งานหลักของคนต้องการพ้นโลก
คือถอนรัก หักชัง ระวังจิต
ถ้าปล่อยกาย ปล่อยใจ ไปตามคิด
จะโดนพิษ ชัง-รัก ปักจนตาย
เรื่องที่ 110
ความเสพติดทางจิตวิญญาณ
ท่านผู้อ่านเคยหูระบมหรือมีอาการหูบวม เพราะต้องทนนั่งล้อมวงกันเพื่อฟังเสียงกระหึ่มอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ต้องตะเบงเสียงคุยกันแข่งกับเสียงจากลำโพงอันกึกก้องกัมปนาทบ้างไหม? ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่มีใครกล้าลุกขึ้นไปบอกเจ้าของสถานที่ให้เบาเสียงดังของลำโพงลงหน่อย ไหนๆ ก็จะเปิดร้านให้ลูกค้าเข้ามานั่งคุยกันทั้งที ก็ควรจัดให้มีมุมปลอดเสียงเหมือนที่มีมุมปลอดบุหรี่บ้าง
ประเทศไทยเรามีอะไรๆ ศิวิไลซ์หลายอย่าง ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารก็หลายหลาก มากมายด้วยรสชาติ ต่างๆ ชนิด แต่ละชนิดก็อุดมด้วยคุณค่า อย่างที่ไม่มีดินดีในเมืองใดจะสู้ดินดีในเมืองไทยได้ แต่น่าเสียดายที่ของดีๆ ใกล้ตัวเรามักจะถูกมองข้าม กลับหันไปมีรสนิยมในของนอกที่ด้อยคุณภาพ แต่องอาจขึ้นมาได้เพราะแบรด์เนม ไม่ว่าจะดังขนาดไหน ก็ล้วนถูกมนุษย์ นักประชาสัมพันธ์สร้างภาพขึ้นมาทั้งนั้น กระแสนิยมจึงมักจะหลอกใช้ได้เฉพาะคนที่ขาดความเฉลียวใจในวิถีการดำรงชีวิตของตนเอง จึงต้องวิ่งตามคนอื่นไปเพื่อการติดกลุ่มให้ถูกยอมรับ
นิสัยเสพติดทางจิตวิญญาณ จึงเป็นเสมือนโรคโรคหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญนัก แต่กลับยอมรับมันอย่างง่ายดายว่า เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นปุถุชน กระแสที่สังคมยอมรับจึงนับว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เหมือนการเลี้ยงโจรไว้ในบ้าน ปล่อยให้ปล้นฆ่า ได้เลยโดยไม่มีใครโวยวาย
ทุกวันนี้ มีกี่สิ่งกี่อย่างกันค่ะ ที่เราติดกันอยู่ เช่น คำพูดที่พูดจน ติดปาก ท่าทีการแสดงออกจนเป็นอัตลักษณ์ประจำทุกครั้งที่ประจันหน้ากับสถานการณ์นั้นๆ หรือแม้แต่ วิธีคิดที่วกไปสู่กรอบเก่า หรือเรื่องเล่าที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก จนผู้คนใกล้ชิดเบื่อฟัง แม้เมนูอาหาร และเครื่องดื่ม ที่กินได้ดื่มดี เพราะขี้เกียจคิดหาคำตอบว่าควรจะเป็นอะไรดีในมื้อนี้
ความจริง การเป็นคนเลี้ยงง่าย ก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนะคะ แต่อวัยวะภายในของเราซิค่ะ อาจจะค่อยๆ วอดวาย แล้วตายไปในที่สุด ตายในที่นี้คือตายจากระบบแห่งการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่ได้สารอาหารที่จำเป็นอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หิวจะแย่ แต่กลับเติมกรดด้วยการดื่มกาแฟเข้าไปแทนความหอมหวานของน้ำข้าวที่ให้คุณค่าและความเป็นด่างที่ร่างกายต้องการ
