๘. ผลของการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา กระทำไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งจุดมุ่งหมายนี้ชาวโลกยังพอรับได้ แต่ถ้าจะให้ดีถูกใจชาวโลกยิ่งขึ้นไปอีกก็ต้องบอกว่า “นิพพานเป็นบรมสุข ใครปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว จะได้มีชีวิตอมตะในโลกที่มีแต่ความสุขถาวร” ถ้าสอนอย่างนี้ชาวโลกจำนวนมากจะอยากได้นิพพาน แต่ก็สอนอย่างนี้ไม่ได้เพราะไม่ใช่ความจริง เนื่องจากนิพพานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นั้นไม่ใช่ภพหรือโลกอันดีวิเศษใดๆทั้งสิ้น หากแต่เป็นความสิ้นตัณหาบ้าง เป็นความสิ้นความปรุงแต่งบ้าง และเป็นความสิ้นทุกข์คือสิ้นขันธ์หรือรูปนามบ้าง
ในความหมายอย่างนี้คงเหลือชาวโลกที่อยากบรรลุนิพพานไม่มากนัก เพราะสิ่งที่ชาวโลกปรารถนาก็คือ “ขอให้ตัวเรามีความสุขถาวร”
ชาวโลกส่วนใหญ่ไม่เคยเจริญสติปัฏฐาน จึงมีความเห็นผิดว่า “ตัวเรา” มีอยู่จริงๆ แล้วเที่ยวแสวงหาความสุขให้แก่ “ตัวเรา” อย่างเต็มความสามารถ เฉพาะผู้มีศรัทธาแน่นแฟ้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า และได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงจะเจริญสติปัฏฐานและเจริญได้อย่างถูกต้อง เขาเหล่านั้นจะเข้าใจได้เลยว่า ตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม และรูปนามก็เป็นตัวทุกข์เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร
ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมจะไม่รู้ความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า บุคคลที่เที่ยวแสวงหาความสุขมักจะพบกับความทุกข์ แต่บุคคลที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ กลับได้พบความสุขที่คาดไม่ถึงอยู่แทบตลอดเวลา
คนทั่วไปคิดว่าความสุขคือการได้รับอารมณ์ที่ดีต่างๆ เช่นได้เห็นรูปอันเป็นที่รักที่พอใจ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส และได้รู้ธัมมารมณ์อันเป็นที่รักที่พอใจ เขาจึงเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่ดีๆ เพื่อจะได้มีความสุข แต่หาจนตลอดชีวิตก็มักจะวิ่งตามความสุขไม่ทันสักที เพราะความสุขเหมือนสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าตลอดเวลา รอให้วิ่งไปไขว่คว้าด้วยความเหนื่อยยากแสนเข็ญ แล้วก็พบว่าความสุขเหล่านั้นมันก็ยังงั้นๆแหละ แม้ได้มา ความสุขนั้นก็หมดคุณค่าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องวิ่งหาความสุขต่อไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ลองนึกถึงตัวเราเองก็ได้ พวกเราเคยรู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อวัยเด็ก เราจะรู้สึกว่าความเป็นเด็กเป็นข้อจำกัด ทำให้เราสุขไม่เต็มที่ เพราะจะถูกผู้ใหญ่สั่งการอยู่เกือบตลอดเวลาว่า จงทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้ เคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าเราโตขึ้นและพึ่งตนเองได้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
ในวัยที่ต้องเรียนหนังสือภายใต้ระบบแพ้คัดออก เราอาจจะเคยรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและคิดว่า ถ้าเรียนจบแล้วเราจะมีความสุขมากกว่านี้
เมื่อเรียนจบแล้ว เราอาจจะเคยรู้สึกว่า ถ้าเราได้งานที่ดี ได้เงินและตำแหน่งดีๆ ได้ชื่อเสียงเกียรติยศให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
