Finding Calico เป็นภาพยนตร์น่ารักๆ ที่มีกลิ่นอายความโศกเศร้าเจือปนอยู่ โดยเรื่องราวเกิดขึ้นในชนบทเล็กๆแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เปิดเรื่องด้วยภาพวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัน ธรรมชาติรอบตัว และ “แมว”
เช้าวันหนึ่ง ชายชราหน้าตาเคร่งขรึมเดินถือถุงกระดาษไปยังร้านขนมปังเจ้าประจำ แล้วหยิบขนมปังขึ้นมากัดพร้อมกับพูดว่า “รสชาติไม่เหมือนเดิม”
ชายชราผู้เคร่งขรึมคนนี้ คือ “เคียวอิชิ โมริอิ” อดีตครูใหญ่โรงเรียนมัธยมในเมือง ความเนี้ยบเป๊ะ และบุคลิกอันแข็งกระด้างของเขา ได้สร้างความเกรงอกเกรงใจ ความเกรงกลัว ให้กับคนรอบตัวในชุมชน ไม่ต่างจากเหตุการณ์ในร้านขนมปัง ที่เจ้าของร้านตัวสั่นงันงกด้วยความรู้สึกผิด ยอมรับว่าได้เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นเนยราคาถูก เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็จะปิดกิจการแล้ว
ครูใหญ่ซื้อขนมปังแล้วเดินกลับบ้านด้วยสีหน้าเรียบเฉย ไร้ความรู้สึก เขาหยิบขนมปังใส่จาน นำไปวางตรงหน้ารูปภรรยา แล้วจุดธูป (ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าครูใหญ่ได้สูญเสียภรรยาสุดที่รักไปแล้ว) ข้างๆ เขามีเจ้าเหมียวสามสีตัวหนึ่ง นอนอย่างสบายอารมณ์
เจ้าเหมียวตัวนี้ ชื่อ “มี่จัง” เป็นแมวสุดรักของภรรยาผู้จากไป ขณะที่ครูใหญ่ไม่ได้สนใจเจ้าแมวตัวนี้แม้แต่น้อย ตรงกันข้ามเขากลับขับไล่ไสส่งมันไปจากบ้านซะด้วย
ฝ่ายเจ้าเหมียวไม่ได้รู้สึกอะไร มันเดินอ้อยอิ่งจากไป และทำตัวเป็นแมวมิตรภาพแวะไปออดอ้อน “คุณโยโกะ” เจ้าของร้านเสริมสวยประจำชุมชน จนลูกค้าทุกคนในร้านรักและเอ็นดู หรือเดินไปกินอาหารที่ร้านขายของชำของสาวน้อย “มัตสุกาวะ” ที่เธอก็รักมันและเอาอาหารให้กินทุกวัน แถมเจ้าเหมียวยังเดินไกลไปถึงป้ายรถเมล์ประจำชุมชน ไปนอนขดใต้เก้าอี้ รอให้นักเรียนสาวคนหนึ่งเลิกเรียนแล้วแวะมาเล่นกับมัน
แต่ไม่ว่าจะไปไหนก็ตาม มันจะกลับมาบ้านครูใหญ่ในช่วงเช้าเสมอ เพราะยามที่ภรรยาของครูโมริอิยังมีชีวิตอยู่ เธอรักและดูแลมันเป็นอย่างดีนั่นเอง
ตัวละครใหม่ที่ช่วยเน้นให้เห็นชัดว่า ครูใหญ่เป็นคนเย็นชา ดุ และไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับใคร คือ “โคอิจิ” เด็กหนุ่มที่เคยเป็นลูกศิษย์ ซึ่งต้องแวะมาที่บ้านครูโมริอิ เพื่อสแกนภาพถ่ายหลายร้อยใบลงในคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละภาพเป็นเรื่องราวในอดีต ซึ่งเป็นฝีมือถ่ายภาพของครูโมริอิ
อย่างไรก็ดี ในความเย็นชาไม่น่าเข้าใกล้ ครูโมริอิก็มีบางมุมที่อ่อนโยนเหมือนกัน เช่น วันหนึ่งเขาพบว่ามีแมวจรจัดตัวหนึ่งนอนบาดเจ็บอยู่ริมแม่น้ำ เขาจึงอุ้มมันไปให้สัตวแพทย์ประจำชุมชนช่วยรักษา
ชีวิตในแต่ละวันของครูโมริอิ หมดไปกับการแปลวรรณกรรมรัสเซีย ตามคำแนะนำของลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่ให้หาอะไรทำแก้เหงา บางวันเขาก็หยิบกล้องถ่ายรูป ออกไปถ่ายรูปทิวทัศน์ในหมู่บ้าน แต่ไม่มีสักวันที่เขาจะแวะไปเล่นเปตองกับเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เชื่อมโยงให้เห็นว่า ชีวิตหลังจากสูญเสียภรรยา เขาก็ไม่คบหาใครๆ ไม่เปิดใจกับสิ่งรอบตัว และทนอยู่ท่ามกลางความโดดเดี่ยวเงียบเหงาอันร้ายกาจ
ในเช้าวันหนึ่ง ผู้ชมก็ได้รู้ความจริงในใจลึกๆของครูใหญ่ เมื่อครูโมริอิปิดช่องเล็กๆที่เจ้ามี่จังใช้ลอดเข้าบ้านเป็นประจำ เจ้าเหมียวพยายามใช้เท้าตะกุย พลางส่งเสียงร้องให้ชายชราใจอ่อน แต่ก็ไม่เป็นผล ครูใหญ่กลับตะโกนไล่มันไปให้พ้น “เพราะแกทำให้ชั้นนึกถึงเมียที่ตายไปแล้ว !!”
