ไป๋จีว์อี้เป็นกวีเอกนามกระเดื่องในสมัยราชวงศ์ถัง โดยในบันทึกของเขาระบุว่า ตนเองประพันธ์บทกวีไว้ทั้งสิ้น 3,840 บท ซึ่งหากนับกวีในยุคเดียวกัน ถือว่าเขาประพันธ์บทกวีไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของแผ่นดิน
ไป๋จีว์อี้มีอีกนามหนึ่งว่า “เล่อเทียน” ในวัยหนุ่มผ่านชีวิตลำบากยากแค้น จึงมีความเข้าอกเข้าใจความทุกข์ทรมานจากความยากจนของคนในสังคม
เมื่ออายุได้ 28 ปี เขาสอบจอหงวนได้ในตำแหน่งจิ้นซื่อจึงได้เข้ารับราชการ ต่อมาถูกข้อหากระทำผิดต่อราชสำนัก ถูกลดยศไปรับตำแหน่งขุนนางดูแลเมืองเจียงโจว สุดท้ายสังกัดกระทรวงยุติธรรม
เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ไป๋จิว์อี้เดินทางไปกราบอาจารย์เซนผู้หนึ่ง เมื่อไปถึงพบว่าที่พำนักของอาจารย์เซนคือยอดต้นสนสูงชัน ซึ่งมองดูแล้วไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง
ไป๋จีว์อี้จึงปรารภกับอาจารย์เซนว่า "ตำแหน่งที่ท่านอาจารย์อยู่ ดูไปอันตรายยิ่งนัก"
อาจารย์เซนจึงกล่าวตอบมาว่า "ตำแหน่งของเจ้าตอนนี้ ยิ่งอันตรายมากกว่ามาก"
ไปจีว์อี้จึงถามกลับด้วยความงุนงงว่า "กระผมมีตำแหน่งทางราชการมั่นคง ทำงานเพื่อบ้านเมือง จะมีอันตรายได้อย่างไร?"
"สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปรตลอดเวลา ดั่งฟืนสุมกองไฟไม่มีหยุด หากใจไม่นิ่ง กระสับกระส่ายวุ่นวายไปตามสิ่งเร้ารอบด้าน ย่อมทำให้เจ้าตกอยู่ในอันตรายอย่างที่สุด" อาจารย์เซนกล่าวตักเตือน
ปัญญาเซน : ดำรงสติอยู่กับปัจจุบันขณะในทุกการกระทำ ไม่ว่าอยู่ที่ใดล้วนรอดปลอดภัย หากไร้สติอยู่กับตัว ทุกๆ แห่งกลับเป็นที่อันตราย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย มุมจีน : manager online)
ไป๋จีว์อี้มีอีกนามหนึ่งว่า “เล่อเทียน” ในวัยหนุ่มผ่านชีวิตลำบากยากแค้น จึงมีความเข้าอกเข้าใจความทุกข์ทรมานจากความยากจนของคนในสังคม
เมื่ออายุได้ 28 ปี เขาสอบจอหงวนได้ในตำแหน่งจิ้นซื่อจึงได้เข้ารับราชการ ต่อมาถูกข้อหากระทำผิดต่อราชสำนัก ถูกลดยศไปรับตำแหน่งขุนนางดูแลเมืองเจียงโจว สุดท้ายสังกัดกระทรวงยุติธรรม
เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ไป๋จิว์อี้เดินทางไปกราบอาจารย์เซนผู้หนึ่ง เมื่อไปถึงพบว่าที่พำนักของอาจารย์เซนคือยอดต้นสนสูงชัน ซึ่งมองดูแล้วไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง
ไป๋จีว์อี้จึงปรารภกับอาจารย์เซนว่า "ตำแหน่งที่ท่านอาจารย์อยู่ ดูไปอันตรายยิ่งนัก"
อาจารย์เซนจึงกล่าวตอบมาว่า "ตำแหน่งของเจ้าตอนนี้ ยิ่งอันตรายมากกว่ามาก"
ไปจีว์อี้จึงถามกลับด้วยความงุนงงว่า "กระผมมีตำแหน่งทางราชการมั่นคง ทำงานเพื่อบ้านเมือง จะมีอันตรายได้อย่างไร?"
"สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปรตลอดเวลา ดั่งฟืนสุมกองไฟไม่มีหยุด หากใจไม่นิ่ง กระสับกระส่ายวุ่นวายไปตามสิ่งเร้ารอบด้าน ย่อมทำให้เจ้าตกอยู่ในอันตรายอย่างที่สุด" อาจารย์เซนกล่าวตักเตือน
ปัญญาเซน : ดำรงสติอยู่กับปัจจุบันขณะในทุกการกระทำ ไม่ว่าอยู่ที่ใดล้วนรอดปลอดภัย หากไร้สติอยู่กับตัว ทุกๆ แห่งกลับเป็นที่อันตราย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย มุมจีน : manager online)