• ไม่น่าเชื่อ..สมองเรียนรู้ช้า แต่ไปได้เร็ว แล้วก็กลับมาช้าอีก
“ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง ยิ่งเก่งยิ่งเรียนรู้น้อย” ไม่ใช่หลักปรัชญาอะไร แต่งานวิจัยยืนยันแล้วว่า สมองคนเราเริ่มเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ช้า แต่พอเริ่มคล่องก็จะไปได้เร็ว จนเมื่อคล่องแล้ว การเรียนรู้กลับจะเฉื่อยลง
ศาสตราจารย์โจเซฟ ดีซูซ่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยยอร์ค ของแคนาดา ซึ่งสนใจศึกษาโรคพาร์กินสัน ทำงานวิจัยเรื่องนี้โดยสแกนสมองนักบัลเลต์ เพื่อดูลักษณะการเรียนรู้ของสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อได้รับการฝึกฝนนานๆ จะได้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาฟื้นฟูสมอง ที่เกิดความเสียหายและเป็นสาเหตุของโรคนี้
จากการศึกษานักบัลเลต์ในแคนาดา 11 คน อายุ 19-50 ปี โดยใช้เครื่อง MRI สแกน วัดความต่างของระดับออกซิเจนในเลือด 4 ครั้งในช่วง 34 สัปดาห์ที่ให้ฝึกเรียนท่าเต้นใหม่ ผลที่ได้คือ ช่วง 7 สัปดาห์แรก สมองมีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่พอถึงสัปดาห์ที่ 34 กลับน้อยลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 7
งานวิจัยนี้จึงสนับสนุนคำแนะนำให้ผู้สูงวัย รวมถึงผู้ที่เริ่มป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อให้สมองได้ฝึกฝนพัฒนา แทนที่จะปล่อยฝ่อไปตามวันเวลา รวมทั้งการออกกำลังกายท่าใหม่ๆ หรือใช้วิธีการของเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการกินยาเป็นประจำ
• โรคเหงือก.. ไม่ใช่เล่นๆ ทำไตพังได้
นักวิจัยพบว่า คนไข้โรคไตเรื้อรังที่มีเหงือกอักเสบร่วมด้วย เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าคนไข้โรคไตเรื้อรังที่มีสุขภาพเหงือกดี
มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ ได้ทำการศึกษาวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากกับโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เราต้องเอาใจใส่สุขภาพช่องปากให้ดี เพราะเป็นด่านหนึ่งที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะแบคทีเรียในช่องปากที่เข้าสู่เส้นเลือดผ่านทางเหงือกได้
ที่สำคัญคนเป็นโรคเหงือก มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น อาการเบื้องต้นคือ มีเลือดออกตอนแปรงฟัน ถ้าไม่ไปพบแพทย์ตรวจ ก็อาจจะไม่ทราบว่าเศษอาหารและเชื้อโรค เกาะสะสมตามคอฟันและร่องฟัน ทำให้เหงือกอักเสบ
จากการวิจัยในช่วง 10 ปี อัตราผู้เสียชีวิตในกลุ่มเฝ้าสังเกต เป็นโรคไตโดยไม่เป็นโรคเหงือก 32% เป็นโรคไตและโรคเหงือก 41% และถ้าเป็นเบาหวานด้วย ก็เพิ่มเป็น 43%
เพราะฉะนั้น สุขอนามัยในช่องปากจึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะปล่อยละเลย แต่ต้องหมั่นดูแลให้ดีที่สุด
• ของทอดก็มีคุณค่า ถ้าทอดในน้ำมันมะกอก
น้ำมันทอดอาหารมักเป็นศัตรูของสุขภาพ แต่ถ้าเป็นน้ำมันมะกอกแบบเอ็กซตราเวอร์จิน (EVOO) นักวิจัยบอกว่า ดีกว่าการใช้น้ำมันชนิดอื่น และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน หรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ด้วย
ผักและ EVOO นิยมใช้ในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งสองอย่างนี้เป็นแหล่งของกรดฟีนอล ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เชื่อกันว่าจะช่วยลดปัญหาสุขภาพได้ แต่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระนี้ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำอาหารด้วย