รสจืดๆ ลื่นลิ้น ไม่จี๊ดจ๊าด หลายคนไม่เคยชินเสียแล้ว จึงไม่ได้รับของดีมีคุณค่าไว้ เยียวยาร่างกาย ก็หวังว่า วันหนึ่งคงจะมี ผู้กล้า เสียสละสร้างกระแสแรงๆ ขึ้นมาช่วยผลักดัน อย่างเช่น ที่พอมองเห็นตามป้ายรถเมล์ และเสาข้างถนน ใจกลางสี่แยกใหญ่ๆ มีข้อความเหมือนเตือนสติให้หวนคำนึงถึงกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย
สงสัยไหมค่ะว่า เขายอมจ่ายค่าโฆษณาแพงๆ นี้ไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ประโยชน์ทางการค้า? แน่ละคะ หน่วยงานที่ไม่ใช่เอ็นจีโอ ก็ย่อมมีนโยบายสูงสุดเพื่อสร้างผลกำไรให้องค์กร อยู่ได้ แต่หากร้อยวันพันปี สังคมยังคงเป็นเช่นนี้ อย่างไม่มีทางเปลี่ยน แล้วมนุษย์จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาได้อย่างไร?
ตั้งแต่แรกเด็กจนเริ่มสาว ผู้เขียนเองก็เคยเป็นคนเสพติด รสหวาน แม้ของคาวอย่างเช่นก๋วยเตี้ยวราดหน้าจานโปรด ก็ยังต้อง โรยน้ำตาลลงไปก่อนสักสองช้อนชาแล้งจึงเติมพริกในน้ำส้มสายชูหรือมะนาวสดตามลงไปก็จำไม่ได้เหมือนกันว่า ความเคยชินนี้มีการเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร คงเป็นด้วยทีเผลอ ที่หลงไปรู้สึกว่ามันเท่ หากปรุงรสจานด่วนของตนตามแบบที่ว่ามานี้
ที่เขียนมายืดยาว ก็เพราะต้องการโยงถึงประเด็นของความเสพติดทางจิตวิญญาณ ที่ครอบคลุมไปทุกเรื่องโดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัว จนเมื่อต้องทุกข์เพราะความเคยชินนั้นๆ จึงอาจจะพอกระตุกให้ฉุกคิด และเกิดความตั้งใจใหม่ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
ในสังคมยุคนี้มีสิ่งเร้ามากระตุ้นความรู้สึกให้ห่างไกลจากความสงบตั้งแต่เช้าจรดเย็น จนหลายคนเคยชินที่จะอยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึก และรู้สึกโดดเดี่ยวเวิ้งว้างเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางความเงียบสงัด ทั้งๆ ที่ แม้จะไร้เสียงแต่ในสิ่งแวดล้อม แท้จริงก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวให้สังเกตเห็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหว จากภายนอกหรือภายใน โดยเฉพาะในห้วงคิด ตั้งแต่เช้าจรดเย็นมีประเด็นประชุมตั้งกระทู้โต้แย้งกันหลายร้อยเรื่อง โบราณท่านจึงว่า อยู่คนเดียวต้องระวังความคิด อยู่กับมิตรต้องระวังวาจา และไม่ควรพูดทุกๆ คำที่คิดให้ผู้อื่นได้ยิน
ลองเราตั้งโครงการอะไรไว้ในใจแล้ว จิตใต้สำนึกเขาจะทำงาน ต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมอันสัมฤทธิ์ผล แม้จะเคยไปเรียนวิธีกำหนดรู้เท่าทันจิตคิดจิตนึกมาหลายสำนัก แล้ว แต่เมื่อถึงคราวเข้าจริง ก็ยังไม่หมดเรื่องต้องคิดต้องนึกกันอยู่ดี ตราบเท่าที่จิตยังมีเรื่องเก่าค้างใจอันช่างจำไว้ปรุงต่อ
