การเป็น somebody อยู่ตลอดเวลาทำให้เราเหนื่อย
การปฏิบัติจึงนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิต
ที่ประกอบด้วย reaction
ไปสู่ชีวิตแห่งการ response
เรื่องที่ 106 เทคนิคฝึกจิตไปสู่ความเป็น nobody
หากจะพูดถึงความไวของใจมนุษย์ คงเคยคุ้นกับคำเปรียบเทียบว่าไวยิ่งกว่าปรอท ไวยิ่งกว่าเสียง หรือแสง ไวยิ่งกว่าใดๆ ทั้งสิ้น ความไวเป็นที่มาแห่งภัยหากมีสติติดตามควบคุมไม่ทัน โดยเฉพาะในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ไฮเทค มีแต่ของล่อกิเลสเยอะแยะ จนเงินในกระปุกไม่มีเหลือให้แคะ และบ่อยครั้งก็มักได้เห็นภาพเด็กเล็กส่งเสียงร้องรบกวนโสตประสาทผู้ปกครองเพราะไม่ได้ของ ที่ใจอยากได้ น่าเห็นใจผู้ใหญ่ยุคใหม่เป็นที่สุด ดูเหมือนจะเกิดมา เป็นทาสลูกเล็กเด็กแดง ไม่เหมือนผู้ใหญ่ยุคเก่าที่มีสิทธิ์ในการฝึกวินัยให้เด็กได้
การแสดงออกซึ่งความรักของคนรุ่นก่อนแตกต่างจากรุ่นใหม่ มาก รุ่นก่อนขัดใจเด็กด้วยความรัก แต่รุ่นใหม่กลับตามใจด้วยความรัก อยากได้อยากดีอยากมีอะไรหาประเคนให้หมด เห็นหัว พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นนอต ต้องทำงานกันจนตัวเป็นเกลียว
อยากถามว่า ระหว่างการแสดงบทบาทเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด แต่ไม่เหี้ยมโหด กับการเป็นผู้ปกครองที่สนองความต้องการของเด็กไปเสียทุกเรื่องเพื่อให้เด็กรัก ผลลัพธ์จากการเก็บสถิติของ นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักวิชาการการศึกษา มีคำตอบบ้างไหม?
ในหนังสือ ไฮเทค ไฮทุกข์ คัดย่อข้อธรรมจากธรรมะบรรยาย ณ สถาบัน M.I.T. Boston เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2539 โดย ท่านอาจารย์ ชยสาโรภิกขุ ซึ่งบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี 2533 ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เคยรับหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส วัดป่านานาชาติ ช่วงปีพุทธศักราช 2540-2544 ปัจจุบันพำนักอยู่ ณ สถานพำนักสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวว่า
*ในสังคมปัจจุบันเราถูกล้างสมองมานานแล้วว่า ความรักคือคำตอบปัญหาชีวิตที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เจอคนสมบูรณ์แบบสำหรับเราเมื่อไหร่ ความเหงา เซ็ง เบื่อหน่าย วิตกกังวล ความทุกข์ ทุกอย่างจะละลายไปหมด เหมือนขี้ไคลถูกถูด้วยสบู่หอม หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งนับว่าเป็นความหวังที่ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์เราเลย เพราะใครจะไปเป็นที่พอใจของเราได้ตลอดกาล
ความคิดผิดอย่างนี้ทำให้สามีภรรยาหย่ากันไม่รู้กี่คู่แล้ว เพราะหลงไปหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อหวังแบบผิดๆ ก็ต้องผิดหวัง แต่แทนที่จะโทษความหลงงมงายของตนเอง แต่กลับไปโทษคนอื่น หรือหากเจอรักร้าวบ่อยๆ เข้า อาจลงโทษตนเองว่าเป็นคนไม่มีใครรัก ไม่มีคุณค่าจนอยากฆ่าตัวตาย เพราะหลงไปมอบคุณค่าของชีวิตไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง ทำให้หาความมั่นคงไม่ได้ ชีวิตจึงพร้อมที่จะเป็นทุกข์ตลอดเวลา*