เราอาจจะเคยรู้สึกว่า ถ้าเราได้แฟนที่สวย/หล่อ รวย เริด และนิสัยดี เราจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเราได้แต่งงาน กับคนที่เรารัก เราจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเรามีลูกหลานที่ดี เราจะมีความสุขมากกว่านี้
จนคืนวันผ่านไปเราก็อาจจะรู้สึกว่า ถ้าหนังตาไม่ย่นเร็วนัก หรือถ้าวันนี้ไม่เจ็บไข้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
เมื่อความเจ็บไข้ทรมานคุกคามหนัก เราก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าตายพ้นทุกข์ทรมานได้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
สังเกตดูเถิดว่าความสุขเป็นสิ่งที่ไม่เคยเต็ม มีสิ่งให้เราคาดหวังและแสวงหาด้วยความเหนื่อยยากไม่สิ้นสุด เมื่อได้อย่างหนึ่งมาแล้ว เพียงมีความสุขชั่วคราวเราก็ต้องทุกข์เพราะความอยากได้อย่างอื่นต่อไปอีก ความสุขจึงเหมือนภาพลวงตา ที่หลอกให้เราวิ่งหาด้วยความเหนื่อยยากจนตลอดชีวิต
ผู้ใดเกิดความเฉลียวใจว่า “นี่เรากำลังทำอะไรอยู่” แล้วลองศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติธรรมดู บางทีจะได้พบทางสายใหม่ที่รื่นรมย์มากกว่าเดิม
ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วว่า บุคคลที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ กลับได้พบความสุขที่คาดไม่ถึงอยู่แทบตลอดเวลา
ต่อไปนี้จะได้เล่าให้พวกเราฟังเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ให้ความพ้นทุกข์ไปเป็นลำดับๆ และให้ความสุขเพิ่มขึ้นเป็นปฏิภาคกลับ กับความทุกข์ที่เหือดหายไปเป็นลำดับๆ เช่นกัน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 125 เมษายน 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา กระทำไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งจุดมุ่งหมายนี้ชาวโลกยังพอรับได้ แต่ถ้าจะให้ดีถูกใจชาวโลกยิ่งขึ้นไปอีกก็ต้องบอกว่า “นิพพานเป็นบรมสุข ใครปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว จะได้มีชีวิตอมตะในโลกที่มีแต่ความสุขถาวร” ถ้าสอนอย่างนี้ชาวโลกจำนวนมากจะอยากได้นิพพาน แต่ก็สอนอย่างนี้ไม่ได้เพราะไม่ใช่ความจริง เนื่องจากนิพพานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นั้นไม่ใช่ภพหรือโลกอันดีวิเศษใดๆทั้งสิ้น หากแต่เป็นความสิ้นตัณหาบ้าง เป็นความสิ้นความปรุงแต่งบ้าง และเป็นความสิ้นทุกข์คือสิ้นขันธ์หรือรูปนามบ้าง
ในความหมายอย่างนี้คงเหลือชาวโลกที่อยากบรรลุนิพพานไม่มากนัก เพราะสิ่งที่ชาวโลกปรารถนาก็คือ “ขอให้ตัวเรามีความสุขถาวร”
ชาวโลกส่วนใหญ่ไม่เคยเจริญสติปัฏฐาน จึงมีความเห็นผิดว่า “ตัวเรา” มีอยู่จริงๆ แล้วเที่ยวแสวงหาความสุขให้แก่ “ตัวเรา” อย่างเต็มความสามารถ เฉพาะผู้มีศรัทธาแน่นแฟ้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า และได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงจะเจริญสติปัฏฐานและเจริญได้อย่างถูกต้อง เขาเหล่านั้นจะเข้าใจได้เลยว่า ตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม และรูปนามก็เป็นตัวทุกข์เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร
ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมจะไม่รู้ความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า บุคคลที่เที่ยวแสวงหาความสุขมักจะพบกับความทุกข์ แต่บุคคลที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ กลับได้พบความสุขที่คาดไม่ถึงอยู่แทบตลอดเวลา
