ทุกคนคงแปลกใจว่า ทำไมเราจึงต้องมาพูดถึงเรื่อง “ปัจจุบันจิต” เพราะใจของเรานี้ เราว่าเราก็รู้ ก็เป็นปัจจุบันอยู่แล้ว แต่จริงๆไม่ได้เป็นหรอก ทำไมดิฉันจึงว่าไม่เป็น เพราะน้อยครั้งที่ใจจะอยู่นิ่งเฉยๆ เราคุ้นกับภาวะที่มีความคิด จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แล้วก็ทึกทักว่า เป็นธรรมชาติของใจที่จะต้องปรุงคิด
ถ้าเราเป็นคนละเอียดอ่อน มีสติปัญญา การปล่อยใจให้อยู่เฉยๆ ถือเป็นความผิดปกติ เราไปเข้าใจว่า การที่ใจมีความนึกคิด มีอะไรอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นปกติ และไม่เคยไปใส่ใจสนใจสังเกตว่า ที่ใจกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลานั้น ดีหรือไม่ดี
ทีนี้ เมื่อมาปฏิบัติแล้วถูกสอนว่า การปฏิบัติคือการฝึกให้ตัวของตัวมีสติ ความระลึกรู้ ที่จะตามรู้ขณะจิตแต่ละขณะๆ ไปเรื่อยๆ เหมือนใจของเราเป็นเรื่องราวที่กำลังฉายอยู่ในจอโทรทัศน์ สติก็คือตัวเราที่นั่งดูอยู่หน้าจอเพื่อที่จะรู้เรื่องเหล่านั้น พอมาฝึกสติของเราอย่างนี้ จะพบว่าใจเรามักไม่เป็นปัจจุบันจิต เพราะอะไร
ขณะดูโทรทัศน์ ดิฉันแน่ใจว่าหลายท่านในที่นี้ จะไม่เป็นเพียงคนดูโทรทัศน์ แต่เผลอเข้าไปแสดงโทรทัศน์เสียเองด้วย ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก่อนดูละครโทรทัศน์เรามักอ่านเรื่องราวมาก่อน แล้วใจก็ลุ้นทีเดียวว่า ต้องเป็นอย่างนี้นะ พอไม่เป็นอย่างนี้ “อื๊อ! ไม่ใช่” ใจกระโดดจากเก้าอี้นั่งดูแล้วไปออกสิทธิ์ออกเสียง บางทีเรื่องแสดงอย่างนี้ เราบอก “ไม่ใช่” ต้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง จะเป็นอย่างที่เป็นนี้ไม่ได้ เป็นต้นว่าเรื่องคู่กรรมที่คนดูส่วนใหญ่เขียนถึงผู้แต่งว่า จบอย่างนี้ไม่ได้ ต้องมีภาคพิเศษ
นี่แสดงว่าเป็นธรรมดาของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะแต่ละบุคคล ทุกคนที่กระโดดเข้าไปเล่นคู่กรรมหมดตัว กลายเป็นส่วนประกอบคู่กรรม เพราะฉะนั้น ไม่เป็นปัจจุบันจิตแล้ว เพราะเราไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงแล้วว่า นี่เรากำลังดูโทรทัศน์ แต่เรากำลังเอาเรื่องอันนั้นมาเป็นเรา แล้วเอาประสบการณ์หรือภูมิหลังของตัวเรามาตัดสินว่า คู่กรรมจะเป็นอย่างที่คนแต่งให้เป็นไม่ได้ แต่จะต้องเป็นอย่างที่เรายึด เอาอุปาทานไปยึดเข้าไว้ ใจเราตอนนั้นหลุดไปจากความเป็นจริง เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจน
เวลาที่เราอยู่ในชีวิตประจำวันกัน ก็เหมือนเรานั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เพราะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจริงๆแต่ละขณะ ก็เหมือนเรื่องในโทรทัศน์ที่เกิดขึ้น มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานของเรา กับที่บ้าน ลูกเต้าหรือคู่ครอง เหมือนแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นบนจอโทรทัศน์ มีใครบ้างที่กำหนดใจของตัวให้ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เก็บรายละเอียดตามความเป็นจริง แล้วยอมรับว่า เรื่องที่เกิดเป็นอย่างนี้นะ ร้อยทั้งร้อยพอมันเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิด เราจะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ มันต้องไม่ใช่” แล้วเราจะพยายามเปลี่ยนเรื่อง ตัวละครในเรื่อง คือเหตุการณ์จริงๆที่เกิดขึ้นนั้น ให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
สมมติเราเป็นแม่ เราจะบอกลูกว่า "ลูกทำอย่างนี้ไม่ได้ ลูกจะต้องเปลี่ยนใหม่” มีเรื่องหนึ่งซึ่งดิฉันเคยยกมาเป็นตัวอย่างแล้ว มีแม่ท่านหนึ่งซึ่งลูกกำลังวัยรุ่น เข้ามหาวิทยาลัยเป็นปีแรก คุณแม่เป็นผู้ที่ถูกอบรมมาอย่างกุลสตรีโบราณ ลูกไปเที่ยวกับเพื่อนฝูง ทุ่มหนึ่งเป็นอย่างช้าที่สุด ลูกจะต้องกลับเข้าบ้าน ลูกก็ให้เหตุผลร้อยสีพันอย่าง หนักเข้าก็สี่ทุ่ม หนักเข้าลูกก็บอกสองยาม ค่อยๆดึกไปเรื่อยๆ คุณแม่ก็พยายามประนีประนอม
