สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธานสาสนํ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ปฏิทินจันทรคติ ซึ่งใช้ดิถีของดวงจันทร์ เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรมและบอกเดือน ซึ่งมี 12 เดือน ได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง โดยเดือนคู่จะมี 30 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี 29 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ นอกจากนี้ ยังมีบางปีที่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 เรียกว่า อธิกวาร
สำหรับในปีพุทธศักราช 2558 นี้ ตามปฏิทินจันทรคติเป็นปีอธิกมาส (อธิก แปลว่า เพิ่ม, มาส แปลว่า เดือน) คือเป็นปีที่มีเดือนแปด 2 ครั้ง
ดังนั้น วันมาฆบูชา ซึ่งปกติเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (ตามปฏิทินสุริยคติที่ใช้กันในปัจจุบัน ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์) แต่หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ตามปฏิทินสุริยคติที่ใช้กันในปัจจุบัน ตรงกับเดือนมีนาคม)
ด้วยเหตุนี้ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 จึงเป็นวันมาฆบูชา
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องมาฆบูชา ไว้ในนิตยสารธรรมลีลา ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2558 ความตอนหนึ่งว่า
“...วันเพ็ญเดือน 3 นี้ เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ประทานโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมพระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต เพื่อให้พระสาวกเหล่านั้น มีหลักการร่วมกันในการประกาศพระศาสนา
การประชุมเช่นนี้ มีครั้งเดียวในศาสนานี้ เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
คำว่า “โอวาทปาติโมกข์” แปลว่า โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ หมายถึง ธรรมที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา สาธุชนนิยมเรียกโอวาทปาติโมกข์นี้ว่าเป็น “หัวใจของพระพุทธศาสนา”....
พระพุทธองค์ตรัสสรุปข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาทั้งหมดลงเป็นหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ไม่ทำบาปทุกอย่าง 2. ยังกุศลให้ถึงพร้อม 3. ทำจิตของตนให้ผ่องใส
จำง่ายๆ สั้นๆว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์
...ข้อที่ควรทำเป็นพิเศษในวันนี้ก็คือ ควรพิจารณาความหมายของการเว้นชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ให้เข้าใจชัดเจนลึกซึ้ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้ได้ตามนั้น”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 171 มีนาคม 2558)
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธานสาสนํ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ปฏิทินจันทรคติ ซึ่งใช้ดิถีของดวงจันทร์ เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรมและบอกเดือน ซึ่งมี 12 เดือน ได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง โดยเดือนคู่จะมี 30 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี 29 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ นอกจากนี้ ยังมีบางปีที่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 เรียกว่า อธิกวาร
สำหรับในปีพุทธศักราช 2558 นี้ ตามปฏิทินจันทรคติเป็นปีอธิกมาส (อธิก แปลว่า เพิ่ม, มาส แปลว่า เดือน) คือเป็นปีที่มีเดือนแปด 2 ครั้ง
ดังนั้น วันมาฆบูชา ซึ่งปกติเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (ตามปฏิทินสุริยคติที่ใช้กันในปัจจุบัน ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์) แต่หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ตามปฏิทินสุริยคติที่ใช้กันในปัจจุบัน ตรงกับเดือนมีนาคม)
ด้วยเหตุนี้ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 จึงเป็นวันมาฆบูชา
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องมาฆบูชา ไว้ในนิตยสารธรรมลีลา ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2558 ความตอนหนึ่งว่า
“...วันเพ็ญเดือน 3 นี้ เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ประทานโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมพระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต เพื่อให้พระสาวกเหล่านั้น มีหลักการร่วมกันในการประกาศพระศาสนา
การประชุมเช่นนี้ มีครั้งเดียวในศาสนานี้ เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
คำว่า “โอวาทปาติโมกข์” แปลว่า โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ หมายถึง ธรรมที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา สาธุชนนิยมเรียกโอวาทปาติโมกข์นี้ว่าเป็น “หัวใจของพระพุทธศาสนา”....
พระพุทธองค์ตรัสสรุปข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาทั้งหมดลงเป็นหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ไม่ทำบาปทุกอย่าง 2. ยังกุศลให้ถึงพร้อม 3. ทำจิตของตนให้ผ่องใส
จำง่ายๆ สั้นๆว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์
...ข้อที่ควรทำเป็นพิเศษในวันนี้ก็คือ ควรพิจารณาความหมายของการเว้นชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ให้เข้าใจชัดเจนลึกซึ้ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้ได้ตามนั้น”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 171 มีนาคม 2558)