คนทั่วไปคิดว่าความสุขคือการได้รับอารมณ์ที่ดีต่างๆ เช่นได้เห็นรูปอันเป็นที่รักที่พอใจ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส และได้รู้ธัมมารมณ์อันเป็นที่รักที่พอใจ เขาจึงเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่ดีๆ เพื่อจะได้มีความสุข แต่หาจนตลอดชีวิตก็มักจะวิ่งตามความสุขไม่ทันสักที เพราะความสุขเหมือนสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าตลอดเวลา รอให้วิ่งไปไขว่คว้าด้วยความเหนื่อยยากแสนเข็ญ แล้วก็พบว่าความสุขเหล่านั้นมันก็ยังงั้นๆแหละ แม้ได้มา ความสุขนั้นก็หมดคุณค่าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องวิ่งหาความสุขต่อไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ลองนึกถึงตัวเราเองก็ได้ พวกเราเคยรู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อวัยเด็ก เราจะรู้สึกว่าความเป็นเด็กเป็นข้อจำกัด ทำให้เราสุขไม่เต็มที่ เพราะจะถูกผู้ใหญ่สั่งการอยู่เกือบตลอดเวลาว่า จงทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้ เคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าเราโตขึ้นและพึ่งตนเองได้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
ในวัยที่ต้องเรียนหนังสือภายใต้ระบบแพ้คัดออก เราอาจจะเคยรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและคิดว่า ถ้าเรียนจบแล้วเราจะมีความสุขมากกว่านี้
เมื่อเรียนจบแล้ว เราอาจจะเคยรู้สึกว่า ถ้าเราได้งานที่ดี ได้เงินและตำแหน่งดีๆ ได้ชื่อเสียงเกียรติยศให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
เราอาจจะเคยรู้สึกว่า ถ้าเราได้แฟนที่สวย/หล่อ รวย เริด และนิสัยดี เราจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเราได้แต่งงาน กับคนที่เรารัก เราจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเรามีลูกหลานที่ดี เราจะมีความสุขมากกว่านี้
จนคืนวันผ่านไปเราก็อาจจะรู้สึกว่า ถ้าหนังตาไม่ย่นเร็วนัก หรือถ้าวันนี้ไม่เจ็บไข้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
เมื่อความเจ็บไข้ทรมานคุกคามหนัก เราก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าตายพ้นทุกข์ทรมานได้ เราจะมีความสุขมากกว่านี้
สังเกตดูเถิดว่าความสุขเป็นสิ่งที่ไม่เคยเต็ม มีสิ่งให้เราคาดหวังและแสวงหาด้วยความเหนื่อยยากไม่สิ้นสุด เมื่อได้อย่างหนึ่งมาแล้ว เพียงมีความสุขชั่วคราวเราก็ต้องทุกข์เพราะความอยากได้อย่างอื่นต่อไปอีก ความสุขจึงเหมือนภาพลวงตา ที่หลอกให้เราวิ่งหาด้วยความเหนื่อยยากจนตลอดชีวิต
ผู้ใดเกิดความเฉลียวใจว่า “นี่เรากำลังทำอะไรอยู่” แล้วลองศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติธรรมดู บางทีจะได้พบทางสายใหม่ที่รื่นรมย์มากกว่าเดิม
ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วว่า บุคคลที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ กลับได้พบความสุขที่คาดไม่ถึงอยู่แทบตลอดเวลา
ต่อไปนี้จะได้เล่าให้พวกเราฟังเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ให้ความพ้นทุกข์ไปเป็นลำดับๆ และให้ความสุขเพิ่มขึ้นเป็นปฏิภาคกลับ กับความทุกข์ที่เหือดหายไปเป็นลำดับๆ เช่นกัน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 125 เมษายน 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)