ต่อมาวันหนึ่ง ลูกก็มาบอกแม่ว่า เขามีท้องขึ้นมา ลูกก็ใจเด็ด บอกว่า เขาเป็นคนทำความผิด เขาจะยอมรับผิด อย่างสัตว์มันยังรักลูกของมัน เมื่อเขาพลาดไปแล้ว เขาก็จะยอมรักษาให้ท้องครบกำหนดแล้วคลอดออกมา ซึ่งแม่รับไม่ได้ ตอนแรกที่รู้ว่าลูกท้องก็จะเป็นลมตาย ตระกูลเราไม่เคยมีเรื่องอย่างนี้มาก่อน นี่จะเอาหน้าไปไว้ที่ตรงไหนได้ ความคิดแวบแรกคือต้องทำแท้ง
ครั้นลูกบอกว่า ครั้งแรกเขาดื้อดึงกับแม่ จนกระทั่งบัดนี้เขาผิดไปแล้ว ก็จะยอมรับผิดด้วยการที่ว่า ถึงแม่จะเสือกไสไล่ส่งไปไหนหรืออย่างไร ก็จะเอาลูกในท้องไว้จนกระทั่งครบกำหนดคลอด แล้วเขาก็จะดูแล แม่ขัดเคือง รับไม่ได้ เสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูลแล้วอะไรต่อมิอะไรอีก ปู่ย่าตายายจะเดือดร้อนอย่างไร ก็บอกลูกว่าต้องทำแท้ง ลูกยืนยันว่าลูกผิดไปแล้ว ลูกจะยอมรับผิด เรื่องนี้ขอแม่อย่าห่วง แม่ก็ทำตามไม่ได้
นี่ไม่ได้เป็นการนั่งดูโทรทัศน์เฉยๆ ไม่ได้เป็นปัจจุบันจิต ว่าพระพุทธเจ้าเคยสอนไว้ "ของทุกอย่างมาแต่เหตุ” มีเหตุอย่างไรจึงเกิดอย่างนี้ขึ้น หรือว่าเมื่อเหตุมีจึงต้องเป็นอย่างนี้ เป็นไปแล้วเราจะจัดการอย่างไรให้ถูกต้อง
แต่ใจที่ยึดติดกับภูมิหลัง กับอะไรๆที่เรามี เป็นกรอบอยู่โดยไม่รู้ตัว เพราะมันอยู่ลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของเรา เวลาที่เราไม่ตั้งสติกำหนดรู้ตามความเป็นจริง สิ่งที่เป็นแรงผลักดันอยู่ข้างในจะพุ่งออกมาบังคับให้เรากระโดดเข้าไปทุกข์กับเรื่องที่เกิดขึ้น ลืมปัจจุบันหมด ลืมว่าเราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร เราอยู่ที่ไหน เราคิดแต่เพียงว่า สิ่งที่เป็นความอึดอัดคับอยู่ในใจนี้ จะต้องแก้ตามวิธีของเรา
ตกลงคุณแม่ท่านนี้ก็กระโดดเข้าไปในจอโทรทัศน์ ลืมไปว่านี่เป็นปัญหาของลูก เรื่องของลูก เราไม่มีสิทธิ์ เราเป็นแม่เขาก็จริง แต่เราไม่รู้เลยว่า เหตุปัจจัยของเขาที่มีกันมาเป็นอย่างไร เขากับเราเกี่ยวข้องกันแค่ไหน เรามีสิทธิ์ในชีวิตเขามากแค่ไหน
คุณแม่ก็คิดแต่ว่า อย่างไรๆ ฉันต้องทำให้ลูกเราทำแท้งให้ได้ แต่ก็ยังดีนิดหนึ่งตรงที่คุณแม่คิดว่า ตอนนี้เราชักจะเป็นอารมณ์มากไปแล้ว เพราะฉะนั้นเอาเถิด ยุติไว้แค่นี้ก่อน แต่ยังไม่ยอมเลิก เราต้องหาวิธีที่นุ่มนวลให้ลูกเราเชื่อตามให้ได้ เห็นไหม จนกระทั่งได้เรื่องแล้วยังจะดื้อต่อไปอีก คือยังเห็นว่าวิธีของเรานี่ถูก อุปาทานคือรวงรังแห่งทุกข์ ทำให้เราหลุดออกไปจากความเป็นจริง ใจของเราไม่ได้อยู่กับปัจจุบันแล้ว ไม่รู้ว่ามันถอยไปอยู่ที่ตรงไหน เพราะคิดทีไรก็นึกว่า นี่ถ้าเผื่อแม่ของเรายังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ต้องเห็นอย่างนี้เด็ดขาด
คนเราจะไปยึดเอาตามสิ่งที่เราเคยถูกอบรมบ่มสอนมา โดยไม่ได้พิจารณาว่า แล้วจริงๆข้อมูลที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร เราควรแก้ไขอย่างไร
ท่านว่าท่านถูก ทั้งที่หลุดออกไปจากความเป็นจริง เคราะห์ดีที่คุณแม่ท่านนี้มีนิสัยว่าถึงเวลาสวดมนต์ การสวดมนต์ของท่านคือการทำใจให้เป็นปัจจุบัน มีสติรู้อยู่ ท่านจะสวดมนต์โดยไม่ให้มีตรงไหนผิดพลาด ถ้าผิดพลาดก็ตั้งต้นสวดใหม่ วันนั้นท่านก็ปฏิบัติเหมือนที่เคยทำอยู่เป็นประจำ ปรากฏว่าสวดมนต์ไม่ถูก เดี๋ยวผิด.. เดี๋ยวผิด.. เพราะใจไปผูกพันกับเรื่องที่เกิดขึ้น จนกระทั่งไม่จดจ่อกับการสวดมนต์ แฉลบหลุดไปเรื่อยๆ จนต้องตั้งต้นใหม่ ไม่รู้จักกี่ทีๆ
ท่านก็เริ่มระลึกนึกได้ว่า วันนี้ใจของเราแย่มากๆ ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับบทสวด ท่านก็เลยตั้งใจว่า เอาละในเมื่อเห็นที่ผิดที่บกพร่องของเราอย่างนี้แล้ว เราต้องแก้ไข ถ้าปล่อยให้ใจเป็นอยู่อย่างนี้ พรุ่งนี้ไปทำอะไรมันจะต้องแย่หนักไปกว่านี้ ก็บอกกับตัวเองว่า ถ้าเราดึงใจของเราให้มาอยู่กับปัจจุบันคือคำสวดมนต์ไม่ได้ คืนนี้ไม่นอนก็ไม่ต้องนอน ถวายพระพุทธเจ้าเป็นปฏิบัติบูชา
เมื่อใจตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ที่จะเผลอแฉลบออกไปก็น้อยลงๆ คุณภาพค่อยดีขึ้นๆ จนในที่สุดท่านก็สวดมนต์ได้เรียบร้อย ไม่มีตก ไม่มีผิด ไม่มีอะไรเลย ใจที่ได้ผ่านการต่อสู้กับตัวเองมา ก็เหมือนเราสู้กับจิตเวทนาของเราโดยไม่รู้ตัว ก็เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่ง