จากวันนั้นเป็นต้นมา เจ้าเหมียวมี่จังก็หายไป ไม่หวนกลับมาที่บ้านของครูโมริอิอีก วันแรกๆเขาก็ไม่รู้สึกอะไร แค่คิดว่าไปเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทำให้เขานึกถึงเรื่องราวในอดีต ที่เห็นภรรยาตนเองเล่นกับมันทุกเช้า
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ความกังวลบางอย่างซึ่งมาพร้อมกับความรู้สึกผิดในใจ ก็เข้ามาในความคิดของครูใหญ่ เพราะเคยอ่านข่าวพบว่า มีคนเกลียดแมวแล้วจับไปถ่วงน้ำ เขาจึงนึกถึงแมวจรจัดตัวที่เคยอุ้มไปรักษาซึ่งโดนคนทำร้าย และยังนึกถึงคำที่คนอื่นพูดว่า บางครั้งแมวจะหลบไปซ่อน เมื่อรู้ว่าตัวมันกำลังจะตาย
ข่าวคราวกับเรื่องราวทุกอย่าง เริ่มผสมผสานเป็นความวิตกกังวล โดยเฉพาะเมื่อเห็นป้ายประกาศตามหาแมวสามสี ที่ร้านเสริมสวยของคุณโยโกะ ชายชราก็ยิ่งตระหนักว่า มี่จังเป็นแมวที่คนอื่นๆ ล้วนห่วงใยและให้ความรัก
ครูใหญ่จึงเริ่มออกตามหาเจ้ามี่จัง ถามคนโน้นคนนี้ และเอารูปถ่ายมี่จังที่ตนเองเคยถ่ายไว้ มาติดประกาศตามหาโดยมีโยโกะกับมัตสุกาวะ มาช่วยกันตามหาเจ้าเหมียว
แล้วกิจวัตรประจำวันของครูใหญ่ก็เปลี่ยนไป เขาเดินตามหาแมวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เดินเลยไปถึงอู่ซ่อมรถ ซึ่งเจ้าของอู่บอกว่า บางคนเห็นแก่ตัวเกินไป ที่เลี้ยงแมวจรจัด แต่ไม่รู้จักดูแล หรือเลี้ยงดูอย่างจริงจัง เพราะสังคมญี่ปุ่นนั้น เข้มงวดเรื่องกฎหมายการเลี้ยงสัตว์มาก หากทางการพบแมวจรจัด (รวมถึงสุนัข) ที่ไร้เจ้าของ มันจะถูกนำไปยังศูนย์กักกัน และรมควันพิษ ครูใหญ่จึงออกเดินทางไปจนถึงศูนย์กักกันสัตว์ เพราะเกรงว่าเจ้ามี่จังจะถูกนำตัวไปที่นั่น แต่ก็ไม่เจอ
เย็นวันนั้น ครูใหญ่เห็นแมวตัวหนึ่งวิ่งผ่านไปบนหลังคาแวบๆ เขาจึงปีนเสาไฟฟ้าขึ้นไปด้านบนอาคารสาธารณะ แต่ก็กลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น เพราะเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายในที่สาธารณะ ครูใหญ่จึงโดนตำรวจจับ ลูกศิษย์หนุ่มกับเจ้าของอู่รถจึงมาช่วยเหลือ
คืนนั้นครูใหญ่ยังคงถือไฟฉาย เดินตามหาแมวสามสีที่หายไป โดยมีกำลังเสริมทั้งโยโกะ และมัตสุกาวะ จนดึกดื่นเที่ยงคืน ทุกคนจึงแยกย้ายกลับบ้าน และตั้งใจว่าจะมาตามหากันอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น
เมื่อถึงบ้าน ชายชราก็ทรุดลงด้วยความเหนื่อยล้า แล้วเผลองีบไป ความคิดในภวังค์หรือความฝันก็ตามแต่ นำเขาย้อนกลับไปในภาพความทรงจำครั้งที่คุยกับภรรยา ซึ่งกำลังอุ้มเจ้ามี่จัง เธอเอ่ยว่า “ถ้าคุณไม่รักแมวตัวนี้ คุณกำลังพลาดโอกาสที่จะมีความสุขซึ่งได้รับจากเจ้าเหมียว” ก่อนที่ภาพยนตร์จะจบลงไปแบบเรียบง่าย พร้อมเสียงกระดิ่งที่คอแมวแว่วมาเบาๆจากที่ไหนสักแห่ง
Finding Calico ใช้ความน่ารักของแมว มาเป็นจุดขายหลัก แต่ทว่าแก่นเรื่องที่ซ่อนอยู่ภายใน กลับถ่ายทอดและให้ข้อคิดที่เกี่ยวกับ “มนุษย์” โดยเฉพาะผูกโยงกับสังคมแดนอาทิตย์อุทัยที่ชื่นชอบแมว
ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถนำหลักธรรมทางพุทธศาสนา มาเชื่อมโยงได้หลากหลาย แต่ที่เด่นชัดที่สุด คือ “การปล่อยวาง”
การสูญเสียภรรยาเป็นไปตามสัจธรรมของชีวิต แต่ครูใหญ่ยังยึดติดกับภาพในอดีต โดยมี “แมว” เป็นสื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพความทรงจำในวันวาน และโทษสัตว์ร่วมโลกว่า มีส่วนทำให้เกิดทุกข์ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ความทุกข์ของครูใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวกับแมวเลย แต่มาจากความยึดมั่นถือมั่น และจิตที่ปรุงแต่งเรื่องราวความสุขในอดีตนั่นเอง
พุทธสุภาษิตข้อหนึ่งสอนว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” ดังนั้น การอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งครูใหญ่ทำได้ดีในระดับหนึ่งในแง่ที่ว่า พยายามใช้เวลาไปกับการแปลหนังสือ ออกไปถ่ายภาพ และควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟูมฟายเสียใจ เพียงแต่ความทุกข์ของเขา ย่อมสามารถลดลงไปได้อีกมากมาย หากยอมปล่อยวางจิตใจจากเรื่องที่ปรุงแต่งกับเจ้าเหมียวที่เคยเกี่ยวข้องกับภรรยา
ดังจะเห็นได้ว่า ทันทีที่เขาเลิกยึดติดเรื่องอดีต แล้วออกไปตามหาแมว อคติกับความเย็นชาก็พังทลาย จากการไปขอปรึกษา และยอมรับความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ที่โดยปกติแทบไม่พูดจากัน ซึ่งก็ทำให้ครูใหญ่พบว่า คนในชุมชนแต่ละคนล้วนมีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลเขาทั้งสิ้น และนั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีด้วยซ้ำ ที่จะช่วยทำให้ชีวิตที่เหงา โดดเดี่ยว ไร้เพื่อนฝูง จะได้กลับมามีสีสัน ทั้งจากเพื่อนที่เป็นมนุษย์ และเพื่อนที่เป็นสัตว์เลี้ยง
จากหลักคำสอนทั่วไป เรามักได้ยินว่า การยึดมั่นถือมั่นเสมือนการแบกก้อนหินอันหนักอึ้งเอาไว้ แต่สำหรับเรื่องราวใน Finding Calico การยึดมั่นถือมั่นไม่รู้จักปล่อยวาง ยังเปรียบได้กับการปิดหูปิดตาที่จะมองความเป็นไปของโลกอีกด้วย เพราะทันทีที่รู้จักปล่อยวาง ครูใหญ่ก็ได้เห็นว่า ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่นั้น ล้วนเต็มไปด้วยน้ำใจไมตรีที่โอบล้อมอยู่อย่างงดงาม
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)
เช้าวันหนึ่ง ชายชราหน้าตาเคร่งขรึมเดินถือถุงกระดาษไปยังร้านขนมปังเจ้าประจำ แล้วหยิบขนมปังขึ้นมากัดพร้อมกับพูดว่า “รสชาติไม่เหมือนเดิม”
ชายชราผู้เคร่งขรึมคนนี้ คือ “เคียวอิชิ โมริอิ” อดีตครูใหญ่โรงเรียนมัธยมในเมือง ความเนี้ยบเป๊ะ และบุคลิกอันแข็งกระด้างของเขา ได้สร้างความเกรงอกเกรงใจ ความเกรงกลัว ให้กับคนรอบตัวในชุมชน ไม่ต่างจากเหตุการณ์ในร้านขนมปัง ที่เจ้าของร้านตัวสั่นงันงกด้วยความรู้สึกผิด ยอมรับว่าได้เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นเนยราคาถูก เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็จะปิดกิจการแล้ว
