รศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันละสังคม
โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็มีส่วนในการทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ขอยกตัวอย่างโรคเด่น ๆ ที่มีผลกระทบชัดเจนดังนี้
• โรคตาชนิดต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลาโพล้เพล้ หรือตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด ในผู้ป่วยต้อหินยังอาจมีลานสายตาที่แคบทำให้มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทาง ไฟหน้ารถพร่าได้
• โรคสมองเสื่อม ในที่นี้หมายถึงเพิ่งเป็นไม่มากนะครับ เพราะถ้าเป็นมากแล้ว คงไม่มีใครยอมให้ขับรถแล้ว ผู้ที่สมองเสื่อม มีอาการหลงลืม ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก การตัดสินใจและสมาธิไม่ดี
• โรคอัมพฤกษ์ จากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้พอสมควรในผู้สูงอายุ ทำให้แขนขาไม่มีแรงที่จะขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก หรือเปลี่ยนเกียร์ได้ดี บางคนมีอาการเกร็งมากจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่ง หรือเบรก บางคนมีการประสานงานระหว่างแขน ขาไม่ดี หรือสมองสั่งให้แขนขา ทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง
• โรคพาร์กินสัน มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น บางทีมีเท้าสั่นด้วย ทำอะไรเชื่องช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี
• โรคลมชัก ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว เมื่อมีอาการชัก จะเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
• โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถเช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบ ปวด จากโรคเก๊าท์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก หรือมีอาการปวดหลัง จากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน
• โรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ทำให้อาจมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการหน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง
• ยา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องรับประทานยา บางคนรับประทานหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึม เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ ยาลดน้ำมูก ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้ง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไม่ดี ควรทำอย่างไรถ้ายังต้องการขับรถเมื่ออายุมากแล้ว
ถ้ามีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนว่าสามารถที่จะขับรถได้หรือไม่ ในบ้านเรายังไม่มีผู้ชำนาญการ และระบบในการประเมินความปลอดภัยของผู้ขับขี่ที่สูงอายุ แพทย์จะประเมินการมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันของแขนขา การเกร็ง สั่นของกล้ามเนื้อ ความสามารถของสมอง และประเมินกระดูกและข้อต่อ ซักประวัติการรับประทานยาชนิดต่าง ๆ และประเมินโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก ภาวะสมองเสื่อม โรคข้อเสื่อม เป็นต้น ว่าเหมาะสมกับการขับรถหรือไม่
วิธีปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยเมื่อต้องขับขี่รถ
1. ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายในการขับขี่รถ ที่สำคัญคือ การมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ ความสามารถของสมอง และกระดูกและข้อต่อ
2. ควรตรวจสอบสภาพรถเป็นระยะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเครื่องยนต์ขัดข้องฉุกเฉิน
3. ไม่ดื่มอัลกอฮอล์เมื่อจะขับรถ ตลอดจนหลีกเลี่ยงยาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง เมื่อต้องขับรถ
4. หลีกเลี่ยงการขับรถในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย
5. หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงกลางคืน
6. หลีกเลี่ยงการขับรถในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ฝนตกหนัก เป็นต้น เนื่องจากทำให้มองเห็นเส้นทางไม่ดี
7. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ
8. ถ้าเป็นไปได้ ควรมีคนนั่งรถไปด้วยเพื่อช่วยกันดูเส้นทาง สัญญาณไฟจราจรและดูรถ
9. ไม่ควรขับรถทางไกลหรือไปในที่รถติดซึ่งต้องใช้เวลาในการขับขี่เป็นเวลานาน
******
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# ในโอกาสวันมหิดล 24 กันยายน พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชและพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เปิดให้ทุกท่านเข้าชม ฟรี และยังจัดโปรโมชันพิเศษ ระหว่างวันที่ 19 - 23 กันยายน (เว้น 20 กันยายน) เพียงแสดงธงวันมหิดลท่านจะเสียค่าเข้าชมครึ่งราคา และหากแสดงธงวันมหิดลพร้อมเสาเข้าชม ฟรี
