• การเพิ่มประสิทธิภาพประสาทสัมผัสทั้งห้า
ปุจฉา : ลูกขอรบกวนหลวงปู่ช่วยไขข้อข้องใจในการปฏิบัติให้กับศิษย์โง่คนนี้ด้วยครับ
การที่เราจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งความคิดได้อย่างเต็มที่เต็มเปี่ยม คืออย่างไรครับ และในการเจริญสติเราต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดอย่างเต็มเปี่ยม พร้อมๆกับการที่เราใช้การพิจารณาโครงกระดูกบวกกับลมหายใจตลอดเวลาในทุกอิริยาบถ ใช่หรือไม่ครับ
วิสัชนา : ประสาทสัมผัสเป็นของมีอยู่แล้วในมนุษย์ แต่อาจจะโดนห่อหุ้มด้วยมลภาวะทั้งหลาย ที่เรียกว่าอารมณ์และยึดถือปรุงแต่ง จึงทำให้การสัมผัสรับรู้ของประสาทขาดประสิทธิภาพ
ขณะที่คุณเจริญสติ อารมณ์และความยึดถือปรุงแต่ง จะอันตรธานหายไป นั่นก็เท่ากับว่า คุณกำลังเรียกเพิ่ม หรือชำระ ประสิทธิภาพของการรับรู้
สติที่เจริญดีแล้ว ทำให้เกิดการรับรู้อย่างแจ่มชัด ซื่อตรง และคล่องแคล่ว คุณก็สามารถจะกำหนดความรับรู้ในเรื่องราวต่างๆได้ดังใจปรารถนา
• เวียนตาย เวียนเกิด
ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงปู่
การฝึกเป็นผู้มีกุศลจิตเพื่อให้จิตสงบ ด้วยการสวดมนต์ ทำสมาธิ มอง ฟัง คิด สิ่งรอบข้างอย่างวางเฉย ช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้น เบา สบาย ขณะนี้ใฝ่หาธรรมะด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ
เป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมคือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้เป็นฆารวาสจะสามารถทำได้หรือไม่ และขั้นตอนของการปฏิบัติเป็นอย่างไร ควรศึกษาจากที่ใด
วิสัชนา : สาธุ สาธุ ดีแล้วๆ ฉันขอแสดงความดีใจด้วยที่คุณมีบุญมากรู้จักเลือก ยังมีคนอีกไม่น้อย ที่ไร้วาสนา ขาดปัญญา ใคร่ ครวญมีชีวิตเพียงเพื่อจะรอวันตายเฉยๆ ไม่คิดว่าจะเป็นอยู่อย่างไร ที่จะไม่ต้องมาเกิดๆตายๆ
การเวียนตายเวียนเกิดสำหรับฆารวาสแล้ว สามารถทำให้สิ้นสุดลงได้ด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา แผ่เมตตา บริจาคทาน สิ่งเหล่านี้สั่งสมเป็นอาจิณจนกลายเป็นตบะบารมี จนวิถีจิตแก่กล้า มีปัญญา เกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ ที่จมปลักอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ และก็หาทางให้พ้นจากทุกข์ ด้วยการเจริญสติ ยังให้เกิดสมาธิ จนลุถึงปัญญาบริสุทธิ์
แค่นี้คุณก็จะมีคำตอบให้แก่ตัวเอง
• ทำจิตผ่องใส
ปุจฉา : จะทำอย่างไรให้จิตผ่องใสครับ
วิสัชนา : มีสติรู้เท่าทันตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต จิตวิญญาณ และธรรมชาติภายในและนอกกายทั้งหลาย บนความหมายที่ว่า
ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 137 พฤษภาคม 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)
ปุจฉา : ลูกขอรบกวนหลวงปู่ช่วยไขข้อข้องใจในการปฏิบัติให้กับศิษย์โง่คนนี้ด้วยครับ
การที่เราจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งความคิดได้อย่างเต็มที่เต็มเปี่ยม คืออย่างไรครับ และในการเจริญสติเราต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดอย่างเต็มเปี่ยม พร้อมๆกับการที่เราใช้การพิจารณาโครงกระดูกบวกกับลมหายใจตลอดเวลาในทุกอิริยาบถ ใช่หรือไม่ครับ
วิสัชนา : ประสาทสัมผัสเป็นของมีอยู่แล้วในมนุษย์ แต่อาจจะโดนห่อหุ้มด้วยมลภาวะทั้งหลาย ที่เรียกว่าอารมณ์และยึดถือปรุงแต่ง จึงทำให้การสัมผัสรับรู้ของประสาทขาดประสิทธิภาพ
ขณะที่คุณเจริญสติ อารมณ์และความยึดถือปรุงแต่ง จะอันตรธานหายไป นั่นก็เท่ากับว่า คุณกำลังเรียกเพิ่ม หรือชำระ ประสิทธิภาพของการรับรู้
สติที่เจริญดีแล้ว ทำให้เกิดการรับรู้อย่างแจ่มชัด ซื่อตรง และคล่องแคล่ว คุณก็สามารถจะกำหนดความรับรู้ในเรื่องราวต่างๆได้ดังใจปรารถนา
• เวียนตาย เวียนเกิด
ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงปู่
การฝึกเป็นผู้มีกุศลจิตเพื่อให้จิตสงบ ด้วยการสวดมนต์ ทำสมาธิ มอง ฟัง คิด สิ่งรอบข้างอย่างวางเฉย ช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้น เบา สบาย ขณะนี้ใฝ่หาธรรมะด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ
เป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมคือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้เป็นฆารวาสจะสามารถทำได้หรือไม่ และขั้นตอนของการปฏิบัติเป็นอย่างไร ควรศึกษาจากที่ใด
วิสัชนา : สาธุ สาธุ ดีแล้วๆ ฉันขอแสดงความดีใจด้วยที่คุณมีบุญมากรู้จักเลือก ยังมีคนอีกไม่น้อย ที่ไร้วาสนา ขาดปัญญา ใคร่ ครวญมีชีวิตเพียงเพื่อจะรอวันตายเฉยๆ ไม่คิดว่าจะเป็นอยู่อย่างไร ที่จะไม่ต้องมาเกิดๆตายๆ
การเวียนตายเวียนเกิดสำหรับฆารวาสแล้ว สามารถทำให้สิ้นสุดลงได้ด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา แผ่เมตตา บริจาคทาน สิ่งเหล่านี้สั่งสมเป็นอาจิณจนกลายเป็นตบะบารมี จนวิถีจิตแก่กล้า มีปัญญา เกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ ที่จมปลักอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ และก็หาทางให้พ้นจากทุกข์ ด้วยการเจริญสติ ยังให้เกิดสมาธิ จนลุถึงปัญญาบริสุทธิ์
แค่นี้คุณก็จะมีคำตอบให้แก่ตัวเอง
• ทำจิตผ่องใส
ปุจฉา : จะทำอย่างไรให้จิตผ่องใสครับ
วิสัชนา : มีสติรู้เท่าทันตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต จิตวิญญาณ และธรรมชาติภายในและนอกกายทั้งหลาย บนความหมายที่ว่า
ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 137 พฤษภาคม 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)