในฐานะทรงเป็นผู้นำที่โดดเด่น เสียสละทุ่มเทเพื่อประเทศ ทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” เป็นนักคิดผู้มีวิสัยทัศน์ ที่มีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาระดับโลก อีกทั้งยังทรงใช้พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี เป็นสะพานสานสัมพันธ์และหล่อหลอมมิตรภาพด้วย
นายคริสเตียน บาร์รอส เมเล็ต (Cristián Barros Melet) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรชิลีประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและแคริบเบียน แสดงความชื่นชมในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดช่วงเจ็ดทศวรรษของการครองราชย์ นับแต่ พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงได้รับความเคารพรักและเทิดทูนจากประชาชน เพราะพระองค์ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีและความก้าวหน้าของประชาชนเสมอ UN Development Programme (UNDP) จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “Human Development Lifetime Achievement Award” เมื่อปี 2549
นอกจากนั้น ทรงได้รับการยอมรับในระดับโลกในฐานะประมุขแห่งรัฐที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างเอกภาพและสันติภาพให้กับคนในชาติ
นายอับดุลลาห์ วาฟี (Abdallah Wafy) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไนเจอร์ประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศแอฟริกา ได้ย้ำถึงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาที่ประจักษ์ได้จากโครงการที่ทรงริเริ่มกว่า 4,000 โครงการ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสั่งสมจากประสบการณ์ด้านการพัฒนา ที่ทรงดำเนินการมาตลอดพระชนม์ชีพ และเป็นแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
มรดกของพระองค์จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศไทยและประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายมานซูร์ อายัด อโลไทบี (Mansour Ayyad Alotaibi) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรคูเวตประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก แสดงความชื่นชมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และทุ่มเทพระวรกายด้วยความรักในพสกนิกรตลอดรัชสมัย ทรงมีบทบาทในการสร้างสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้ง และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทำให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับต้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระราชกรณียกิจที่เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก นำไปสู่การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “Human Development Lifetime Achievement Award” จาก UN Development Programme (UNDP)
การสวรรคตของพระองค์ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของไทยและของโลก
นายแมทธิว รีครอฟต์ (Matthew Rycroft) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ ผู้แทนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ขณะเดียวกันก็แสดงความชื่นชมต่อการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก โดยขึ้นครองราชย์ในช่วงหนึ่งปีหลังจากการก่อตั้งสหประชาชาติ ซึ่งไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ทรงปกครองประเทศด้วยวิสัยทัศน์ สร้างเอกภาพและน้ำหนึ่งใจเดียวกันของปวงชนตลอดรัชกาล
ประชาคมระหว่างประเทศจะน้อมรำลึกถึงพระองค์ ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ผู้สนับสนุนการพัฒนา พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ ดนตรี และการถ่ายภาพ อีกทั้งจะทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งเสถียรภาพของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป ผลงานของพระองค์ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญอย่างแท้จริง
นางซาแมนทา พาวเวอร์ (Samantha Power) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียครั้งสำคัญของประเทศไทย และย้ำถึงสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างไทยและสหรัฐฯ จากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ และประทับที่เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ของสหรัฐฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ซึ่งได้ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ต่อที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐฯ ในการเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 1960 สหรัฐฯ น้อมรำลึกถึงพระราชดำรัสในการพระราชทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนที่ว่า ทรงประสงค์จะถูกจดจำเพียงว่า ทรงได้บำเพ็ญประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระราชดำริเรื่องนี้ หมายถึงการให้ความช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง และประชาชนระดับรากหญ้าในทุกด้าน
พระวิริยะอุตสาหะและพระอัจริยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือพสกนิกร ด้วยพระองค์เอง อาทิ โครงการแก้มลิง และโครงการอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่มีการจดทะเบียน น่าชื่นชมอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของชาวไทย และโลกที่ได้มีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ในฐานะผู้แทนประเทศไทย แสดงความขอบคุณ และรู้สึกซาบซึ้งใจที่สมัชชาสหประชาชาติได้จัดวาระพิเศษเพื่อถวายสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นในวันนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพระราชกรณียกิจและสิ่งที่พระองค์ทรงทุ่มเทเพื่อปวงชนชาวไทยตลอด 70 ปีของการครองราชย์ เป็นที่รับรู้ไม่เพียงแต่ในหัวใจของประชาชนไทย แต่ยังเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งได้ถวายรางวัลที่ทรงคุณค่าเพื่อเทิดพระเกียรติสำหรับความสำเร็จที่ได้ทรงทุ่มเทด้วยพระวิริยะอุตสาหะเพื่อประชาชนของพระองค์ ได้แก่ เหรียญ Agricola ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อปี ค.ศ. 1995, รางวัล UN-HABITAT Scroll of Honour Award ปี ค.ศ. 2003, รางวัล Human development lifetime achievement award ของ United Nations Development Programme (UNDP) เมื่อปี ค.ศ. 2006 และรางวัล WIPO global leader award ปี ค.ศ. 2009
นอกจากนี้ เพื่อน้อมรำลึกในพระราชกรณียกิจด้านการวิจัยและพัฒนาดิน สหประชาชาติยังได้กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพเป็นวันดินโลก (World Soil Day) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 อีกด้วย จากโครงการพัฒนาหลายพันโครงการทั่วประเทศ ได้สั่งสมและพัฒนาเป็น “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและเป็นกรอบในการตัดสินใจ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังได้รับการยอมรับในฐานะแนวทางที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเปิดฟังเทปบันทึกวาระพิเศษดังกล่าวเพิ่มเติม ทางเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)