การจะให้ของขวัญเป็นความคิดดีเพื่อต้อนรับปีแห่งชีวิตใหม่ จึงน่าจะดีกว่าการให้วัตถุสิ่งของที่ตัณหาเรียกร้องอยู่ไม่เลิก ความคิดดีคือความรู้คิดว่าชีวิตแท้จริงคืออะไร ดังที่ท่านอาจารย์ ชยสาโรภิกขุได้กล่าวเสริมไว้ว่า
*การหันมาทำความเข้าใจความจริงของชีวิต ต้องมองเข้ามา เพื่อหาคำตอบให้ได้ เช่น ชีวิตคืออะไร เราผู้ดำเนินชีวิตคือใครกันแน่ เราหวังอะไรจากชีวิต มีอะไรบ้างที่อยู่ในวิสัยที่หวังได้และหวังไม่ได้ เราควรจะให้อะไรไว้กับโลกและสังคมที่เราอยู่อาศัย ทำอย่างไรจึงจะหาคำตอบเองได้โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น ไม่ต้องเชื่อสังคม ไม่มีทางใดหรือทางอื่น นอกจากการปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีไว้ในโลกเพื่อช่วยผู้ใฝ่หาความจริง
ปฏิบัติไปแล้วไม่นาน เราจะซาบซึ้งในความงดงามของ กุศลธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความอดทน ความสงบ ตระหนักชัดว่าคุณค่าของชีวิตอยู่ที่คุณธรรม ไม่ใช่โลกธรรม คนอื่นเขาจะรักเราหรือไม่รัก เราก็ไม่ได้มีอะไรน่ารักหรือน่าเกลียด ไปกว่าเดิม หากเรามีจุดยืนอยู่ภายใน ใจก็ไม่หวั่นไหว
การภาวนามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันโดยตรงอย่างนี้ คือช่วยให้เรารู้ว่าอะไรคืออะไร แล้วหลีกเลี่ยงสิ่งที่มีพิษมีภัย หันมาพัฒนาสิ่งที่มีคุณต่อเรา ถ้าเราขาดความรู้ประเภทนี้เสียแล้ว ถึงจะอยู่ในสถาบันไฮเทคอย่าง M.I.T. ก็มีแต่ไฮทุกข์
การนั่งดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นการค้นคว้าในส่วน ของธรรมชาติที่ใกล้ตัวที่สุดที่เอื้อต่อการศึกษาทุกเวลานาที เป็นวิธี ที่ไม่มีอะไรลึกลับ เพียงดูความรู้สึกตรงจุดที่ลมหายใจสัมผัสกับปลายจมูกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แรกๆ หากรู้สึกยาก ก็อาจใช้คำบริกรรมพุทโธช่วยประคับประคองไปก่อนได้ ให้ความรู้สึกอยู่กับลมสัก 80% และอยู่กับพุทโธสัก 20% ให้คำว่าพุทโธยาวพอดีกับความยาวของลม สำคัญที่ว่าเรารักษาความเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
มีอีกวิธี เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่คิดไม่ค่อยหยุด ซึ่งเป็นโรค ระบาดอยู่ในหมู่ปัญญาชน ก็ให้ใช้การนับลมหายใจเข้า-ออกรอบหนึ่ง คือ นับตั้งแต่ 1-5/1-6/1-7/ไล่เรื่อยจนถึง 1-10 จากนั้นเริ่มใหม่ ทำไปหลายรอบ เมื่อจิตละเอียดขึ้น ควรปล่อยการนัับและดูแต่ลมต่อไป อาจเจออุปสรรคที่เรียกว่านิวรณ์บ้าง เช่นอาการฟุ้งซ่านครุ่นคิด หงุดหงิด รำคาญ หรือง่วงเหงาหาวนอน อาจสงสัยหรือลังเล ก็ให้อดทนทำไปเรื่อยๆ จะไปถึงจุดหนึ่งที่พ้นอำนาจ ของสิ่งเหล่านี้ได้ ในขณะนั้นจิตจะมีความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน อยู่ในปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อนั้นสิ่งหนึ่งที่เราอาจเจอ จะมีคุณค่าต่อชีวิตเรามากคือการเป็น nobody
เพราะที่เรารู้สึกว่าชีวิตของเราหนัก เต็มไปด้วยภาระต้องแบก ลำบากลำบน เพราะความรู้สึกกดดันอยู่ด้วยความเชื่อว่าเราเป็น somebody เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นนั่นเป็นนี่สารพัด การเป็น somebody อยู่ตลอดเวลาทำให้เราเหนื่อย ถ้าพอใจอยู่กับ somebody ที่เราคิดว่าเราเป็นก็ประมาท หากไม่พอใจก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อยากเป็น somebody else
