xs
xsm
sm
md
lg

"บักมี่ลูกดก” แห่งเมืองห้วยทรายแห้งตายเสียแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 แอนนา กับนักท่องเที่ยวจากอังกฤษกลุ่มนี้ เดินทางถึงบริเวณด่านตรวจเข้าเมือง ห้วยทรายในวันที่เกือบจะไม่มีร่มเงาให้หลบแดด เพราะ ขนุนลูกดก แห้งตายลง  </FONT></br>

ASTVผู้จัดการออนไลนส์-- เมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านถนนสายอา3อา (A3a) ที่เชื่อม อ.เชียงของ จ.เชียงรายของไทยกับมณฑลสิบสองปันนาและมณฑลหยุนหนันของจีนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในชั่วเวลาเพียงปีเศษที่ผ่านมา รวมทั้งขนุนลูกดกต้นหนึ่งที่บริเวณด่านท่าเรือซึ่งได้แห้งตายลงตั้งแต่ต้นปี

"นักท่องเที่ยวนับแสนๆ คนเคยพึ่งร่มเงาของมันเพื่อหลบแดด" บริกรที่ท่าเรือห้วยทรายคนหนึ่ง ซึ่งได้ประจำที่นั่นมาเป็นเวลาหลายปีกล่าวกับ "ASTVผู้จัดการออนไลนส์" วันอังคาร (23 มิ.ย.)ทื่ผ่านมา

"ขนุนร้อยลูก" หรือ "ขนุนลูกดก" เป็นฉายาที่นักท่องเที่ยวจากฝั่งไทยเรียกขานต้นขนุนต้นใหญ่ ซึ่งเจ้าของร้านค้าและจำหน่ายอาหารกับเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ปลูกเอาไว้บนพื้นสูงจากถนนขึ้นลงท่าเรือแห่งเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของลาว

ต้นไม้นี้เคยแผ่กิ่งใบล้ำออกไปปกคลุมทางขึ้นลงท่าเรือ ทำให้เกิดเป็นร่มเงา ช่วยบังแดดจ้าที่ร้อนจัดในยามบ่าย นักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศไทยและจากดินแดนอื่นๆ ทั่วโลกที่เดินทางเข้าลาวทางด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงใดของปี ได้เคยใช้เป็นที่พักหลบร้อน ระหว่างติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

นักท่องเที่ยวนับหมื่นๆ คนที่เดินขึ้นบันไดไปใช้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ระหว่างรอคอยกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองหรือจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ได้เคยใช้ขนุนลูกดกต้นนี้ เป็นฉากหลังถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ด้วยความชื่นชม
 <bR><FONT color=#cc00CC> ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 แน่นอน.. หลายคนที่ได้กลับไปท่าเรือเมืองห้วยทรายอีก อาจจะรู้สึกเศร้าใจ ขนุนลูกดก แห้งตาย ไม่มีร่มเงาให้หลบแดดอีกแล้ว </FONT></bR>
"มันอยู่ที่นี่มานานนับ 10 ปีแล้ว จู่ๆ มันก็ค่อยๆ เหี่ยวแห้งและตายลงอย่างที่เห็น" ชาวเมืองห้วยทราย ที่แนะนำชื่อตัวเองว่า "โก๋" กล่าวกับ ASTVผู้จัดการออนไลน์ส พร้อมทั้งชี้ให้ดูกิ่งขนุนที่ถูกตัดออกเกือบหมดเมื่อต้นปี หลังจากเทศบาลเมืองเห็นว่า ใบของมันหล่นลงพื้นเป็นภาระในการเก็บกวาด