สวดมนต์เสร็จ ท่านก็นั่งสมาธิต่อ จิตรวมตัวเร็ว พอลงรวม จิตใจของท่านคงเป็นจิตที่ได้ฝึกมาพอสมควร ปัญญาก็เกิดขึ้น ท่านแวบขึ้นมาว่า ไหนเราว่าถือศีลห้า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ยุงสักตัวเราก็ไม่ตบ แล้วนี่เรากำลังทำอะไร เรากำลังบอกให้ลูกทำแท้ง สิ่งที่อยู่ในท้องเป็นสิ่งมีชีวิตนะ ไม่ใช่ชีวิตใครที่ไหน ชีวิตหลานของเราเอง แล้วนี่เรากำลังถือศีลอะไรกัน พอใจได้คิดขึ้นมาอย่างนี้ มันเบาทันทีเลย
ท่านเห็นทันทีว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ของทุกอย่างมาแต่เหตุ” ลูกเป็นลูกของท่านก็จริง แต่ท่านไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่รู้ว่าเขามีวิบากอะไร มีบุพกรรมอะไรเป็นมูลมรดกมา แล้วเขาก็ถูกต้อง เราไปดุว่าเขาเลอะเทอะเปรอะเปื้อน แต่เขาก็มีสัญชาติญาณของความเป็นแม่ เขารักษาศีล ไม่ไปทำลายชีวิต เราซิไปยึดติดในอุปาทาน ในชื่อเสียงเกียรติยศของวงศ์ตระกูล ยึดมั่นสำคัญผิดติดกับเปลือก โดนโลกธรรมหวั่นไหวโดยไม่รู้ตัว นี่ขนาดว่าเราปฏิบัตินะ
ถอนออกจากสมาธิแล้ว ท่านก็เห็นคุณที่ครูบาอาจารย์สอนว่าปัจจุบันจิต อยู่กับปัจจุบันให้ได้ แล้วใจของเราจะเหมือนพระอาทิตย์เที่ยงวัน ไม่มีเงาตรงไหนที่จะมาทำให้ใจของเราวอกแวกไป อย่างนี้เอง ท่านเกิดความซาบซึ้ง ธัมมะเป็นอย่างนี้เอง
แต่ก่อนนั้น ถ้าใครมาบอกท่านว่า ท่านไม่อยู่กับปัจจุบัน ท่านก็ไม่เชื่อ เราทุกคนที่บอกว่าอยู่กับปัจจุบัน อาจจะอยู่เพียงเศษหนึ่งส่วนเท่าไหร่ก็ไม่รู้ นอกนั้นแฉลบไปอยู่ที่อื่นอยู่ตลอดเวลา เหมือนเราดูของที่พลิ้วเป็นพยับแดด เป็นระลอกอยู่ตลอดเวลา เราก็ไม่เข้าใจ
พอท่านเห็นอย่างนี้ ท่านจึงซาบซึ้งที่ครูบาอาจารย์บอกว่า การปฏิบัตินั้น ใจจะเป็นสมาธิหรือไม่เป็น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่ต้องพยายามให้มีสติรู้กับความเป็นจริง รู้อยู่กับแต่ละขณะจิตๆ อะไรที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เสียดแทง เป็นปัญหาที่เราแกะไม่หลุด ดูมันเฉยๆ เหมือนเรานั่งดูโทรทัศน์ แต่อย่ากระโดดเข้าไปแต่งบทโทรทัศน์ กำกับโทรทัศน์ แล้วเราออกไปจากปัจจุบัน สิ่งที่เราแก้ปัญหานั้นจะเป็นกิเลส เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกที่เป็นอัตโนมัติ โดยไม่รู้สึกตัว
จากตัวอย่างอันนี้ที่ดิฉันยกขึ้นมา ถ้าท่านมองตามจะเห็นว่า มันอย่างนี้เอง แล้วทำไมเราจึงบอกว่า ปัจจุบันจิตคือกุญแจดอกสำคัญ ที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะใจของเราเหมือนของผสม ที่ผสมอยู่ระหว่างธาตุแท้ คือจิตรู้ที่เป็นพุทธะ รู้ตามความเป็นจริง กับแขกจร คือจิตหลอน ที่ถูกอิทธิพลของอวิชชา อุปาทาน กิเลส สิ่งแคลบแฝง มาครอบคลุมเอาไว้
อิทธิพลของความรู้ที่ไม่เป็นจริง ความรู้ที่คิดผิดเห็นผิด ตามอวิชชาอุปาทานมันสูง เพราะอะไร เพราะเราถูกอวิชชาอุปาทานกล่อมจนเชื่อหมดหัวใจ จนกระทั่งเราเป็นกระบอกเสียงของมัน มือของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ความคิดของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ปากของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ความคิดของเราก็เป็นขี้ข้ามัน คือคิดทีไรเราจะคิดด้วยความเป็นอกุศล แต่ทั้งหมดนี้เราไม่รู้ตัว เราจึงมาเกิดอยู่อย่างนี้ เราจึงมีเหตุคือกรรม ที่สร้างให้เป็นตัวเป็นตน อย่างที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราตกอยู่ในภาวะวิกฤต อะไรที่เราหลุดไปจากปัจจุบันทันทีมันเป็นกิเลส เป็นสถิติของกิเลสทั้งนั้น เพราะความเคยชินเราไม่ทันรู้ตัว มันรวดเร็วมากจนกระทั่งเราคิดว่า นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราไตร่ตรองดีแล้ว
ทุกๆขณะจิตของเรา เหมือนเราอยู่บนทางสองแพร่ง ทุกๆขณะจิตเราต้องตัดสินใจเดินออกไป การตัดสินใจของเราก็มีสาเหตุอยู่สองประการ คือ เหตุที่เป็นหนทางสู่ความดับทุกข์ คือ มรรค หรือเหตุที่เป็นหนทางของการสร้างทุกข์ คือ สมุทัย เพราะฉะนั้น ทุกๆขณะจิตของเรา เราอยู่บนทางสองแพร่งตลอดเวลา อยู่ที่เราตัดสินใจว่าจะเอาอะไร...
