พระใบลานเปล่า หมายถึง พระโปฐิละ คำว่า “โปฐิละ” แปลว่าใบลานเปล่า ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราศจากตัวอักษร เปรียบเหมือนจิตที่ปราศจากธรรม ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่ทรงจำและแตกฉานในพระธรรมวินัยมาก เป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์จำนวนมาก แต่ท่านก็ไม่เคยลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในเวลาที่ท่านเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะเรียกท่านว่า “โปฐิละๆ” เป็นการกระตุ้นให้ท่านเกิดความสำนึกตัวว่า ท่านมีแต่ความทรงจำธรรมะได้ แต่ใจไม่มีธรรม พระโปฐิละถูกเรียกเช่นนี้ก็ได้อายจริงๆ เมื่อทนไม่ไหวท่านจึงทูลลาพระพุทธเจ้าออกไปปฏิบัติธรรม เพื่อเติมใบลานคือใจของท่าน ให้เต็มไปด้วยอักษรคือธรรม
๒. การทำกรรมฐานทางมโนทวาร
ง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง ๖ ทวาร (ต่อ)
๒.๒ การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ เป็นงานยาก
ที่กล่าวว่าเป็นงานยากนั้น ก็สืบเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการคือ
ประการแรก ยากที่จะรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางกายทวารซึ่งมีอยู่หลายช่องทางได้ทันและถูกต้อง ตัวอารมณ์ที่เป็นรูปปรมัตถ์ซึ่งปรากฏทางกายทวาร คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก และปรากฏให้รู้ได้ด้วยวิญญาณจิตเพียงครั้งละ ๑ ขณะจิตเท่านั้น
บ่อยครั้งมากที่จิตยังไม่ทันรับพิจารณา ตัดสินและเสพอารมณ์ ก็มีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามาทางทวารเดิมหรือทางทวารอื่นๆ อีกแล้ว
นอกจากนี้พวกเรามักจะคิดว่ารูปเป็นสิ่งที่รู้ได้ง่ายเพราะเป็นของหยาบ ทั้งที่ความจริงรูปปรมัตถ์เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากมากทีเดียว สิ่งที่รู้ได้ง่ายคือ “กาย” ที่เป็นบัญญัติ
ผู้เขียนเคยชูมือให้เพื่อนนักปฏิบัติที่มาสนทนาธรรมด้วย ดูแล้วถามว่าเห็นอะไร ส่วนมากจะตอบว่าเห็นมือบ้าง เห็นหลวงพ่อชูมือบ้าง น้อยรายเฉพาะผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี จึงจะเห็นรูปปรมัตถ์ คือเห็น “สีที่ตัดกัน” จนปรากฏเป็นรูปร่างของสิ่งที่เรียกว่ามือหรือหลวงพ่อชูมือ
หรือเมื่อถามว่าเวลาที่รับประทานอาหาร อะไรมากระทบลิ้น ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมมาก่อนก็จะตอบว่า อาหารกระทบลิ้น ผู้ที่เคยฟังธรรมมาบ้างก็จะตอบว่า รสเปรี้ยวหวานมันเค็มกระทบลิ้น น้อยรายที่จะรู้สึกได้ว่า “รสกระทบลิ้น” ส่วนที่เรียกว่ารสเปรี้ยวหวานมันเค็ม ยังเป็นสมมุติบัญญัติถึงรสอันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์
หรือเมื่อถามว่าอะไรมากระทบกาย ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมมาก่อนจะตอบว่า ลมพัดมากระทบกาย ผู้ที่เคยฟังธรรมมาบ้างก็จะตอบว่า ความเย็นคือธาตุไฟมากระทบกาย นี่ก็ตอบถูกเหมือนกัน แต่แท้จริงสิ่งที่มากระทบกายไม่ใช่ความเย็นหรือธาตุไฟอย่างเดียว แต่ยังมีธาตุดินคือมวลของลม และธาตุลมคือความไหวของลมรวมอยู่ด้วย สิ่งเหล่านี้รู้เห็นอย่างซาบซึ้งได้ยากมากทีเดียว
