การฟังเทศน์ต้องจับจุดให้ได้คือ จับจุดหัวใจของการเทศนานั่นเอง หัวใจมันอยู่ตรงไหนให้จับเอาตรงนั้น สิ่งทั้งปวงหมดที่มีวิญญาณครอง จุดสำคัญอยู่ที่หัวใจ สัตว์ต่างๆรวมทั้งมนุษย์เราด้วย ถ้าจับหัวใจได้แล้ว สิ่งอื่นๆก็ไม่มีอะไร หมดเรื่อง
จุดหัวใจของธรรมเทศนา คือ ข้อความที่ท่านเทศนานั้นมีประสงค์อะไร มีจุดหมายปลายทางอะไรในเทศนานั้น ที่ท่านเทศนามากๆเป็นเครื่องปลีกย่อยออกไปแต่ละอย่างๆนั้น อย่าไปหลงตาม หลงคิดนึกจดจำตามทั้งหมดไม่ได้ ให้จับเอาจุดสำคัญจุดเดียว ส่วนปลีกย่อยออกไปจากนั้นทั้งหมดไม่ให้เอา การเทศนานั้น ผู้เทศนาก็ต้องมีจุดประสงค์อย่างนั้น ผู้ฟังก็ต้องมีจุดประสงค์ เหมือนกัน จึงจะกลมกลืนกัน ทั้งผู้เทศน์และผู้ฟัง ผู้ฟังโดยส่วน มากไม่จับเอาจุดสำคัญ เอาแต่เปลือกๆ ย่อยออกไป
พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า ตจสาโร-สำคัญว่า เปลือกเป็นแก่น เปลือกมันมากกว่าแก่น ธรรมเทศนา ก็เช่นเดียวกัน ที่อธิบายปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆสารพัดทุกอย่าง เพื่อแสดงให้เข้าใจความหมายนั่นเอง แต่คนก็ไปหลงจับเอาเปลือกมาเป็นแก่น แก่นแท้เลยจับเอาไม่ได้
ทุกๆคนที่มาปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็มุ่งหมายหาแก่นของธรรมด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้วโดยส่วนมากไม่ค่อยเอาแก่น เอาแต่เปลือกๆ อย่างเช่น ละเว้นการงานทั้งปวงแล้วมาอยู่วัด ล้วนแล้วแต่มีอุปนิสัยต่างๆกัน การอยู่การกิน กิริยาอาการความเป็นอยู่ ตลอดคำ พูดจาพาทีก็ไม่เหมือนกัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความกระทบกระเทือนภายในใจย่อมเกิดแก่ผู้ไม่เห็นตามเป็นจริงของบุคคลนั้นๆ อนึ่ง อาหารการบริโภค ตลอดถึงที่อยู่อาศัยก็เช่นเดียวกัน ไม่สบกับกิเลสของตน ย่อมเป็นอุปสรรคแก่ การภาวนา เหล่านี้แหละเรียกว่า เอาเปลือกเป็นแก่น
มัวแต่ไม่พอใจอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ติดใจอยู่แต่เรื่องเหล่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่สละทอดทิ้ง สิ่งเหล่านั้นจะติดนิสัยต่อไปในภายภาคหน้า แทนที่เราจะมาฝึกหัดสละปล่อยวางเลย แต่กลับมาเอาของพวกนั้นเป็นอารมณ์ การภาวนาเลยได้แต่ของพวกนั้นมาเป็นแก่น คิดนึกแต่เรื่องเหล่านั้น เลยเป็นนิสัย