"จริงๆ แล้วก็ยังไม่รู้ว่า ทำไมเขาจึงตัด (กิ่ง) มัน" ชายคนเดียวกันกล่าว

"What a pity, I can't understand why they did this," แอนนา (Anna) นักท่องเที่ยวจากเกาะอังกฤษ กล่าวกับ "ASTVผู้จัดการออนไลน์ส" ระหว่างการสนทนาช่วงสั้นๆ ในร้านอาหาร ขณะที่เธอกับเพื่อนๆ นั่งดื่มน้ำฆ่าเวลารอเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังจะข้ามแม่น้ำโขงตามไป

ทั้งหมดนัดแนะรอคอย เพื่อ "เช็คอิน" เข้าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวพร้อมกัน
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 23 เม.ย.2551 ขนุนต้นนี้ให้ลูกตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปจนถึงบริเวณยอด อันเป็นที่มาของฉายา ขนุน 100 ลูก ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นอดีต</FONT></br>
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 23 เม.ย.2551 ปะเสิด กับ ต้นบักมี่ 100 ลูก ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา เคยเป็นฉากหลังให้นักท่องเที่ยวนับพันๆ คนถ่ายรูปเป็นที่ระลึก อีกนับแสนได้ใช้ร่มเงาของมันหลบแดดยามบ่าย บัดนี้ทุกอย่างได้กลายเป็นอดีต ขนุนลูกดกแห้งตายลง หลังถูกตัดกิ่งเมื่อต้นปีนี้ </FONT></br>
แอนนากล่าวว่า เธอไปที่นั่นครั้งแรกเมื่อปี 2549 และได้ถ่ายรูปกับขนุนลูกดกต้นนี้ ก่อนจะไปลงเรือเที่ยวเช้าที่ท่าเรืออีกแห่งหนึ่งทางตอนเหนือขึ้นไป เพื่อล่องตามลำน้ำโขงไปยังเมืองหลวงพระบาง

"What a jack fruit tree, I think everybody likes it. It's a big surprise back home," แอนนากล่าวถึงต้นขนุนแห่งอดีตซึ่งภาพถ่ายที่เธอนำกลับไปยังบ้านเกิดได้กลายเป็น "บิ๊กเซอร์ไพรส์" สำหรับสมาชิกครอบครัวทุกคน

"Many of the fruit- but it's gone, forever," นักท่องเที่ยวจากแดนไกลกล่าว ซึ่งทำให้คนอื่นๆ ในคณะที่ไปเยือนเป็นครั้งแรกเกิดความอยากรู้อยากเห็นไปด้วย

ส่วน "ปะเสิด" บริกรแห่งท่าเรือห้วยทรายกล่าวว่า ขนุนลูกดกต้นนี้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อนักท่องเที่ยว รวมทั้งการท่องเที่ยวของลาวด้วย
<br><FONT color=#cc00cc> ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 ปะเสิด ยังทำงานอยู่ที่ท่าเรือห้วยทราย สวมกางเกงตัวเก่งกับเสื้อตัวเก่า เพียงแต่เสื้อยืด อัศวินสีส้ม ของเขาสีซีดลงและมีรูโหว่ที่แขนปลายด้านหนึ่ง บริกรผู้นี้ยืนยันว่าต้นขนุนลูกดกมีคุณูปการต่อการท่องเที่ยวของประเทศ </FONT></br>
<bR><FONT color=#cc00CC> ภาพแฟ้มวันที่ 23 เม.ย.2551 หรือ 14 เดือนก่อน.. นักท่องเที่ยวสาวชาวจีนสองคนยืนเก้ๆ กังๆ ที่บริเวณทางขึ้นจากท่าเรือเมืองห้วยทราย ขณะที่นักท่องเที่ยวตะวันตกกลุ่มใหญ่วางสัมภาระลงบริเวณที่ร่มใต้ต้นขนุน รอ เช็คอิน.. วันนี้ไม่มีที่ร่มให้หลบแดดเหมือนเดิม</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00CC>ภาพแฟ้มวันที่ 23 เม.ย.2551 มองลงไปยังท่าเรือห้วยทรายจากมุมนี้เมื่อ 14 เดือนก่อน จะเห็นขนุนต้นใหญ่ ที่มีลูกขึ้นตามลำต้นและกิ่งตามความสูง บางปีให้ลูกดกมากกว่านี้ อันเป็นที่มาของฉายา</FONT></bR>
"สิบกว่าปีมานี้จะบอกว่ามีคนนับแสนๆ ก็ไม่ผิด ได้พึ่งพาร่มเงา พอหมดมันไป ก็ไม่มีที่ร่มให้หลบแดด" ปะเสิดกล่าวถึงต้นไม้ใหญ่เพียงต้นเดียวที่บริเวณท่าเรือ