# ขอเชิญผู้สนใจเข้ารับฟังปาฐกถาพิเศษ เนื่องในวันมหิดล เรื่อง “สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาแพทย์และสาธารณสุข” โดย ศ.พิเศษ ดร.นพ.สรรใจ แสงวิเชียร ในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันละสังคม
โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็มีส่วนในการทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ขอยกตัวอย่างโรคเด่น ๆ ที่มีผลกระทบชัดเจนดังนี้
• โรคตาชนิดต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลาโพล้เพล้ หรือตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด ในผู้ป่วยต้อหินยังอาจมีลานสายตาที่แคบทำให้มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทาง ไฟหน้ารถพร่าได้
• โรคสมองเสื่อม ในที่นี้หมายถึงเพิ่งเป็นไม่มากนะครับ เพราะถ้าเป็นมากแล้ว คงไม่มีใครยอมให้ขับรถแล้ว ผู้ที่สมองเสื่อม มีอาการหลงลืม ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก การตัดสินใจและสมาธิไม่ดี
• โรคอัมพฤกษ์ จากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้พอสมควรในผู้สูงอายุ ทำให้แขนขาไม่มีแรงที่จะขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก หรือเปลี่ยนเกียร์ได้ดี บางคนมีอาการเกร็งมากจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่ง หรือเบรก บางคนมีการประสานงานระหว่างแขน ขาไม่ดี หรือสมองสั่งให้แขนขา ทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง
• โรคพาร์กินสัน มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น บางทีมีเท้าสั่นด้วย ทำอะไรเชื่องช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี
• โรคลมชัก ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว เมื่อมีอาการชัก จะเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
• โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถเช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบ ปวด จากโรคเก๊าท์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก หรือมีอาการปวดหลัง จากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน
• โรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ทำให้อาจมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการหน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง
• ยา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องรับประทานยา บางคนรับประทานหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึม เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ ยาลดน้ำมูก ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทำให้ง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไม่ดี ควรทำอย่างไรถ้ายังต้องการขับรถเมื่ออายุมากแล้ว
ถ้ามีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนว่าสามารถที่จะขับรถได้หรือไม่ ในบ้านเรายังไม่มีผู้ชำนาญการ และระบบในการประเมินความปลอดภัยของผู้ขับขี่ที่สูงอายุ แพทย์จะประเมินการมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันของแขนขา การเกร็ง สั่นของกล้ามเนื้อ ความสามารถของสมอง และประเมินกระดูกและข้อต่อ ซักประวัติการรับประทานยาชนิดต่าง ๆ และประเมินโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก ภาวะสมองเสื่อม โรคข้อเสื่อม เป็นต้น ว่าเหมาะสมกับการขับรถหรือไม่
วิธีปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยเมื่อต้องขับขี่รถ
1. ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายในการขับขี่รถ ที่สำคัญคือ การมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ ความสามารถของสมอง และกระดูกและข้อต่อ
2. ควรตรวจสอบสภาพรถเป็นระยะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเครื่องยนต์ขัดข้องฉุกเฉิน
3. ไม่ดื่มอัลกอฮอล์เมื่อจะขับรถ ตลอดจนหลีกเลี่ยงยาต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง เมื่อต้องขับรถ
4. หลีกเลี่ยงการขับรถในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย
5. หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงกลางคืน
6. หลีกเลี่ยงการขับรถในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ฝนตกหนัก เป็นต้น เนื่องจากทำให้มองเห็นเส้นทางไม่ดี
7. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ
8. ถ้าเป็นไปได้ ควรมีคนนั่งรถไปด้วยเพื่อช่วยกันดูเส้นทาง สัญญาณไฟจราจรและดูรถ
9. ไม่ควรขับรถทางไกลหรือไปในที่รถติดซึ่งต้องใช้เวลาในการขับขี่เป็นเวลานาน
******
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# ในโอกาสวันมหิดล 24 กันยายน พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชและพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เปิดให้ทุกท่านเข้าชม ฟรี และยังจัดโปรโมชันพิเศษ ระหว่างวันที่ 19 - 23 กันยายน (เว้น 20 กันยายน) เพียงแสดงธงวันมหิดลท่านจะเสียค่าเข้าชมครึ่งราคา และหากแสดงธงวันมหิดลพร้อมเสาเข้าชม ฟรี
# ขอเชิญผู้สนใจเข้ารับฟังปาฐกถาพิเศษ เนื่องในวันมหิดล เรื่อง “สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาแพทย์และสาธารณสุข” โดย ศ.พิเศษ ดร.นพ.สรรใจ แสงวิเชียร ในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่