ความเสพติดในจิตให้มีเรื่องนำไปคิด ขยายความต่ออยู่เสมอ เช่นนี้ มันเป็นพิษนะคะ เพราะคนที่บ้าจี้ ก็จะถูกจิตแกล้งจ้ำจี้จ้ำไช สั่งการไม่หยุดหย่อน วิธีที่จะหยุดพฤติกรรมหรือชะลอการทำงานของ จิตให้สั่งการช้าลง คงต้องอาศัยการหันมาสังเกตก้อนกายที่เคลื่อนไหว ให้ใจสัมผัสรู้ถึงสภาพธรรมชาติที่ปรากฏแต่อย่างเดียว โดยไม่ส่งจิตเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ กรรมฐานข้อนี้ ผู้ใดสนใจ เข้ารับการฝึกอบรมจิตติดต่อได้ตามสำนักปฏิบัติธรรมซึ่งปัจจุบันมีดารดาษเป็นดอกเห็ด แต่หากยังไม่อยากปฏิบัติเข้ม ก็แค่ลองหันมาลอบสังเกตพฤติกรรมตนเอง เหมือนเรามองคู่แฝดของเราว่า ในขณะนั้นๆ เขากำลังทำอะไรอยู่ และลองหัดทำอะไรๆ ให้ช้าลงบ้าง จงใจปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ต้องกำหนดว่าจะต้องเกิดผลงานอะไรในแต่ละเวลานาที ปล่อยสรีระยนต์ให้ทำงานแบบไม่ต้องตั้งโปรแกรมบ้างก็ได้ ลองบอกตัวเองว่า ใจเราไม่ใช่เครื่องจักรในโรงงาน อุตสาหกรรม ไม่จำเป็นต้องเร่งผลิตให้ได้ผลคุ้มทุน เตือนใจให้ระลึก ถึงกำไรอัันสูงสุดของชีวิตในบั้นปลายช่วงเปลี่ยนภพ ว่าแท้จริงคือ การยอมรับได้ถึงความไม่เหลืออะไร และความไม่มีอะไรให้ยึดถือ ไม่มีอะไรให้ทำได้ดีไปกว่า การปล่อยวางทุกสิ่งที่เคยผูก การปล่อยมือทุกข้างที่เคยกำ การวางจิตที่เคยจำทุกเรื่องลงเสียทั้งหมด
อย่าลืมหยุดพัก เป็นระยะๆ เพื่อหันมาดูใจว่า จิตกำลังเสพติด อยู่กับอะไร มีอาการพุ่งถลาด้วยพลังของตัณหาแค่ไหน เตือนตนเพื่อลดโอกาสพลาดท่าให้น้อยลง จิตไม่ใช่เครื่องจักร แม้จะมีความอัศจรรย์เหนือเครื่องยนต์กลไกใดๆ ในโลก เพราะจิตได้อาศัยปรุงแต่งใจ เราจึงยังต้องอาศัยอยู่บนโลก
คนที่ต้องการพ้นโลก ควรหรือที่จะทำงานบนโลกอย่างบ้าระห่ำ ประหนึ่งว่า ต้องการลงหลักปักฐานอยู่บนโลก...
มีข้อความน่าคิดจาก หนังสือน้อมสู่ใจ เล่ม 1 หรือ Poetry of the Mind โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ อดีต เจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก สหรัฐอเมริกา นำมาฝากปิดท้ายคอลัมน์ ว่า...
งานเอ๋ย งานหลัก คือถอนรัก หักชัง ระวังจิต
ถ้าปล่อยกาย ปล่อยใจ ไปตามคิด
จะโดนพิษ ชัง-รัก ปักจนตาย
Our principal duty is to Uproot affections and break off hatred with mindfulness.
If we allow ourselves to follow The whimsical thoughts of body and mind, We will be attacked by the poisons of hatred and love forever.
