“อ้วน” หรือผู้ที่มีภาวะไขมันสะสมในร่างกายมากเกินปกติ กำลังเป็นปัญหาทางสังคมไทย ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้รายงานผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2550 พบว่า ในกลุ่มประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป ซึ่งมีทั้งหมด 55 ล้านคน กำลังประสบปัญหาภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐานประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งติดอันดับ 5 ใน 14 ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก และผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2552 พบว่า มีผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน สูงถึง ร้อยละ 36.5
นอกจากนี้ยังพบว่า ความอ้วนมีผลเสียทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เป็นต้น ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปัจจุบันต้นทุนรวมต่อสังคมของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีมูลค่าสูงกว่า 12,142 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของ GDP โดยแยกเป็นต้นทุนทางตรงจากค่ารักษาพยาบาล มีมูลค่าประมาณ 5,584 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการขาดงาน มีมูลค่ารวม 6,358 ล้านบาท
อ.นพ.กำธร ยลสุริยันวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมผ่าตัดส่องกล้อง และศัลยกรรมโรคอ้วน ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริม ป้องกัน และดูแลรักษาโรคอ้วนอย่างจริงจัง และได้จัดตั้งทีมดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาโรคอ้วนขึ้น โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สหสาขา ช่วยเหลือดูแลอย่างครบวงจรแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วย ศัลยแพทย์ผ่าตัดโรคอ้วน ศัลยแพทย์ตกแต่ง อายุรแพทย์หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม วิสัญญีแพทย์ จิตแพทย์ โสตศอนาสิกแพทย์ พยาบาล ทีมงานโภชนาการ ทีมงานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย และทีมงานกายภาพบำบัด
ปัจจุบันโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นสถาบันชั้นนำของประเทศในการรักษาโรคอ้วนอย่างครบวงจร ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผู้มารับคำปรึกษาแล้วมากกว่า 300 รายต่อปี และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดไปแล้วกว่า 100 ราย
“อย่ามองว่าเรื่องของความอ้วนเป็นเรื่องเล็ก ส่วนมากจะมองเพียงว่า ความอ้วนนั้นก่อให้เกิดปัญหาด้านรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง โรคอ้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านกระดูกและข้อ เช่น โรคเกาต์ ปวดเข่า ปวดขา หรือปัญหาเกี่ยวกับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน และในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” อ.นพ.กำธร กล่าว
อ.นพ.กำธร กล่าวว่า นิยามของภาวะอ้วนนั้น ในทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะมีการแบ่งระยะของความอ้วนในหลายระดับด้วยกัน โดยมักอ้างอิงจากตัวเลขค่าหนึ่งที่เรียกว่า ค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า Body Mass Index (BMI) โดยคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม ; kg)/ส่วนสูง2 (เมตร2 ; m2)
ส่วนใหญ่แพทย์จะนิยามความอ้วนระดับที่ 1 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 สำหรับระดับที่ 2 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 35 และระดับที่ 3 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 40
หากกล่าวถึงระดับความอ้วน ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก็จะมีผลกระทบตั้งแต่เริ่มมีภาวะน้ำหนักเกินแล้ว โดยหากค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ควรปฏิบัติตนโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะถ้าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้สูง จึงควรปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด และควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หรือนักโภชนาการร่วมกัน
ทั้งนี้ ในขั้นแรกของการรักษา แพทย์และนักโภชนาการจะพยายามให้คนไข้ลดน้ำหนักด้วยตนเองเป็นลำดับแรก ซึ่งแพทย์จะให้เวลาผู้ป่วยควบคุมน้ำหนักด้วยตนเองอย่างน้อย 6 เดือน และจะไม่แนะนำให้คนไข้หักโหมลดน้ำหนัก หรือใช้ยาลดความอ้วนเด็ดขาด แม้จะช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มิได้เป็นผลดีต่อสุขภาพแต่อย่างใด เนื่องจากน้ำหนักที่ลดลงไปอย่างรวดเร็ว จะเป็นการสูญเสียน้ำมากกว่าการสลายไขมัน ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย และที่สำคัญเมื่อหยุดยา น้ำหนักก็จะกลับเพิ่มขึ้นมาเป็นทวีคูณ