ปัจจุบันจิตจึงเป็นโอกาสทองและล้ำค่า ไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าสำหรับแต่ละคนในความเป็นมนุษย์ ถ้าเราตระหนักถึงความมหัศจรรย์อันนี้ แล้วพยายามฝึกตัวของตัวเอง ฝึกเอาไว้ ในแต่ละขณะที่ถูกบีบคั้นอยู่ด้วยเหตุการณ์รอบข้าง หยุดใจของเราให้แน่แน่วนิ่งให้ได้ ให้สติมาประกบ แล้วอะไรที่ตอบสนองออกไปนั้น ให้เป็นไปตามความระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
อย่างที่ดิฉันยกตัวอย่าง คุณแม่ได้พากเพียรสวดมนต์ จนกระทั่งจิตหลุดออกจากความเกาะเกี่ยวและไปผูกพันกับปัญหา มาเป็นจิตที่เป็นปัจจุบันจิตจริงๆ คือเปิดรับข้อมูลทั้งหลาย เที่ยงตรงตามความเป็นจริง แล้วตรงนั้นแหละ สติที่เต็มรอบก็จะเป็นปัญญาขึ้นมาให้เห็นได้ว่า เราถือศีล เรารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ยุงเราไม่ตบ แต่เรากำลังจะฆ่าชีวิตมนุษย์ มันเห็นขึ้นมาหมด
แต่ถ้าเรายังยึดอยู่เหมือนเส้นผมบังภูเขา ไปยึดชื่อเสียงเกียรติยศวงศ์ตระกูล ในฐานะที่เป็นแม่ ในฐานะที่เป็นหลักของครอบครัว เราจะปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สามีเราเป็นคนมีหน้ามีตา แล้วเราจะให้เขามัวหมองได้อย่างไร
เราถูกลมพายุของโลกธรรมหวั่นไหว ถ้าไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง เมื่อใครมาพูดเราก็ต้องเถียงว่า “แน่ละซิ เธอไม่ใช่ฉัน เธอก็พูดได้ ลองเธอมาเป็นฉัน เธอก็จะไม่พูดอย่างนี้” นี่แหละอุปาทาน มันน่ากลัวอย่างนี้ ทำให้เราเห็นว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ เรามองรอบคอบกว่าคนอื่น เพราะคนอื่นไม่ใช่เรา เขาจะมารู้เรื่องของเราดีไปกว่าเราได้อย่างไร มันถึงตกหลุมกิเลสอย่างนี้ พอเราเห็นตัวกิเลสอย่างนี้แล้ว เราจะได้พากเพียรฝึก เพราะถ้าไม่ฝึก จะไม่มีโอกาสเลย ...
คุณแม่ท่านเมื่อกี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านดีใจที่การสวดมนต์ของท่านคุ้มครองท่านให้เห็นผลในปัจจุบัน เพราะท่านบอก หากว่าท่านเกิดหว่านล้อมลูกให้ทำแท้งได้สำเร็จเป็นจริงอย่างนั้นขึ้นมา แล้ววันหนึ่งกำลังทำสมาธิ คิดได้ว่ามันก็คือมนุษย์ เราได้ฆ่าหลานในไส้ไป ป่านนี้จะเป็นอย่างไร เราแผ่เมตตาไปจะถึงไหม ใจก็จะเป็นกังวลขึ้นมาเรื่อยๆ
ท่านก็เลยเห็นว่า การกระทำอะไรที่เป็นอกุศลแล้ว ไม่ใช่จะเป็นความทุกข์เฉพาะต่อบุคคลที่เราทำเท่านั้น คนแรกที่จะเป็นทุกข์เดือดร้อนก็คือตัวของตัวเอง และท่านก็เห็นต่อไปถึงว่า ท่านจะภาวนาอย่างไรๆ ก็ไม่แน่ใจว่าจะยกจิตขึ้นพ้นจากความมัวหมองได้ ตอนกระทำก็มีความสุขว่า เราทำสำเร็จ เรารักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลได้สำเร็จ แต่พอต่อๆไป ท่านบอกว่าไม่คุ้มกันเลย ใจที่ภาวนาก็ไม่ได้ แวบขึ้นมาแล้วก็หมอง ยิ่งกว่าตกนรกอเวจีอีก ไม่รู้ว่าจะชดใช้ได้อย่างไรจึงสำเร็จ
นี่แหละ จึงเรียนให้ท่านทราบถึงความสำคัญของปัจจุบันจิต ขณะเดี๋ยวนั้นมองไม่เห็นกัน เพราะยังถูกปิดบังด้วยเมฆหมอกของอวิชชา ทำให้ใครเอาแสงสว่างมาส่องให้เห็นหนทาง เราก็มองไม่เห็น หาว่าผิดอยู่ร่ำไป แต่พอเราได้ผ่านพ้นเหตุการณ์ตรงนั้นไปหลายๆอย่าง ความผิดหรืออะไรได้ประจักษ์ขึ้นแล้ว คือเรียกได้ว่า กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แล้ว ความเสียใจ หนี้สิน ราคาค่าเสียหายที่เขาเรียกนั้นประมาณไม่ได้ เราก็มานึก ถ้ารู้อย่างนี้เราจะหยุดตั้งแต่ตอนนั้น แต่ทำไมถ้าไม่มีใครชี้แจงให้เรารู้อย่างนี้
จริงๆเขาก็ชี้แจงให้เรารู้อย่างนี้ แต่เราปิดหูปิดตา เราไม่ยอมฟัง เพราะใจที่มองเห็นแต่เงา แล้วก็ไปคว้าแต่เงา ทำให้เราพลาดจากเป้าของจริงไป ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงพูดกันว่า ปัจจุบันจิตคือหัวใจของการปฏิบัติ...