(Translator : Phra Ajahn Vorasak Vorathammo)
คือถอนรัก หักชัง ระวังจิต
ถ้าปล่อยกาย ปล่อยใจ ไปตามคิด
จะโดนพิษ ชัง-รัก ปักจนตาย
เรื่องที่ 110
ความเสพติดทางจิตวิญญาณ
ท่านผู้อ่านเคยหูระบมหรือมีอาการหูบวม เพราะต้องทนนั่งล้อมวงกันเพื่อฟังเสียงกระหึ่มอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ต้องตะเบงเสียงคุยกันแข่งกับเสียงจากลำโพงอันกึกก้องกัมปนาทบ้างไหม? ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่มีใครกล้าลุกขึ้นไปบอกเจ้าของสถานที่ให้เบาเสียงดังของลำโพงลงหน่อย ไหนๆ ก็จะเปิดร้านให้ลูกค้าเข้ามานั่งคุยกันทั้งที ก็ควรจัดให้มีมุมปลอดเสียงเหมือนที่มีมุมปลอดบุหรี่บ้าง
ประเทศไทยเรามีอะไรๆ ศิวิไลซ์หลายอย่าง ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารก็หลายหลาก มากมายด้วยรสชาติ ต่างๆ ชนิด แต่ละชนิดก็อุดมด้วยคุณค่า อย่างที่ไม่มีดินดีในเมืองใดจะสู้ดินดีในเมืองไทยได้ แต่น่าเสียดายที่ของดีๆ ใกล้ตัวเรามักจะถูกมองข้าม กลับหันไปมีรสนิยมในของนอกที่ด้อยคุณภาพ แต่องอาจขึ้นมาได้เพราะแบรด์เนม ไม่ว่าจะดังขนาดไหน ก็ล้วนถูกมนุษย์ นักประชาสัมพันธ์สร้างภาพขึ้นมาทั้งนั้น กระแสนิยมจึงมักจะหลอกใช้ได้เฉพาะคนที่ขาดความเฉลียวใจในวิถีการดำรงชีวิตของตนเอง จึงต้องวิ่งตามคนอื่นไปเพื่อการติดกลุ่มให้ถูกยอมรับ
นิสัยเสพติดทางจิตวิญญาณ จึงเป็นเสมือนโรคโรคหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญนัก แต่กลับยอมรับมันอย่างง่ายดายว่า เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นปุถุชน กระแสที่สังคมยอมรับจึงนับว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เหมือนการเลี้ยงโจรไว้ในบ้าน ปล่อยให้ปล้นฆ่า ได้เลยโดยไม่มีใครโวยวาย
ทุกวันนี้ มีกี่สิ่งกี่อย่างกันค่ะ ที่เราติดกันอยู่ เช่น คำพูดที่พูดจน ติดปาก ท่าทีการแสดงออกจนเป็นอัตลักษณ์ประจำทุกครั้งที่ประจันหน้ากับสถานการณ์นั้นๆ หรือแม้แต่ วิธีคิดที่วกไปสู่กรอบเก่า หรือเรื่องเล่าที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก จนผู้คนใกล้ชิดเบื่อฟัง แม้เมนูอาหาร และเครื่องดื่ม ที่กินได้ดื่มดี เพราะขี้เกียจคิดหาคำตอบว่าควรจะเป็นอะไรดีในมื้อนี้
ความจริง การเป็นคนเลี้ยงง่าย ก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนะคะ แต่อวัยวะภายในของเราซิค่ะ อาจจะค่อยๆ วอดวาย แล้วตายไปในที่สุด ตายในที่นี้คือตายจากระบบแห่งการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่ได้สารอาหารที่จำเป็นอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หิวจะแย่ แต่กลับเติมกรดด้วยการดื่มกาแฟเข้าไปแทนความหอมหวานของน้ำข้าวที่ให้คุณค่าและความเป็นด่างที่ร่างกายต้องการ