ครูใหญ่ซื้อขนมปังแล้วเดินกลับบ้านด้วยสีหน้าเรียบเฉย ไร้ความรู้สึก เขาหยิบขนมปังใส่จาน นำไปวางตรงหน้ารูปภรรยา แล้วจุดธูป (ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าครูใหญ่ได้สูญเสียภรรยาสุดที่รักไปแล้ว) ข้างๆ เขามีเจ้าเหมียวสามสีตัวหนึ่ง นอนอย่างสบายอารมณ์
เจ้าเหมียวตัวนี้ ชื่อ “มี่จัง” เป็นแมวสุดรักของภรรยาผู้จากไป ขณะที่ครูใหญ่ไม่ได้สนใจเจ้าแมวตัวนี้แม้แต่น้อย ตรงกันข้ามเขากลับขับไล่ไสส่งมันไปจากบ้านซะด้วย
ฝ่ายเจ้าเหมียวไม่ได้รู้สึกอะไร มันเดินอ้อยอิ่งจากไป และทำตัวเป็นแมวมิตรภาพแวะไปออดอ้อน “คุณโยโกะ” เจ้าของร้านเสริมสวยประจำชุมชน จนลูกค้าทุกคนในร้านรักและเอ็นดู หรือเดินไปกินอาหารที่ร้านขายของชำของสาวน้อย “มัตสุกาวะ” ที่เธอก็รักมันและเอาอาหารให้กินทุกวัน แถมเจ้าเหมียวยังเดินไกลไปถึงป้ายรถเมล์ประจำชุมชน ไปนอนขดใต้เก้าอี้ รอให้นักเรียนสาวคนหนึ่งเลิกเรียนแล้วแวะมาเล่นกับมัน
แต่ไม่ว่าจะไปไหนก็ตาม มันจะกลับมาบ้านครูใหญ่ในช่วงเช้าเสมอ เพราะยามที่ภรรยาของครูโมริอิยังมีชีวิตอยู่ เธอรักและดูแลมันเป็นอย่างดีนั่นเอง
ตัวละครใหม่ที่ช่วยเน้นให้เห็นชัดว่า ครูใหญ่เป็นคนเย็นชา ดุ และไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับใคร คือ “โคอิจิ” เด็กหนุ่มที่เคยเป็นลูกศิษย์ ซึ่งต้องแวะมาที่บ้านครูโมริอิ เพื่อสแกนภาพถ่ายหลายร้อยใบลงในคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละภาพเป็นเรื่องราวในอดีต ซึ่งเป็นฝีมือถ่ายภาพของครูโมริอิ
อย่างไรก็ดี ในความเย็นชาไม่น่าเข้าใกล้ ครูโมริอิก็มีบางมุมที่อ่อนโยนเหมือนกัน เช่น วันหนึ่งเขาพบว่ามีแมวจรจัดตัวหนึ่งนอนบาดเจ็บอยู่ริมแม่น้ำ เขาจึงอุ้มมันไปให้สัตวแพทย์ประจำชุมชนช่วยรักษา
ชีวิตในแต่ละวันของครูโมริอิ หมดไปกับการแปลวรรณกรรมรัสเซีย ตามคำแนะนำของลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่ให้หาอะไรทำแก้เหงา บางวันเขาก็หยิบกล้องถ่ายรูป ออกไปถ่ายรูปทิวทัศน์ในหมู่บ้าน แต่ไม่มีสักวันที่เขาจะแวะไปเล่นเปตองกับเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เชื่อมโยงให้เห็นว่า ชีวิตหลังจากสูญเสียภรรยา เขาก็ไม่คบหาใครๆ ไม่เปิดใจกับสิ่งรอบตัว และทนอยู่ท่ามกลางความโดดเดี่ยวเงียบเหงาอันร้ายกาจ
ในเช้าวันหนึ่ง ผู้ชมก็ได้รู้ความจริงในใจลึกๆของครูใหญ่ เมื่อครูโมริอิปิดช่องเล็กๆที่เจ้ามี่จังใช้ลอดเข้าบ้านเป็นประจำ เจ้าเหมียวพยายามใช้เท้าตะกุย พลางส่งเสียงร้องให้ชายชราใจอ่อน แต่ก็ไม่เป็นผล ครูใหญ่กลับตะโกนไล่มันไปให้พ้น “เพราะแกทำให้ชั้นนึกถึงเมียที่ตายไปแล้ว !!”
