• วิจัยพบชาขาวต้านมะเร็งมากกว่าชาเขียว
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงสตัน ประเทศอังกฤษ พบว่า ชาขาวที่มีคาเฟอีนน้อยกว่าชาประเภทอื่น และอุดมไปด้วยสารต่อต้านการเกิดมะเร็งมากกว่าชาเขียว และโดยการวิจัยของสถาบันลินัส พอลลิ่ง ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำในมหาวิทยาลัยโอเรกอน สเตท ยังพบว่า ชาขาวสามารถลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านเชื้อไวรัส และควบคุมความดันโลหิตสูง
งานวิจัยทั้งในประเทศอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา ยังพบตรงกันว่า ชาขาวมีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน
กรรมวิธีการผลิตชาขาวต่างจากชาแบบอื่น คือ ชาขาวผ่านกระบวนการน้อยกว่าชาชนิดอื่นๆทำให้ประโยชน์ต่างๆไม่สลายไปเหมือนชาอื่นๆ โดยเฉพาะคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระ ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังการเก็บเกี่ยวจะไม่มีการม้วนหรือหมัก ขั้นตอนที่กระชับที่สุดเหล่านี้ ช่วยรักษาให้ชาขาวมีความบริสุทธิ์ และอยู่ในสภาวะมีพลังงานมากกว่า
สารที่สกัดได้จากชาขาวจะมีผลดีต่อโครงสร้างของผิวหนังคือ สามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ผิวหนัง ช่วยในด้านความยืดหยุ่นของผิวหนังให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานของปอด เส้นเลือด เส้นเอ็นต่างๆ และผิวหนังทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
ชาขาวมีปริมาณของแอนติ้ออกซิแดนท์มากกว่าในชาเขียวถึงสามเท่า และยังป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากกว่าชาเขียวถึงสิบเท่า
• ผู้หญิงสูบบุหรี่มีแนวโน้มหัวใจวาย สูงกว่าผู้ชาย
ผลศึกษาจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตาระบุว่า ผู้หญิงที่เริ่มสูบบุหรี่มีความเสี่ยงหัวใจวายมากกว่าผู้ชายที่เริ่มพฤติกรรมนี้ การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 2.4 ล้านคนที่เผย แพร่ในวารสารแลนเซ็ต แสดงให้เห็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่ต่างกันถึง 25%
ในการวิเคราะห์ชุดข้อมูลจากงานศึกษาหลายฉบับที่จัดทำขึ้นระหว่างปี 1966-2010 พบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 25% จากการสูบบุหรี่เมื่อเทียกับผู้ชาย
ราเชล ฮักซ์ลีย์ ผู้จัดทำรายงาน เชื่อว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายทั้งสำหรับ ผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้ชายนั้นความเสี่ยงเพิ่ม ขึ้น 1.8 เท่าเมื่อเริ่มสูบบหรี่ ขณะที่ความเสี่ยง ของผู้หญิงเพิ่มขึ้นถึง 2.3 เท่า
นักวิจัยยอมรับว่า ยังไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้ แต่อาจตั้งสมมติฐานได้ 2 ข้อคือ ความแตกต่างด้านพันธุกรรมระหว่างคนสองเพศ อาจทำให้ผู้หญิงอ่อนแอต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจมากกว่า หรืออาจมีความแตกต่างในด้านวิธีการสูบบุหรี่ของผู้หญิง เช่น ซึมซับปริมาณคาร์ซิโนเจนและสารพิษอื่นๆ เข้าสู่ร่างกายมากกว่าผู้ชาย จากจำนวนบุหรี่เท่าๆ กัน
• กินมังสวิรัติช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย
การกินอาหารมังสวิรัติเป็นประจำสัปดาห์ละ 5 วัน อาจช่วยลดจำนวนสารปฏิชีวนะและสารทาเลต ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่ผสมอยู่ในพลาสติก และเป็นสารเคมีที่ก่อมะเร็ง
ทีมนักวิจัยกลุ่มหนึ่งในเกาหลีได้ทำการทดลองกับคนกลุ่มหนึ่ง โดยให้พวกเขาพักที่วัดเป็นเวลา 5 วัน และกินแต่อาหารมังสวิรัติเท่านั้น
ทั้งนี้ จากการตรวจปัสสาวะผู้เข้าทดลอง ก่อนและหลังการพักที่วัด พบว่า เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง ระดับสารทาเลตในร่างกายคนกลุ่มนี้ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และยังพบว่า จำนวนอาหารที่ผู้เข้าทดลองแต่ละคนกิน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับสารเคมีที่พบในปัสสาวะ เป็นการชี้ให้เห็นว่า หลังจากกินอาหารมังสวิรัติ กลุ่มผู้เข้าทดลองได้ล้างสารพิษ ในร่างกายจนหมดสิ้น
“มีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างอาหารที่กินและระดับสารปฏิชีวนะและสารทาเลตที่พบในปัสสาวะ” นักวิจัยท่านหนึ่งกล่าว
การทดลองในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 5 วันนี้ ชี้ว่า แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกินในช่วงเวลาสั้นๆ อาจช่วยลดการได้รับสารปฏิชีวนะและสารทาเลตโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งส่งผลให้ระดับความ เครียดลดลง
• ดอกไม้ 8 ชนิด มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
รองศาสตราจารย์ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายพิษวิทยาทางอาหาร สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษาปริญญาโทในหลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ ได้ทำการศึกษาสารที่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของดอกไม้ที่คนไทยนิยม บริโภค 8 ชนิด ได้แก่ หัวปลี ดอกขจร ดอกเข็ม ดอกแค ดอกบัว ดอกเฟื่องฟ้า ดอกโสน และดอกอัญชัน ทั้งในดอกไม้กินสดและดอกไม้ที่ผ่านวิธีการปรุง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการต้มหรือชุบแป้งทอด พบว่า ดอกไม้ทั้ง 8 ชนิดนี้มีสารต้านฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ สามารถลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยคุณค่าจากใยอาหารช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย
• สาร "โคลีน" ในไข่ไก่ ลดความเสื่อมเซลล์สมอง
มีงานวิจัยหลายชิ้นมีข้อสรุปตรงกันว่า ไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีนที่มีสารอาหารช่วยเพิ่มโคเลสตอรอลชนิดดี หรือHDLที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ “โคลีน” ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์สมอง และเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมอง นับตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ
รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารเคมีในเซลล์สมองที่ชื่อ อะเซทิลโคลีน ที่ทำหน้าที่เป็น “สารสื่อนำประสาท” คอยควบคุมความจำ ควบคุมกล้ามเนื้อ และช่วยให้การทำงานของ สมองเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะระบบความจำ รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อมด้วย ซึ่งอะเซทิลโคลีนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรคสมองเสื่อม เนื่องจากพบว่า ในสมองของผู้ป่วยที่ เป็นโรคนี้ จะมีปริมาณของอะเซทิลโคลีนลดลงมากถึงร้อยละ 90
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2554 โดย ธาราทิพย์)