รสจืดๆ ลื่นลิ้น ไม่จี๊ดจ๊าด หลายคนไม่เคยชินเสียแล้ว จึงไม่ได้รับของดีมีคุณค่าไว้ เยียวยาร่างกาย ก็หวังว่า วันหนึ่งคงจะมี ผู้กล้า เสียสละสร้างกระแสแรงๆ ขึ้นมาช่วยผลักดัน อย่างเช่น ที่พอมองเห็นตามป้ายรถเมล์ และเสาข้างถนน ใจกลางสี่แยกใหญ่ๆ มีข้อความเหมือนเตือนสติให้หวนคำนึงถึงกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย
สงสัยไหมค่ะว่า เขายอมจ่ายค่าโฆษณาแพงๆ นี้ไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ประโยชน์ทางการค้า? แน่ละคะ หน่วยงานที่ไม่ใช่เอ็นจีโอ ก็ย่อมมีนโยบายสูงสุดเพื่อสร้างผลกำไรให้องค์กร อยู่ได้ แต่หากร้อยวันพันปี สังคมยังคงเป็นเช่นนี้ อย่างไม่มีทางเปลี่ยน แล้วมนุษย์จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาได้อย่างไร?
ตั้งแต่แรกเด็กจนเริ่มสาว ผู้เขียนเองก็เคยเป็นคนเสพติด รสหวาน แม้ของคาวอย่างเช่นก๋วยเตี้ยวราดหน้าจานโปรด ก็ยังต้อง โรยน้ำตาลลงไปก่อนสักสองช้อนชาแล้งจึงเติมพริกในน้ำส้มสายชูหรือมะนาวสดตามลงไปก็จำไม่ได้เหมือนกันว่า ความเคยชินนี้มีการเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร คงเป็นด้วยทีเผลอ ที่หลงไปรู้สึกว่ามันเท่ หากปรุงรสจานด่วนของตนตามแบบที่ว่ามานี้
ที่เขียนมายืดยาว ก็เพราะต้องการโยงถึงประเด็นของความเสพติดทางจิตวิญญาณ ที่ครอบคลุมไปทุกเรื่องโดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัว จนเมื่อต้องทุกข์เพราะความเคยชินนั้นๆ จึงอาจจะพอกระตุกให้ฉุกคิด และเกิดความตั้งใจใหม่ในการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
ในสังคมยุคนี้มีสิ่งเร้ามากระตุ้นความรู้สึกให้ห่างไกลจากความสงบตั้งแต่เช้าจรดเย็น จนหลายคนเคยชินที่จะอยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึก และรู้สึกโดดเดี่ยวเวิ้งว้างเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางความเงียบสงัด ทั้งๆ ที่ แม้จะไร้เสียงแต่ในสิ่งแวดล้อม แท้จริงก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวให้สังเกตเห็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหว จากภายนอกหรือภายใน โดยเฉพาะในห้วงคิด ตั้งแต่เช้าจรดเย็นมีประเด็นประชุมตั้งกระทู้โต้แย้งกันหลายร้อยเรื่อง โบราณท่านจึงว่า อยู่คนเดียวต้องระวังความคิด อยู่กับมิตรต้องระวังวาจา และไม่ควรพูดทุกๆ คำที่คิดให้ผู้อื่นได้ยิน
ลองเราตั้งโครงการอะไรไว้ในใจแล้ว จิตใต้สำนึกเขาจะทำงาน ต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมอันสัมฤทธิ์ผล แม้จะเคยไปเรียนวิธีกำหนดรู้เท่าทันจิตคิดจิตนึกมาหลายสำนัก แล้ว แต่เมื่อถึงคราวเข้าจริง ก็ยังไม่หมดเรื่องต้องคิดต้องนึกกันอยู่ดี ตราบเท่าที่จิตยังมีเรื่องเก่าค้างใจอันช่างจำไว้ปรุงต่อ