การลดน้ำหนักที่ถูกวิธี ต้องลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีหลักสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ “การควบคุมอาหาร” และ “การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม” โดยแพทย์จะติดตามผลเป็นระยะ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่กลับมาอ้วนอีก
แต่หากผู้ป่วยลดน้ำหนักด้วยวิธีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายไม่สำเร็จ จะมีทางเลือกทางอื่นๆ อาทิ การผ่าตัดในการรักษาโรคอ้วน ซึ่งมีหลักการสำคัญง่ายๆ คือ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ร่างกายดูดซึมพลังงานจากอาหารได้น้อยลง ให้ร่างกายจำเป็นต้องนำไขมันส่วนเกินออกมาใช้ เพื่อเป็นพลังงานแก่ร่างกายให้เพียงพอ
การผ่าตัดนั้นจะสามารถทำได้หลักๆ 3 วิธี ได้แก่
1. การผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร โดยนำห่วงมารัดกระเพาะอาหารส่วนต้น ให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะได้ช้าลง จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ทานอาหารได้น้อยลง คนไข้จะค่อยๆผอมลง
2. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร คือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะให้เหลือเพียงท่อขนาดเล็ก ทำให้คนไข้อิ่มเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยลดฮอร์โมนกระตุ้นความหิว
3. การบายพาสลัดทางเดินอาหาร หรือการตัดต่อลำไส้ ทำโดยการตัดกระเพาะอาหารส่วนต้นมาต่อเข้าโดยตรงกับลำไส้เล็กเลย ทำให้อาหารลัดผ่านกระเพาะอาหารไปย่อยที่ลำไส้เล็กส่วนล่าง ร่างกายจึงดูดซับพลังงานจากอาหารได้น้อยลง ช่วยให้นำไขมันส่วนเกินออกมาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายได้เร็วขึ้น
แม้ว่าการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน จะดูค่อนข้างน่ากลัว แต่การผ่าตัดทั้งหมดสามารถทำได้โดยการส่องกล้อง ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้างเหมือนการผ่าตัดทั่วไป และการผ่าตัดดังกล่าวนั้น มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตน้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตาม การลดความอ้วนด้วยวิธีการธรรมชาติ ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดแล้ว การลดน้ำหนักด้วยตนเอง ยังเป็นการเสริมสร้างวินัย และยังช่วยให้สุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรงอีกด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นอกจากนี้ยังพบว่า ความอ้วนมีผลเสียทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เป็นต้น ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปัจจุบันต้นทุนรวมต่อสังคมของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีมูลค่าสูงกว่า 12,142 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของ GDP โดยแยกเป็นต้นทุนทางตรงจากค่ารักษาพยาบาล มีมูลค่าประมาณ 5,584 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการขาดงาน มีมูลค่ารวม 6,358 ล้านบาท
อ.นพ.กำธร ยลสุริยันวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมผ่าตัดส่องกล้อง และศัลยกรรมโรคอ้วน ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริม ป้องกัน และดูแลรักษาโรคอ้วนอย่างจริงจัง และได้จัดตั้งทีมดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาโรคอ้วนขึ้น โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สหสาขา ช่วยเหลือดูแลอย่างครบวงจรแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วย ศัลยแพทย์ผ่าตัดโรคอ้วน ศัลยแพทย์ตกแต่ง อายุรแพทย์หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม วิสัญญีแพทย์ จิตแพทย์ โสตศอนาสิกแพทย์ พยาบาล ทีมงานโภชนาการ ทีมงานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย และทีมงานกายภาพบำบัด
ปัจจุบันโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นสถาบันชั้นนำของประเทศในการรักษาโรคอ้วนอย่างครบวงจร ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผู้มารับคำปรึกษาแล้วมากกว่า 300 รายต่อปี และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดไปแล้วกว่า 100 ราย