จากวันนั้นเป็นต้นมา เจ้าเหมียวมี่จังก็หายไป ไม่หวนกลับมาที่บ้านของครูโมริอิอีก วันแรกๆเขาก็ไม่รู้สึกอะไร แค่คิดว่าไปเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทำให้เขานึกถึงเรื่องราวในอดีต ที่เห็นภรรยาตนเองเล่นกับมันทุกเช้า
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ความกังวลบางอย่างซึ่งมาพร้อมกับความรู้สึกผิดในใจ ก็เข้ามาในความคิดของครูใหญ่ เพราะเคยอ่านข่าวพบว่า มีคนเกลียดแมวแล้วจับไปถ่วงน้ำ เขาจึงนึกถึงแมวจรจัดตัวที่เคยอุ้มไปรักษาซึ่งโดนคนทำร้าย และยังนึกถึงคำที่คนอื่นพูดว่า บางครั้งแมวจะหลบไปซ่อน เมื่อรู้ว่าตัวมันกำลังจะตาย
ข่าวคราวกับเรื่องราวทุกอย่าง เริ่มผสมผสานเป็นความวิตกกังวล โดยเฉพาะเมื่อเห็นป้ายประกาศตามหาแมวสามสี ที่ร้านเสริมสวยของคุณโยโกะ ชายชราก็ยิ่งตระหนักว่า มี่จังเป็นแมวที่คนอื่นๆ ล้วนห่วงใยและให้ความรัก
ครูใหญ่จึงเริ่มออกตามหาเจ้ามี่จัง ถามคนโน้นคนนี้ และเอารูปถ่ายมี่จังที่ตนเองเคยถ่ายไว้ มาติดประกาศตามหาโดยมีโยโกะกับมัตสุกาวะ มาช่วยกันตามหาเจ้าเหมียว
แล้วกิจวัตรประจำวันของครูใหญ่ก็เปลี่ยนไป เขาเดินตามหาแมวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เดินเลยไปถึงอู่ซ่อมรถ ซึ่งเจ้าของอู่บอกว่า บางคนเห็นแก่ตัวเกินไป ที่เลี้ยงแมวจรจัด แต่ไม่รู้จักดูแล หรือเลี้ยงดูอย่างจริงจัง เพราะสังคมญี่ปุ่นนั้น เข้มงวดเรื่องกฎหมายการเลี้ยงสัตว์มาก หากทางการพบแมวจรจัด (รวมถึงสุนัข) ที่ไร้เจ้าของ มันจะถูกนำไปยังศูนย์กักกัน และรมควันพิษ ครูใหญ่จึงออกเดินทางไปจนถึงศูนย์กักกันสัตว์ เพราะเกรงว่าเจ้ามี่จังจะถูกนำตัวไปที่นั่น แต่ก็ไม่เจอ
เย็นวันนั้น ครูใหญ่เห็นแมวตัวหนึ่งวิ่งผ่านไปบนหลังคาแวบๆ เขาจึงปีนเสาไฟฟ้าขึ้นไปด้านบนอาคารสาธารณะ แต่ก็กลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น เพราะเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายในที่สาธารณะ ครูใหญ่จึงโดนตำรวจจับ ลูกศิษย์หนุ่มกับเจ้าของอู่รถจึงมาช่วยเหลือ
คืนนั้นครูใหญ่ยังคงถือไฟฉาย เดินตามหาแมวสามสีที่หายไป โดยมีกำลังเสริมทั้งโยโกะ และมัตสุกาวะ จนดึกดื่นเที่ยงคืน ทุกคนจึงแยกย้ายกลับบ้าน และตั้งใจว่าจะมาตามหากันอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น
เมื่อถึงบ้าน ชายชราก็ทรุดลงด้วยความเหนื่อยล้า แล้วเผลองีบไป ความคิดในภวังค์หรือความฝันก็ตามแต่ นำเขาย้อนกลับไปในภาพความทรงจำครั้งที่คุยกับภรรยา ซึ่งกำลังอุ้มเจ้ามี่จัง เธอเอ่ยว่า “ถ้าคุณไม่รักแมวตัวนี้ คุณกำลังพลาดโอกาสที่จะมีความสุขซึ่งได้รับจากเจ้าเหมียว” ก่อนที่ภาพยนตร์จะจบลงไปแบบเรียบง่าย พร้อมเสียงกระดิ่งที่คอแมวแว่วมาเบาๆจากที่ไหนสักแห่ง