ความเสพติดในจิตให้มีเรื่องนำไปคิด ขยายความต่ออยู่เสมอ เช่นนี้ มันเป็นพิษนะคะ เพราะคนที่บ้าจี้ ก็จะถูกจิตแกล้งจ้ำจี้จ้ำไช สั่งการไม่หยุดหย่อน วิธีที่จะหยุดพฤติกรรมหรือชะลอการทำงานของ จิตให้สั่งการช้าลง คงต้องอาศัยการหันมาสังเกตก้อนกายที่เคลื่อนไหว ให้ใจสัมผัสรู้ถึงสภาพธรรมชาติที่ปรากฏแต่อย่างเดียว โดยไม่ส่งจิตเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ กรรมฐานข้อนี้ ผู้ใดสนใจ เข้ารับการฝึกอบรมจิตติดต่อได้ตามสำนักปฏิบัติธรรมซึ่งปัจจุบันมีดารดาษเป็นดอกเห็ด แต่หากยังไม่อยากปฏิบัติเข้ม ก็แค่ลองหันมาลอบสังเกตพฤติกรรมตนเอง เหมือนเรามองคู่แฝดของเราว่า ในขณะนั้นๆ เขากำลังทำอะไรอยู่ และลองหัดทำอะไรๆ ให้ช้าลงบ้าง จงใจปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ต้องกำหนดว่าจะต้องเกิดผลงานอะไรในแต่ละเวลานาที ปล่อยสรีระยนต์ให้ทำงานแบบไม่ต้องตั้งโปรแกรมบ้างก็ได้ ลองบอกตัวเองว่า ใจเราไม่ใช่เครื่องจักรในโรงงาน อุตสาหกรรม ไม่จำเป็นต้องเร่งผลิตให้ได้ผลคุ้มทุน เตือนใจให้ระลึก ถึงกำไรอัันสูงสุดของชีวิตในบั้นปลายช่วงเปลี่ยนภพ ว่าแท้จริงคือ การยอมรับได้ถึงความไม่เหลืออะไร และความไม่มีอะไรให้ยึดถือ ไม่มีอะไรให้ทำได้ดีไปกว่า การปล่อยวางทุกสิ่งที่เคยผูก การปล่อยมือทุกข้างที่เคยกำ การวางจิตที่เคยจำทุกเรื่องลงเสียทั้งหมด
อย่าลืมหยุดพัก เป็นระยะๆ เพื่อหันมาดูใจว่า จิตกำลังเสพติด อยู่กับอะไร มีอาการพุ่งถลาด้วยพลังของตัณหาแค่ไหน เตือนตนเพื่อลดโอกาสพลาดท่าให้น้อยลง จิตไม่ใช่เครื่องจักร แม้จะมีความอัศจรรย์เหนือเครื่องยนต์กลไกใดๆ ในโลก เพราะจิตได้อาศัยปรุงแต่งใจ เราจึงยังต้องอาศัยอยู่บนโลก
คนที่ต้องการพ้นโลก ควรหรือที่จะทำงานบนโลกอย่างบ้าระห่ำ ประหนึ่งว่า ต้องการลงหลักปักฐานอยู่บนโลก...
มีข้อความน่าคิดจาก หนังสือน้อมสู่ใจ เล่ม 1 หรือ Poetry of the Mind โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ อดีต เจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก สหรัฐอเมริกา นำมาฝากปิดท้ายคอลัมน์ ว่า...
งานเอ๋ย งานหลัก คือถอนรัก หักชัง ระวังจิต
ถ้าปล่อยกาย ปล่อยใจ ไปตามคิด
จะโดนพิษ ชัง-รัก ปักจนตาย
Our principal duty is to Uproot affections and break off hatred with mindfulness.
If we allow ourselves to follow The whimsical thoughts of body and mind, We will be attacked by the poisons of hatred and love forever.
(Translator : Phra Ajahn Vorasak Vorathammo)