(ส่วนหนึ่งจากการแสดงธรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย พญ.อมรา มลิลา)
ถ้าเราเป็นคนละเอียดอ่อน มีสติปัญญา การปล่อยใจให้อยู่เฉยๆ ถือเป็นความผิดปกติ เราไปเข้าใจว่า การที่ใจมีความนึกคิด มีอะไรอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นปกติ และไม่เคยไปใส่ใจสนใจสังเกตว่า ที่ใจกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลานั้น ดีหรือไม่ดี
ทีนี้ เมื่อมาปฏิบัติแล้วถูกสอนว่า การปฏิบัติคือการฝึกให้ตัวของตัวมีสติ ความระลึกรู้ ที่จะตามรู้ขณะจิตแต่ละขณะๆ ไปเรื่อยๆ เหมือนใจของเราเป็นเรื่องราวที่กำลังฉายอยู่ในจอโทรทัศน์ สติก็คือตัวเราที่นั่งดูอยู่หน้าจอเพื่อที่จะรู้เรื่องเหล่านั้น พอมาฝึกสติของเราอย่างนี้ จะพบว่าใจเรามักไม่เป็นปัจจุบันจิต เพราะอะไร
ขณะดูโทรทัศน์ ดิฉันแน่ใจว่าหลายท่านในที่นี้ จะไม่เป็นเพียงคนดูโทรทัศน์ แต่เผลอเข้าไปแสดงโทรทัศน์เสียเองด้วย ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก่อนดูละครโทรทัศน์เรามักอ่านเรื่องราวมาก่อน แล้วใจก็ลุ้นทีเดียวว่า ต้องเป็นอย่างนี้นะ พอไม่เป็นอย่างนี้ “อื๊อ! ไม่ใช่” ใจกระโดดจากเก้าอี้นั่งดูแล้วไปออกสิทธิ์ออกเสียง บางทีเรื่องแสดงอย่างนี้ เราบอก “ไม่ใช่” ต้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง จะเป็นอย่างที่เป็นนี้ไม่ได้ เป็นต้นว่าเรื่องคู่กรรมที่คนดูส่วนใหญ่เขียนถึงผู้แต่งว่า จบอย่างนี้ไม่ได้ ต้องมีภาคพิเศษ
นี่แสดงว่าเป็นธรรมดาของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะแต่ละบุคคล ทุกคนที่กระโดดเข้าไปเล่นคู่กรรมหมดตัว กลายเป็นส่วนประกอบคู่กรรม เพราะฉะนั้น ไม่เป็นปัจจุบันจิตแล้ว เพราะเราไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงแล้วว่า นี่เรากำลังดูโทรทัศน์ แต่เรากำลังเอาเรื่องอันนั้นมาเป็นเรา แล้วเอาประสบการณ์หรือภูมิหลังของตัวเรามาตัดสินว่า คู่กรรมจะเป็นอย่างที่คนแต่งให้เป็นไม่ได้ แต่จะต้องเป็นอย่างที่เรายึด เอาอุปาทานไปยึดเข้าไว้ ใจเราตอนนั้นหลุดไปจากความเป็นจริง เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจน
เวลาที่เราอยู่ในชีวิตประจำวันกัน ก็เหมือนเรานั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เพราะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจริงๆแต่ละขณะ ก็เหมือนเรื่องในโทรทัศน์ที่เกิดขึ้น มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานของเรา กับที่บ้าน ลูกเต้าหรือคู่ครอง เหมือนแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นบนจอโทรทัศน์ มีใครบ้างที่กำหนดใจของตัวให้ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เก็บรายละเอียดตามความเป็นจริง แล้วยอมรับว่า เรื่องที่เกิดเป็นอย่างนี้นะ ร้อยทั้งร้อยพอมันเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิด เราจะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ มันต้องไม่ใช่” แล้วเราจะพยายามเปลี่ยนเรื่อง ตัวละครในเรื่อง คือเหตุการณ์จริงๆที่เกิดขึ้นนั้น ให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
สมมติเราเป็นแม่ เราจะบอกลูกว่า "ลูกทำอย่างนี้ไม่ได้ ลูกจะต้องเปลี่ยนใหม่” มีเรื่องหนึ่งซึ่งดิฉันเคยยกมาเป็นตัวอย่างแล้ว มีแม่ท่านหนึ่งซึ่งลูกกำลังวัยรุ่น เข้ามหาวิทยาลัยเป็นปีแรก คุณแม่เป็นผู้ที่ถูกอบรมมาอย่างกุลสตรีโบราณ ลูกไปเที่ยวกับเพื่อนฝูง ทุ่มหนึ่งเป็นอย่างช้าที่สุด ลูกจะต้องกลับเข้าบ้าน ลูกก็ให้เหตุผลร้อยสีพันอย่าง หนักเข้าก็สี่ทุ่ม หนักเข้าลูกก็บอกสองยาม ค่อยๆดึกไปเรื่อยๆ คุณแม่ก็พยายามประนีประนอม
ต่อมาวันหนึ่ง ลูกก็มาบอกแม่ว่า เขามีท้องขึ้นมา ลูกก็ใจเด็ด บอกว่า เขาเป็นคนทำความผิด เขาจะยอมรับผิด อย่างสัตว์มันยังรักลูกของมัน เมื่อเขาพลาดไปแล้ว เขาก็จะยอมรักษาให้ท้องครบกำหนดแล้วคลอดออกมา ซึ่งแม่รับไม่ได้ ตอนแรกที่รู้ว่าลูกท้องก็จะเป็นลมตาย ตระกูลเราไม่เคยมีเรื่องอย่างนี้มาก่อน นี่จะเอาหน้าไปไว้ที่ตรงไหนได้ ความคิดแวบแรกคือต้องทำแท้ง