Finding Calico ใช้ความน่ารักของแมว มาเป็นจุดขายหลัก แต่ทว่าแก่นเรื่องที่ซ่อนอยู่ภายใน กลับถ่ายทอดและให้ข้อคิดที่เกี่ยวกับ “มนุษย์” โดยเฉพาะผูกโยงกับสังคมแดนอาทิตย์อุทัยที่ชื่นชอบแมว
ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถนำหลักธรรมทางพุทธศาสนา มาเชื่อมโยงได้หลากหลาย แต่ที่เด่นชัดที่สุด คือ “การปล่อยวาง”
การสูญเสียภรรยาเป็นไปตามสัจธรรมของชีวิต แต่ครูใหญ่ยังยึดติดกับภาพในอดีต โดยมี “แมว” เป็นสื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพความทรงจำในวันวาน และโทษสัตว์ร่วมโลกว่า มีส่วนทำให้เกิดทุกข์ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ความทุกข์ของครูใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวกับแมวเลย แต่มาจากความยึดมั่นถือมั่น และจิตที่ปรุงแต่งเรื่องราวความสุขในอดีตนั่นเอง
พุทธสุภาษิตข้อหนึ่งสอนว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” ดังนั้น การอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งครูใหญ่ทำได้ดีในระดับหนึ่งในแง่ที่ว่า พยายามใช้เวลาไปกับการแปลหนังสือ ออกไปถ่ายภาพ และควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟูมฟายเสียใจ เพียงแต่ความทุกข์ของเขา ย่อมสามารถลดลงไปได้อีกมากมาย หากยอมปล่อยวางจิตใจจากเรื่องที่ปรุงแต่งกับเจ้าเหมียวที่เคยเกี่ยวข้องกับภรรยา
ดังจะเห็นได้ว่า ทันทีที่เขาเลิกยึดติดเรื่องอดีต แล้วออกไปตามหาแมว อคติกับความเย็นชาก็พังทลาย จากการไปขอปรึกษา และยอมรับความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ที่โดยปกติแทบไม่พูดจากัน ซึ่งก็ทำให้ครูใหญ่พบว่า คนในชุมชนแต่ละคนล้วนมีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลเขาทั้งสิ้น และนั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีด้วยซ้ำ ที่จะช่วยทำให้ชีวิตที่เหงา โดดเดี่ยว ไร้เพื่อนฝูง จะได้กลับมามีสีสัน ทั้งจากเพื่อนที่เป็นมนุษย์ และเพื่อนที่เป็นสัตว์เลี้ยง
จากหลักคำสอนทั่วไป เรามักได้ยินว่า การยึดมั่นถือมั่นเสมือนการแบกก้อนหินอันหนักอึ้งเอาไว้ แต่สำหรับเรื่องราวใน Finding Calico การยึดมั่นถือมั่นไม่รู้จักปล่อยวาง ยังเปรียบได้กับการปิดหูปิดตาที่จะมองความเป็นไปของโลกอีกด้วย เพราะทันทีที่รู้จักปล่อยวาง ครูใหญ่ก็ได้เห็นว่า ชุมชนที่เขาอาศัยอยู่นั้น ล้วนเต็มไปด้วยน้ำใจไมตรีที่โอบล้อมอยู่อย่างงดงาม
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)