ทีมวิจัยในสเปนได้เปรียบเทียบวิธีการทำอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแบบต่างๆ ที่สารต้านอนุมูลอิสระจะยังทำงานได้ผลดีที่สุด มีปริมาณสารประกอบกลุ่มฟีนอลิกมากที่สุด โดยจัดเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ มันฝรั่ง ฟักทอง มะเขือเทศ และมะเขือม่วง นำไปทำอาหาร 3 วิธี คือ ทอด เคี่ยว และต้ม ในน้ำอย่างหนึ่ง และใน EVOO อีกอย่างหนึ่ง
ผลคือการทอดใน EVOO เป็นวิธีที่เพิ่มประสิทธิภาพสารต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มระดับสารประกอบกลุ่มฟีนอลิกได้มากที่สุด ทั้งในมันฝรั่ง ฟักทอง มะเขือเทศ และมะเขือม่วง
สรุปว่า การใช้ EVOO ทำอาหารประเภทผัก นอกจากจะคงคุณค่าอาหารไว้แล้ว ยังเพิ่มคุณค่าอีกด้วย แต่ถ้ากังวลว่า การทอดจะให้พลังงานแก่ร่างกายมากเกินไป ลองเอาไปผัดในน้ำมันน้อยๆ แทนก็ได้ จะช่วยเพิ่มคุณค่าอาหารได้เช่นกัน
• ยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งแข็งแรง
อีกหนึ่งเสียงสนับสนุนจากงานวิจัยล่าสุด ยืนยันว่า ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Medicine & Science in Sports & Exercise ซึ่งสำรวจคนวัย 50-79 ปี จำนวน 3,000 คน โดยติดเครื่องติดตามการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน 8 ปี พบว่า ในกลุ่มคนที่ออกกำลังกายนั้น คนที่นั่งกับที่น้อย ลุกมาเคลื่อนไหวมาก เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน จะมีอายุยืนยาวกว่าคนอื่นๆ
ทีมวิจัยยังพบด้วยว่า การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเบาๆ เพิ่มขึ้นเพียง 10 นาที จะเห็นผลแตกต่างเลย ฉะนั้น จึงแนะนำว่า โปรดใช้เวลาที่เคยนั่งดูทีวีหรืออยู่หน้าคอมพิวเตอร์สัก 30 นาที ลุกมาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ได้เคลื่อนไหว จะน้อย ปานกลาง หรือหนัก ก็ให้ผลดีทั้งนั้น
แค่ลุกขึ้นยืน ก็ดีกว่านั่งแช่เฉยๆ แค่เดินไปมารอบห้อง ก็ได้เคลื่อนไหวแล้ว แค่เดินขึ้นลงบันได ร่างกายก็จะขอบคุณแล้ว และถ้าได้ช่วยทำงานบ้าน เสียงชื่นชมยิ่งตามมา แล้วจะรออะไรอยู่ล่ะ มาขยับกันเถอะ
• ตะลึง!! หนวดเครา แหล่งยาปฏิชีวนะชั้นดี
เคยมีข่าวว่า หนวดเคราเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคไม่ต่างจากในห้องน้ำ ทำเอาคนไว้หนวดเคราพากันโกนซะเกลี้ยงเกลา แต่งานวิจัยล่าสุดกลับชวนตื่นตะลึง
ทีมวิจัยของ ดร. อดัม โรเบิร์ตส์ นักจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ในอังกฤษ ร่วมกันทำวิจัยค้นหายาตัวใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการดื้อยา ซึ่งกำลังเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก และเมื่อตรวจใบหน้ามีหนวดเคราและไม่มีของหนุ่มวัยฉกรรจ์ 408 คนที่ทำงานด้านสุขภาพ พบว่า ถึงจะโกนกลี้ยงเกลาก็ยังมีเชื้อแบคทีเรียชนิดดื้อยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ และเสี่ยงต่อปัญหาการติดเชื้อจากสถานพยาบาลที่ตัวเองทำงานอยู่มากกว่า
นอกจากนี้ ยังตรวจหนวดเคราของผู้ชายเดินถนนในกรุงลอนดอน 20 คน พบว่า มีแบคทีเรียกว่าร้อยชนิด รวมทั้ง Barnesiella ซึ่งพบในลำไส้เล็ก และกว่า 1 ใน 4 ของแบคทีเรียเหล่านี้ฆ่าเชื้อได้ นั่นคือแบคทีเรียพวกนี้สร้างสารปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อ Escherichia coli ซึ่งดื้อยาได้
การค้นพบนี้เป็นประโยชน์ต่อการคิดค้นยามาสู้กับเชื้อโรค แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ยึดหลักดูแลตัวเองให้ห่างไกลเชื้อโรค รักษาความสะอาด และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองจะดีกว่า