หรือเมื่อผู้เขียนถามว่าใครกันที่นั่งอยู่ หรือใครเดินอยู่ ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมก็จะตอบว่าตัวเรานั่งอยู่ หรือตัวเขาเดินอยู่ บางท่านที่เคยฟังธรรมมาบ้างแล้วก็จะตอบว่า รูปนั่งไม่ใช่เรานั่ง หรือรูปเดินไม่ใช่เขาเดิน ที่ตอบอย่างนี้ส่วนมากก็เป็นการตอบจากความทรงจำธรรมที่เคยฟังมา ที่จะรู้สึกถึงรูปซึ่งมีอาการที่สมมุติเรียกว่านั่งหรือเดินจริงๆนั้น มีน้อยรายเหลือเกิน เว้นแต่ผู้ที่ได้ฝึกหัดเจริญวิปัสสนามาพอสมควรแล้ว
การจะรู้สึกถึงรูปปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะพวกเราสะสมความรู้ผิดเข้าใจผิดเกี่ยวกับรูปมามาก คือตั้งแต่เกิดมาเราก็ได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดม กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัสทางกายมามากต่อมาก ทุกครั้งที่กระทบก็พอกพูนความรู้ผิดเข้าใจผิด คือไปเห็นแต่อารมณ์บัญญัติจนเคยชิน เช่น พอตาเห็น ก็เห็นแม่เห็นพ่อเห็นพี่เห็นน้อง เมื่อรู้สึกถึงร่างกายตนเอง ก็รู้สึกแต่ว่านี่คือตัวเรา เรายืนเราเดินเรานั่งเรานอน ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักรูปปรมัตถ์เลย เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อคิดจะเจริญวิปัสสนาจึงมักไปรู้เห็นแค่ “กาย” ที่เป็นเพียงอารมณ์บัญญัติ เท่านั้น เช่น นี่ลมหายใจ นี่มือ นี่เท้า นี่ท้อง นี่รูปเดินไม่ใช่เราเดิน เป็นต้น
ถ้าจิตไม่มีกำลังของสัมมาสมาธิสนับสนุนอย่างเพียงพอ ก็มักจะรู้สึกถึงความมีอยู่ของรูปปรมัตถ์ไม่ได้จริง พระอรรถกถาจารย์ จึงสอนว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเหมาะสมกับสมถยานิก” คือถ้าไม่ทำสมถกรรมฐานจนมีจิตเป็นหนึ่งและมีอารมณ์เป็นหนึ่งจริงๆแล้ว จู่ๆ ก็ไปตามรู้รูปเลยทีเดียว ส่วนมากก็จะทำได้แค่การเพ่งรูปหรือการรู้บัญญัติของรูปเท่านั้น เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง แล้วก็เกิดอาการของปีติ เช่น รู้สึกว่าตัวหนัก ตัวเบา ตัวใหญ่ ตัวพอง ตัวโคลง หรือเกิดความรู้สึกซู่ซ่าต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากการทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนาญาณแต่อย่างใด เพราะการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง ต้องรู้รูปปรมัตถ์ ไม่ใช่เพ่ง รูปในลักษณะของการเพ่งกสิณดิน
ส่วนผู้ที่ทำสมถกรรมฐานจนมีจิตเป็นหนึ่งมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตจะมีความตั้งมั่น มีความสงบ มีความเบา มีความอ่อน ปราศจากกิเลส ควรแก่การงาน และปราดเปรียวแต่ไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตถอนออกจากความสงบแล้ว ก็มีสติระลึกรู้รูป เช่น รู้รูปยืนเดินนั่ง นอน ก็จะเห็นรูปที่เคลื่อนไหวไปมา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด โดยไม่ต้องคิดนำหรือน้อมใจเชื่อด้วย หรือเมื่อรู้ลมหายใจ ก็จะเห็นเป็นธาตุที่เคลื่อนไหว ลมหายใจก็เป็นธาตุ กายก็เป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หรือแม้แต่รูปภายนอกที่ปรากฏทางกายทวารทั้งหลาย ก็จะรู้ว่าเป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเช่นกัน