การนั่งสมาธิบ่อยๆ เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสกับการเป็น nobody เป็นการพักผ่อนอย่างแท้จริง เพราะใจจะเห็นชัดว่า จริงๆ แล้วเราก็ไม่มีอะไร มีแต่การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ ตามเหตุตามปัจจัย ในขณะใดที่เราหยุดคิดปรุงแต่ง การเป็นนั่นเป็นนี่ ก็ไม่มีปรากฏ มีแต่ธรรมชาติของกายและใจอยู่ในปัจจุบัน
ที่บอกว่าการภาวนามีเป้าหมายอยู่ที่การเข้าใจชีวิตของตนเอง เพื่อพ้นจากการบีบคั้นจากการไม่เข้าใจนั้นบ้าง และได้หลุดไปชั่วคราวจากความคิดฟุ้งซ่านและการปรุงแต่งซึ่งโดยปกติทำให้การพิจารณาสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างผิวเผิน
ความสงบเป็นรากฐานของการเจริญปัญญา เพราะความตั้งมั่น แน่วแน่อยู่ภายในทำให้เราสามารถอยู่กับความจริงได้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นอยู่ในใจ แทนที่เราจะวิ่งตามมัน เราจะมีเวลารับรู้ว่าอะไรคืออะไร และตัดสินด้วยสติปัญญาว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร การปฏิบัติจึงนำไปสู่การเปลี่ยนจากชีวิตที่ประกอบด้วย reaction ไปสู่ชีวิตแห่งการ response
คำว่า react คือการโต้ตอบที่ไม่มีสติปัญญาคุม react คือจิตใจที่มีแต่อวิชชา ตัณหาเป็นเจ้าการ จิตในระดับนี้เหมือนหุ่นที่ถูก เขาชัก ไม่เป็นอิสระ แต่การฝึกอบรมจิตตามหลักคำสอนทางพุทธศาสนาทำให้เราเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เป็นอิสระในการที่ จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้ายังไม่ได้ฝึกใจ จิตยังอ่อนแอก็ทำไม่ได้ สิ่งที่ถูกใจจะเป็นนายของเราอยู่เรื่อย ทนต่อกิเลสไม่ได้ พอตัณหาหมดแล้วจึงคิดได้ เรียกว่าทฤษฎีที่เรียนรู้มาช่วยไม่ทัน
ปัญญาที่ต้องการทางพุทธศาสนาคือปัญญาที่ดับทุกข์ได้ เกิดขึ้นแล้วจึงจะเอาตัวรอดได้ ปัญญาที่ทันต่อปัญหาชีวิตก็คือปัญญาที่อาศัยสัมมาสมาธิ แต่จะเกิดสมาธิได้ก็ต้องรู้เทคนิคและอุบายในการภาวนาอย่างที่กล่าวมา และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ก็คือ การประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมด้วยความเรียบร้อยดีงาม คือ ศีล ระมัดระวังในการพูด การกระทำ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีสติ มีความพยายามที่จะงดเว้นการเบียดเบียนผู้อื่นในทุกๆ ทาง *
ดังนั้น ใครที่สงสัยว่าทำไมต้องปฏิบัติธรรม ตอบได้ง่ายๆ ว่า ก็เพื่อชีวิตที่สดใส เป็นอิสระจากกิเลส ไร้ปัญหาจากตัณหา เมื่อมีชีวิตถูกต้อง เราก็จะเป็นอิสระจากพันธกรรม มีความสุขภายใน คนที่รอบคอบจริงๆ จะไม่ได้คิดแต่ความสุขเฉพาะหน้า แต่จะคิดถึงความสุขที่เกิดจากการถอนเหตุแห่งทุกข์ได้
อย่าท้อถอยเมื่อเกิดปัญหา พยายามพิจารณาให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรมทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง และเห็นโทษของการไม่ปฏิบัติด้วย หมั่นรดน้ำ พรวนดิน สร้างต้นไม้แห่งความดีความงามให้มีขึ้นในชีวิตตนเอง สังคม และประเทศชาติ จะเป็นบุญอย่างยิ่งค่ะ
การปฏิบัติจึงนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิต
ที่ประกอบด้วย reaction
ไปสู่ชีวิตแห่งการ response
เรื่องที่ 106 เทคนิคฝึกจิตไปสู่ความเป็น nobody
หากจะพูดถึงความไวของใจมนุษย์ คงเคยคุ้นกับคำเปรียบเทียบว่าไวยิ่งกว่าปรอท ไวยิ่งกว่าเสียง หรือแสง ไวยิ่งกว่าใดๆ ทั้งสิ้น ความไวเป็นที่มาแห่งภัยหากมีสติติดตามควบคุมไม่ทัน โดยเฉพาะในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ไฮเทค มีแต่ของล่อกิเลสเยอะแยะ จนเงินในกระปุกไม่มีเหลือให้แคะ และบ่อยครั้งก็มักได้เห็นภาพเด็กเล็กส่งเสียงร้องรบกวนโสตประสาทผู้ปกครองเพราะไม่ได้ของ ที่ใจอยากได้ น่าเห็นใจผู้ใหญ่ยุคใหม่เป็นที่สุด ดูเหมือนจะเกิดมา เป็นทาสลูกเล็กเด็กแดง ไม่เหมือนผู้ใหญ่ยุคเก่าที่มีสิทธิ์ในการฝึกวินัยให้เด็กได้
การแสดงออกซึ่งความรักของคนรุ่นก่อนแตกต่างจากรุ่นใหม่ มาก รุ่นก่อนขัดใจเด็กด้วยความรัก แต่รุ่นใหม่กลับตามใจด้วยความรัก อยากได้อยากดีอยากมีอะไรหาประเคนให้หมด เห็นหัว พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นนอต ต้องทำงานกันจนตัวเป็นเกลียว
อยากถามว่า ระหว่างการแสดงบทบาทเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด แต่ไม่เหี้ยมโหด กับการเป็นผู้ปกครองที่สนองความต้องการของเด็กไปเสียทุกเรื่องเพื่อให้เด็กรัก ผลลัพธ์จากการเก็บสถิติของ นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักวิชาการการศึกษา มีคำตอบบ้างไหม?
ในหนังสือ ไฮเทค ไฮทุกข์ คัดย่อข้อธรรมจากธรรมะบรรยาย ณ สถาบัน M.I.T. Boston เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2539 โดย ท่านอาจารย์ ชยสาโรภิกขุ ซึ่งบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี 2533 ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เคยรับหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส วัดป่านานาชาติ ช่วงปีพุทธศักราช 2540-2544 ปัจจุบันพำนักอยู่ ณ สถานพำนักสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวว่า
*ในสังคมปัจจุบันเราถูกล้างสมองมานานแล้วว่า ความรักคือคำตอบปัญหาชีวิตที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เจอคนสมบูรณ์แบบสำหรับเราเมื่อไหร่ ความเหงา เซ็ง เบื่อหน่าย วิตกกังวล ความทุกข์ ทุกอย่างจะละลายไปหมด เหมือนขี้ไคลถูกถูด้วยสบู่หอม หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งนับว่าเป็นความหวังที่ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์เราเลย เพราะใครจะไปเป็นที่พอใจของเราได้ตลอดกาล
ความคิดผิดอย่างนี้ทำให้สามีภรรยาหย่ากันไม่รู้กี่คู่แล้ว เพราะหลงไปหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อหวังแบบผิดๆ ก็ต้องผิดหวัง แต่แทนที่จะโทษความหลงงมงายของตนเอง แต่กลับไปโทษคนอื่น หรือหากเจอรักร้าวบ่อยๆ เข้า อาจลงโทษตนเองว่าเป็นคนไม่มีใครรัก ไม่มีคุณค่าจนอยากฆ่าตัวตาย เพราะหลงไปมอบคุณค่าของชีวิตไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง ทำให้หาความมั่นคงไม่ได้ ชีวิตจึงพร้อมที่จะเป็นทุกข์ตลอดเวลา*