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย ธาราทิพย์)
“ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง ยิ่งเก่งยิ่งเรียนรู้น้อย” ไม่ใช่หลักปรัชญาอะไร แต่งานวิจัยยืนยันแล้วว่า สมองคนเราเริ่มเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ช้า แต่พอเริ่มคล่องก็จะไปได้เร็ว จนเมื่อคล่องแล้ว การเรียนรู้กลับจะเฉื่อยลง
ศาสตราจารย์โจเซฟ ดีซูซ่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยยอร์ค ของแคนาดา ซึ่งสนใจศึกษาโรคพาร์กินสัน ทำงานวิจัยเรื่องนี้โดยสแกนสมองนักบัลเลต์ เพื่อดูลักษณะการเรียนรู้ของสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อได้รับการฝึกฝนนานๆ จะได้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาฟื้นฟูสมอง ที่เกิดความเสียหายและเป็นสาเหตุของโรคนี้
จากการศึกษานักบัลเลต์ในแคนาดา 11 คน อายุ 19-50 ปี โดยใช้เครื่อง MRI สแกน วัดความต่างของระดับออกซิเจนในเลือด 4 ครั้งในช่วง 34 สัปดาห์ที่ให้ฝึกเรียนท่าเต้นใหม่ ผลที่ได้คือ ช่วง 7 สัปดาห์แรก สมองมีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่พอถึงสัปดาห์ที่ 34 กลับน้อยลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 7
งานวิจัยนี้จึงสนับสนุนคำแนะนำให้ผู้สูงวัย รวมถึงผู้ที่เริ่มป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อให้สมองได้ฝึกฝนพัฒนา แทนที่จะปล่อยฝ่อไปตามวันเวลา รวมทั้งการออกกำลังกายท่าใหม่ๆ หรือใช้วิธีการของเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการกินยาเป็นประจำ
• โรคเหงือก.. ไม่ใช่เล่นๆ ทำไตพังได้
นักวิจัยพบว่า คนไข้โรคไตเรื้อรังที่มีเหงือกอักเสบร่วมด้วย เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าคนไข้โรคไตเรื้อรังที่มีสุขภาพเหงือกดี
มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ ได้ทำการศึกษาวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากกับโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เราต้องเอาใจใส่สุขภาพช่องปากให้ดี เพราะเป็นด่านหนึ่งที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะแบคทีเรียในช่องปากที่เข้าสู่เส้นเลือดผ่านทางเหงือกได้
ที่สำคัญคนเป็นโรคเหงือก มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น อาการเบื้องต้นคือ มีเลือดออกตอนแปรงฟัน ถ้าไม่ไปพบแพทย์ตรวจ ก็อาจจะไม่ทราบว่าเศษอาหารและเชื้อโรค เกาะสะสมตามคอฟันและร่องฟัน ทำให้เหงือกอักเสบ
จากการวิจัยในช่วง 10 ปี อัตราผู้เสียชีวิตในกลุ่มเฝ้าสังเกต เป็นโรคไตโดยไม่เป็นโรคเหงือก 32% เป็นโรคไตและโรคเหงือก 41% และถ้าเป็นเบาหวานด้วย ก็เพิ่มเป็น 43%
เพราะฉะนั้น สุขอนามัยในช่องปากจึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะปล่อยละเลย แต่ต้องหมั่นดูแลให้ดีที่สุด
• ของทอดก็มีคุณค่า ถ้าทอดในน้ำมันมะกอก
น้ำมันทอดอาหารมักเป็นศัตรูของสุขภาพ แต่ถ้าเป็นน้ำมันมะกอกแบบเอ็กซตราเวอร์จิน (EVOO) นักวิจัยบอกว่า ดีกว่าการใช้น้ำมันชนิดอื่น และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน หรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ด้วย
ผักและ EVOO นิยมใช้ในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งสองอย่างนี้เป็นแหล่งของกรดฟีนอล ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เชื่อกันว่าจะช่วยลดปัญหาสุขภาพได้ แต่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระนี้ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำอาหารด้วย