บริกรหนุ่มใหญ่กล่าวว่า ในช่วงเดือนปลายปีจนถึงต้นปีถัดไป ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศมาก ตัวเขาเองกับเพื่อนร่วมงาน 3-4 คนจะเข้าประจำที่ท่าเรือกันพร้อมหน้า แต่ในช่วงเดือนแห่งโลว์ซีซัน ซึ่งรวมทั้งเดือน มิ.ย.นี้ด้วย ทุกคนจะผัดกันเข้าเวรเป็นวันๆ ไป

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ปะเสิดกล่าวว่า ทุกครั้งที่ช่วยผู้โดยสารขนสัมภาระขึ้นไปยังด่านตรวจคนเข้าเมือง เขาจะนำกระเป๋ากับสิ่งของต่างๆ ไปวางบริเวณใต้ร่มขนุน เพื่อให้ทุกคนรอดำเนินการทางเอกสาร

"เมื่อก่อน (เจ้าของร้าน) เขาบอกว่า บักมี่ (ขนุน) ต้นนี้หวานมาก แต่ตอนหลังมันไม่คอยจะหวานเหมือนเดิม เพราะมันมีลูกดก มันก็หวานน้อยลง พักหลังๆ นี้มีลูกไม่ดกเท่าเดิม แต่เราก็ได้ใช้ร่มเงาบังแดด" ประเสิดกล่าว
 <bR><FONT color=#cc00CC>ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 แม้ว่าต้นขนุนลูกดกจะแห้งตายไป แต่ 14 เดือนที่ผ่านมาเมืองห้วยทรายก็มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้ง </font><FONT color=#FF0000>ธนาคารพงสะหวัน </font><FONT color=#cc00CC>กับธนาคารการค้าต่างประเทศ ซึ่งเปิดสาขากับให้บริการพร้อมตู้เอทีเอ็มใกล้กับท่าเรือ </FONT></bR>
ในช่วงหกเดือนต้นปีนี้ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและจากประเทศตะวันตกต่างๆ เดินทางเข้าลาวผ่านท่าเรือห้วยทรายกว่า 80,000 คน รองเจ้าแขวงบ่อแก้ว กล่าวกับคณะสมาคมไทยลาวเพื่อมิตรภาพที่ไปเยือนเมื่อวันอังคาร

ร้านจำหน่ายตั๋วเรือด่วนห้วยทราย-หลวงพระบาง ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า ปีนี้นักท่องเที่ยวหายไป 40-50% อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกกับการแพร่ระบาดของของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ A/H1N1

ในช่วงเดือนแห่งโลว์ซีวันนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าที่ด่านเมืองห้วยทรายวันละ 80-100 คน เทียบกับวันละ 180-200 คน ในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว

"ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้าน มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของลาวทางนี้ด้วย เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางผ่านประเทศไทย" เจ้าของร้านกล่าว
<bR><FONT color=#cc00CC>ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 พี่โก๋ กับต้นขนุนที่แห้งตาย ก่อนหน้านี้ลูกดกมาก บางปีมีลูกตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปจนเกือบถึงยอด เคยเป็นฉากหลังให้นักท่องเที่ยวนับพันๆ รูปเป็นที่ระลึก อีกนับแสนได้ใช้ร่มเงาของมันหลบแดดจ้า
ศ.ดร.วีระพงษ์ รามางกูร นายกสมาคมไทยลาวเพื่อมิตรภาพ ได้นำคณะเกือบ 200 คน ไปเยือนสันถวะไมตรี แขวงบ่อแก้ว เป็นเวลา 1 วัน เพื่อทัศนะศึกษาและแสวงหาข้อมูลจากทางการท้องถิ่นเกี่ยวกับการค้า การลงทุนตลอดจนความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างไทยกับลาว