การจะให้ของขวัญเป็นความคิดดีเพื่อต้อนรับปีแห่งชีวิตใหม่ จึงน่าจะดีกว่าการให้วัตถุสิ่งของที่ตัณหาเรียกร้องอยู่ไม่เลิก ความคิดดีคือความรู้คิดว่าชีวิตแท้จริงคืออะไร ดังที่ท่านอาจารย์ ชยสาโรภิกขุได้กล่าวเสริมไว้ว่า
*การหันมาทำความเข้าใจความจริงของชีวิต ต้องมองเข้ามา เพื่อหาคำตอบให้ได้ เช่น ชีวิตคืออะไร เราผู้ดำเนินชีวิตคือใครกันแน่ เราหวังอะไรจากชีวิต มีอะไรบ้างที่อยู่ในวิสัยที่หวังได้และหวังไม่ได้ เราควรจะให้อะไรไว้กับโลกและสังคมที่เราอยู่อาศัย ทำอย่างไรจึงจะหาคำตอบเองได้โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น ไม่ต้องเชื่อสังคม ไม่มีทางใดหรือทางอื่น นอกจากการปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีไว้ในโลกเพื่อช่วยผู้ใฝ่หาความจริง
ปฏิบัติไปแล้วไม่นาน เราจะซาบซึ้งในความงดงามของ กุศลธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความอดทน ความสงบ ตระหนักชัดว่าคุณค่าของชีวิตอยู่ที่คุณธรรม ไม่ใช่โลกธรรม คนอื่นเขาจะรักเราหรือไม่รัก เราก็ไม่ได้มีอะไรน่ารักหรือน่าเกลียด ไปกว่าเดิม หากเรามีจุดยืนอยู่ภายใน ใจก็ไม่หวั่นไหว
การภาวนามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันโดยตรงอย่างนี้ คือช่วยให้เรารู้ว่าอะไรคืออะไร แล้วหลีกเลี่ยงสิ่งที่มีพิษมีภัย หันมาพัฒนาสิ่งที่มีคุณต่อเรา ถ้าเราขาดความรู้ประเภทนี้เสียแล้ว ถึงจะอยู่ในสถาบันไฮเทคอย่าง M.I.T. ก็มีแต่ไฮทุกข์
การนั่งดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นการค้นคว้าในส่วน ของธรรมชาติที่ใกล้ตัวที่สุดที่เอื้อต่อการศึกษาทุกเวลานาที เป็นวิธี ที่ไม่มีอะไรลึกลับ เพียงดูความรู้สึกตรงจุดที่ลมหายใจสัมผัสกับปลายจมูกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แรกๆ หากรู้สึกยาก ก็อาจใช้คำบริกรรมพุทโธช่วยประคับประคองไปก่อนได้ ให้ความรู้สึกอยู่กับลมสัก 80% และอยู่กับพุทโธสัก 20% ให้คำว่าพุทโธยาวพอดีกับความยาวของลม สำคัญที่ว่าเรารักษาความเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
มีอีกวิธี เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่คิดไม่ค่อยหยุด ซึ่งเป็นโรค ระบาดอยู่ในหมู่ปัญญาชน ก็ให้ใช้การนับลมหายใจเข้า-ออกรอบหนึ่ง คือ นับตั้งแต่ 1-5/1-6/1-7/ไล่เรื่อยจนถึง 1-10 จากนั้นเริ่มใหม่ ทำไปหลายรอบ เมื่อจิตละเอียดขึ้น ควรปล่อยการนัับและดูแต่ลมต่อไป อาจเจออุปสรรคที่เรียกว่านิวรณ์บ้าง เช่นอาการฟุ้งซ่านครุ่นคิด หงุดหงิด รำคาญ หรือง่วงเหงาหาวนอน อาจสงสัยหรือลังเล ก็ให้อดทนทำไปเรื่อยๆ จะไปถึงจุดหนึ่งที่พ้นอำนาจ ของสิ่งเหล่านี้ได้ ในขณะนั้นจิตจะมีความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน อยู่ในปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อนั้นสิ่งหนึ่งที่เราอาจเจอ จะมีคุณค่าต่อชีวิตเรามากคือการเป็น nobody
เพราะที่เรารู้สึกว่าชีวิตของเราหนัก เต็มไปด้วยภาระต้องแบก ลำบากลำบน เพราะความรู้สึกกดดันอยู่ด้วยความเชื่อว่าเราเป็น somebody เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นนั่นเป็นนี่สารพัด การเป็น somebody อยู่ตลอดเวลาทำให้เราเหนื่อย ถ้าพอใจอยู่กับ somebody ที่เราคิดว่าเราเป็นก็ประมาท หากไม่พอใจก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อยากเป็น somebody else