ทีมวิจัยในสเปนได้เปรียบเทียบวิธีการทำอาหารเมดิเตอร์เรเนียนแบบต่างๆ ที่สารต้านอนุมูลอิสระจะยังทำงานได้ผลดีที่สุด มีปริมาณสารประกอบกลุ่มฟีนอลิกมากที่สุด โดยจัดเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ มันฝรั่ง ฟักทอง มะเขือเทศ และมะเขือม่วง นำไปทำอาหาร 3 วิธี คือ ทอด เคี่ยว และต้ม ในน้ำอย่างหนึ่ง และใน EVOO อีกอย่างหนึ่ง
ผลคือการทอดใน EVOO เป็นวิธีที่เพิ่มประสิทธิภาพสารต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มระดับสารประกอบกลุ่มฟีนอลิกได้มากที่สุด ทั้งในมันฝรั่ง ฟักทอง มะเขือเทศ และมะเขือม่วง
สรุปว่า การใช้ EVOO ทำอาหารประเภทผัก นอกจากจะคงคุณค่าอาหารไว้แล้ว ยังเพิ่มคุณค่าอีกด้วย แต่ถ้ากังวลว่า การทอดจะให้พลังงานแก่ร่างกายมากเกินไป ลองเอาไปผัดในน้ำมันน้อยๆ แทนก็ได้ จะช่วยเพิ่มคุณค่าอาหารได้เช่นกัน
• ยิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งแข็งแรง
อีกหนึ่งเสียงสนับสนุนจากงานวิจัยล่าสุด ยืนยันว่า ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Medicine & Science in Sports & Exercise ซึ่งสำรวจคนวัย 50-79 ปี จำนวน 3,000 คน โดยติดเครื่องติดตามการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน 8 ปี พบว่า ในกลุ่มคนที่ออกกำลังกายนั้น คนที่นั่งกับที่น้อย ลุกมาเคลื่อนไหวมาก เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน จะมีอายุยืนยาวกว่าคนอื่นๆ
ทีมวิจัยยังพบด้วยว่า การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเบาๆ เพิ่มขึ้นเพียง 10 นาที จะเห็นผลแตกต่างเลย ฉะนั้น จึงแนะนำว่า โปรดใช้เวลาที่เคยนั่งดูทีวีหรืออยู่หน้าคอมพิวเตอร์สัก 30 นาที ลุกมาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ได้เคลื่อนไหว จะน้อย ปานกลาง หรือหนัก ก็ให้ผลดีทั้งนั้น
แค่ลุกขึ้นยืน ก็ดีกว่านั่งแช่เฉยๆ แค่เดินไปมารอบห้อง ก็ได้เคลื่อนไหวแล้ว แค่เดินขึ้นลงบันได ร่างกายก็จะขอบคุณแล้ว และถ้าได้ช่วยทำงานบ้าน เสียงชื่นชมยิ่งตามมา แล้วจะรออะไรอยู่ล่ะ มาขยับกันเถอะ
• ตะลึง!! หนวดเครา แหล่งยาปฏิชีวนะชั้นดี
เคยมีข่าวว่า หนวดเคราเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคไม่ต่างจากในห้องน้ำ ทำเอาคนไว้หนวดเคราพากันโกนซะเกลี้ยงเกลา แต่งานวิจัยล่าสุดกลับชวนตื่นตะลึง
ทีมวิจัยของ ดร. อดัม โรเบิร์ตส์ นักจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ในอังกฤษ ร่วมกันทำวิจัยค้นหายาตัวใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการดื้อยา ซึ่งกำลังเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก และเมื่อตรวจใบหน้ามีหนวดเคราและไม่มีของหนุ่มวัยฉกรรจ์ 408 คนที่ทำงานด้านสุขภาพ พบว่า ถึงจะโกนกลี้ยงเกลาก็ยังมีเชื้อแบคทีเรียชนิดดื้อยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ และเสี่ยงต่อปัญหาการติดเชื้อจากสถานพยาบาลที่ตัวเองทำงานอยู่มากกว่า
นอกจากนี้ ยังตรวจหนวดเคราของผู้ชายเดินถนนในกรุงลอนดอน 20 คน พบว่า มีแบคทีเรียกว่าร้อยชนิด รวมทั้ง Barnesiella ซึ่งพบในลำไส้เล็ก และกว่า 1 ใน 4 ของแบคทีเรียเหล่านี้ฆ่าเชื้อได้ นั่นคือแบคทีเรียพวกนี้สร้างสารปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อ Escherichia coli ซึ่งดื้อยาได้
การค้นพบนี้เป็นประโยชน์ต่อการคิดค้นยามาสู้กับเชื้อโรค แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ยึดหลักดูแลตัวเองให้ห่างไกลเชื้อโรค รักษาความสะอาด และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองจะดีกว่า
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย ธาราทิพย์)