“อย่ามองว่าเรื่องของความอ้วนเป็นเรื่องเล็ก ส่วนมากจะมองเพียงว่า ความอ้วนนั้นก่อให้เกิดปัญหาด้านรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง โรคอ้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านกระดูกและข้อ เช่น โรคเกาต์ ปวดเข่า ปวดขา หรือปัญหาเกี่ยวกับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน และในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” อ.นพ.กำธร กล่าว
อ.นพ.กำธร กล่าวว่า นิยามของภาวะอ้วนนั้น ในทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะมีการแบ่งระยะของความอ้วนในหลายระดับด้วยกัน โดยมักอ้างอิงจากตัวเลขค่าหนึ่งที่เรียกว่า ค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า Body Mass Index (BMI) โดยคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม ; kg)/ส่วนสูง2 (เมตร2 ; m2)
ส่วนใหญ่แพทย์จะนิยามความอ้วนระดับที่ 1 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 สำหรับระดับที่ 2 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 35 และระดับที่ 3 เมื่อค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 40
หากกล่าวถึงระดับความอ้วน ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก็จะมีผลกระทบตั้งแต่เริ่มมีภาวะน้ำหนักเกินแล้ว โดยหากค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ควรปฏิบัติตนโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะถ้าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้สูง จึงควรปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด และควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หรือนักโภชนาการร่วมกัน
ทั้งนี้ ในขั้นแรกของการรักษา แพทย์และนักโภชนาการจะพยายามให้คนไข้ลดน้ำหนักด้วยตนเองเป็นลำดับแรก ซึ่งแพทย์จะให้เวลาผู้ป่วยควบคุมน้ำหนักด้วยตนเองอย่างน้อย 6 เดือน และจะไม่แนะนำให้คนไข้หักโหมลดน้ำหนัก หรือใช้ยาลดความอ้วนเด็ดขาด แม้จะช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มิได้เป็นผลดีต่อสุขภาพแต่อย่างใด เนื่องจากน้ำหนักที่ลดลงไปอย่างรวดเร็ว จะเป็นการสูญเสียน้ำมากกว่าการสลายไขมัน ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย และที่สำคัญเมื่อหยุดยา น้ำหนักก็จะกลับเพิ่มขึ้นมาเป็นทวีคูณ
การลดน้ำหนักที่ถูกวิธี ต้องลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีหลักสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ “การควบคุมอาหาร” และ “การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม” โดยแพทย์จะติดตามผลเป็นระยะ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่กลับมาอ้วนอีก
แต่หากผู้ป่วยลดน้ำหนักด้วยวิธีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายไม่สำเร็จ จะมีทางเลือกทางอื่นๆ อาทิ การผ่าตัดในการรักษาโรคอ้วน ซึ่งมีหลักการสำคัญง่ายๆ คือ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ร่างกายดูดซึมพลังงานจากอาหารได้น้อยลง ให้ร่างกายจำเป็นต้องนำไขมันส่วนเกินออกมาใช้ เพื่อเป็นพลังงานแก่ร่างกายให้เพียงพอ
การผ่าตัดนั้นจะสามารถทำได้หลักๆ 3 วิธี ได้แก่
1. การผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร โดยนำห่วงมารัดกระเพาะอาหารส่วนต้น ให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะได้ช้าลง จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ทานอาหารได้น้อยลง คนไข้จะค่อยๆผอมลง
2. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร คือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะให้เหลือเพียงท่อขนาดเล็ก ทำให้คนไข้อิ่มเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยลดฮอร์โมนกระตุ้นความหิว
3. การบายพาสลัดทางเดินอาหาร หรือการตัดต่อลำไส้ ทำโดยการตัดกระเพาะอาหารส่วนต้นมาต่อเข้าโดยตรงกับลำไส้เล็กเลย ทำให้อาหารลัดผ่านกระเพาะอาหารไปย่อยที่ลำไส้เล็กส่วนล่าง ร่างกายจึงดูดซับพลังงานจากอาหารได้น้อยลง ช่วยให้นำไขมันส่วนเกินออกมาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายได้เร็วขึ้น
แม้ว่าการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน จะดูค่อนข้างน่ากลัว แต่การผ่าตัดทั้งหมดสามารถทำได้โดยการส่องกล้อง ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้างเหมือนการผ่าตัดทั่วไป และการผ่าตัดดังกล่าวนั้น มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตน้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตาม การลดความอ้วนด้วยวิธีการธรรมชาติ ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดแล้ว การลดน้ำหนักด้วยตนเอง ยังเป็นการเสริมสร้างวินัย และยังช่วยให้สุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรงอีกด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)