การนั่งสมาธิบ่อยๆ เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสกับการเป็น nobody เป็นการพักผ่อนอย่างแท้จริง เพราะใจจะเห็นชัดว่า จริงๆ แล้วเราก็ไม่มีอะไร มีแต่การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ ตามเหตุตามปัจจัย ในขณะใดที่เราหยุดคิดปรุงแต่ง การเป็นนั่นเป็นนี่ ก็ไม่มีปรากฏ มีแต่ธรรมชาติของกายและใจอยู่ในปัจจุบัน
ที่บอกว่าการภาวนามีเป้าหมายอยู่ที่การเข้าใจชีวิตของตนเอง เพื่อพ้นจากการบีบคั้นจากการไม่เข้าใจนั้นบ้าง และได้หลุดไปชั่วคราวจากความคิดฟุ้งซ่านและการปรุงแต่งซึ่งโดยปกติทำให้การพิจารณาสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างผิวเผิน
ความสงบเป็นรากฐานของการเจริญปัญญา เพราะความตั้งมั่น แน่วแน่อยู่ภายในทำให้เราสามารถอยู่กับความจริงได้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นอยู่ในใจ แทนที่เราจะวิ่งตามมัน เราจะมีเวลารับรู้ว่าอะไรคืออะไร และตัดสินด้วยสติปัญญาว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร การปฏิบัติจึงนำไปสู่การเปลี่ยนจากชีวิตที่ประกอบด้วย reaction ไปสู่ชีวิตแห่งการ response
คำว่า react คือการโต้ตอบที่ไม่มีสติปัญญาคุม react คือจิตใจที่มีแต่อวิชชา ตัณหาเป็นเจ้าการ จิตในระดับนี้เหมือนหุ่นที่ถูก เขาชัก ไม่เป็นอิสระ แต่การฝึกอบรมจิตตามหลักคำสอนทางพุทธศาสนาทำให้เราเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เป็นอิสระในการที่ จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้ายังไม่ได้ฝึกใจ จิตยังอ่อนแอก็ทำไม่ได้ สิ่งที่ถูกใจจะเป็นนายของเราอยู่เรื่อย ทนต่อกิเลสไม่ได้ พอตัณหาหมดแล้วจึงคิดได้ เรียกว่าทฤษฎีที่เรียนรู้มาช่วยไม่ทัน
ปัญญาที่ต้องการทางพุทธศาสนาคือปัญญาที่ดับทุกข์ได้ เกิดขึ้นแล้วจึงจะเอาตัวรอดได้ ปัญญาที่ทันต่อปัญหาชีวิตก็คือปัญญาที่อาศัยสัมมาสมาธิ แต่จะเกิดสมาธิได้ก็ต้องรู้เทคนิคและอุบายในการภาวนาอย่างที่กล่าวมา และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ก็คือ การประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมด้วยความเรียบร้อยดีงาม คือ ศีล ระมัดระวังในการพูด การกระทำ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีสติ มีความพยายามที่จะงดเว้นการเบียดเบียนผู้อื่นในทุกๆ ทาง *
ดังนั้น ใครที่สงสัยว่าทำไมต้องปฏิบัติธรรม ตอบได้ง่ายๆ ว่า ก็เพื่อชีวิตที่สดใส เป็นอิสระจากกิเลส ไร้ปัญหาจากตัณหา เมื่อมีชีวิตถูกต้อง เราก็จะเป็นอิสระจากพันธกรรม มีความสุขภายใน คนที่รอบคอบจริงๆ จะไม่ได้คิดแต่ความสุขเฉพาะหน้า แต่จะคิดถึงความสุขที่เกิดจากการถอนเหตุแห่งทุกข์ได้
อย่าท้อถอยเมื่อเกิดปัญหา พยายามพิจารณาให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรมทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง และเห็นโทษของการไม่ปฏิบัติด้วย หมั่นรดน้ำ พรวนดิน สร้างต้นไม้แห่งความดีความงามให้มีขึ้นในชีวิตตนเอง สังคม และประเทศชาติ จะเป็นบุญอย่างยิ่งค่ะ