อย่างที่พูดกันว่า คนขี้โกรธ คนนิสัยหงุดหงิด มีอารมณ์เดือดร้อนอยู่เสมอ คนชอบคิดชอบนึกก็จะระแวงสิ่งต่างๆอยู่เรื่อยไป พูดกันง่ายๆว่าเป็นคนโรคเส้นประสาทก็แล้วกัน คนโรคเส้นประสาทนี่ไม่สามารถจะทำสมาธิได้ ภาวนาไม่ได้เรื่องได้ราว มีแต่เรื่องวุ่นวายทุกสิ่งทุกอย่าง เวลาภาวนาเกิดอารมณ์ต่างๆก็คิดนึกปรุงแต่งเข้าใจว่าตนดิบตนดี ผลที่สุดจิตไม่รวมลงไปได้ อันนั้นเรียกว่า เอาเปลือกมาเป็นแก่น เวลากลับไปถึงบ้านแล้ว แทนที่จะเอาของดีๆไปฝากลูกหลานเพื่อนฝูง คลี่ห่อออกมีแต่เปลือกทั้งเพ
เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นคนแก่แล้ว เวลาแกภาวนาปรุงแต่งไปสารพัดทุกอย่าง ทั้งในอดีตอนาคต ปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด เข้าใจว่าตนมีปัญญาดี เห็นหมู่เพื่อนภาวนาดีมีความสงบ แกหาว่าเป็นคนไม่มีปัญญา เลยยกโทษดูถูกดูหมิ่นเพื่อน ต่อมาหมู่เพื่อนมาศึกษาธรรมะเล่าเรื่องการปฏิบัติพูดถึงเรื่องรวมจิต จิตเป็นสมาธิ มีเอกัคคตารมณ์ อารมณ์อันเดียว แล้วจิตใจเบิกบานสว่างไสว ตาแก่คนนั้นอยู่ในที่นั้นด้วย ได้ยินเขาพูดถึงจิตรวมมีอารมณ์เดียว จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน แกจึงสงสัยถามว่า
“ เอ๊ะ! จิตรวมนี้มันเป็นอย่างไร”
อาตมาจึงถามว่า ที่แกว่าภาวนาดีนั้นจิตของแกเป็นอย่างไร
แกตอบว่า มันจะคิดนึกรู้ อะไรๆ ทุกอย่างไม่มีหยุดยั้ง และเข้าใจว่าเป็นปัญญาของดีวิเศษ
อาตมาเลยอธิบายการภาวนาเบื้องต้นจนจิตรวมเป็นสมาธิให้ ฟัง ในที่สุดแกอยู่กับอาตมาไม่ได้ หนีไปอยู่สำนักอีกแห่งหนึ่ง ไป บวชเป็นพระก็ไปประพฤตินอกรีต นอกรอยทุกอย่าง ตามเรื่องตามนิสัยของแก หมู่เพื่อนพระภิกษุตักเตือนว่าทำอย่างนี้มันผิดเป็นอาบัติ แกก็ตอบว่า อาบัติไม่เห็นมีตัวมีตนไม่เห็นมีเขี้ยวมีงา ไม่เห็นกัดนี่ กลับเห็นผิดไปใหญ่โตตามนิสัยเดิม ที่สุดก็อยู่กับหมู่เพื่อนไม่ได้ ย้ายไปอยู่หลายแห่ง
นั่นแหละ เอาเปลือกเป็นแก่น มันเป็นอย่างนี้แหละ เวลาภาวนาจิตฟุ้งซ่าน เกิดจากอารมณ์คิดนึกปรุงแต่งไปกับอารมณ์ เข้าใจว่าเป็นปัญญาก็ยิ่งฟุ้ง ปรุงแต่งมาก เข้าใจว่าตนเฉลียวลาด เลยอวดตัวอวด ตนว่าวิเศษวิโส อันนี้เรียกว่าเอาเปลือกมาเป็นแก่น
บางคนเวลาภาวนามีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา เป็นภาพเป็นนิมิตให้ปรากฏ แล้วยึดถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ นั่นก็เอาเปลือกเป็นแก่นเหมือนกัน
ส่วนคนที่ภาวนาเป็น จนกระทั่งรวมจิตลงไปนิ่งแน่วจนลืมเนื้อลืมตัว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่านั่งหลับขาดสติ แต่เขาเข้าใจว่าอันนั้นเป็นแก่น เข้าใจว่าตนปฏิบัติได้ดีวิเศษ นั่นก็เอาเปลือกเป็นแก่นเหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าที่ว่ามาแล้วเพราะอันนี้เป็นเปลือกหุ้มแก่น ถ้ากะเทาะเปลือกแล้วก็จะเห็นแก่นธรรมเลย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
