อธิบดีกรมการแพทย์เผย 5 โรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ภาวะสายตายาวสูงอายุ แนะผู้สูงอายุควรตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อชะลอความเสื่อมและหากพบในระยะแรกบางโรคจะรักษาได้
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 คาดว่าจะมีสูงอายุร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด โดยที่ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ และที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นเกือบร้อยละ 15
ผลกระทบสุขภาพของผู้สูงอายุ นอกจากโรคเรื้อรังสุดฮิตทั้งอันดับต้นๆ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อมแล้ว ยังพบว่ามีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอด ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก
โดยโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. ต้อกระจก พบได้บ่อยที่สุดและเป็นทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น เกิดจากเลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้แสงผ่านเข้าไปในตาได้น้อยลง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงคือ อายุมากขึ้น หรือมีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น การได้รับแสง UV บ่อยๆ หรือแสงแดดจ้า โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น ยากินและหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
ผู้ป่วยต้อกระจกจะมีตามัวลง เห็นภาพซ้อน ตาสู้แสงไม่ได้ อาจเริ่มจากต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ต่อมามัวลงมาก ปรับแว่นอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น อาจมองเห็นภาพเป็นสีเหลือง บางคนอาจมองเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า แต่ก็สามารถชะลอความเสื่อมได้บ้าง ด้วยการสวมแว่นกันแดดป้องกันรังสี UV
2. ต้อหิน พบได้น้อยกว่าต้อกระจก แต่เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้น จนมีการทำลายประสาทตา ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ เชื้อชาติ อายุ ภาวะสายตาสั้นมากๆ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน การใช้ยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง โดยกิน ฉีด หรือหยอดตา หรือเคยได้รับอุบัติเหตุทางตามาก่อน
สำหรับอาการในช่วงแรกของโรค มักไม่มีอาการ แต่จะเริ่มสูญเสียลานสายตา คือ การมองเห็นจำกัดวงแคบลง จากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร อาจมีต้อหินบางประเภท เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลันที่มีอาการปวดมาก เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ตามัวลงมาก และตาแดง ถือเป็นภาวะเร่งด่วนมาก ต้องมาพบจักษุแพทย์ทันที
ที่สำคัญผู้ป่วยต้อหินทุกคน ต้องมาตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้การมองเห็นเป็นปกติ ทำได้เพียงมิให้การมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม
ดังนั้น ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงต้อหินเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป หากไม่มีความเสี่ยง ก็ควรตรวจตาเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ไม่มีอาการ แต่ถ้าสงสัยหรือสังเกตพบความผิดปกติต้องรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
3. จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัด ที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ เกิดจากปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสงUV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง
ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ ต่อมาเมื่อจอตาเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพโดยไม่มีอาการปวด
ผู้สูงอายุควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อสังเกตพบความผิดปกติต้องรีบมาพบจักษุแพทย์ ควรหยุดสูบบุหรี่ และสวมแว่นกันแดดเป็นประจำ รวมทั้งหมั่นรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผัก-ผลไม้สีเขียว-สีเหลือง ถั่วแดง เป็นต้น
4. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่างๆ รั่วซึมออกมา
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตานี้ เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประกอบกับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต ภาวะซีด
ระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา และหากมีอาการตามัว แสดงว่าเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งดูแลโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไต โรคไขมันในเลือดสูง อย่างเหมาะสม จะสามารถชะลอความรุนแรงของโรคได้ และผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
5. ภาวะสายตายาวสูงอายุ เกิดขึ้นเมื่อสูงอายุ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมองหรืออ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ๆ ไม่ชัดเจน ต้องถือหนังสือห่างๆ ทำงานระยะใกล้ๆ ไม่ได้ แต่มองไกลได้ปกติ
บางคนอาจมีตาพร่า หรืออาการปวดตา มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความสามารถและช่วงในการเพ่งปรับสายตาลดลง เนื่องจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวขึ้น และการทำงานของกล้ามเนื้อตาลดลง สามารถรักษาด้วยการใช้แว่นสายตา หรือการผ่าตัดทำเลสิก แต่ควรมาตรวจกับจักษุแพทย์ก่อนว่า ไม่มีความผิดปกติของโรคตาอื่นๆ ร่วมด้วย
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงตามวัยในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบการมองเห็น ที่อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากโรคตา เช่น ต้อกระจกผ่าตัดรักษาได้ บางโรคถ้าดูแลรักษาในระยะแรกและต่อเนื่อง จะสามารถชะลอความเสื่อมได้ เช่น ต้อหิน จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม หรือบางโรคถ้าควบคุมโรคประจำตัว จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
อย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุสงสัยว่าสายตาผิดปกติ สามารถมาพบจักษุแพทย์ได้ทันที หรือตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง ที่สำคัญลูกหลานควรใส่ใจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างองค์รวม ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีและมีความสุข
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 คาดว่าจะมีสูงอายุร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด โดยที่ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ และที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นเกือบร้อยละ 15
ผลกระทบสุขภาพของผู้สูงอายุ นอกจากโรคเรื้อรังสุดฮิตทั้งอันดับต้นๆ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อมแล้ว ยังพบว่ามีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอด ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก
โดยโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. ต้อกระจก พบได้บ่อยที่สุดและเป็นทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น เกิดจากเลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้แสงผ่านเข้าไปในตาได้น้อยลง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงคือ อายุมากขึ้น หรือมีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น การได้รับแสง UV บ่อยๆ หรือแสงแดดจ้า โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น ยากินและหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
ผู้ป่วยต้อกระจกจะมีตามัวลง เห็นภาพซ้อน ตาสู้แสงไม่ได้ อาจเริ่มจากต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ต่อมามัวลงมาก ปรับแว่นอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น อาจมองเห็นภาพเป็นสีเหลือง บางคนอาจมองเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า แต่ก็สามารถชะลอความเสื่อมได้บ้าง ด้วยการสวมแว่นกันแดดป้องกันรังสี UV
2. ต้อหิน พบได้น้อยกว่าต้อกระจก แต่เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้น จนมีการทำลายประสาทตา ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ เชื้อชาติ อายุ ภาวะสายตาสั้นมากๆ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน การใช้ยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง โดยกิน ฉีด หรือหยอดตา หรือเคยได้รับอุบัติเหตุทางตามาก่อน
สำหรับอาการในช่วงแรกของโรค มักไม่มีอาการ แต่จะเริ่มสูญเสียลานสายตา คือ การมองเห็นจำกัดวงแคบลง จากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร อาจมีต้อหินบางประเภท เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลันที่มีอาการปวดมาก เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ตามัวลงมาก และตาแดง ถือเป็นภาวะเร่งด่วนมาก ต้องมาพบจักษุแพทย์ทันที
ที่สำคัญผู้ป่วยต้อหินทุกคน ต้องมาตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้การมองเห็นเป็นปกติ ทำได้เพียงมิให้การมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม
ดังนั้น ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงต้อหินเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป หากไม่มีความเสี่ยง ก็ควรตรวจตาเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ไม่มีอาการ แต่ถ้าสงสัยหรือสังเกตพบความผิดปกติต้องรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
3. จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัด ที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ เกิดจากปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสงUV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง
ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ ต่อมาเมื่อจอตาเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพโดยไม่มีอาการปวด
ผู้สูงอายุควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อสังเกตพบความผิดปกติต้องรีบมาพบจักษุแพทย์ ควรหยุดสูบบุหรี่ และสวมแว่นกันแดดเป็นประจำ รวมทั้งหมั่นรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผัก-ผลไม้สีเขียว-สีเหลือง ถั่วแดง เป็นต้น
4. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่างๆ รั่วซึมออกมา
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตานี้ เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประกอบกับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต ภาวะซีด
ระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา และหากมีอาการตามัว แสดงว่าเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งดูแลโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไต โรคไขมันในเลือดสูง อย่างเหมาะสม จะสามารถชะลอความรุนแรงของโรคได้ และผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
5. ภาวะสายตายาวสูงอายุ เกิดขึ้นเมื่อสูงอายุ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมองหรืออ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ๆ ไม่ชัดเจน ต้องถือหนังสือห่างๆ ทำงานระยะใกล้ๆ ไม่ได้ แต่มองไกลได้ปกติ
บางคนอาจมีตาพร่า หรืออาการปวดตา มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความสามารถและช่วงในการเพ่งปรับสายตาลดลง เนื่องจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวขึ้น และการทำงานของกล้ามเนื้อตาลดลง สามารถรักษาด้วยการใช้แว่นสายตา หรือการผ่าตัดทำเลสิก แต่ควรมาตรวจกับจักษุแพทย์ก่อนว่า ไม่มีความผิดปกติของโรคตาอื่นๆ ร่วมด้วย
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงตามวัยในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบการมองเห็น ที่อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากโรคตา เช่น ต้อกระจกผ่าตัดรักษาได้ บางโรคถ้าดูแลรักษาในระยะแรกและต่อเนื่อง จะสามารถชะลอความเสื่อมได้ เช่น ต้อหิน จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม หรือบางโรคถ้าควบคุมโรคประจำตัว จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
อย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุสงสัยว่าสายตาผิดปกติ สามารถมาพบจักษุแพทย์ได้ทันที หรือตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง ที่สำคัญลูกหลานควรใส่ใจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างองค์รวม ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีและมีความสุข
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)