ดังนั้น ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้รูป จึงควรจะฝึกอบรมจิตให้ตั้งมั่นและสงบเสียก่อน จะช่วยให้รู้รูปปรมัตถ์ได้ง่ายขึ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 130 กันยายน 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๒. การทำกรรมฐานทางมโนทวาร
ง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง ๖ ทวาร (ต่อ)
๒.๒ การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ เป็นงานยาก
ที่กล่าวว่าเป็นงานยากนั้น ก็สืบเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการคือ
ประการแรก ยากที่จะรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางกายทวารซึ่งมีอยู่หลายช่องทางได้ทันและถูกต้อง ตัวอารมณ์ที่เป็นรูปปรมัตถ์ซึ่งปรากฏทางกายทวาร คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก และปรากฏให้รู้ได้ด้วยวิญญาณจิตเพียงครั้งละ ๑ ขณะจิตเท่านั้น
บ่อยครั้งมากที่จิตยังไม่ทันรับพิจารณา ตัดสินและเสพอารมณ์ ก็มีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามาทางทวารเดิมหรือทางทวารอื่นๆ อีกแล้ว
นอกจากนี้พวกเรามักจะคิดว่ารูปเป็นสิ่งที่รู้ได้ง่ายเพราะเป็นของหยาบ ทั้งที่ความจริงรูปปรมัตถ์เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากมากทีเดียว สิ่งที่รู้ได้ง่ายคือ “กาย” ที่เป็นบัญญัติ
ผู้เขียนเคยชูมือให้เพื่อนนักปฏิบัติที่มาสนทนาธรรมด้วย ดูแล้วถามว่าเห็นอะไร ส่วนมากจะตอบว่าเห็นมือบ้าง เห็นหลวงพ่อชูมือบ้าง น้อยรายเฉพาะผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี จึงจะเห็นรูปปรมัตถ์ คือเห็น “สีที่ตัดกัน” จนปรากฏเป็นรูปร่างของสิ่งที่เรียกว่ามือหรือหลวงพ่อชูมือ
หรือเมื่อถามว่าเวลาที่รับประทานอาหาร อะไรมากระทบลิ้น ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมมาก่อนก็จะตอบว่า อาหารกระทบลิ้น ผู้ที่เคยฟังธรรมมาบ้างก็จะตอบว่า รสเปรี้ยวหวานมันเค็มกระทบลิ้น น้อยรายที่จะรู้สึกได้ว่า “รสกระทบลิ้น” ส่วนที่เรียกว่ารสเปรี้ยวหวานมันเค็ม ยังเป็นสมมุติบัญญัติถึงรสอันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์
หรือเมื่อถามว่าอะไรมากระทบกาย ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมมาก่อนจะตอบว่า ลมพัดมากระทบกาย ผู้ที่เคยฟังธรรมมาบ้างก็จะตอบว่า ความเย็นคือธาตุไฟมากระทบกาย นี่ก็ตอบถูกเหมือนกัน แต่แท้จริงสิ่งที่มากระทบกายไม่ใช่ความเย็นหรือธาตุไฟอย่างเดียว แต่ยังมีธาตุดินคือมวลของลม และธาตุลมคือความไหวของลมรวมอยู่ด้วย สิ่งเหล่านี้รู้เห็นอย่างซาบซึ้งได้ยากมากทีเดียว
หรือเมื่อผู้เขียนถามว่าใครกันที่นั่งอยู่ หรือใครเดินอยู่ ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมก็จะตอบว่าตัวเรานั่งอยู่ หรือตัวเขาเดินอยู่ บางท่านที่เคยฟังธรรมมาบ้างแล้วก็จะตอบว่า รูปนั่งไม่ใช่เรานั่ง หรือรูปเดินไม่ใช่เขาเดิน ที่ตอบอย่างนี้ส่วนมากก็เป็นการตอบจากความทรงจำธรรมที่เคยฟังมา ที่จะรู้สึกถึงรูปซึ่งมีอาการที่สมมุติเรียกว่านั่งหรือเดินจริงๆนั้น มีน้อยรายเหลือเกิน เว้นแต่ผู้ที่ได้ฝึกหัดเจริญวิปัสสนามาพอสมควรแล้ว