ครั้นลูกบอกว่า ครั้งแรกเขาดื้อดึงกับแม่ จนกระทั่งบัดนี้เขาผิดไปแล้ว ก็จะยอมรับผิดด้วยการที่ว่า ถึงแม่จะเสือกไสไล่ส่งไปไหนหรืออย่างไร ก็จะเอาลูกในท้องไว้จนกระทั่งครบกำหนดคลอด แล้วเขาก็จะดูแล แม่ขัดเคือง รับไม่ได้ เสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูลแล้วอะไรต่อมิอะไรอีก ปู่ย่าตายายจะเดือดร้อนอย่างไร ก็บอกลูกว่าต้องทำแท้ง ลูกยืนยันว่าลูกผิดไปแล้ว ลูกจะยอมรับผิด เรื่องนี้ขอแม่อย่าห่วง แม่ก็ทำตามไม่ได้
นี่ไม่ได้เป็นการนั่งดูโทรทัศน์เฉยๆ ไม่ได้เป็นปัจจุบันจิต ว่าพระพุทธเจ้าเคยสอนไว้ "ของทุกอย่างมาแต่เหตุ” มีเหตุอย่างไรจึงเกิดอย่างนี้ขึ้น หรือว่าเมื่อเหตุมีจึงต้องเป็นอย่างนี้ เป็นไปแล้วเราจะจัดการอย่างไรให้ถูกต้อง
แต่ใจที่ยึดติดกับภูมิหลัง กับอะไรๆที่เรามี เป็นกรอบอยู่โดยไม่รู้ตัว เพราะมันอยู่ลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของเรา เวลาที่เราไม่ตั้งสติกำหนดรู้ตามความเป็นจริง สิ่งที่เป็นแรงผลักดันอยู่ข้างในจะพุ่งออกมาบังคับให้เรากระโดดเข้าไปทุกข์กับเรื่องที่เกิดขึ้น ลืมปัจจุบันหมด ลืมว่าเราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร เราอยู่ที่ไหน เราคิดแต่เพียงว่า สิ่งที่เป็นความอึดอัดคับอยู่ในใจนี้ จะต้องแก้ตามวิธีของเรา
ตกลงคุณแม่ท่านนี้ก็กระโดดเข้าไปในจอโทรทัศน์ ลืมไปว่านี่เป็นปัญหาของลูก เรื่องของลูก เราไม่มีสิทธิ์ เราเป็นแม่เขาก็จริง แต่เราไม่รู้เลยว่า เหตุปัจจัยของเขาที่มีกันมาเป็นอย่างไร เขากับเราเกี่ยวข้องกันแค่ไหน เรามีสิทธิ์ในชีวิตเขามากแค่ไหน
คุณแม่ก็คิดแต่ว่า อย่างไรๆ ฉันต้องทำให้ลูกเราทำแท้งให้ได้ แต่ก็ยังดีนิดหนึ่งตรงที่คุณแม่คิดว่า ตอนนี้เราชักจะเป็นอารมณ์มากไปแล้ว เพราะฉะนั้นเอาเถิด ยุติไว้แค่นี้ก่อน แต่ยังไม่ยอมเลิก เราต้องหาวิธีที่นุ่มนวลให้ลูกเราเชื่อตามให้ได้ เห็นไหม จนกระทั่งได้เรื่องแล้วยังจะดื้อต่อไปอีก คือยังเห็นว่าวิธีของเรานี่ถูก อุปาทานคือรวงรังแห่งทุกข์ ทำให้เราหลุดออกไปจากความเป็นจริง ใจของเราไม่ได้อยู่กับปัจจุบันแล้ว ไม่รู้ว่ามันถอยไปอยู่ที่ตรงไหน เพราะคิดทีไรก็นึกว่า นี่ถ้าเผื่อแม่ของเรายังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ต้องเห็นอย่างนี้เด็ดขาด
คนเราจะไปยึดเอาตามสิ่งที่เราเคยถูกอบรมบ่มสอนมา โดยไม่ได้พิจารณาว่า แล้วจริงๆข้อมูลที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร เราควรแก้ไขอย่างไร
ท่านว่าท่านถูก ทั้งที่หลุดออกไปจากความเป็นจริง เคราะห์ดีที่คุณแม่ท่านนี้มีนิสัยว่าถึงเวลาสวดมนต์ การสวดมนต์ของท่านคือการทำใจให้เป็นปัจจุบัน มีสติรู้อยู่ ท่านจะสวดมนต์โดยไม่ให้มีตรงไหนผิดพลาด ถ้าผิดพลาดก็ตั้งต้นสวดใหม่ วันนั้นท่านก็ปฏิบัติเหมือนที่เคยทำอยู่เป็นประจำ ปรากฏว่าสวดมนต์ไม่ถูก เดี๋ยวผิด.. เดี๋ยวผิด.. เพราะใจไปผูกพันกับเรื่องที่เกิดขึ้น จนกระทั่งไม่จดจ่อกับการสวดมนต์ แฉลบหลุดไปเรื่อยๆ จนต้องตั้งต้นใหม่ ไม่รู้จักกี่ทีๆ
ท่านก็เริ่มระลึกนึกได้ว่า วันนี้ใจของเราแย่มากๆ ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับบทสวด ท่านก็เลยตั้งใจว่า เอาละในเมื่อเห็นที่ผิดที่บกพร่องของเราอย่างนี้แล้ว เราต้องแก้ไข ถ้าปล่อยให้ใจเป็นอยู่อย่างนี้ พรุ่งนี้ไปทำอะไรมันจะต้องแย่หนักไปกว่านี้ ก็บอกกับตัวเองว่า ถ้าเราดึงใจของเราให้มาอยู่กับปัจจุบันคือคำสวดมนต์ไม่ได้ คืนนี้ไม่นอนก็ไม่ต้องนอน ถวายพระพุทธเจ้าเป็นปฏิบัติบูชา
เมื่อใจตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ที่จะเผลอแฉลบออกไปก็น้อยลงๆ คุณภาพค่อยดีขึ้นๆ จนในที่สุดท่านก็สวดมนต์ได้เรียบร้อย ไม่มีตก ไม่มีผิด ไม่มีอะไรเลย ใจที่ได้ผ่านการต่อสู้กับตัวเองมา ก็เหมือนเราสู้กับจิตเวทนาของเราโดยไม่รู้ตัว ก็เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่ง