จุดหัวใจของธรรมเทศนา คือ ข้อความที่ท่านเทศนานั้นมีประสงค์อะไร มีจุดหมายปลายทางอะไรในเทศนานั้น ที่ท่านเทศนามากๆเป็นเครื่องปลีกย่อยออกไปแต่ละอย่างๆนั้น อย่าไปหลงตาม หลงคิดนึกจดจำตามทั้งหมดไม่ได้ ให้จับเอาจุดสำคัญจุดเดียว ส่วนปลีกย่อยออกไปจากนั้นทั้งหมดไม่ให้เอา การเทศนานั้น ผู้เทศนาก็ต้องมีจุดประสงค์อย่างนั้น ผู้ฟังก็ต้องมีจุดประสงค์ เหมือนกัน จึงจะกลมกลืนกัน ทั้งผู้เทศน์และผู้ฟัง ผู้ฟังโดยส่วน มากไม่จับเอาจุดสำคัญ เอาแต่เปลือกๆ ย่อยออกไป
พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า ตจสาโร-สำคัญว่า เปลือกเป็นแก่น เปลือกมันมากกว่าแก่น ธรรมเทศนา ก็เช่นเดียวกัน ที่อธิบายปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆสารพัดทุกอย่าง เพื่อแสดงให้เข้าใจความหมายนั่นเอง แต่คนก็ไปหลงจับเอาเปลือกมาเป็นแก่น แก่นแท้เลยจับเอาไม่ได้
ทุกๆคนที่มาปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็มุ่งหมายหาแก่นของธรรมด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้วโดยส่วนมากไม่ค่อยเอาแก่น เอาแต่เปลือกๆ อย่างเช่น ละเว้นการงานทั้งปวงแล้วมาอยู่วัด ล้วนแล้วแต่มีอุปนิสัยต่างๆกัน การอยู่การกิน กิริยาอาการความเป็นอยู่ ตลอดคำ พูดจาพาทีก็ไม่เหมือนกัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความกระทบกระเทือนภายในใจย่อมเกิดแก่ผู้ไม่เห็นตามเป็นจริงของบุคคลนั้นๆ อนึ่ง อาหารการบริโภค ตลอดถึงที่อยู่อาศัยก็เช่นเดียวกัน ไม่สบกับกิเลสของตน ย่อมเป็นอุปสรรคแก่ การภาวนา เหล่านี้แหละเรียกว่า เอาเปลือกเป็นแก่น
มัวแต่ไม่พอใจอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ติดใจอยู่แต่เรื่องเหล่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่สละทอดทิ้ง สิ่งเหล่านั้นจะติดนิสัยต่อไปในภายภาคหน้า แทนที่เราจะมาฝึกหัดสละปล่อยวางเลย แต่กลับมาเอาของพวกนั้นเป็นอารมณ์ การภาวนาเลยได้แต่ของพวกนั้นมาเป็นแก่น คิดนึกแต่เรื่องเหล่านั้น เลยเป็นนิสัย
อย่างที่พูดกันว่า คนขี้โกรธ คนนิสัยหงุดหงิด มีอารมณ์เดือดร้อนอยู่เสมอ คนชอบคิดชอบนึกก็จะระแวงสิ่งต่างๆอยู่เรื่อยไป พูดกันง่ายๆว่าเป็นคนโรคเส้นประสาทก็แล้วกัน คนโรคเส้นประสาทนี่ไม่สามารถจะทำสมาธิได้ ภาวนาไม่ได้เรื่องได้ราว มีแต่เรื่องวุ่นวายทุกสิ่งทุกอย่าง เวลาภาวนาเกิดอารมณ์ต่างๆก็คิดนึกปรุงแต่งเข้าใจว่าตนดิบตนดี ผลที่สุดจิตไม่รวมลงไปได้ อันนั้นเรียกว่า เอาเปลือกมาเป็นแก่น เวลากลับไปถึงบ้านแล้ว แทนที่จะเอาของดีๆไปฝากลูกหลานเพื่อนฝูง คลี่ห่อออกมีแต่เปลือกทั้งเพ
เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นคนแก่แล้ว เวลาแกภาวนาปรุงแต่งไปสารพัดทุกอย่าง ทั้งในอดีตอนาคต ปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด เข้าใจว่าตนมีปัญญาดี เห็นหมู่เพื่อนภาวนาดีมีความสงบ แกหาว่าเป็นคนไม่มีปัญญา เลยยกโทษดูถูกดูหมิ่นเพื่อน ต่อมาหมู่เพื่อนมาศึกษาธรรมะเล่าเรื่องการปฏิบัติพูดถึงเรื่องรวมจิต จิตเป็นสมาธิ มีเอกัคคตารมณ์ อารมณ์อันเดียว แล้วจิตใจเบิกบานสว่างไสว ตาแก่คนนั้นอยู่ในที่นั้นด้วย ได้ยินเขาพูดถึงจิตรวมมีอารมณ์เดียว จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน แกจึงสงสัยถามว่า
“ เอ๊ะ! จิตรวมนี้มันเป็นอย่างไร”
อาตมาจึงถามว่า ที่แกว่าภาวนาดีนั้นจิตของแกเป็นอย่างไร
แกตอบว่า มันจะคิดนึกรู้ อะไรๆ ทุกอย่างไม่มีหยุดยั้ง และเข้าใจว่าเป็นปัญญาของดีวิเศษ
อาตมาเลยอธิบายการภาวนาเบื้องต้นจนจิตรวมเป็นสมาธิให้ ฟัง ในที่สุดแกอยู่กับอาตมาไม่ได้ หนีไปอยู่สำนักอีกแห่งหนึ่ง ไป บวชเป็นพระก็ไปประพฤตินอกรีต นอกรอยทุกอย่าง ตามเรื่องตามนิสัยของแก หมู่เพื่อนพระภิกษุตักเตือนว่าทำอย่างนี้มันผิดเป็นอาบัติ แกก็ตอบว่า อาบัติไม่เห็นมีตัวมีตนไม่เห็นมีเขี้ยวมีงา ไม่เห็นกัดนี่ กลับเห็นผิดไปใหญ่โตตามนิสัยเดิม ที่สุดก็อยู่กับหมู่เพื่อนไม่ได้ ย้ายไปอยู่หลายแห่ง
นั่นแหละ เอาเปลือกเป็นแก่น มันเป็นอย่างนี้แหละ เวลาภาวนาจิตฟุ้งซ่าน เกิดจากอารมณ์คิดนึกปรุงแต่งไปกับอารมณ์ เข้าใจว่าเป็นปัญญาก็ยิ่งฟุ้ง ปรุงแต่งมาก เข้าใจว่าตนเฉลียวลาด เลยอวดตัวอวด ตนว่าวิเศษวิโส อันนี้เรียกว่าเอาเปลือกมาเป็นแก่น
บางคนเวลาภาวนามีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา เป็นภาพเป็นนิมิตให้ปรากฏ แล้วยึดถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ นั่นก็เอาเปลือกเป็นแก่นเหมือนกัน
ส่วนคนที่ภาวนาเป็น จนกระทั่งรวมจิตลงไปนิ่งแน่วจนลืมเนื้อลืมตัว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่านั่งหลับขาดสติ แต่เขาเข้าใจว่าอันนั้นเป็นแก่น เข้าใจว่าตนปฏิบัติได้ดีวิเศษ นั่นก็เอาเปลือกเป็นแก่นเหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าที่ว่ามาแล้วเพราะอันนี้เป็นเปลือกหุ้มแก่น ถ้ากะเทาะเปลือกแล้วก็จะเห็นแก่นธรรมเลย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)