การจะรู้สึกถึงรูปปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะพวกเราสะสมความรู้ผิดเข้าใจผิดเกี่ยวกับรูปมามาก คือตั้งแต่เกิดมาเราก็ได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดม กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัสทางกายมามากต่อมาก ทุกครั้งที่กระทบก็พอกพูนความรู้ผิดเข้าใจผิด คือไปเห็นแต่อารมณ์บัญญัติจนเคยชิน เช่น พอตาเห็น ก็เห็นแม่เห็นพ่อเห็นพี่เห็นน้อง เมื่อรู้สึกถึงร่างกายตนเอง ก็รู้สึกแต่ว่านี่คือตัวเรา เรายืนเราเดินเรานั่งเรานอน ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักรูปปรมัตถ์เลย เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อคิดจะเจริญวิปัสสนาจึงมักไปรู้เห็นแค่ “กาย” ที่เป็นเพียงอารมณ์บัญญัติ เท่านั้น เช่น นี่ลมหายใจ นี่มือ นี่เท้า นี่ท้อง นี่รูปเดินไม่ใช่เราเดิน เป็นต้น
ถ้าจิตไม่มีกำลังของสัมมาสมาธิสนับสนุนอย่างเพียงพอ ก็มักจะรู้สึกถึงความมีอยู่ของรูปปรมัตถ์ไม่ได้จริง พระอรรถกถาจารย์ จึงสอนว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเหมาะสมกับสมถยานิก” คือถ้าไม่ทำสมถกรรมฐานจนมีจิตเป็นหนึ่งและมีอารมณ์เป็นหนึ่งจริงๆแล้ว จู่ๆ ก็ไปตามรู้รูปเลยทีเดียว ส่วนมากก็จะทำได้แค่การเพ่งรูปหรือการรู้บัญญัติของรูปเท่านั้น เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง แล้วก็เกิดอาการของปีติ เช่น รู้สึกว่าตัวหนัก ตัวเบา ตัวใหญ่ ตัวพอง ตัวโคลง หรือเกิดความรู้สึกซู่ซ่าต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากการทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนาญาณแต่อย่างใด เพราะการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริง ต้องรู้รูปปรมัตถ์ ไม่ใช่เพ่ง รูปในลักษณะของการเพ่งกสิณดิน
ส่วนผู้ที่ทำสมถกรรมฐานจนมีจิตเป็นหนึ่งมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตจะมีความตั้งมั่น มีความสงบ มีความเบา มีความอ่อน ปราศจากกิเลส ควรแก่การงาน และปราดเปรียวแต่ไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตถอนออกจากความสงบแล้ว ก็มีสติระลึกรู้รูป เช่น รู้รูปยืนเดินนั่ง นอน ก็จะเห็นรูปที่เคลื่อนไหวไปมา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด โดยไม่ต้องคิดนำหรือน้อมใจเชื่อด้วย หรือเมื่อรู้ลมหายใจ ก็จะเห็นเป็นธาตุที่เคลื่อนไหว ลมหายใจก็เป็นธาตุ กายก็เป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หรือแม้แต่รูปภายนอกที่ปรากฏทางกายทวารทั้งหลาย ก็จะรู้ว่าเป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเช่นกัน
ดังนั้น ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้รูป จึงควรจะฝึกอบรมจิตให้ตั้งมั่นและสงบเสียก่อน จะช่วยให้รู้รูปปรมัตถ์ได้ง่ายขึ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 130 กันยายน 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)