สวดมนต์เสร็จ ท่านก็นั่งสมาธิต่อ จิตรวมตัวเร็ว พอลงรวม จิตใจของท่านคงเป็นจิตที่ได้ฝึกมาพอสมควร ปัญญาก็เกิดขึ้น ท่านแวบขึ้นมาว่า ไหนเราว่าถือศีลห้า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ยุงสักตัวเราก็ไม่ตบ แล้วนี่เรากำลังทำอะไร เรากำลังบอกให้ลูกทำแท้ง สิ่งที่อยู่ในท้องเป็นสิ่งมีชีวิตนะ ไม่ใช่ชีวิตใครที่ไหน ชีวิตหลานของเราเอง แล้วนี่เรากำลังถือศีลอะไรกัน พอใจได้คิดขึ้นมาอย่างนี้ มันเบาทันทีเลย
ท่านเห็นทันทีว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ของทุกอย่างมาแต่เหตุ” ลูกเป็นลูกของท่านก็จริง แต่ท่านไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่รู้ว่าเขามีวิบากอะไร มีบุพกรรมอะไรเป็นมูลมรดกมา แล้วเขาก็ถูกต้อง เราไปดุว่าเขาเลอะเทอะเปรอะเปื้อน แต่เขาก็มีสัญชาติญาณของความเป็นแม่ เขารักษาศีล ไม่ไปทำลายชีวิต เราซิไปยึดติดในอุปาทาน ในชื่อเสียงเกียรติยศของวงศ์ตระกูล ยึดมั่นสำคัญผิดติดกับเปลือก โดนโลกธรรมหวั่นไหวโดยไม่รู้ตัว นี่ขนาดว่าเราปฏิบัตินะ
ถอนออกจากสมาธิแล้ว ท่านก็เห็นคุณที่ครูบาอาจารย์สอนว่าปัจจุบันจิต อยู่กับปัจจุบันให้ได้ แล้วใจของเราจะเหมือนพระอาทิตย์เที่ยงวัน ไม่มีเงาตรงไหนที่จะมาทำให้ใจของเราวอกแวกไป อย่างนี้เอง ท่านเกิดความซาบซึ้ง ธัมมะเป็นอย่างนี้เอง
แต่ก่อนนั้น ถ้าใครมาบอกท่านว่า ท่านไม่อยู่กับปัจจุบัน ท่านก็ไม่เชื่อ เราทุกคนที่บอกว่าอยู่กับปัจจุบัน อาจจะอยู่เพียงเศษหนึ่งส่วนเท่าไหร่ก็ไม่รู้ นอกนั้นแฉลบไปอยู่ที่อื่นอยู่ตลอดเวลา เหมือนเราดูของที่พลิ้วเป็นพยับแดด เป็นระลอกอยู่ตลอดเวลา เราก็ไม่เข้าใจ
พอท่านเห็นอย่างนี้ ท่านจึงซาบซึ้งที่ครูบาอาจารย์บอกว่า การปฏิบัตินั้น ใจจะเป็นสมาธิหรือไม่เป็น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่ต้องพยายามให้มีสติรู้กับความเป็นจริง รู้อยู่กับแต่ละขณะจิตๆ อะไรที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เสียดแทง เป็นปัญหาที่เราแกะไม่หลุด ดูมันเฉยๆ เหมือนเรานั่งดูโทรทัศน์ แต่อย่ากระโดดเข้าไปแต่งบทโทรทัศน์ กำกับโทรทัศน์ แล้วเราออกไปจากปัจจุบัน สิ่งที่เราแก้ปัญหานั้นจะเป็นกิเลส เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกที่เป็นอัตโนมัติ โดยไม่รู้สึกตัว
จากตัวอย่างอันนี้ที่ดิฉันยกขึ้นมา ถ้าท่านมองตามจะเห็นว่า มันอย่างนี้เอง แล้วทำไมเราจึงบอกว่า ปัจจุบันจิตคือกุญแจดอกสำคัญ ที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะใจของเราเหมือนของผสม ที่ผสมอยู่ระหว่างธาตุแท้ คือจิตรู้ที่เป็นพุทธะ รู้ตามความเป็นจริง กับแขกจร คือจิตหลอน ที่ถูกอิทธิพลของอวิชชา อุปาทาน กิเลส สิ่งแคลบแฝง มาครอบคลุมเอาไว้
อิทธิพลของความรู้ที่ไม่เป็นจริง ความรู้ที่คิดผิดเห็นผิด ตามอวิชชาอุปาทานมันสูง เพราะอะไร เพราะเราถูกอวิชชาอุปาทานกล่อมจนเชื่อหมดหัวใจ จนกระทั่งเราเป็นกระบอกเสียงของมัน มือของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ความคิดของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ปากของเราก็เป็นขี้ข้ามัน ความคิดของเราก็เป็นขี้ข้ามัน คือคิดทีไรเราจะคิดด้วยความเป็นอกุศล แต่ทั้งหมดนี้เราไม่รู้ตัว เราจึงมาเกิดอยู่อย่างนี้ เราจึงมีเหตุคือกรรม ที่สร้างให้เป็นตัวเป็นตน อย่างที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราตกอยู่ในภาวะวิกฤต อะไรที่เราหลุดไปจากปัจจุบันทันทีมันเป็นกิเลส เป็นสถิติของกิเลสทั้งนั้น เพราะความเคยชินเราไม่ทันรู้ตัว มันรวดเร็วมากจนกระทั่งเราคิดว่า นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราไตร่ตรองดีแล้ว
ทุกๆขณะจิตของเรา เหมือนเราอยู่บนทางสองแพร่ง ทุกๆขณะจิตเราต้องตัดสินใจเดินออกไป การตัดสินใจของเราก็มีสาเหตุอยู่สองประการ คือ เหตุที่เป็นหนทางสู่ความดับทุกข์ คือ มรรค หรือเหตุที่เป็นหนทางของการสร้างทุกข์ คือ สมุทัย เพราะฉะนั้น ทุกๆขณะจิตของเรา เราอยู่บนทางสองแพร่งตลอดเวลา อยู่ที่เราตัดสินใจว่าจะเอาอะไร...