สมาคมดังกล่าวได้จัดประชุมใหญ่ประจำปีขึ้นใน จ.เชียงราย รวมทั้งประชุมร่วมกับสมาคมของฝ่ายลาวด้วย

ศ.ดร.บ่อแสงคำ วงดาลา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม สปป.ลาว ในฐานะประธานสมาคมลาวไทยเพื่อมิตรภาพ ได้นำคณะบริหารของสมาคมเดินทางไปร่วมการประชุมอย่างพร้อมหน้า

เข้าร่วมการประชุมยังรวมทั้ง นายวิบูลย์ คูสกุล เอกอัครราชทูตไทยประจำลาว กับ นายอ้วน พมมะจัก เอกอัครราชทูตลาวประจำไทยด้วย
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 23 เม.ย.2551 เมื่อ 14 เดือนก่อน สาวคนสวยกับบรรยายกาศเก่าๆ ใต้ต้น บักมี่ 100 ลูก ในวันนี้หรือ 14 เดือนถัดมา..ต้นบักมี่แห้งตาย สาวสวยก็หายไป </FONT></br>
แม้จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในขอบเขตทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา แต่สภาพการณ์ทั่วไปของเมืองห้วยทรายได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม และ เรือนพัก เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตามสองฝั่งถนนสายหลักที่ผ่านบริเวณท่าเรือ

ปัจจุบันธนาคารการค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของลาวได้ปิดสาขา เปิดตู้เอทีเอ็มให้บริการใกล้กับท่าเรือ รวมทั้งให้บริการแลกเปลี่ยน ฝากและโอนเงินสกุลต่างๆ เป็นครั้งแรก

ธนาคารพงสะหวัน ซึ่งเป็นธนาคารที่เอกชนเป็นเจ้าของ 100% แห่งแรกของลาวก็ได้เปิดสาขาเมืองห้วยทรายเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน
<bR><FONT color=#cc00CC>ภาพถ่ายวันที่ 23 เม.ย.2551 หรือ 14 เดือนก่อนหน้านี้ ซุ้ม ประตูสู่อินโดจีน ทางลงไปยังท่าแพขนานยนต์ ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ยังคงอยู่  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 23 มิ.ย.2552 .. 14 เดือนถัดมา ซุ้ม ประตูสู่อินโดจีน ได้หายไป เป็นสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปทางฝั่งไทย ในบริเวณท่าเรือเชียงของ ประตูสู่ถนนอา3อา</FONT></bR>
อย่างน้อยที่สุด ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เมืองหน้าด่านสำคัญแห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปในรอบปีเศษที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือน เม.ย.2551 ขณะที่ไทยและลาวกำลังคอยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งจะอยู่ห่างจากท่าเรือลงไปทางทิศใต้ราว 2 กิโลเมตร

สะพานมิตรภาพแห่งใหม่นี้อาจจะแล้วเสร็จและเปิดใช้พร้อมๆ กับ “สะพานมิตรภาพ 3” (นครพนม-ท่าแขก) ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้ากับการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนในอนุภูมิภาคนี้คึกคักยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ

นายกสมาคมไทยลาวเพื่อมิตรภาพกล่าวว่า “สะพานมิตรภาพ 4” จะเป็นด่านสุดท้ายบนทางหลวงอา3อา (หรือ R3) ในการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ กับนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลหยุนหนัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น