ปัจจุบันจิตจึงเป็นโอกาสทองและล้ำค่า ไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าสำหรับแต่ละคนในความเป็นมนุษย์ ถ้าเราตระหนักถึงความมหัศจรรย์อันนี้ แล้วพยายามฝึกตัวของตัวเอง ฝึกเอาไว้ ในแต่ละขณะที่ถูกบีบคั้นอยู่ด้วยเหตุการณ์รอบข้าง หยุดใจของเราให้แน่แน่วนิ่งให้ได้ ให้สติมาประกบ แล้วอะไรที่ตอบสนองออกไปนั้น ให้เป็นไปตามความระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
อย่างที่ดิฉันยกตัวอย่าง คุณแม่ได้พากเพียรสวดมนต์ จนกระทั่งจิตหลุดออกจากความเกาะเกี่ยวและไปผูกพันกับปัญหา มาเป็นจิตที่เป็นปัจจุบันจิตจริงๆ คือเปิดรับข้อมูลทั้งหลาย เที่ยงตรงตามความเป็นจริง แล้วตรงนั้นแหละ สติที่เต็มรอบก็จะเป็นปัญญาขึ้นมาให้เห็นได้ว่า เราถือศีล เรารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ยุงเราไม่ตบ แต่เรากำลังจะฆ่าชีวิตมนุษย์ มันเห็นขึ้นมาหมด
แต่ถ้าเรายังยึดอยู่เหมือนเส้นผมบังภูเขา ไปยึดชื่อเสียงเกียรติยศวงศ์ตระกูล ในฐานะที่เป็นแม่ ในฐานะที่เป็นหลักของครอบครัว เราจะปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สามีเราเป็นคนมีหน้ามีตา แล้วเราจะให้เขามัวหมองได้อย่างไร
เราถูกลมพายุของโลกธรรมหวั่นไหว ถ้าไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง เมื่อใครมาพูดเราก็ต้องเถียงว่า “แน่ละซิ เธอไม่ใช่ฉัน เธอก็พูดได้ ลองเธอมาเป็นฉัน เธอก็จะไม่พูดอย่างนี้” นี่แหละอุปาทาน มันน่ากลัวอย่างนี้ ทำให้เราเห็นว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ เรามองรอบคอบกว่าคนอื่น เพราะคนอื่นไม่ใช่เรา เขาจะมารู้เรื่องของเราดีไปกว่าเราได้อย่างไร มันถึงตกหลุมกิเลสอย่างนี้ พอเราเห็นตัวกิเลสอย่างนี้แล้ว เราจะได้พากเพียรฝึก เพราะถ้าไม่ฝึก จะไม่มีโอกาสเลย ...
คุณแม่ท่านเมื่อกี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านดีใจที่การสวดมนต์ของท่านคุ้มครองท่านให้เห็นผลในปัจจุบัน เพราะท่านบอก หากว่าท่านเกิดหว่านล้อมลูกให้ทำแท้งได้สำเร็จเป็นจริงอย่างนั้นขึ้นมา แล้ววันหนึ่งกำลังทำสมาธิ คิดได้ว่ามันก็คือมนุษย์ เราได้ฆ่าหลานในไส้ไป ป่านนี้จะเป็นอย่างไร เราแผ่เมตตาไปจะถึงไหม ใจก็จะเป็นกังวลขึ้นมาเรื่อยๆ
ท่านก็เลยเห็นว่า การกระทำอะไรที่เป็นอกุศลแล้ว ไม่ใช่จะเป็นความทุกข์เฉพาะต่อบุคคลที่เราทำเท่านั้น คนแรกที่จะเป็นทุกข์เดือดร้อนก็คือตัวของตัวเอง และท่านก็เห็นต่อไปถึงว่า ท่านจะภาวนาอย่างไรๆ ก็ไม่แน่ใจว่าจะยกจิตขึ้นพ้นจากความมัวหมองได้ ตอนกระทำก็มีความสุขว่า เราทำสำเร็จ เรารักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลได้สำเร็จ แต่พอต่อๆไป ท่านบอกว่าไม่คุ้มกันเลย ใจที่ภาวนาก็ไม่ได้ แวบขึ้นมาแล้วก็หมอง ยิ่งกว่าตกนรกอเวจีอีก ไม่รู้ว่าจะชดใช้ได้อย่างไรจึงสำเร็จ
นี่แหละ จึงเรียนให้ท่านทราบถึงความสำคัญของปัจจุบันจิต ขณะเดี๋ยวนั้นมองไม่เห็นกัน เพราะยังถูกปิดบังด้วยเมฆหมอกของอวิชชา ทำให้ใครเอาแสงสว่างมาส่องให้เห็นหนทาง เราก็มองไม่เห็น หาว่าผิดอยู่ร่ำไป แต่พอเราได้ผ่านพ้นเหตุการณ์ตรงนั้นไปหลายๆอย่าง ความผิดหรืออะไรได้ประจักษ์ขึ้นแล้ว คือเรียกได้ว่า กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แล้ว ความเสียใจ หนี้สิน ราคาค่าเสียหายที่เขาเรียกนั้นประมาณไม่ได้ เราก็มานึก ถ้ารู้อย่างนี้เราจะหยุดตั้งแต่ตอนนั้น แต่ทำไมถ้าไม่มีใครชี้แจงให้เรารู้อย่างนี้
จริงๆเขาก็ชี้แจงให้เรารู้อย่างนี้ แต่เราปิดหูปิดตา เราไม่ยอมฟัง เพราะใจที่มองเห็นแต่เงา แล้วก็ไปคว้าแต่เงา ทำให้เราพลาดจากเป้าของจริงไป ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงพูดกันว่า ปัจจุบันจิตคือหัวใจของการปฏิบัติ...
(ส่วนหนึ่งจากการแสดงธรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย พญ.อมรา มลิลา)